ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| show_name = ชิงร้อยชิงล้าน
| show_name = ชิงร้อยชิงล้าน
| image = [[ไฟล์:ชิงร้อยชิงล้าน.jpg|250px]]
| image = [[ไฟล์:ชิงร้อยชิงล้าน.jpg|250px]]
| genre = [[เกมโชว์]]
| aired = [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2533]] - [[15 กันยายน]] [[พ.ศ. 2536]]
| aired = [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2533]] - [[15 กันยายน]] [[พ.ศ. 2536]]
| network = [[ช่อง 7 สี]] (2533-2536)<br>[[เวิร์คพอยท์ ทีวี]] (3 ตุลาคม พ.ศ. 2554)
| network = [[ช่อง 7 สี]] (2533-2536)<br>[[เวิร์คพอยท์ ทีวี]] (3 ตุลาคม พ.ศ. 2554)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:34, 28 สิงหาคม 2560

ชิงร้อยชิงล้าน
ไฟล์:ชิงร้อยชิงล้าน.jpg
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
เสนอโดยปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 สี (2533-2536)
เวิร์คพอยท์ ทีวี (3 ตุลาคม พ.ศ. 2554)

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการเกมโชว์และเป็นรายการลำดับที่ 2 ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)ออกอากาศในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ออกอากาศทุกวันพุธ ตั้งแต่เวลา 22.00 - 23.00 น. (2533-2534) 22.15 - 23.15 น. (2535-2536) ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ประวัติ

ชิงร้อยชิงล้านออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นรายการลำดับที่ 2 ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และเป็นรายการแรกที่มี Jackpot เงินรางวัลสูงสุดในบรรดาเกมโชว์ทั้งหมด (ในสมัยนั้น) คือเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยเปิดโอกาสให้เพื่อนสนิท, พ่อ-ลูก, แม่-ลูก, พระเอก-นางเอก, พี่น้อง และ คู่รักดารา มาเล่นเกมเพื่อลุ้นเงินรางวัล 1,000,000 บาท

เกมในชิงร้อยชิงล้าน

สำหรับเกมของชิงร้อยชิงล้านนั้นจะมีชื่อเกมการแข่งขันทั้ง 2 รอบคือ เกมชิงบ๊วย ชิงดำ ซึ่งในชิงร้อยชิงล้านนั้นจะถูกแบ่งยุคต่างๆและกฎกติกาในเกมนั้นจะถูกปรับเปลี่ยนในช่วงปี 2535

ชิงบ๊วย (ยุคแรก)

ในยุคแรกของชิงร้อยชิงล้าน (ตั้งแต่ 17 มกราคม 2533 ถึง 29 มกราคม 2535) นั้นมีผู้เข้าแข่งขันเป็นคู่ทั้งหมด 4 คู่ โดยพิธีกรนั้นจะมีลูกคะแนน (ปี 2533 มีทั้งหมด 10 ลูก ต่อมาปี 2534 เป็นต้นมา เพิ่มเป็น 12 ลูก) โดยจะมีคะแนนเป็น 0-9 คะแนน (ต่อมาในปี 2534 เพิ่มปัญญาและมยุราโดยมีค่า 10 คะแนน) ให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่เลือกลูกคะแนนออกมา ซึ่งจะให้ผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งเลือกลูกคะแนนคู่ละ 1 ลูก จากทั้งหมด 10 ลูก (ต่อมาเป็น 12 ลูก) ให้ครบ 4 ลูก จากผู้เข้าแข่งขัน 4 คู่ แล้วให้ดูลูกคะแนนของแต่ละคู่ว่าของแต่ละคู่นั้นมีคะแนนมากหรือน้อย ซึ่งจะมีคะแนนตามช่องด้านล่าง โดยที่ผู้เข้าแข่งขัน 4 คู่ นั้นจะไม่สามารถดูคะแนนของทุกๆผู้เข้าแข่งขัน 4 คู่ได้ แต่พิธีกร,ผู้ชมทางบ้าน และผู้ชมในห้องส่ง สามารถดูคะแนนได้ว่าคู่ใดมีคะแนนมากหรือน้อย หลังจากนั้นผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่สามารถสลับเปลี่ยนลูกคะแนนได้ 1 ครั้งว่าจะเปลี่ยนลูกคะแนนกับคู่ใดในแต่ละคู่ ต่อมาพิธีกรจะมีลูกบอลสีส้ม 2 ลูก ซึ่งเรียกว่าลูกขยุ้มขยุม นั่นเอง ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คู่ ซึ่งแต่ละคู่นั้นจะต้องมีลูกบอลสีส้มถือไว้คู่ละ 2 ลูกเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีคำถาม 2 คำถาม ซึ่งเราเรียกว่าเป็นคำถามอ้วน -ผอม นั่นเอง เกมนี้เริ่มตั้งแต่ 17 มกราคม 2533 ถึง 29 มกราคม 2535 โดยพิธีกรจะให้ดูภาพ VTR เป็นการตั้งคำถาม โดยมีหมี ปลื้มและโน้ส อุดม เป็นตัวปริศนา หลังจากที่ภาพ VTR หยุดแล้วก็เป็นคำถามทันที โดยให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คู่ แย่งกันบีบลูกบอลสีส้ม ถ้าคู่ใดที่บีบลูกบอลสีส้มสัมพันธ์กันได้ คู่นั้นจะต้องตอบคำถามให้ถูก พร้อมกับดูภาพเฉลยจากภาพ VTR ถ้าเฉลยถูก คู่ที่ได้ตอบคำถามจะได้สิทธิ์เปลี่ยนลูกคะแนนกับคู่ใดก็ได้หนึ่งครั้ง ถ้าหากว่าตอบผิดจะไม่มีสิทธิ์เปลี่ยน และถ้าคู่ใดมีลูกคะแนนน้อยที่สุด จะต้องตกรอบไป (ในปี 2534-2535 มีรางวัลพิเศษ 10,000 บาท มอบให้จากผู้สนับสนุนในช่วงนั้น ในกรณีที่คู่ใดก็ตามที่ได้ปัญญาหรือมยุรา)

