ศิลปะคริสเตียน
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย
ศิลปะคริสเตียน (อังกฤษ: Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ประวัติ[แก้]

เบื้องต้น[แก้]
ศิลปะคริสเตียนมีอายุนานพอ ๆ กับศาสนาคริสต์ สื่อที่พบที่เก่าที่สุดมาจาก ค.ศ. 70 ที่นักโบราณคดีพบที่ว้ดที่เมกิดโด (Megiddo) และประติมากรรมเก่าที่สุดที่พบมาจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นงานสลักบนโลงหิน
หลังจักรวรรดิโรมัน[แก้]
ศิลปะที่พบหลักจากจักรวรรดิโรมันล่มเป็นศิลปะคริสเตียนแทบทั้งสิ้น หลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสถาบันศาสนาคริสต์ก็เข้ามามีบทบาทและอำนาจแทนที่ซึ่งปัจจุบันคือสถาบันโรมันคาทอลิกผู้เป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างศิลปะคริสเตียน ทางออร์ทอดอกซ์ตะวันออกที่คอนสแตนติโนเปิลที่ยังมีความสงบกว่าภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันตะวันออกก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างศิลปะคริสเตียนทางตะวันออก เมื่อสถานะการทางการเมืองของทางตะวันตกเริ่มมั่นคงขึ้นบางระหว่างยุคกลางสถาบันโรมันคาทอลิกก็เพิ่มบทบาทในการสนับสนุนการสร้างศิลปะโดยการจ้างจิตรกร ประติมากร และสถาปนิกในสร้างงานให้สถาบันโดยตรง สถาปัตยกรรมศาสนาคริสต์ออกมาในรูปของวัดแบบต่าง ๆ, มหาวิหาร, สำนักสงฆ์ และ ที่เก็บศพ หรือ อนุสาวรีย์ผู้ตาย (tombs)
ระหว่างการวิวัฒนาการทางศิลปะคริสเตียนในจักรวรรดิไบแซนไทน์จากแบบนามธรรมของกรีกก็กลายมาเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้นบ้าง แต่ลักษณะใหม่นี้ก็ยังเป็นแบบจินตนิยม (hieratic) จุดประสงค์ของศิลปะทำเพื่อสื่อสารข้อมูลทางศาสนามีใช่เพื่อให้เหมือนสิ่งที่วาดหรือแม่แบบอย่างเที่ยงตรง การเขียนภาพจะไม่คำนึงถึงการเขียนแบบทัศนียภาพ ให้ได้สัดส่วนแสงเงาที่ถูกต้องแต่จะใช้รูปทรงที่ง่าย และการวางองค์ประกอบที่เป็นมาตรฐาน เพราะความขัดแย้งในการใช้ "รูปต้องห้าม" (idol หรือ graven images) จากที่ตีความหมายจากบัญญัติข้อที่สองของบัญญัติ 10 ประการและสถานะการณ์เกี่ยวกับลัทธิทำลายรูปสัญลักษณ์ทำให้มีผลสองประการ: การออกมาตรฐานของการแสดงรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์ภายในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ซึ่งเป็นผลให้การแสดงออกทางศิลปะเป็นแบบจุลนิยมในศิลปะของนิกายโปรเตสแตนต์ต่อมาภายหลัง
สมัยใหม่[แก้]
เมื่อปรัชญาทางโลกและการแยกระหว่างศาสนากับทางโลกเริ่มมีความสำคัญมาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุโรปตะวันตก ก็เริ่มมีการสะสมศิลปะคริสเตียนจากยุคกลางมิใช่เพื่อเป็นการสักการะแต่เพราะเป็นสิ่งสะสมที่มีคุณค่าทางศิลปะในขณะเดียวกันศิลปะคริสเตียนร่วมสมัยก็ลดความสำคัญลง ศิลปินก็สร้างงานทางศาสนาน้อยลงเป็นลำดับหรือถ้าทำก็เป็นโอกาสพิเศษ แต่ก็มีศิลปินบางคนที่ยังสร้างงานศาสนาเช่น มาร์ก ชากาล (Marc Chagall), อ็องรี มาติส, เจคอป เอพสไตน์ (Jacob Epstein) และอลิสซาเบ็ธ ฟริงค์ (Elizabeth Frink)[1]
---คริสต์ศิลป์สมัยนิยม---
วิวัฒนาการการพิมพ์ทำให้เกิดความแพร่หลายของลัทธินิยมในการเป็นเจ้าของภาพพิมพ์ทางศิลปะ เช่นงานจิตรกรรมของ Mihály Munkácsy ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรืองานสมัยใหม่ของทอมัส คินเคด (Thomas Kinkade) และทอมัส แบล็กเชียร์ (Thomas Blackshear) เป็นต้น[2]
สัญลักษณ์นิยม[แก้]
ศิลปะคริสเตียนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดมักจะแสดงบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง แต่ละชิ้นก็จะเป็นสัญลักษณ์นิยม(Symbolism) ของแต่ละนิกาย การใช้สัญลักษณ์ไม่มีกฎตายตัวเช่นการใช้กางเขนก็จะไม่เหมือนกันไปทุกนิกายหรือลัทธิ หรือแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามหัวข้อใหญ่ ๆ ที่ทำกันไม่ว่าจะเป็นลัทธิใดก็ได้แก่
หัวเรื่องศิลปะคริสเตียน[แก้]
หัวเรื่องศิลปะคริสเตียนที่นิยมเขียนหรือสร้างกันมากก็ได้แก่
- "การประกาศของเทพ"[1] (Annunciation)
