วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
ชื่อย่อLPKTC
คติพจน์ศิษย์ก็อยากรู้ ครูก็อยากสอน
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี)
(สถาปนาวิทยาลัย)
ผู้สถาปนาพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
ที่ตั้ง
เลขที่ 999 ถนนเลิศประคอง
ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เป็นศูนย์กลางอำนวยการของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ ตั้งอยู่ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา และเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

ประวัติ[แก้]

เมื่อ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) เจ้าอาวาสแห่งวัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้ดำริที่จะสร้างสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาที่สามารถผลิตบุคลากรให้มีวิชาชีพเพื่อใช้ประกอบวิชาชีพได้ โดยไม่ต้องให้เยาวชนเดินทางไปศึกษาที่อื่น

ต่อมา นายสำเร็จ วงศ์ศักดา อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่จะจัดสร้างว่า ควรเป็นสถานศึกษาที่จัดการสอนด้านสายอาชีพหรืออาชีวศึกษา จึงจะเหมาะกับท้องถิ่นดังนั้นจึงได้เกิดโครงการจัดตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” ขึ้น ซึ่งนายศุภร บุญเนาว์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เป็นประธานโครงการนี้ และได้มอบหมายให้นายสำเร็จ วงศ์ศักดา และคณะเป็นผู้ประสานงานดำเนินการ

จนกระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ขึ้น โดย พระเทพวิทยาคม สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียน อาคารปฏิบัติการ อาคารหอสมุด อาคารพัสดุกลาง อาคารอำนวยการ บ้านพักครูและนักการภารโรงตลอดจนสาธารณูปโภคอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นตามโครงการในปีการศึกษา 2540 ใช้งบประมาณ ไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พระเทพวิทยาคม มอบเงินให้นายสำเร็จ วงศ์ศักดา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เพื่อพัฒนาวิทยาลัยฯ และตั้งมูลนิธิจำนวน 50 ล้านบาทการนี้จึงได้สร้างอาคารหอสมุดอนุรักษ์พลังงานใช้งบประมาณในการก่อสร้างราคาตามแบบ 32 ล้านบาท ทีมงาน ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ ออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน คุณพจน์ ธนโชติ บริษัทคูซ่า ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ให้ความอนุเคราะห์ก่อสร้าง รวมเฟอร์นิเจอร์ภายในราคา 24 ล้านบาท[1]

ต่อมาปี พ.ศ. 2556 วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ และวิทยาลัยาชีวศึกษาสุรินทร์ ควบรวมตั้งขึ้นเป็น สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ โดยมีวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เป็นศูนย์กลางของสถาบัน

หลักสูตรเปิดสอน[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนและสาขาวิชาของวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ[2]
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี

ภาควิชาอุตสาหกรรม

  • สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
  • สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
  • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

ภาควิชาพาณิชยกรรม

  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ภาควิชาอุตสาหกรรม

  • สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล
  • สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
  • สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
  • สาขาวิชาไฟฟ้า
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาช่างก่อสร้าง

ภาควิชาพาณิชยกรรม

  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาการบัญชี

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-23. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  2. "หลักสูตรที่เปิดสอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-13.