เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Sustainable Development Goals.png
พันธกิจ"A shared blueprint for peace and prosperity for people and the planet, now and into the future"[1]
ชนิดของโครงการไม่แสวงหาผลกำไร
ทำเลที่ตั้งทั่วโลก
ผู้ก่อตั้งUnited Nations
ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 2015 (2015)
เว็บไซต์sdgs.un.org

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (อังกฤษ: Sustainable Development Goals หรือย่อว่า SDGs) เป็นประมวลเป้าหมายของโลก 17 ข้อที่เชื่อมโยงกัน ออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียวเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง เพื่อประชาชนและโลก ณ บัดนี้และต่อไปในอนาคต"[1][2][3] เป้าหมาย 17 ข้อ ประกอบด้วย: (1) ขจัดความยากจน; (2) ขจัดความอดอยาก; (3) สุขภาพและความเป็นอยู่ดี; (4) การศึกษาคุณภาพ; (5) ความเท่าเทียมทางเพศ; (6) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล; (7) พลังงานสะอาดในราคาที่ซื้อได้; (8) อาชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี; (9) อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน; (10) ลดความเหลื่อมล้ำ; (11) นครและชุมชนยั่งยืน; (12) การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ; (13) การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ; (14) การใช้ทรัพยากรในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน; (15) การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน; (16) สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง และ (17) การร่วมมือกันเพื่อเป้าหมาย เป้าหมาย SDG ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงกันระหว่างแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการยึดความยั่งยืนเป็นศูนย์กลาง[4]

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ได้จัดทำ SDG ขึ้นใน ค.ศ. 2015 เป็นส่วนหนึ่งของวาระการพัฒนาหลัง ค.ศ. 2015 (Post-2015 Development Agenda) ในความพยายามสร้างเค้าโครงการพัฒนาโลกในอนาคตเพื่อมาแทนที่เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษที่ได้สิ้นสุดลง ณ ปีนั้น[5] เป้าหมายได้รับการสื่อสารและการลงมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการในข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly resolution) นามว่า 2030 Agenda หรือ วาระ ค.ศ. 2030[6] ข้อมติของ UNGA เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ที่ระบุเป้าที่ชัดเจน (List of Sustainable Development Goal targets and indicators) สำหรับเป้าหมายแต่ละข้อและกำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ เพื่อวัดความก้าวหน้าของมันได้ทำให้เป้าหมาย SDG นำมาปฏิบัติได้ยิ่งขึ้น[2] เป้าส่วนใหญ่กำหนดให้บรรลุเป้าใน ค.ศ. 2030 แต่บางเป้าหมายไม่มีวันสิ้นสุดชัดเจน[7]

เป้าหมายต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกัน อาทิเป้าหมาย SDG ที่ 13 การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) มองเห็นถึงการประสานร่วมกันกับเป้าหมายที่ 3 (สุขภาพ) 7 (พลังงานสะอาด) 11 (นครและชุมชน) 12 (การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ) และ 14 (มหาสมุทร)[8][9]:70 ในทางตรงกันข้าม นักวิจารณ์และผู้สังเกตการณ์ต่าง ๆ ได้ระบุถึงผลได้เสียระหว่างบางเป้าหมาย[9]:67 เช่นระหว่างการขจัดความอดอยากกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม[10]:26 ข้อกังวลอื่น ๆ เช่นเป้าหมายจำนวนมากเกินไป (ทำให้เกิดผลได้เสียที่สมทบกัน) การให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่น้อย และความยากลำบากในการติดตามตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

เวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development; HLPF) ของสหประชาชาติซึ่งเวทีประจำปีที่จัดขึ้นภายใต้การควบคุมดูแลของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเป็นผู้เฝ้าสังเกตติดตามเป้าหมาย SDG ทว่าเวที HLPF เองก็มีปัญหาอันเนื่องจากการขาดการนำทางการเมืองและการถือผลประโยชน์แห่งชาติ (national interest) ที่แตกต่างกัน[11]:206 มีการเปิดตัวเว็บไซต์ติดตามเป้าหมาย SDG ทางออนไลน์ขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 เพื่อแสดงข้อมูลทั้งหมดที่มีสำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว[12] การระบาดทั่วของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อเป้าหมาย SDG ทุก 17 เป้าหมายใน ค.ศ. 2020[13] งานประเมินทางวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบทางการเมืองของ SDG ใน ค.ศ. 2022 พบว่าจวบจนปัจจุบันยังคงส่งผลกระทบทางการเมืองซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงอยู่ในปริมาณที่จำกัด[14] แต่อย่างน้อยที่สุดได้ส่งผลต่อวิธีการที่ผู้กระทำต่าง ๆ ทำความเข้าใจและสื่อสารเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน[14]

