ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศฟีจี

พิกัด: 18°S 179°E / 18°S 179°E / -18; 179
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกาะฟิจิ)
สาธารณรัฐฟีจี

  • Republic of Fiji (อังกฤษ)
  • Matanitu ko Viti (ฟีจี)
  • फ़िजी गणराज्य (ฮินดีฟีจี)
ธงชาติฟีจี
Flag
ตราแผ่นดินของฟีจี
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Rerevaka na Kalou ka Doka na Tui" (ฟีจี)
"ยำเกรงพระเจ้าและเกียรติของสมเด็จพระราชินีนาถ[1] "
ที่ตั้งของฟีจี
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซูวา[2]
18°10′S 178°27′E / 18.167°S 178.450°E / -18.167; 178.450
ภาษาราชการ
โรตูมัน
กลุ่มชาติพันธุ์
(2016[4])
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
Wiliame Katonivere
ซิชิเฟนิ รัมบูกา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช 
10 ตุลาคม ค.ศ. 1970
7 ตุลาคม ค.ศ. 1987
พื้นที่
• รวม
18,274 ตารางกิโลเมตร (7,056 ตารางไมล์) (อันดับที่ 151)
น้อยมาก
ประชากร
• 2018 ประมาณ
926,276[6] (อันดับที่ 161)
• สำมะโนประชากร 2017
884,887[7]
46.4 ต่อตารางกิโลเมตร (120.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 148)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
9.112 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]
10,251 ดอลลาร์สหรัฐ[8]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
5.223 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]
5,876 ดอลลาร์สหรัฐ[8]
จีนี (2013)36.4[9]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.743[10]
สูง · อันดับที่ 93
สกุลเงินดอลลาร์ฟีจี (FJD)
เขตเวลาUTC+12 (FJT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+13[11] (FJST[12])
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+679
โดเมนบนสุด.fj
เว็บไซต์
fiji.gov.fj

ฟีจี[13] (อังกฤษ: Fiji, /ˈfi/ ( ฟังเสียง); ฟีจี: Viti, แม่แบบ:IPA-fj; ฮินดีฟีจี: फ़िजी) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟีจี (อังกฤษ: Republic of Fiji; ฟีจี: Matanitu ko Viti; ฮินดีฟีจี: फ़िजी गणराज्य) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งของโอเชียเนีย ตั้งอยู่ห่างจากประเทศนิวซีแลนด์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,100 ไมล์ทะเล (2,000 กิโลเมตร) ฟีจีประกอบด้วยกลุ่มเกาะมากกว่า 330 เกาะ ในจำนวนนี้มีผู้อยู่อาศัยถาวรประมาณ 110 เกาะ และยังมีเกาะเล็กอีกกว่า 500 เกาะ รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18,300 ตารางกิโลเมตร กลุ่มเกาะที่อยู่ห่างไกลที่สุดคือ Ono-i-Lau ประชากรประมาณ 87% ของประชากรฟีจีทั้งหมด 898,760 คนอาศัยอยู่บนเกาะหลักเพียง 2 เกาะ ได้แก่วีตีเลวูและวานูอาเลวู โดยประชากรกว่า 75% อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งรอบเกาะวีตีเลวู ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงฟีจี ซูวา รวมทั้งศูนย์กลางเมืองขนาดเล็ก เช่น นาดี ที่ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักในท้องถิ่น และเลาโตกา ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรมอ้อย ส่วนพื้นที่ชั้นในของเกาะมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างเบาบางเพราะมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา[14]

หมู่เกาะส่วนใหญ่ของฟีจีมีกำเนิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่เริ่มตั้งแต่ราว 150 ล้านปีก่อน ปัจจุบันยังคงพบความเคลื่อนไหวของความร้อนใต้พิภพบางส่วนบนเกาะวานูอาเลวูและตาเวอูนี[15] ส่วนระบบความร้อนใต้พิภพที่พบบนเกาะวีตีเลวูไม่ได้มีแหล่งกำเนิดมาจากภูเขาไฟและมีการปลดปล่อยพื้นผิวที่มีอุณหภูมิต่ำอยู่ระหว่าง 35 ถึง 60 องศาเซลเซียส

มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในฟีจีมาตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล โดยมนุษย์กลุ่มแรกเป็นชาวออสโตรนีเซีย ต่อมาจึงเป็นชาวเมลานีเซียที่ได้รับอิทธิพลบางส่วนจากชาวพอลินีเชีย ชาวยุโรปเดินทางมาถึงฟีจีครั้งแรกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17[16] ในปี ค.ศ. 1874 อังกฤษได้สถาปนาอาณานิคมแห่งฟีจีขึ้นมาหลังจากที่ฟีจีได้เป็นอาณาจักรอิสระในช่วงสั้น ๆ ในช่วงที่มีกษัตริย์ท้องถิ่นปกครองอยู่ ฟีจีได้รับการบริหารในฐานะอาณานิคมในพระองค์จนถึงปี ค.ศ. 1970 จากนั้นจึงได้รับเอกราชและเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟีจีในเครือจักรภพ ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง จนปี ค.ศ. 1987 รัฐบาลทหารที่ยึดอำนาจได้ประกาศให้ฟีจีเป็นสาธารณรัฐ การรัฐประหาร ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) พลเรือจัตวาแฟรงก์ ไบนิมารามาได้ทำการยึดอำนาจ ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ศาลสูงฟีจีได้ออกคำตัดสินว่าผู้นำที่เป็นทหารนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นประธานาธิบดีราตู Josefa Iloilo ซึ่งเป็นผู้ที่กองทัพแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 1997 และแต่งตั้งนายไบนิมารามาขึ้นเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในปีเดียวกัน ราตู Epeli Nailatikau ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากนาย Iloilo[17] วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2014 มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตยขึ้นหลังจากที่ล่าช้าไปหลายปี โดยพรรค FijiFirst ของนายไบนิมารามาชนะไปด้วยคะแนนเสียง 59.2% ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจากประเทศอื่นลงความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีความน่าเชื่อถือ[18]

ฟีจีเป็นประเทศหนึ่งที่มีเศรษฐกิจพัฒนามากที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิก[19] หมู่เกาะของฟีจีอุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ และแหล่งประมง สกุลเงินที่ใช้คือดอลลาร์ฟีจี แหล่งที่มาหลักของการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งเงินกลับของชาวฟีจีที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ การส่งออกน้ำดื่มบรรจุขวด และอ้อย[4] กระทรวงการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาเมืองเป็นผู้กำกับดูแลการปกครองระดับท้องถิ่นของฟีจีซึ่งอยู่ในรูปแบบสภานคร (city) และสภาเมือง (town)[20]

ชื่อ

[แก้]

ที่มาของชื่อ "ฟีจี" (อังกฤษ: Fiji) มาจาก "วีตีเลวู" (Viti Levu) เกาะหลักของประเทศฟีจี ซึ่งการออกเสียงภาษาอังกฤษได้อิงตามการออกเสียงของชาวตองงาซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะเพื่อนบ้านของฟีจี รายงานอย่างเป็นทางการฉบับหนึ่งเกี่ยวกับกำเนิดของชื่อกล่าวว่า

ชาวยุโรปรู้จักชาวฟีจีครั้งแรกจากบันทึกของสมาชิกคณะสำรวจของเจมส์ คุก ที่ได้พบกับชาวฟีจีในตองงา ชาวฟีจีได้รับการบรรยายว่าเป็นนักรบที่น่าเกรงขาม เป็นมนุษย์กินคนผู้ดุร้าย เป็นผู้สร้างเรือที่ดีที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ไม่ใช่นักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ พวกเขาสร้างความเกรงขามให้กับชาวตองงา เครื่องมือที่สร้างโดยชาวฟีจีโดยเฉพาะผ้าที่ทำจากเปลือกไม้และกระบองล้วนมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการมาก ชาวฟีจีเรียกถิ่นที่อยู่ของตนว่า วีตี (Viti) แต่ชาวตองงาเรียกมันว่า ฟีซี (Fisi) การออกเสียงโดยผู้คนต่างชนเผ่านี้เป็นที่มาของชื่อ ฟีจี (Fiji) ที่กัปตันเจมส์ คุกได้ประกาศใช้ครั้งแรกและทำให้เกาะเหล่านี้เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน[21]

