ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เผด็จการทหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้กองทัพไม่สามารถยกคอมมิวนิสต์มาอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีก{{อ้างอิง}}
ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้กองทัพไม่สามารถยกคอมมิวนิสต์มาอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีก{{อ้างอิง}}

== ปัจจุบัน ==
{|class="wikitable sortable"
|-
!ประเทศ
!อดีต
!ใช้ระบอบเผด็จการทหารตั้งแต่
!เหตุการณ์
|-
|{{flagicon|North Korea}} [[ประเทศเกาหลีเหนือ]]
|[[รัฐพรรคการเมืองเดียว]]
| style="text-align:center;"|5 กันยายน 2542
| style="text-align:center;"|[[คณะกรรมาธิการป้องกันชาติเกาหลีเหนือ]]ประกาศตนเป็นองค์การสูงสุด
|-

ประเทศไทย

|[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]
| style="text-align:center;"|22 พฤษภาคม 2557
| style="text-align:center;"|[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]]
|}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 4 มกราคม 2560

ระบอบเผด็จการทหาร (อังกฤษ: military dictatorship) คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ ถือได้ว่าเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยลัทธิอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง

เผด็จการทหารต่างจากเผด็จการพลเรือนด้วยหลายสาเหตุ คือ แรงจูงใจของการยึดอำนาจ สถาบันซึ่งใช้จัดระเบียบการปกครอง และหนทางสละอำนาจ เผด็จการทหารมักมองว่าตนกำลังช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากนักการเมืองพลเรือนที่ฉ้อฉลหรือวิสัยทัศน์คับแคบ และอ้างฐานะของตนเป็นผู้ชี้ขาด "คนกลาง" บนฐานสมาชิกภาพในกองทัพ ผู้นำทหารมักปกครองเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยเลือกหนึ่งในพวกตนเป็นหัวหน้า[1]

ลักษณะและการแบ่งหมวดหมู่

รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลังรัฐประหารล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอย่างที่ต่างออกไป เช่น สมัยซัดดัม ฮุสเซน ในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียว คือ พรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)[ต้องการอ้างอิง]

เผด็จการทหารมักอ้างความชอบธรรมให้แก่ตนเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ยกภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์และทุนนิยมเป็นข้ออ้างของรัฐประหาร คณะทหารมักว่าพวกเขาไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่เป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหารมักไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

ละตินอเมริกา ทวีปแอฟริกา และตะวันออกกลางเป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้กองทัพไม่สามารถยกคอมมิวนิสต์มาอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีก[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. Cheibub, José Antonio (2010-04-01). "Democracy and dictatorship revisited". Public Choice. 143 (1–2): 67–101. doi:10.1007/s11127-009-9491-2. ISSN 0048-5829. สืบค้นเมื่อ 2014-03-24. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

ดูเพิ่ม