มติเห็นชอบ[แก้]

Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development (ข้อมติสหประชาชาติที่ A/RES/70/1) ระบุเป้าหมายต่าง ๆ (ตุลาคม ค.ศ. 2015)
แผนภาพรายการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย

193 ประเทศในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติเห็นชอบวาระการพัฒนา ค.ศ. 2030 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 นามว่า "Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development"[6]:14[15] วาระนี้ประกอบด้วย 92 ย่อหน้า ย่อหน้าที่ 59 วางเค้าโครงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย พร้อมด้วยเป้า 169 เป้าและตัวชี้วัด 232 ตัวที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการนำโดยสหประชาชาติและประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศและภาคประชาสังคมทั่วโลก ข้อมติเป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลโดยกว้างซึ่งทำหน้าที่เป็นวาระการพัฒนาหลัง ค.ศ. 2015 เป้าหมาย SDG สร้างขึ้นบนหลักการที่ลงมติเห็นชอบไปในข้อมติที่ A/RES/66/288 นามว่า "The Future We Want"[16] เอกสารชิ้นนี้เป็นเอกสารที่ไม่มีผลผูกพันและเผยแพร่ออกมาอันเป็นผลจากการประชุม Rio+20 (United Nations Conference on Sustainable Development) ที่จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2012[16]

เป้าหมาย[แก้]

เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 193 ประเทศตกลงที่จะปฏิบัติตามเป้าหมาย 17 เป้าหมายต่อไปนี้:[17]