"Feejee" (ฟีจี) เป็นการสะกดแบบอังกฤษของการออกเสียงภาษาตองงาที่พบได้ในบันทึกและงานเขียนต่าง ๆ จากทั้งมิชชันนารีและนักเดินทางที่ได้ไปเยือนฟีจีจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[22][23][24]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แผนที่ประเทศฟีจี
แผนที่ภูมิประเทศบริเวณเกาะหลัก

ประเทศฟีจีอยู่ห่างจากฮาวายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 5,100 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียประมาณ 3,150 กิโลเมตร[25][26] เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างประเทศวานูอาตูและตองงา กลุ่มเกาะของฟีจีตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 176° 53′ ตะวันออกและ 178° 12′ ตะวันตก เส้นเมริเดียนที่ 180 องศาที่ถูกกำหนดให้เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล ลากผ่านตาเวอูนี เกาะใหญ่อันดับสามของฟีจีพอดี ทำให้มีการปรับเบี่ยงเส้นแบ่งเขตวันสากลออกจากแนวเส้นเมริเดียนเพื่อให้กลุ่มเกาะฟีจีทั้งหมดใช้เขตเวลาเดียวกัน (UTC+12) (รวมทั้งกลุ่มเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ อีกหลายแห่ง) กลุ่มเกาะฟีจีตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 15° 42′ และ 20° 02′ ใต้ ยกเว้นโรตูมา เกาะเหนือสุดของประเทศฟีจี ซึ่งตั้งอยู่ที่พิกัด 12° 30′ ใต้ ห่างจากกลุ่มเกาะฟีจีไปทางทิศเหนือ 220 ไมล์ทะเล (410 กม.) และห่างจากซูวา 360 ไมล์ทะเล (670 กม.)

ฟีจีมีเกาะทั้งหมด 332 เกาะ[4] ในจำนวนนี้ 106 เกาะมีผู้อาศัยอยู่ และมีเกาะเล็กอีก 522 เกาะ มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 18,274 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่าจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งมีพื้นที่ 19,483 ตร.กม.) เกาะสำคัญที่สุดสองเกาะคือ วีตีเลวู (10,388 ตร.กม.) และวานูอาเลวู (5,587 ตร.กม.) มีพื้นที่รวมกันเป็น 75% ของพื้นที่เกาะทั้งหมด เกาะหลายแห่งมีสภาพเป็นภูเขาและมีป่าเขตร้อนหนาแน่น จุดสูงสุดของฟีจีคือยอดเขาเมาท์โตมานีวี (Mount Tomanivi) บนเกาะวีตีเลวู มีความสูง 1,324 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

เกาะวีตีเลวูเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงฟีจี ซูวา บนเกาะนี้แห่งเดียวมีประชากรอาศัยอยู่แล้วถึง 3 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ เมืองสำคัญแห่งอื่นบนเกาะได้แก่ นาดี เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติ และเลาโตกา เมืองท่าสำคัญ เมืองสำคัญบนเกาะวานูอาเลวูได้แก่ ลาบาซา (Labasa) และซาวูซาวู (Savusavu) เกาะใหญ่อันดับที่สามและสี่คือ ตาเวอูนี (Taveuni, 434 ตร.กม.) และคาดาวู (Kadavu, 411 ตร.กม.) ตามลำดับ ห่างออกไปไม่ไกลจากชายฝั่งเมืองนาดีเป็นกลุ่มเกาะที่มีชื่อว่า ยาซาวา (Yasawa Group) ถัดออกไปทางทิศเหนือมีกลุ่มเกาะมามานูกา (Mamanuca) กลุ่มเกาะทั้งสองแห่งนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยว ถัดออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะวีตีเลวูมีกลุ่มเกาะโลไมวีตี (Lomaiviti) และลาอู (Lau) ที่อยู่ไกลออกไป เหนือสุดของฟีจีเป็นที่ตั้งของเกาะโรตูมา มีสถานะเป็นเขตบริหารพิเศษ และไกลออกไปกว่า 250 ไมล์ทะเล (460 กม.) ทางตะวันตกเฉียงใต้จากกลุ่มเกาะหลักของฟีจี เป็นที่ตั้งของพืดหินใต้น้ำเทวาอีรา (Ceva-i-Ra)