- "การประสูติของพระเยซู"[2] (Nativity of Jesus (art))
- "การชื่นชมของแมไจ"[3] (Adoration of the Magi)
- "การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ"[4] (Adoration of the shepherds)
- "การชื่นชมพระเยซู" (Adoration of Jesus)
- "พระแม่มารีและพระบุตร"[5] (Madonna and Child) ซึ่งอาจจะมีนักบุญอยู่รอบ ๆ หรือผู้อุทิศ
- "พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญ" [6] (Sacra conversazione) ซึ่งเป็นพระแม่มารีและพระบุตรกับกลุ่มนักบุญ
- "พระเยซูรับศีลจุ่ม"[7] (Baptism of Jesus)
- "ครอบครัวพระเยซู"[8] (Holy Family)
- "พระเยซูหนีไปอียิปต์"[9] (Flight into Egypt)
- "พระเยซูเข้ากรุงเยรุซาเล็ม"[10] (Entry into Jerusalem)
- "พระเยซูในสวนเกทเสมนี"[11] (Jesus praying in Gethsemane)
- "พระเยซูถูกจับ"[12] (Arrest of Jesus)
- "การตัดสินของพระเยซู"[13] (Sanhedrin Trial of Jesus)
- "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย"[14] (The Last Supper)
- "พระเยซูบนกางเขน"[15] (Crucifixion)
- "ชะลอร่างจากกางเขน"[16] (Descent from the Cross)
- "ปิเอต้า"[17] (Pietà หรือ Lamentation)
- "พระเยซูคืนชีพ"[18] (Resurrection appearances of Jesus)
- "อย่ายึดข้า"[19] (Noli me tangere)
- "ทางสู่กางเขน" (Stations of the Cross)
- "อัสสัมชัญของพระเยซู"[20] (Ascension of Jesus)
- "พระเยซูผู้ทรงเดชานุภาพ"[21] (Christ in Majesty)
- "การตัดสินครั้งสุดท้าย"[22] (The Last Judgment)
- "การประสูติของพระแม่มารี" (Nativity of Mary/Birth of Virgin)
- "การสวมมงกุฏพระแม่มารี"[23] (Coronation of the Virgin)
- "อัสสัมชัญของพระแม่มารี"[24] (Assumption of the Virgin Mary in Art)
- "มาเอสตา"[25] (Maestà)
- "ตรีเอกภาพ"[26] (Trinity)
- "พงศาวลีเจสสี"[27] (Tree of Jesse)
- "เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค"[28] (Sacrifice of Isaac)
- "ขับจากสวรรค์"[29] (Expulsion of Adam and Eve หรือ Fall of Man)
- เทวดา, นักบุญ, พระสันตะปาปา
อ้างอิง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
- ศิลปะไบแซนไทน์
- ศิลปะกอทิก
- สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
- สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์
- สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์
- สถาปัตยกรรมกอทิก
- สถาปัตยกรรมบาโรก
- สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา
- สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะคริสเตียน
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมฝาผนังของศาสนาคริสต์
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเยซู
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระแม่มารีและพระบุตร
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพเขียนนักบุญ
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รูปปั้นในศาสนาคริสต์
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมวัดศาสนาคริสต์
ตัวอย่างศิลปะแบบต่าง ๆ และสมัยต่าง ๆ[แก้]
ประติมากรรม
"ตรีเอกภาพ" โดย (ค.ศ. )จิตรกรรมแผง
"พระเยซูในสวนเกทเสมนี" โดยครูบาวัดซังเซเวรอง (ราว ค.ศ. 1500) มิวนิก, ประเทศเยอรมนีหน้าต่างประดับกระจกสี
"การตัดสินครั้งสุดท้าย" วัดแฟร์ฟอร์ด, อังกฤษรูปแขวนจากเพดานเหนือแท่นบูชา "พระแม่มารีและพระบุตร" มหาวิหารอาเคิน เยอรมนี
บานพับภาพ
"นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป"
โดยซิโมเน มาร์ตินิ (ราว ค.ศ. 1328)หนังสือวิจิตร
"การพลีชีพของนักบุญมาร์คอีแวนเจลลิส"
จากหนังสือสวดมนต์ของดุ๊กเดอเบอร์รีงานโลหะบน
บานประตูหอศีลจุ่ม
"พระเยซูถกกับปราชญ์ในวัด"
โดยโลเรนโซ กีแบร์ตี
(ค.ศ. 1425-1452)งานโมเสก
"สวมมงกุฏพระแม่มารี"
มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร,
โรม (ค.ศ. 1295)สื่อผสม (ประติมากรรม
และจิตรกรรม)
"พระเยซูทรงกางเขน"
ที่ซาโครมอนเตที่เมืองวารัลโลในประเทศอิตาลี