ชิงบ๊วย (ยุคที่ 2)

ต่อมา ตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2536 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ฉากใหม่ และเกมใหม่ ในช่วงชิงบ๊วยนั้น เปลี่ยนจากคำถามอ้วน-ผอม มาเป็นคำถามตัวปริศนา ซึ่งตัวปริศนานั้นก็คือหม่ำ จ๊กมก นั่นเอง ในเกมช่วงชิงบ๊วยนั้น จะเป็นคำถามจากตัวปริศนา ซึ่งพิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่นั้นดูภาพปริศนา และพิธีกรก็จะบอกคำใบ้ต่าง ๆ แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่นั้นสามารถลองถามคำใบ้ให้กับพิธีกร แล้วพิธีกรเองก็จะบอกว่าคำใบ้ที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่ถามนั้น ใช่ หรือ ไม่ใช่ จากนั้นให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่แย่งกันบีบลูกบอลสีส้ม ถ้าคู่ใดบีบลูกบอลสีส้มสัมพันธ์กันแล้วไฟติด คู่นั้นจะได้สิทธิ์ในการตอบคำถาม (ในปี 2536 เปลี่ยนเป็นการแย่งกันกดปุ่มไฟตอบ) ถ้าคู่ใดตอบคำถามถูกจะให้เลือกลูกคะแนนอีก 1 ลูก และบวกกับคะแนนก่อน ถ้าใครได้คะแนนน้อยที่สุด หรือหยิบได้ลูกตกรอบ จะตกรอบทันที ผู้ที่หยิบได้ลูกที่มีรูปคุณปัญญาหรือคุณมยุรา จะมีค่าลูกละ 10 คะแนน แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าผู้เข้าแข่งขันเลือกลูกที่มีรูปของคุณมยุราและนำมารวมกับรูปคุณปัญญา จะถือว่าแพ้ 0 คะแนน ซึ่งนั่นก็คือตกรอบเช่นกัน แต่ลูกที่มีรูปของคุณมยุรา รูปคุณปัญญา และลูกตกรอบ จะมีค่าเงินรางวัลลูกละ 10,000 บาทอยู่ด้วย

และหลังจากนั้นแล้วพิธีกรก็จะเฉลยกับภาพปริศนา โดยให้หม่ำ จ๊กมก ออกมาเฉลยคำตอบให้ และพร้อมไปกับโชว์แสดงตลกในรายการ

ชิงดำ (ยุคแรก)