ฟีจีมีเขตภูมินิเวศ (ecoregion) สองประเภทได้แก่ ป่าดิบชื้นเขตร้อนฟีจีและป่าดิบแล้งเขตร้อนฟีจี

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ฟีจีมีชนพื้นเมืองอาศัยกระจัดกระจายอยู่บนเกาะต่าง ๆ มาราว 3,500 ปีมาแล้ว ชนพื้นเมืองมักต่อต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน ต่อมาคาโคบาอูซึ่งเป็นหัวหน้าของชนเผ่าหนึ่งสามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ฟีจี

ต่อมาได้มีผู้ค้นพบหมู่เกาะ และ ดินแดนฟีจี เป็นนักสำรวจชาวเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์) ที่มีชื่อว่า เอเบล ทัชแมน (ค.ศ. 1603 - 1659) ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กิจการค้ารองเท้าในดินแดนแห่งนี้มีได้รับความนิยมสูง จนเป็นเหุตให้มีชาวยุโรปจากประเทศต่าง ๆ เข้ามายังฟีจีเป็นจำนวนมากเพื่อแสวงหาทรัพยากร ประกอบกับความต้องการทำไร่ต้องเช่าที่ดินจากชนพื้นเมือง และ จ้างแรงงานภายนอกชาวอินเดียจำนวนมากมาทำไร่ ผลจากความละโมบเป็นชนวนเหตุของความวุ่นวายจากการก่อจลาจล และไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ประกอบกับแรงกดดันจากมหาอำนาจชาติต่าง ๆ เพื่อให้เหตุจลาจลครั้งนี้สงบลง ฟีจีต้องยอมเข้าเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) ในยุคอาณานิคมมีความพยายามในการปกป้องกรรมสิทธิ์ในการที่ดินและปกป้องการใช้แรงงานชนพื้นเมือง

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ระบบรัฐสภา ระบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ภาคกลาง (ซูวา)

[แก้]

ภาคเหนือ (ลาบาซา)

[แก้]

ภาคตะวันออก (เลวูกา)

[แก้]

ภาคตะวันตก (เลาโตกา)

[แก้]

(*) เกาะโรตูมา 46 ตารางกิโลเมตร

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าของฟีจียังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์มีการนำเข้าลดลง นอกจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอแล้ว ฟีจียังมีเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความผันแปรตามราคาทองคำโลกค่อนข้างสูง ผลผลิตจากเหมืองทองคำ มีจำนวน 119,767 ออนซ์ ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้แล้ว ฟีจียังส่งออกน้ำดื่มบรรจุขวดไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย โดยอาศัยชื่อเสียงของฟีจีเรื่องการมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม

[แก้]

การคมนาคม

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาตินาดีเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟีจี อยู่ห่างจากตัวเมืองนาดีไปทางเหนือ 9 กิโลเมตร[27] ท่าอากาศยานนานาชาติเนาโซรีอยู่ห่างจากตัวเมืองซูวาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 23 กิโลเมตร และให้บริการสายการบินในประเทศเป็นหลัก Airports Fiji Limited (AFL) เป็นผู้ดำเนินงานท่าอากาศยาน 15 ท่าอากาศยานของหมู่เกาะฟีจี ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาดี ท่าอากาศยานนานาชาติเนาโซรี และท่าอากาศยานในเกาะรอบ ๆ อีก 13 ท่าอากาศยาน สายการบินหลักของฟีจีก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อแอร์แปซิฟิกแต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นฟีจีแอร์เวย์[28] ฟีจีแอร์เวย์ยังเป็นสายการบินแม่ของฟีจีลิงก์อีกด้วย

ประชากรศาสตร์

[แก้]