  1. ขจัด ความยากจน ... ขจัดความยากจนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดหรือที่ใดก็ตาม
  2. ขจัด ความอดอยาก ... ยุติความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหาร การปรับปรุงด้านการโภชนาการและส่งสริมการเกษตรแบบยั่งยืน
  3. สุขภาพ ที่ดี ...ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีพและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ
  4. การศึกษา ที่มีคุณภาพ ... ทำให้แน่ใจว่าให้การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีพแก่ทุกๆ คน
  5. ความเท่าเทียมกันทางเพศ ... บรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศและส่งเสริมพลังของสตรีและเด็กหญิงทุกคน
  6. น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล ... ทำให้มั่นใจว่าจะมีให้มีการจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
  7. พลังงานที่ไม่มีวันหมดในราคาที่ซื้อได้ ... ทำให้มั่นใจว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงพลังงานที่มีราคาที่ซื้อได้ มั่นใจได้ ยั่งยืนและทันสมัย
  8. อาชีพและเศรษฐกิจที่ดี ... ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการทำให้เกิดอาชีพและการจ้างงานอย่างถ้วนหน้าและเป็นธรรม และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
  9. นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ... สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการอุตสหกรรมที่ยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
  10. ลดความไม่เท่าเทียม ... ลดความไม่เท่าเทียมกันทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน... ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน
  12. การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบ... ทำให้แน่ใจว่ามีการบริโภคและรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืน
  13. การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ... ดำเนินการอย่างเร่งด่ว่นเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอกาศและผลกระกระทบของการเปลี่ยนแปลง
  14. การใช้ทรัพยากรในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน ... รักษาและใช้ทรัพยากรในมหาสมุทร ทะเลและแหล่งทรัพยากรทางน้ำอื่นๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  15. การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ... ปกป้อง บูรณะและส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศน์วิทยาบนดินและจัดการทรัพยากรจากป่าอย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการตัดไม้ทำลายป่าและหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของดินและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
  16. สันติภาพและความยุติธรรม... ส่งเสริมสังคมทีมีความสงบสุข ไม่มีการแบ่งแยกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้มีความยุติธรรมสำหรับทุกคนและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่พึ่งของส่วนรวมและเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ
  17. การร่วมมือกันเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ... เสริมสร้างวิธีการปฏิบัติให้เข้มแข็งและสร้างพลังความร่วมมือนานาชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The 17 Goals". Sustainable Development Goals. สหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2022. shared blueprint for peace and prosperity for people and the planet now and into the future
  2. 2.0 2.1 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (2017). Resolution adopted by the General Assembly on 6 July 2017, Work of the Statistical Commission pertaining to the 2030 Agenda for Sustainable Development (Report). สหประชาชาติ. A/RES/71/313. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020. มีที่วิกิมีเดียคอมมอนส์
  3. Isnaeni, Nur Meily; Dulkiah, Moh; Wildan, Asep Dadan (18 พฤศจิกายน 2022). "Patterns of Middle-Class Communities Adaptation to the Village SDGS Program in Bogor Regency". Temali: Jurnal Pembangunan Sosial. 5 (2): 173–182. doi:10.15575/jt.v5i2.20466. ISSN 2615-5028. S2CID 255705934.
  4. Schleicher, Judith; Schaafsma, Marije; Vira, Bhaskar (2018). "Will the Sustainable Development Goals address the links between poverty and the natural environment?". Current Opinion in Environmental Sustainability. 34: 43–47. doi:10.1016/j.cosust.2018.09.004.
  5. Biermann, Frank; Kanie, Norichika; Kim, Rakhyun E (1 มิถุนายน 2017). "Global governance by goal-setting: the novel approach of the UN Sustainable Development Goals". Current Opinion in Environmental Sustainability. Open issue, part II (ภาษาอังกฤษ). 26–27: 26–31. doi:10.1016/j.cosust.2017.01.010. ISSN 1877-3435.
  6. 6.0 6.1 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (2015). Resolution adopted by the General Assembly on 25 September 2015, Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development (Report). สหประชาชาติ. A/RES/70/1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020. มีที่วิกิมีเดียคอมมอนส์
  7. "SDG Indicators - Global indicator framework for the Sustainable Development Goals and targets of the 2030 Agenda for Sustainable Development". United Nations Statistics Division (UNSD). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  8. คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2018). Masson-Delmotte, V.; Zhai, P.; Pörtner, H.-O.; Roberts, D.; Skea, J.; Shukla, P.R.; Pirani, A.; Moufouma-Okia, W.; Péan, C.; Pidcock, R.; Connors, S.; Matthews, J.B.R.; Chen, Y.; Zhou, X.; Gomis, M.I.; Lonnoy, E.; Maycock, T.; Tignor, M.; Waterfield, T. (บ.ก.). Global Warming of 1.5°C.An IPCC Special Report on the impacts of global warming of 1.5°C above pre-industrial levels and related global greenhouse gas emission pathways, in the context of strengthening the global response to the threat of climate change, sustainable development, and efforts to eradicate poverty (PDF) (Report). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2023. รอตีพิมพ์
  9. 9.0 9.1 Berg, Christian (2020). Sustainable action: overcoming the barriers. Abingdon, Oxon. ISBN 978-0-429-57873-1. OCLC 1124780147.
  10. Machingura, Fortunate; Lally, Steven (กุมภาพันธ์ 2017). The Sustainable Development Goals and their trade-offs (PDF) (Report) (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Overseas Development Institute. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2022.
  11. Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne; Grob, Leonie (31 กรกฎาคม 2022). "Chapter 8: The Sustainable Development Goals as a Transformative Force?: Key Insights". ใน Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne (บ.ก.). The Political Impact of the Sustainable Development Goals (1 ed.). Cambridge University Press. pp. 204–226. doi:10.1017/9781009082945.009. ISBN 978-1-009-08294-5.
  12. Max Roser, Hannah Ritchie,Jaiden Mispy, Esteban Ortiz-Ospina (2018). "Measuring progress towards the Sustainable Development Goals". SDG-Tracker.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (28 เมษายน 2020). Progress towards the Sustainable Development Goals - Report of the Secretary-General (Report). E/2020/57. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020.
  14. 14.0 14.1 Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne; Beisheim, Marianne; Bernstein, Steven; Chasek, Pamela; Grob, Leonie; Kim, Rakhyun E.; Kotzé, Louis J.; Nilsson, Måns; Ordóñez Llanos, Andrea; Okereke, Chukwumerije; Pradhan, Prajal; Raven, Rob; Sun, Yixian (20 มิถุนายน 2022). "Scientific evidence on the political impact of the Sustainable Development Goals". Nature Sustainability (ภาษาอังกฤษ). 5 (9): 795–800. doi:10.1038/s41893-022-00909-5. ISSN 2398-9629. CC BY icon.svg ข้อความคัดลอกมาจากต้นฉบับนี้ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา 4.0 International
  15. "World leaders adopt Sustainable Development Goals". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2015.
  16. 16.0 16.1 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (11 กันยายน 2012). Resolution adopted by the General Assembly on 27 July 2012 - 66/288. The future we want (PDF) (Report). สหประชาชาติ. A/RES/66/288. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2018.
  17. "The Global Goals For Sustainable Development". Global Goals. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.