การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |





การนมัสการการของคนเลี้ยงแกะ (อังกฤษ: Adoration of the Shepherds) ในงานศิลปะของการประสูติของพระเยซู เป็นฉากที่เหล่าคนเลี้ยงแกะเป็นพยานถึงการประสูติของพระเยซูในเมืองเบธเลเฮม ซึ่งเกิดขึ้นถึงหลังจากการประสูติไม่นาน มักจะถูกรวมเข้าด้วยกันในงานศิลปะกับการนมัสการของโหราจารย์ ซึ่งในกรณีนี้มักจะเรียกชื่อของผลงานว่าการนมัสการของโหราจารย์ ฉากคนเลี้ยงแกะรับสาร เมื่อทูตสวรรค์เรียกคนเลี้ยงแกะมายังสถานที่ประสูติ เป็นอีกหัวเรื่องหนึ่งต่างหากในงานศิลปะ
เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล[แก้]
การนมัสการของคนเลี้ยงแกะเป็นตอนหนึ่งในเรื่องเล่าเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูที่ระบุในพระวรสารนักบุญลูกา ขณะที่เหล่าคนเลี้ยงแกะกำลังเฝ้าดูฝูงแกะของพวกตนในตอนกลางคืนใกล้กับเบธเลเฮม ทูตสวรรค์ปรากฏขึ้นเพื่อประกาศข่าวดีว่า "วันนี้ พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติที่เมืองของดาวิด"[1] ทูตสวสวรรค์ให้หมายสำคัญว่าเหล่าคนเลี้ยงแกะจะพบพระผู้ช่วยให้รอดในรูปของ "พระกุมารนั้นพันผ้าอ้อมนอนอยู่ในรางหญ้า"[1] "ในทันใดนั้น ชาวสวรรค์หมู่หนึ่ง" (คำภาษากรีกที่ใช้ในที่นี้หมายถึงขบวนทหาร หรือกองทัพ) ปรากฏตัวขึ้นและร่วมกับทูตสวรรค์สรรเสริญว่า "พระสิริมีแด่พระเจ้าในที่สูงสุด สันติสุขจงมีท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลายที่พระองค์โปรดปรานนั้น"[1]
15 เมื่อทูตสวรรค์เหล่านั้นไปจากพวกเขาขึ้นสู่สวรรค์แล้ว บรรดาคนเลี้ยงแกะก็พูดกันว่า "ให้เราไปยังเมืองเบธเลเฮมดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแจ้งกับเรา" 16 เขาก็รีบไป แล้วพบนางมารีย์กับโยเซฟ และพบพระกุมารนั้นนอนอยู่ในรางหญ้า
ฉากคนเลี้ยงแกะรับสาร ซึ่งฉากก่อนหน้าการนมัสการของคนเลี้ยงแกะเป็นหัวเรื่องที่แยกต่างหากในศิลปะคริสเตียน และบางครั้งก็รวมอยู่ในฉากการประสูติเป็นองค์ประกอบรอบข้าง (แม้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนการนมัสการก็ตาม) ดังเช่นในภาพวาดปี ค.ศ. 1485 โดยโดเมนีโก กีร์ลันดาโย ในภาพของกีร์ลันดาโยยังแสดงขบวนเดินทางของโหราจารย์ที่กำลังจะมาถึงพร้อมของขวัญ
คลังภาพ[แก้]
การนมัสการของโหราจารย์ ใน พิพิธภัณฑ์ไบแซนไทน์คริสเตียน ในกรุงเอเธนส์
ดุชโช ดี บูโอนินเซญญา, ค.ศ. 1308–1311
จอตโต, ราว ค.ศ. 1320
อันเดรอา มันเตญญา, ค.ศ. 1451–1453
ฮือโค ฟัน เดอร์คุส, ราว ค.ศ. 1475
กอร์เรจโจ, ค.ศ. 1529
เกาเดนซีโอ แฟร์รารี, ราว ค.ศ. 1533
บรามันตีโน, ราว ค.ศ. 1500–1535
จาโกโป บัสซาโน, ค.ศ. 1580
นีโกลาส มาส, ค.ศ. 1660–1690
เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์, ค.ศ. 1622
มัตตียัส สโตม, ระหว่าง ค.ศ. 1625–1650
กวีโด เรนี, ค.ศ. 1630–1642
ยาโกบ ยอร์ดานส์, ค.ศ. 1657
เกรโกริโอ เฟร์นันเดซ, ราว ค.ศ. 1614
โปลีโดโร ดา การาวัจโจ, ศตวรรษที่ 16
ฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์, ราว ค.ศ. 1644
เอลเกรโก, ค.ศ. 1614
รูปเคารพทางศาสนาของชาวยูเครน, ปลายศตวรรษที่ 17
อีญัส รอแบร์, ราว ค.ศ. 1691, อาสนวิหารตูล
เซบัสตีอาโน กองกา, ราว ค.ศ. 1720
โจวันนี โดเมนีโก ตีเอโปโล, ราว ค.ศ. 1751–1753
เจมส์ ทิสโซ, ค.ศ. 1886–1894
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Edwards 2015.
บรรณานุกรม[แก้]
- Beckwith, John (1969). Early Medieval Art. Thames and Hudson. ISBN 0-500-20019-XISBN 0-500-20019-X.
- Edwards, James R. (2015). The Gospel of Luke. Eerdmans. ISBN 9780802837356.
- Levey, Michael (1961). From Giotto to Cézanne. Thames and Hudson. ISBN 0-500-20024-6ISBN 0-500-20024-6.
- Myers, Bernard (1965, 1985). Landmarks of Western Art. Hamlyn. ISBN 0-600-35840-2ISBN 0-600-35840-2.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