การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประมุขแห่งรัฐในการประชุมสุดยอด

การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (อังกฤษ: Millennium Summit) เป็นการประชุมของผู้นำทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 - 8 กันยายน 2000[1][2] ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนครนิวยอร์กของสหรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของสหประชาชาติในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21[3] ในการประชุม ผู้นำโลกให้สัตยาบันต่อปฏิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ[4] การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของผู้นำโลกที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของปี 2000[3] ตามมาด้วยการประชุมสุดยอดผู้นำโลกในอีกห้าปีต่อมา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 16 กันยายน 2005

เป้าหมาย[แก้]

มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ระบุว่า พยายามที่จะยึด "ช่วงเวลาอันเป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ที่น่าสนใจในการชี้แจงและยืนยันวิสัยทัศน์อันมีชีวิตชีวาสำหรับสหประชาชาติ"[5]

ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติทั้ง 189 ประเทศตกลงที่จะช่วยเหลือพลเมืองในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกให้มีชีวิตที่ดีขึ้นภายในปี 2015 กรอบการทำงานสำหรับความก้าวหน้านี้มีระบุไว้ในเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ MDG เป้าหมายเหล่านี้ได้มาจากปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ[6] การประชุมสุดยอดนี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นต่าง ๆ ในระดับโลก เช่น ความยากจน โรคเอดส์ และวิธีแบ่งปันผลประโยชน์ของโลกาภิวัตน์ อย่างยุติธรรมมากขึ้น[7]

การมอบหมาย[แก้]

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2000 ผู้ได้รับมอบหมายจากทั่วโลกเริ่มเดินทางไปยังสหรัฐ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ เจ้าหน้าที่สายการบินอเมริกันตรวจสอบคณะผู้แทนของประเทศเกาหลีเหนือที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ระหว่างแวะพักในประเทศเยอรมนี[8] เจ้าหน้าที่ของ สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ เรียกร้องให้มีการตรวจค้นสมาชิกคณะผู้แทนและข้าวของของพวกเขา เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องเหล่านี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงถอนคณะผู้แทนออกจากการประชุมสุดยอด ในฐานะนักการทูต เจ้าหน้าที่ไม่ควรถูกตรวจค้น[9]

ผู้นำจากทั่วโลกจำนวนมากกว่า 150 คนเข้าร่วมในการประชุมในครั้งนี้ รวมถึงประมุขแห่งรัฐ 100 คน หัวหน้ารัฐบาล 47 คน มกุฏราชกุมาร 3 พระองค์ รองประธานาธิบดี 5 คน รองนายกรัฐมนตรี 3 คน และผู้แทนอีก 8,000 คน[10] นอกจากนี้ กลุ่ม 77 ยังเข้าร่วมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สหประชาชาติเผชิญในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21

การประชุมสุดยอด[แก้]

ตารยา ฮาโลเนน ประธานาธิบดีฟินแลนด์ และ แซม นูโจมา ประธานาธิบดีนามิเบีย เป็นประธานร่วมในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาใหญ่ของธีโอ-เบน กูริรับ แห่งนามิเบียในสมัยประชุมที่ 54 และของ แฮร์รี่ โฮลเคริ แห่งฟินแลนด์ในสมัยประชุมที่ 55 ดังนั้น ประมุขแห่งรัฐของฟินแลนด์และนามิเบียจึงได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมสุดยอดในครั้งนี้[11]

โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวเปิดการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2000 ก่อนเริ่มต้นการประชุมสุดยอด แอนนันประกาศให้ทุกคนยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาที เพื่อไว้อาลัยแด่คนงานขององค์การสหประชาชาติ 4 คน ที่ถูกสังหารในติมอร์ตะวันตกโดยกองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนอินโดนีเซีย บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ และวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ร่วมกันร้องขอสันติภาพโลกและการลดอาวุธ ผู้อภิปรายอีก 63 คนอภิปรายคนละ 5 นาที ในระหว่างการประชุมสุดยอด บิล คลินตัน ได้จัดการประชุมแยกกันกับ เอฮุด บารัค นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ โดยเรียกร้องให้ทั้งสองบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างทั้งสองประเทศ[3] แม้ว่าจะไม่มีความคืบหน้าอย่างแท้จริงในการดำเนินการก็ตาม อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุข้อตกลงดังกล่าว[7]

