นักบุญลองกินุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญลองกินุส
แท่นลองกินุส ภายในมหาวิหารนักบุญเปโตร
เกิดศตวรรษที่ 1
แลนเซียโน, อิตาเลีย
เสียชีวิตศตวรรษที่ 1
แคปพาโดเชีย, อานาโตเลีย (สันนิฐาน)
นิกายคอปติกออร์ทอดอกซ์
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
โรมันคาทอลิก
วันฉลอง15 มีนาคม; โรมันคาทอลิก
16 ตุลาคม; อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
22 ตุลาคม; คอปติกออร์ทอดอกซ์
14 พฤศจิกายน; ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
สัญลักษณ์นักรบ

ลองกินุส (อังกฤษ: Longinus) หรือ ลอนไจนัส (/ˌlɒnˈnəs/) เป็นชื่อที่ตั้งให้กับบุคคลในตำนานของศาสนาคริสต์ เขาเป็นนายทหารผู้แทงหอกลงบนร่างพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขน ซึ่งหอกนี้ได้กลายเป็นหอกในตำนานที่ถูกเรียกว่า "หอกศักดิ์สิทธิ์" ทั้งนี้ใน "สารของเฮรอดถึงปิลาตุส" ได้ระบุว่า ลองกินุสรู้สึกผิดและเป็นทุกข์ใจต่อการที่ได้แทงร่างของพระเยซู เขาถูกส่งไปในถ้ำที่ในทุกๆคืนจะถูกสิงโตกัดฉีกร่างเนื้อ และเมื่อถึงรุ่งเช้าร่างกายเขาก็กลับฟื้นคืนเป็นปกติ และก็ถูกกัดฉีกอีกเป็นวังวนเรื่อยๆจนสิ้นสุด[1] หลังจากนั้นเขาจึงหันไปนับถือคริสต์

อย่างไรก็ตาม มีนักบวชอังกฤษชื่อ ซาบีน บาริง-กูดได้พบว่า "ชื่อลองกินุสนั้นไม่เคยเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวกรีกมาก่อนจนกระทั่งถึงยุคสังฆราชเยอรมานุสในปี 715 ชื่อลองกินุสนั้นถูกเริ่มใช้ในหมู่ชาวตะวันตกจากพระวรสารนักบุญนิโคเดอมุส ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ใดๆที่ยืนยันถึงการกระทำและความทุกข์ทรมานของนักบุญผู้นี้"[2] ถึงกระนั้น ก็ยังมีความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าบ้านเกิดของลองกินุสเป็นหมู่บ้านเล็กๆในลานเซียโน แคว้นอาบรุซโซ ภาคกลางของอิตาลี[3][4]

มีข้อสันนิฐานว่า ลองกินุส เป็นคำละตินที่อาจมีรากศัพท์มาจากคำกรีก λόγχη (ลองชี) ที่หมายถึงหอกซึ่งคำนี้ปรากฏในพระวรสารนักบุญยอห์น 19:34 นอกจากนี้ ในหอสมุดชาวฟลอเรนซ์ยังพบเอกสารโบราณที่เขียนขึ้นในปี 586 มีคำกรีกนี้ถูกเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ΛΟΓΙΝΟC (ลองกินอส) อยู่ข้างภาพนายทหารถือหอก เป็นเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉากตรึงกางเขน

อ้างอิง[แก้]

  1. Ehrman, Bart, "Forged: Writing in the Name of God", Chapter 5.
  2. Baring-Gould, The Lives of the Saints, vol. III (Edinburgh) 1914, sub "March 15: S[aint] Longinus M[artyr]"; Baring-Gould adds, "The Greek Acts pretend to be by S. Hesychius (March 28th), but are an impudent forgery of late date." (on-line text).
  3. Torretto, Richard. A Divine Mercy Resource: How to Understand the Devotion to Divine Mercy. iUniverse, 2010. p. 148. Web. 19 Apr. 2011.
  4. Sniadach, Keith. Relics of God: A Supernatural Guide to Religious Artifacts, Sacred Locations & Holy Souls. Keith Sniadach, 2010. p. 73. Web. 19 Apr. 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]