ประกอบด้วยชาวฟีจี ร้อยละ 51 ส่วนอีกร้อยละ 44 เป็นชาวฟีจีเชื้อสายอินเดีย

ชาวฟีจีส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 85% รองลงมานับถือศาสนาอิสลาม, ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, และศาสนาคริสต์นิกายฟีจีออร์โธดอกซ์ ร้อยละ 52% ศาสนาฮินดู ร้อยละ 14 % ศาสนาซิกข์ 0.9% และไม่นับถือศาสนา ร้อยละ 5 % ตามลำดับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "About Fiji – History, Government and Economy". www.fijihighcommission.org.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 September 2018.
  2. ถึงแม้ว่าซูวามีประชากรมากพอจนมีสถานะเป็น "นคร" เมืองนาซีนูมีประชากรที่สูงกว่าซูเพียงเล็กน้อย ดูที่ "Age, Sex and Marital Status by Urban and Rural Enumeration, Fiji 2007". statsfiji.gov.fj. Fiji Bureau of Statistics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2017. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
  3. เปรียบเทียบ: "Constitution of the Republic of Fiji". fiji.gov.fj. The Fijian Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2016. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017. Subsection 3(3) reads: "This Constitution is to be adopted in the English language and translations in the iTaukei and Hindi languages are to be made available." Subsection 31(3) clarifies that Fiji Hindi is the intended meaning of "Hindi".
  4. 4.0 4.1 4.2 "Fiji". The World Factbook. CIA. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  5. "Population by Religion and Province of Enumeration". 2007 Census of Population. Fiji Bureau of Statistics. June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2015. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015. – Percentages are derived from total population figures provided in the source
  6. "Fiji Demographics Profile". www.indexmundi.com.
  7. Government of Fiji (10 January 2018). "Fiji Bureau of Statistics Releases 2017 Census Results". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2018. สืบค้นเมื่อ 3 November 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Fiji". International Monetary Fund.
  9. "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
  10. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  11. "Fiji Reignites Daylight Saving Time on November 29". timeanddate.com. 10 November 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  12. "FJST – Fiji Summer Time". timeanddate.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2012. สืบค้นเมื่อ 24 October 2012.
  13. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 เก็บถาวร 2018-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. [ออนไลน์]. 2561. สืบค้น 8 มิถุนายน 2561.
  14. "Fiji: People". United States of America State department. 28 June 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2017. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
  15. "Fiji Geography". fijidiscovery.com. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2011. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
  16. "Fiji: History". infoplease.com. 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2010. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
  17. "Fiji's president takes over power". BBC. 10 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
  18. Perry, Nick; Pita, Ligaiula (29 กันยายน 2014). "Int'l monitors endorse Fiji election as credible". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2014. สืบค้นเมื่อ 25 September 2014.
  19. "Fiji High Commission :: About Fiji". www.fiji.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
  20. "Fiji – Our Government". fiji.gov.fj. 9 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2010. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
  21. About Fiji เก็บถาวร 2 กุมภาพันธ์ 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, section on Europeans in Fiji. Fiji High Commission to the United Kingdom.
  22. Schutz, Albert J. (December 1974). "The Forerunners of the Fijian Dictionary". The Journal of the Polynesian Society. 83 (4): 443–457. JSTOR 20705027. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 21 January 2019.
  23. Barbour, Thomas (1923). "The Frogs of the Fiji Islands". Proceedings of the Academy of Natural Sciences of Philadelphia. 75: 111–115. JSTOR 4063878.
  24. เช่น:Scarr, Deryck (1984). Fiji: A Short History. Laie, Hawaii: Institute for Polynesian Studies, Brigham Young University—Hawaii Campus. p. 2. ISBN 9780939154364. OCLC 611678101. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020. 'The natives of Feejee whom we met here are of a colour that was a full shade darker than that of the Friendly Islands in general', observed Lieutenant James Cook [...].
  25. "Distance between Fiji and Hawaii". distancebetween.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  26. "Distance between Fiji and Australia". distancebetween.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  27. Airports Fiji Limited. Retrieved April 2010.
  28. Gibson, Nevil (14 May 2012). "Air Pacific reverts to original Fiji Airways name". National Business Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-17. สืบค้นเมื่อ 14 May 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาล

[แก้]

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

18°S 179°E / 18°S 179°E / -18; 179