นวทุรคา
นวทุรคา | |
---|---|
พลัง, อำนาจ, การปกป้อง, ความรู้, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์ และ โมกษะ | |
พระทุรคา 9 ปาง หรือนวทุรคา | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | नवदुर्गा |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | navadurgā |
ส่วนเกี่ยวข้อง | อาทิศักติ, พระทุรคา, พระปารวตี, เทวี |
ที่ประทับ | มณีทวีป, เขาไกรลาส |
มนตร์ | โอม ไอม หรีม ศรีม มะหาทุรคาไย นะโม นะมะห์ |
อาวุธ | ขัณฑา, ธนู, ตรีศูล, สุทรรศนจักร, คฑา, โล่, ศังขา, ฆัณฏา |
พาหนะ | สิงโต, เสือ, นนทิ, วัว, ลา และ บัวหลวง |
เทศกาล | นวราตรี, ทุรคาบูชา, วิชัยทัศมี, ทุรคาษฏมี |
นวทุรคา (สันสกฤต: नवदुर्गा, อักษรโรมัน: Navadurgā) เป็นอวตารเก้าปางของพระทุรคาในศาสนาฮินดู[1][2] เป็นที่นิยมบูชาเป็นพิเศษในเทศกาลนวราตรีและทุรคาบูชา[3] โดยส่วนใหญ่นิยมถือว่านวทุรคารวมกันเป็นเทวีองค์เดียว โดยเฉพาะในคติของลัทธิศักติและลัทธิไศวะ[4]
ตามปรัมปราวิทยาฮินดูเชื่อว่าเก้าปางอวตารคือพระทุรคาทั้งเก้าระยะในระหว่างการรบกับเจ้าแห่งอสูร มหิษาสูร และวันที่สิบจะฉลองเป็นวันวิชัยทัศมี ("วันแห่งชัยชนะ") การเฉลิมฉลองนี้ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดเทศกาลหนึ่งของชาวฮินดู[5]
ปางอวตาร
[แก้]อวตารหลัก
[แก้]ที่ | ภาพ
(ประติมานวิทยา) |
นาม | วาหนะ | วรรณะ[A] | มนตร์ | รูป | Ref |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1. | ไศลปุตรี
"บุตรีแห่งเขา" |
นนทิ (วัว) | พระปารวตีครั้นเยาว์วัยโดยมีรูปหลักเป็นพระทุรคา | ॐ देवी शैलपुत्र्यै नमः โอํ เทวี ไศลปุตฺรฺไย นมะ |
บนแขนขาทรงเครื่องประดับชิ้นเบา พัสตราภรณ์สีแดงและชมพู มือหนึ่งทรงตรีศูล อีกมือหนึ่งทรงดอกบัว ประทับบนวัวสีขาว | [7] | |
2. | พรหมจาริณี
"มารดาแห่งความทุ่มเทและการไถ่บาป" |
ไม่มี | พระทุรคาขณะถือพรต | ॐ देवी ब्रह्मचारिण्यै नम:
โอํ เทวี พฺรหฺมจาริณฺไย นมะ |
เทวีในรูปนักพรตสตรี ประดับกายด้วยเม็ดรุทรักษ์และดอกไม้แห้ง มือหนึ่งทรงประคำ อีกมือหนึ่งทรงหม้อน้ำ | [8] | |
3. | จันทรฆัณฏา
"ผู้ขจัดอสูร" |
เสือ | พระทุรคาในปางศักติ | ॐ देवी चंद्रघण्टायै नम:
โอํ เทวี จํทฺรฆณฺฏาไย นมะ |
มีสิบมือ ในจำนวนนี้เก้ามือทรงตรีศูล, คฑา, คันธนู, ธนู, บัว, ดาบ, ระฆัง, หม้อน้ำ อีกมือหนึ่งแสดงมุทราโปรดสาธุชน ประทับนั่งบนเสือดุร้าย | [9] | |
4. | กูษมาณฑา
"เทวีแห่งไข่จักรวาล" |
พระทุรคาในปางมหาศักติ | ॐ ऐं ह्रीं क्लीं कूष्मांडायै नम:
โอํ ไอํ หฺรีํ กฺลีํ กูษฺมําฑาไย นมะ |
มีแปดมือ ในจำนวนนี้หกมือทรงจักร, คฑา, บัว, คันธนูกับธนู, ดาบ, ประคำ อีกสองมือทรงหม้อน้ำผึ้งกับหม้อน้ำ ประทับบนหลังสิงโต | [10] | ||
5. | สกันทมาตา
"เทวีแห่งความเป็นมารดาและการเลี้ยงบุตร" |
สิงโต | พระทุรคาในปางมารดา | ॐ देवी स्कन्दमातायै नम:
โอํ เทวี สฺกนฺทมาตาไย นมะ |
มีสี่มือ สองมือทรงดอกบัว, มือที่สามทรงอุ้มบุตร ซึ่งคือพระขันธกุมารหกเศียรในปางเยาว์วัยประทับบนตัก มือที่สี่แสดงมุทราช่วยเหลือสาธุชน ประทับนั่งบนหลังสิงโต | [11] | |
6. | กาตยายนี
"เทวีแห่งพลังอำนาจ" |
พระทุรคาในปางออกรบ | ॐ देवी कात्यायन्यै नम:
โอํ เทวี กาตฺยายนฺไย นมะ |
บนแขนขาทรงเครื่องประดับหนัก พัสตราภรณ์เป็นเสื้อคลุมชั้นนอกสีเขียวและชมพู มีสี่มือ ทรงดาบ, โล่, บัว และตรีศูล ประทับบนสิงโตที่น่าเกรงขาม | [12] | ||
7. | กาลราตรี
"เทวีแห่งความเป็นมงคลและความหาญกล้า " |
ลา | พระทุรคาในปางทำลายล้าง | ॐ देवी कालरात्र्यै नम:
โอํ เทวี กาลราตฺรฺไย นมะ |
มีสามเนตรสีแดงก่ำ เกศายุ่งเป็นกระเซิง คล้องศอด้วยมาลัยกะโหลกซึ่งส่องแสงประดุจฟ้าผ่า สี่มือทรงตรีศูล, ดาบโค้งคมด้านเดียว (scimitar), วัชระ และถ้วย ประทับนั่งด้านหลังลา | [13] | |
8. | มหาเคารี