ในยุคแรกนั้น (ตั้งแต่ 17 มกราคม 2533 ถึง 29 มกราคม 2535) เกมในช่วงนี้จะเหลือผู้เข้าแข่งขันเพียง 3 คู่เท่านั้น แล้วแต่ละทีมก็จะมีแท่งคะแนนอยู่ทีมละ 4 แท่ง (ต่อมาเหลือทีมละ 2 แท่ง) ผู้แข่งขันคู่ที่มีคะแนนมากที่สุดจากรอบชิงบ๊วย จะมีสิทธิ์เลือกว่าจะแข่งกับคู่ใดก่อน แล้วหลังจากนั้นพิธีกรจะมีข้อมูลหรือคำถามให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่ว่าในข้อมูลหรือคำถามนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือคำถามนั้น (ในปี 2533 แผ่นคำถามจะอยู่ที่พิธีกร โดยคุณปัญญาจะเป็นคนถามคำถามให้กับผู้เล่นคู่แรกก่อน และคุณมยุราจะเป็นคนถามคำถามให้กับผู้เล่นอีกคู่หนึ่ง ต่อมาในปี 2534-2535 จะมีแผ่นคำถาม 1-10 ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือก) แล้วให้ใครคนใดคนหนึ่งในคู่นี้ผลัดกันตอบในเวลาเพียง 10 วินาที ถ้าตอบสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องหรือตอบซ้ำกันจะมีเสียงสัญญาณว่าผิด และถ้าพูดซ้อนกันว่าถือว่าแพ้ฟาล์ว ถ้าใครคนใดคนหนึ่งเกิดคิดไม่ออกนึกไม่ออกว่าจะตอบอะไรให้พูดคำว่า "ชิงร้อยชิงล้าน" ซึ่งหมายถึงให้ผ่านหรือข้ามนั่นเอง (ตั้งแต่ 17 มกราคม 2533 ถึงพฤษภาคม 2536 นั้นกลายเป็นคำวลีฮิต "ถ้าหากคิดไม่ออก บอกชิงร้อยชิงล้าน") โดยคู่ที่เล่นเสร็จก่อนจะมีสิทธิ์เลือกว่า จะใช้แท่งคะแนนในคู่ของตนเองโจมตีอีกคู่หนึ่งกี่แท่งคะแนน และอีกคู่หนึ่งจะต้องทำคะแนนให้มากกว่าเพื่อเอาแท่งคะแนนที่โจมตีนั้น แต่ถ้าอีกคู่ทำคะแนนน้อยกว่า จะต้องเสียแท่งคะแนนให้กับคู่ที่เล่นก่อนหน้านั้นไปแล้ว แต่ถ้าเสมอกันจะไม่มีใครเสียแท่งคะแนน คู่ใดที่เสียแท่งคะแนนไปจนหมดเลยจะตกรอบทันที จนกระทั่งเหลือ 1 คู่ที่มีแท่งคะแนนมากที่สุด คู่นั้นจะผ่านเข้ารอบ Jackpot หรือ รอบชิงล้านนั่นเอง

ชิงดำ (ยุคที่สอง)

ในยุคต่อมา (ตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 ถึง 15 กันยายน 2536) เกมในช่วงนี้จะเหลือผู้เข้าแข่งขันเพียง 2 คู่ และปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ โดยมีคำถามทั้งสิ้น 2 ชุด ชุดละ 2 หมวดคำถาม (ชุดแรกคือหมวดที่ 1 และ 2 และชุดที่สองคือ หมวดที่ 3 และ 4) ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิ์เลือกว่าจะเล่นคำถามหมวดใด หลังจากนั้นพิธีกรจะมีข้อมูลหรือหมวดคำถามย่อยให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่ แล้วให้ใครคนใดคนหนึ่งในคู่นี้ผลัดกันตอบ มีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน (ชุดที่ 2 จะเป็นข้อละ 2 คะแนน และมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน) และมีเวลา 45 วินาที ถ้าใครคนใดคนหนึ่งเกิดคิดไม่ออกนึกไม่ออกว่าจะตอบอะไรให้พูดคำว่า "ชิงร้อยชิงล้าน" คำตอบที่ตอบออกมานั้นถ้าซ้ำกันจะไม่นับ ถ้าตอบผิดก็จะไม่ได้คะแนนด้วย คู่ใดได้คะแนนมากที่สุดจะเข้าไปชิงล้านในรอบสุดท้าย และถ้าคู่ใดที่สามารถทำคะแนนเต็มทั้ง 2 หมวด รวม 60 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท

รอบตัดสิน

ในชิงร้อยชิงล้าน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2536 ถึง 15 กันยายน 2536 มีการปรับเปลี่ยนเกมใหม่ โดยในเกมนี้เป็นเกมรอบตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบสุดท้าย ซึ่งจะคล้ายกับเกมชิงล้าน โดยจะมีคำถามอยู่ 5 ข้อ (ช่วงแรกจะมี 3 ข้อ) โดยคนหนึ่งจะอยู่ในห้องที่กั้นเสียงทั้งหมด ส่วนอีกคนหนึ่งจะบอกคำเฉลย โดยคนหนึ่งจะต้องตอบคำถามว่าคน ๆ นั้นชอบอะไรบ้าง เป็นต้น โดยผู้ที่อยู่ในห้องต้องตอบคำตอบทั้ง 5 ข้อ ถ้าใครตอบคำถามได้มากที่สุดจะเข้าสู่รอบสุดท้ายต่อไป

