ข้ามไปเนื้อหา

หญ้ากุศะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หญ้ากุศะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Gramineae (Poaceae)
สกุล: Desmostachya
สปีชีส์: D.  bipinnata
ชื่อทวินาม
Desmostachya bipinnata
(L.) Stapf

หญ้ากุศะ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmostachya bipinnata) เป็นหญ้าในวงศ์ Gramineae (Poaceae) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดียและเนปาล ชอบขึ้นในที่แห้งแล้งริมฝั่งแม่น้ำ โดยจะขึ้นเป็นกอเหง้าใหญ่ ใบอวบรูปยาวเหมือนหอก ขอบใบคม ดอกเป็นช่อรูปพีระมิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดฤดูฝน ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และแยกกอ

หญ้ากุศะเป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือกันว่ามีความสำคัญมากในศาสนาพุทธ เนื่องจากปรากฏในพุทธประวัติว่าวันก่อนที่พระโคตมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ทรงได้รับถวายหญ้าชนิดนี้จำนวน 8 กำมือจากพราหมณ์โสตถิยะ แล้วทรงนำไปปูรองที่ประทับนั่งในวันที่พระองค์ตรัสรู้ และนิยมนำหญ้าชนิดนี้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำมาทำเป็นที่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นต้น

ชาวฮินดูนับถือว่าหญ้านี้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน โดยนำหญ้านี้มาประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวันแรม 15 ค่ำ​เดือน 9 หรือที่เรียกว่า กุโศตปาฎนีอมาวสยา เพื่อเป็นการบูชาพระกฤษณะ[1]

หญ้ากุศะยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใช้ทั้งต้นเป็นยาฝาดสมาน​ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวาน เป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้วย[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "บำรุง คำเอก.ผศ.ดร..ความสัมพันธ์ของศาสนาพราหมณ์-พุทธกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยศิลปากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-07-08.
  2. ต้นไม้ในพุทธประวัติ.เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[ลิงก์เสีย]