การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ที่เกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูดูที่: “การประสูติของพระเยซู
ชีวิตของพระเยซู
การประสูติของพระเยซู
Nativity of Jesus

“การประสูติของพระเยซู” โดย ฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์ ราวปี ค.ศ. 1644
พระเยซู
นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

การประสูติของพระเยซู (อังกฤษ: Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาเกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันเกเรตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทเกและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง

การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่น ๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว

รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ”[1] (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศัย

เรื่องการกำเนิดของพระเยซู[แก้]

การนมัสการของโหราจารย์” โดย ลอเร็นโซ โมนาโค ราวปี ค.ศ. 1420-1422

ตัวเรื่องของการกำเนิดของพระเยซูเกี่ยวเนื่องมาจากประวัติการสืบเชื้อสายบรรพบุรุษของพระเยซูซึ่งกล่าวไว้ในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา เชื้อสาย หรือ “ต้นไม้ครอบครัว” (Family tree) มักจะวาดในรูปที่เรียกว่า “ต้นเจสสี” หรือ “เถาเจสสี” (Tree of Jesse) ซึ่งงอกออกมาจากร่างของเจสสี บิดาของพระเจ้าดาวิดผู้เป็นกษัตริย์องค์ที่สองของอาณาจักรอิสราเอลเมื่อประมาณพันปีก่อนคริสตกาล

พระวรสารกล่าวเรื่องเกี่ยวกับพระแม่มารีย์ว่าได้หมั้นหมายไว้กับโยเซฟ แต่ก่อนที่จะแต่งงานกัน กาเบรียลทูตสวรรค์ก็มาปรากฏตัวต่อหน้านางและประกาศว่านางจะมีลูกเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” เหตุการณ์นี้เรียกว่า “แม่พระรับสาร” เป็นฉากหนึ่งที่นิยมสร้างกันในศิลปะ พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวต่อไปว่าทูตสวรรค์ปลอบใจโยเซฟเมื่อรู้ข่าวว่ามารีย์ท้องและบอกให้ตั้งชื่อลูกชายว่า เอ็มมานูเอล ซึ่งแปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา เมื่อให้ตั้งชื่อลูกก็เป็นเริ่มความรับผิดชอบต่อเด็กที่จะเกิดของโยเซฟ[1] ฉากนี้ไม่ค่อยนิยมสร้างกันในศิลปะ

ในพระวรสารนักบุญลูกาโยเซฟและมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮมซึ่งเป็นบ้านของบรรพบุรุษของโยเซฟเพื่อลงชื่อในสำมะโนประชากรผู้เสียภาษี การเดินทางไปเบธเลเฮมเป็นหัวเรื่องที่ไม่ค่อยนิยมสร้างกันทางตะวันตกแต่มักจะสร้างกันในชุดทางไบแซนไทน์[2] ขณะที่อยู่ที่เบธเลเฮมมารีย์ก็คลอดพระเยซูในโรงนาเพราะหาที่พักในโรงแรมไม่ได้ เมื่อคลอดออกมาก็มีเทวดามาปรากฏต่อหน้าคนเลี้ยงแกะบนเนินบริเวณนั้นและกล่าวว่า “พระผู้ช่วยให้รอด พระคริสต์เจ้าได้มาบังเกิดแล้ว” (Saviour, Christ the Lord was born) คนเลี้ยงแกะก็ไปที่โรงนาไปพบเด็กเกิดใหม่ห่อตัวอยู่ในผ้าในรางหญ้าตามที่เทวดาบรรยาย

ตามปฏิทินศาสนาห้าวันหลังจากการกำเนิดของพระเยซูในวันที่ 1 มกราคมพระองค์ก็ได้เข้าทำพิธีสุหนัต ซึ่งมิได้กล่าวถึงโดยตรงในพระวรสารแต่ก็สรุปได้ว่าคงจะเกิดขึ้นตามกฎและประเพณีของชาวยิว และการถวายพระกุมารในพระวิหาร หรือ “Candlemas” ซึ่งฉลองกันในวันที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์ตามคำบรรยายของพระวรสารนักบุญลูกา[3]

พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวถึง “โหราจารย์” จากตะวันออกผู้เห็นดาวสว่างบนฟ้าเมื่อพระเยซูเกิด ปราชญ์จึงได้ติดตามดาวมาเพราะเชื่อว่าดาวจะนำไปสู่พระราชาองค์ใหม่ เมื่อมาถึงกรุงเยรูซาเลมก็เข้าไปในวังซึ่งเป็นที่ที่ควรจะพบพระราชา พอไปถึงก็ไปถามพระเจ้าเฮโรดมหาราช ด้วยความที่กลัวจะถูกโค่นอำนาจ จึงส่งโหราจารย์ออกไปค้นหาพระราชาองค์ใหม่ที่ว่า และสั่งว่าเมื่อพบตัวก็ให้รีบมาบอก โหราจารย์ก็ตามดาวไปจนถึงเบธเลเฮม พอพบพระเยซูก็ถวายของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน (frankincense) และมดยอบ (myrrh) แล้วก็เตือนถึงความฝันที่ว่าพระเจ้าเฮโรดจะฆ่าเด็ก ว่าแล้วก็เดินทางกลับประเทศของตนเอง ในพระวรสารมิได้กล่าวถึงจำนวนหรือฐานะของโหราจารย์ ตามประเพณีแล้วก็ขยายความว่าเมื่อเป็นของขวัญสามอย่างก็ควรจะเป็นปราชญ์สามคน และบางที่ก็ให้ตำแหน่งเป็น “ราชา” บางครั้งจึงเรียกว่า “สามกษัตริย์” (Three Kings) ซึ่งจะพบในศิลปะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา[4] หัวเรื่อง “การนมัสการของโหราจารย์” (Adoration of the Magi) ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่นิยมทำกันเช่นกัน

ฉาก “คนเลี้ยงแกะรับสาร” (Annunciation to the Shepherds) จากทูตสวรรค์ หรือ “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” (Adoration of the Shepherds) ซึ่งเป็นภาพคนเลี้ยงแกะนมัสการพระกุมาร มักจะรวมกับฉาก “การประสูติของพระเยซู” และ “การนมัสการของโหราจารย์” ตั้งแต่เริ่มทำกันมา ฉากแรกเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระเยซูต่อชาวยิว และฉากหลังในการรวมกับ “การนมัสการของโหราจารย์” เป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระเยซูต่อชนชาติอื่น[5]

การประหารทารกผู้วิมล” โดยโคเด็กซ์ เอ็กเบอรติ (Codex Egberti) คริสต์ศตวรรษที่ 10

เรื่องดำเนินต่อไปว่าพระเจ้าเฮโรดทรงปรึกษาที่ปรึกษาถึงคำทำนายโบราณซึ่งบรรยายของการเกิดเด็กเช่นที่ว่า ที่ปรึกษาก็แนะนำว่าควรจะฆ่าเด็กเกิดใหม่ในเวลานั้นให้หมด พระเจ้าเฮโรดก็ทรงทำตามคำแนะนำโดยสั่งให้ฆ่าเด็กผู้ชายอายุต่ำกว่าสองขวบทุกคนในเมืองเบธเลเฮม แต่โยเซฟมีคนมาเตือนในฝันจึงพามารีย์และพระเยซูหนีไปอียิปต์ ฉากการสังหารเด็กอย่างทารุณกลายมาเป็นหัวเรื่องที่นิยมเขียนกันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น และสมัยบาโรกที่เรียกกันว่า “การประหารทารกผู้วิมล” (Massacre of the Innocents) อีกหัวข้อหนึ่งที่นิยมคือ “พระเยซูหนีไปอียิปต์” แสดงเป็นภาพมารีย์อุ้มพระเยซูนั่งบนลาจูงโดยโยเซฟ ซึ่งคล้ายกับไอคอนไบเซนไทน์ฉากที่โยเซฟกับมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮ็ม