"เทวีแห่งความงามและสตรี" |
วัว | พระทุรคาในปางแห่งการรื้อฟื้น | ॐ देवी महागौर्यै नम:
โอํ เทวี มหาเคารฺไย นมะ |
มีสี่มือ สามมือทรงตรีศูล, กลองเล็ก และบัวชมพู อีกมือหนึ่งแสดงมุทราให้ความคุ้มครองแก่สาธุชน ประทับบนวัวสีขาว | [14] | |
9. | สิทธิทาตรี
"เทวีแห่งพลังอำนาจเหนือธรรมชาติหรือสิทธิ" |
บัว | พระทุรคาในปางแห่งการเข้าสู่รูปยิ่งใหญ่สูงสุดในฐานะมหาศักติ | ॐ ऐं ह्रीं क्लीं सिद्धिदात्यै नम:
โอํ ไอํ หฺรีํ กฺลีํ สิทฺธิทาตฺไย นม: |
มีสี่มือ ทรงจักร, หอยสังข์, บัวชมพู และคฑา ประทับนั่งบนดอกบัวที่บานเต็มที่ | [15] |
ปางอื่น ๆ
[แก้]ในบางธรรมเนียมและบางคัมภีร์ของฮินดู อาจมีนวทุรคาในปางที่ต่างกันไป เช่นในอัคนีปุราณะ ซึ่งระบุนามไว้ดังนี้[16]
- รุทรจันทา (Rudrachanda)
- ประจันทา (Prachanda)
- จันโทครา (Chandogra)
- จันทนายิกา (Chandanayika)
- จันทา (Chanda)
- จันทาวตี (Chandavati)
- จันทรูปา (Chandarupa)
- อติจันทิกา (Atichandika)
- อุครจันทา (Ugrachanda)
ที่กนกทุรคามนเทียรในวิชัยวาฑะ รัฐอานธรประเทศ ยังมีการบูชาพระราชราเชศวรีเก้าปางในฐานะนวทุรคาในเทศกาลนวราตรี[17]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Parvati has been described in the nine stage in nine different depiction, where she become the Maha Shakti in last stage of Siddhidhatri, after gaining Siddhis.[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ J. Gordon Melton; Baumann, Martin (2010). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 2600–2602. ISBN 978-1-59884-204-3.
- ↑ Amazzone 2010, p. 184.
- ↑ Ramachandran 2020, pp. 21–23.
- ↑ Ramachandran 2020, p. 67.
- ↑ Sharma 2021, p. 73.
- ↑ Ramachandran 2020, p. 23.
- ↑ Ramachandran 2020, pp. 29–30.
- ↑ Mittal 2006, p. 63.
- ↑ Ostor 2004, p. 34.
- ↑ Ramachandran 2020, pp. 48–51.
- ↑ Mishra 1989, p. 36.
- ↑ Sivkishen 2016, p. 176.
- ↑ Ramachandran 2020, pp. 68, 70.
- ↑ Gangadharan, N (1954). The Agni Purana (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publishers. p. 132. ISBN 9788120803596.
- ↑ Menon, Anoop. "Navratri 2017: The 10 Forms of Durga Venerated at Kanaka Durga Temple | India.com". www.india.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-02.
บรรณานุกรม
[แก้]- "Navratri 2021: What are the nine forms of Maa Durga and the special prasad offered to them". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - Ramachandran, Nalini (2020). Nava Durga: The Nine Forms of the Goddess (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books. ISBN 978-93-5305-981-1.
- Amazzone, Laura (2010). Goddess Durga and Sacred Female Power (ภาษาอังกฤษ). University Press of America. ISBN 978-0-7618-5313-8.
- Ostor, Akos (2004). The Play of the Gods: Locality, Ideology, Structure, and Time in the Festivals of a Bengali Town (ภาษาอังกฤษ). Orient Blackswan. ISBN 978-81-8028-013-9.
- Mishra, P. K. (1989). Culture, Tribal History, and Freedom Movement: Dr. N.K. Sahu Commemoration Volume (ภาษาอังกฤษ). Agam Kala Prakashan.
- Sharma, Vidya Sagar (2021). Mata Vaishno Devi (Prabhat Prakashan) (ภาษาฮินดี). Prabhat Prakashan. ISBN 978-81-7315-903-9.
- Mittal, J. P. (2006). History Of Ancient India (a New Version) : From 7300 Bb To 4250 Bc (ภาษาอังกฤษ). Atlantic Publishers & Dist. ISBN 978-81-269-0615-4.</ref>
- Sivkishen (2015). Kingdom of Shiva (ภาษาอังกฤษ). Diamond Pocket Books Pvt Ltd. ISBN 978-81-288-3028-0.