ชิงล้าน

รอบสุดท้าย (Jackpot) หรือรอบชิงล้าน ของรายการชิงร้อยชิงล้านนั้น จะเป็นคำถามทายใจซึ่งเป็นเกมที่ผู้ชมในยุคนั้นรู้จักเป็นอย่างดีโดยเกมนี้เฉพาะผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบเพียง 1 คู่เท่านั้น โดยที่จะต้องให้ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ 1 คู่นั้นแยกตัวออกมา ซึ่งจะต้องให้ใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปอยู่ข้างใน ส่วนอีกคนหนึ่งจะต้องอยู่ข้างนอกในห้องส่ง และส่วนพิธีกรนั้นจะแยกตัวออกมาเหมือนกัน โดยทำหน้าที่ถามคำถาม ซึ่งพิธีกรใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปอยู่ข้างในกับผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ข้างในด้วย และส่วนพิธีกรอีกคนหนึ่งอยู่ข้างนอกในห้องส่งกับผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่งด้วย กติกานั้นจะเป็นคำถามทายใจผู้ที่เข้าแข่งขันอยู่ด้านนอก ซึ่งเกมคำถามทายใจในรอบ Jackpot นั้นจะมีคำถามทั้งหมด 4 ข้อ พร้อมตัวเลือก 4 ตัวเลือก ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งข้างนอกและข้างในตอบคำถามตรงกัน นั่นหมายความว่าถูกต้องนั่นเอง ถ้าตอบคำถามตรงกันถูกต้องครบทั้ง 4 ข้อ จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาท ซึ่งในช่วงแรกสนับสนุนเงินรางวัลโดย แชมพูสระผมยี่ห้อ ไดเมนชั่นทูอินวัน ต่อมาจึงมีผู้ร่วมสนับสนุนเป็นสินค้าอื่นๆ ด้วย แต่ถ้าตอบคำถามไม่ตรงกัน นั่นหมายความว่าผิดนั่นเอง จะได้เงินรางวัล 100 บาท และเกมจะจบลงทันที ต่อมาภายในปี 2535 เงินรางวัลจะเพิ่มอีก 1,000,000 บาทเป็น 2,000,000 บาท โดยแบ่งเงินรางวัลเป็น 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน และอีก 1,000,000 บาท สำหรับผู้โชคดีจากทางบ้านที่ส่งภาพถ่ายที่ล้างอัดโดยกระดาษสี โกดัก รอยัล เปเปอร์มายังรายการ

ต่อมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2536 ถึง 15 กันยายน 2536 มีการปรับเปลี่ยนเกมใหม่ โดยใช้วิธีการเปิดแผ่นป้ายซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเกมโชว์และใช้มาตลอดเกือบ 19 ปี กติกามีอยู่ว่ามีแผ่นป้ายอยู่ทั้งหมด 12 แผ่นป้าย จะมี 0 อยู่ 6 แผ่นป้าย และหม่ำอยู่ 6 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายมา 6 แผ่นป้าย ถ้าเปิดได้ 0 ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้เงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยแบ่งเงินรางวัลเป็น 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน และอีก 1,000,000 บาท สำหรับผู้โชคดีจากทางบ้านที่ร่วมสนุกจากทางรายการ

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้านนั้นมีในช่วงแรก (2533 - 2534) จะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คนต่อทีม โดยส่วนมากจะเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง รวมไปถึงคนดังในแวดวงอื่นๆ ด้วย แต่บางครั้งจะให้ผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านมาเล่นไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือพี่น้องเป็นต้น โดยจะมี 4 ทีมในเกม แต่ในเกมชิงร้อยชิงล้าน (ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 - 15 กันยายน 2536) นั้นมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เข้าแข่งขันโดยเหลือ 3 ทีม ทีมละ 2 คน (เช่นเดียวกันกับ ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) โดยทางรายการจะเชิญดาราที่เป็นเพื่อนสนิท, คู่พระเอก-นางเอก, พ่อ-ลูก, แม่-ลูก ด้วยตามโอกาสของรายการ

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก) ถัดไป
- ชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก)
(17 มกราคม 2533 - 15 กันยายน 2536)
ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret