ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
ชื่อย่อวท.ขก. / KKTC
คติพจน์ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2480 (87 ปี)
ผู้อำนวยการนายสิทธิศักดิ์ เพิ่มพูล
ที่ตั้ง
เลขที่ 67 ถนนศรีจันทร์
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น 40000
เว็บไซต์www.kktech.ac.th

วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น (อังกฤษ : Khon Kaen Technical College ) เป็นวิทยาลัยด้านช่างอุตสาหกรรม สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น[1] ก่อตั้งขึ้นในชื่อ โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ ในปี พ.ศ. 2480

ต่อมาปี พ.ศ. 2492 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนช่างไม้ขอนแก่น

ปี พ.ศ. 2503 กรมอาชีวศึกษาได้ยกฐานะของ โรงเรียนช่างไม้ขอนแก่น เป็น โรงเรียนการช่างขอนแก่น

ปี พ.ศ. 2519 กรมอาชีวศึกษาประกาศยกฐานะโรงเรียนการช่างขอนแก่น และโรงเรียนการช่างสตรีขอนแก่นรวมกันเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น โดยให้ โรงเรียนการช่างขอนแก่น เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาเขต 1 และให้ โรงเรียนการช่างสตรีขอนแก่น เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาเขต 2

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาเขต 1 เปลี่ยนฐานะเป็น วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น จนปัจจุบัน

หลักสูตร

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ เปิดสอนระดับดังนี้

  • ปริญญาตรี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓[2]
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[3]
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • ยานยนต์
  • เครื่องมือกล
  • โครงสร้าง
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • ก่อสร้าง
  • สถาปัตยกรรม
  • สำรวจ
  • เขียนแบบเครื่องกล
  • โทรคมนาคม
  • โยธา
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • เทคนิคยานยนต์
  • เทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม
  • เทคนิคเครื่องกลระบบขนส่งทางราง
  • เครื่องมือกล
  • แม่พิมพ์โลหะ
  • เทคโนโลยีการเชื่อมโครงสร้างโลหะ
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • บำรุงรักษาระบบจำหน่ายและอุปกรณ์
  • อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหรรม
  • เทคนิคก่อสร้าง
  • เทคนิคสถาปัตยกรรม
  • สำรวจ
  • เขียนแบบเครื่องกล
  • ติดตั้งและรำบุงรักษา
  • เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  • เทคนิคโยธา
  • คอมพิมเตอร์ระบบเครือข่าย
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโลยีการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาเทคโลยีแม่พิมพ์
  • สาขาวิชาเทคโลยีไฟฟ้า

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  2. "สถานศึกษาในสังกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  3. "http://ivec.vec.go.th/" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)