วันที่ 7 กันยายน ผู้นำต่าง ๆ ของโลก หารือในประเด็นการรักษาสันติภาพ พวกเขาหารือประเด็นเหล่านี้ในการสัมมนาโต๊ะกลมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีการกำหนดผู้อภิปรายสำหรับการประชุมสุดยอดในวันนี้จำนวน 70 คน รวมถึง เจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน, ทาบอ อึมแบกี ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้, จันดริกา กุมาราตุงกะ ประธานาธิบดีศรีลังกา, โยชิโร โมริ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ อาหมัด เทยาน แคบบาห์ ประธานาธิบดีเซียร์ราลีโอน[3]

วันที่ 8 กันยายน การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษสิ้นสุดลง หลังจากผู้นำโลก 60 คนกล่าวถ้อยแถลงคนละ 5 นาที ผู้อภิปรายในวันนี้ประกอบด้วย อับดุลเราะห์มาน วาฮิด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โรเบิร์ต มูกาเบ ประธานาธิบดีซิมบับเว โอลูเซกุน โอบาซานโจ ประธานาธิบดีไนจีเรีย อาตัล เบฮารี วัจปายี นายกรัฐมนตรีอินเดีย[3] และ สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้แทนจากประเทศไทย[12]

การเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง[แก้]

เอฮุด บารัค นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เรียกร้องให้ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์บรรลุข้อตกลงกับเขา ในระหว่างการประชุมสุดยอด บารัคกล่าวว่า:

The opportunity for peace in the Middle East is now at hand and must not be missed. Jerusalem, the eternal capital of Israel, now calls for a peace of honour, of courage and of brotherhood. We recognise that Jerusalem is also sacred to Muslims and Christians around the world and cherished by our Palestinian neighbours. A true peace will reflect all these bonds.[7]

โอกาสแห่งสันติภาพในตะวันออกกลางมาถึงแล้วและไม่ควรพลาด กรุงเยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงอันนิรันดร์ของอิสราเอล บัดนี้เรียกร้องให้มีสันติภาพแห่งเกียรติยศ ความกล้าหาญ และภราดรภาพ เราตระหนักดีว่ากรุงเยรูซาเลมยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวมุสลิมและคริสเตียนทั่วโลกและเป็นที่รักของเพื่อนบ้าน ชาวปาเลสไตน์ของเรา สันติภาพที่แท้จริงจะสะท้อนถึงความผูกพันทั้งหมดนี้

— เอฮุด บารัค, ใน การประชุมสุดยอดแห่งสหัสววรรษ

ยัสเซอร์ อาราฟัต ตอบสนองต่อความคิดเห็นของเอฮุต บารัค โดยกล่าวว่าชาวปาเลสไตน์ได้มีส่วนร่วมในความพยายามด้านสันติภาพแล้วโดยการเสียสละครั้งสำคัญต่อการประนีประนอมระหว่างทั้งสองประเทศ[7]

กองกำลังรักษาสันติภาพ[แก้]

โทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เรียกร้องให้มีการยกเครื่องกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เขาเรียกร้องให้มีการเกณฑ์เจ้าหน้าที่ทหารมาควบคุมการปฏิบัติการ[13] บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของภารกิจรักษาสันติภาพเหล่านี้[14]

ปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ[แก้]

ผู้นำโลกที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษได้รับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ โดยมุ่งมั่นที่จะ "ปลดปล่อยผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กทุกคนจากสภาพที่ต่ำต้อยและลดทอนความเป็นมนุษย์ของความยากจนขั้นรุนแรง" ในตอนท้ายของการประชุมสุดยอด ได้มีการร่างปฏิญญาแห่งสหัสวรรษขึ้นจำนวน 8 บท โดยเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ ซึ่งเดิมพัฒนาโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษในปีถัดมาหลังจากการประชุมสุดยอด[15] ผู้ได้รับมอบหมายในการประชุมสุดยอดนี้ตกลงกันใน 8 บทต่อไปนี้: [16]

  1. ค่านิยมและหลักการ
  2. สันติภาพ ความมั่นคง และการลดอาวุธ
  3. การพัฒนาและการขจัดความยากจน
  4. การปกป้องสิ่งแวดล้อมร่วมกันของเรา
  5. สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล
  6. การปกป้องผู้อ่อนแอ
  7. ตอบสนองความต้องการพิเศษของแอฟริกา
  8. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสหประชาชาติ

การติดตาม[แก้]

การประชุมสุดยอดเพิ่มเติมจะจัดขึ้นทุก ๆ 5 ปีหลังการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ เพื่อประเมินความก้าวหน้าของสหประชาชาติในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ การติดตามผลการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2005 ใน การประชุมสุดยอดผู้นำโลก

การประชุมสุดยอดสหประชาชาติเพื่อรับรองวาระการพัฒนาหลังปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 27 กันยายน 2015 ที่นิวยอร์ก และจัดขึ้นเป็นการประชุมระดับสูงของสมัชชาใหญ่[17] ผู้แทนเสนอ 6 หัวข้อสำหรับการสนทนาเชิงโต้ตอบ:

  • การขจัดความยากจนในทุกมิติและแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน
  • จัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุวิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น
  • การสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ครอบคลุม และยืดหยุ่น
  • ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและสถาบันที่เข้มแข็ง
  • ความร่วมมือระดับโลกที่ได้รับการต่ออายุและวิธีการดำเนินการที่เพียงพอ
  • ทบทวนความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อผูกพันเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน; ความเป็นสากลและความแตกต่าง

ประเด็นเหล่านี้ได้รับการแสดงไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อที่รับรองโดยมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในที่สุด

อ้างอิง[แก้]

  1. "General Assembly Session 55, Meeting 3". 6 September 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2007.
  2. "General Assembly Session 55, Meeting 8". 8 September 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2007.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "UN summit agenda; The largest gathering of world leaders in history meets in New York to discuss the role of the United Nations in the 21st century". BBC News. 7 December 2000. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  4. "The Millennium Summit and Its Follow Up". Global Policy Forum. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  5. "Reclaiming the Future: The Millennium Summit". HighBeam Encyclopedia. HighBeam Research. 22 September 2000. สืบค้นเมื่อ 12 March 2007.
  6. "International Conference on Population and Development". UNFPA. สืบค้นเมื่อ 23 November 2006.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "No Mid-East advance at UN summit". BBC News. 7 September 2000. สืบค้นเมื่อ 7 December 2006.
  8. "Clinton Voices Regret Over Frankfurt Airport Confrontation". People's Daily. 8 September 2000. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  9. "US regrets 'insult' to North Korea". BBC News. 5 September 2000. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
  10. "United Nations Millennium Declaration". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2006. สืบค้นเมื่อ 23 December 2006.
  11. นูโจมา, แซม (6 September 2000). STATEMENT BY H.E. DR. SAM NUJOMA, PRESIDENT OF THE REPUBLIC OF NAMIBIA IN HIS CAPACITY AS CO-CHAIRMAN OF THE MILLENNIUM SUMMIT ON THE OCCASION OF THE OFFICIAL OPENING OF THE MILLENNIUM SUMMIT [คำแถลงโดย ฯพณฯ ดร. แซม นูโจมา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนามิเบียในวิสัยของเขาในฐานะประธานร่วมของการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษในโอกาสเปิดการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษอย่างเป็นทางการ] (Speech). การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2005. สืบค้นเมื่อ 19 February 2007.
  12. "ไทยกับการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ". RYT9. 7 September 2000. สืบค้นเมื่อ 6 September 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Blair calls for UN force shake-up". BBC News. 6 September 2006. สืบค้นเมื่อ 7 December 2006.
  14. Wildmoon, KC (6 September 2000). "Clinton welcomes world leaders to U.N. Millennium Summit; Deaths in West Timor cast shadow over historic conference". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 9 December 2006.
  15. "OECD Development Co-operation Directorate: The DAC's role in the genesis of the Millennium Development Goals". สืบค้นเมื่อ 9 September 2007.
  16. "A/res/55/2 United Nations Millennium Declaration". สืบค้นเมื่อ 9 September 2007.
  17. "United Nations Summit to adopt the post-2015 development agenda". 6 April 2015.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เรื่องราวความร่วมมือในการพัฒนา
ปัญหาความร่วมมือในการพัฒนา
สารคดีโครงการ Vrinda: เรื่องราวของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