ในศิลปะจากเนเธอแลนด์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาก็มีการนิยมสร้างรูปที่มิได้มาจากพระคัมภีร์โดยตรง เช่น ภาพครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ (Holy Family) พักระหว่างการเดินทาง ที่เรียกว่า “การหยุดพักระหว่างทางไปอียิปต์” (Rest on the Flight to Egypt) โดยจะมีทูตสวรรค์ประกอบ และบางครั้งจะมีเด็กผู้ชายตามไปด้วยที่เข้าใจว่าเป็นลุกของโยเซฟจากการแต่งงานหนแรก[6] ฉากหลังจะเป็นปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีการเขียนภาพภูมิทัศน์หลังฉาก จนกระทั่งมาถูกจำกัดลงจากผลของการสังคายนาแห่งเทรนต์ ฉากปาฏิหาริย์หนึ่งที่ใช้กันคือปาฏิหาริย์ข้าวสาลีซึ่งทหารที่ไล่ตามครอบครัวพระเยซูมาหยุดถามชาวนาว่าครอบครัวพระเยซูผ่านมาหรือไม่ ชาวนาก็ตอบตามความเป็นจริงว่าทรงผ่านเมื่อกำลังหว่านเมล็ดข้าว ว่าแล้วข้าวสาลีก็โตขึ้นเต็มที่ในทันที หรือปาฏิหาริย์รูปต้องห้าม ที่รูปต้องห้ามหล่นลงมาจากแท่นเมื่อพระทารกผ่านไป หรือน้ำพุธรรมชาติพุ่งขึ้นมาจากทะเลทราย หรืออีกตำนานหนึ่งกล่าวว่ากลุ่มโจรเลิกปล้นผู้เดินทาง และต้นปาล์มโน้มลงมาให้เก็บผล[7]

อีกเรี่องหนึ่งคือตอนที่พระเยซูพบยอห์นผู้ให้บัพติศมา ลูกพี่ลูกน้องหลังจากที่ยอห์นได้รับการช่วยเหลือจากยูเรียลไม่ให้ถูกฆ่า และเด็กสองคนมาพบกับที่อียิปต์ รูปพระเยซูพบยอห์นผู้ให้บัพติศมาวาดกันมากในสมัยเรอเนซองส์โดยมีเลโอนาร์โด ดา วินชีและต่อมาราฟาเอลเป็นผู้ริเริ่มทำให้แพร่หลาย[8]

ประวัติการสร้างศิลปะ[แก้]

ศาสนาคริสต์ยุคแรก[แก้]

โหราจารย์มอบของขวัญให้พระเยซูบนโลงหินจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่ โรม
รูปสลักรูปแรก ๆ ที่สุด ของ “การประสูติของพระเยซู” จากคริสต์ศตวรรษที่ 4 บนโลงหินที่มิลาน

ช่วงสองสามคริสต์ศตวรรษแรกของศาสนาคริสต์ถือว่าวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ที่โหราจารย์นำของขวัญมามอบให้พระเยซูสำคัญกว่าการฉลองวันประสูติหรือคริสต์มาส หลักฐานแรกของการฉลองวันคริสต์มาสปรากฏในหนังสือ “ปฏิทินแห่ง ค.ศ. 354” (Chronography of 354) และหลักฐานแรกของศิลปะมาจากรูปแกะสลักบนโลงหินจากโรมและทางใต้ของบริเวณกอลในสมัยเดียวกัน[9] แต่หลักฐานนี้เป็นหลักฐานหลังฉาก “การนมัสการของโหราจารย์” ที่พบในสุสานรังผึ้ง (catacomb) ที่โรมซึ่งเป็นสถานที่ที่ชนคริสเตียนยุคแรกใช้เป็นที่เก็บศพ และมักจะตกแต่งผนังทางเดินและเพดานโค้งด้วยภาพเขียน ภาพเหล่านี้บางภาพวาดก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 จะประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยทั่วไปโหราจารย์จะยืนเรียงลำดับถือของขวัญยื่นไปข้างหน้าทางที่พระแม่มารีย์มีพระเยซูอยู่บนตักนั่งอยู่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่คล้ายกับภาพที่วาดกันมากว่าสองพันปีตั้งแต่สมัย อียิปต์โบราณ และสมัยโรมันเองที่เป็นภาพบรรยายชัยชนะต่อ “คนไม่มีวัฒนธรรม” โดยที่ผู้แพ้จะถือของกำนัลมาถวายจักรพรรดิหรือกษัตริย์ผู้ชนะ[10]

การแสดงรูปเคารพ “การประสูติของพระเยซู” ในสมัยแรก ๆ เป็นรูปง่าย ๆ แสดงให้เห็นพระทารก ห่อแน่นนอนอยู่ในรางหญ้าหรือตะกร้าหวาย และจะมีวัวและลาจะปรากฏเสมอถึงบางครั้งจะไม่มีมารีย์หรือมนุษย์คนอื่น ๆ ในองค์ประกอบ สัตว์ทั้งสองอย่างมิได้กล่าวถึงในพระวรสารแต่ถือกันว่าปรากฏในพันธสัญญาเดิม เช่นใน หนังสืออิสยาห์ 1:3 ที่กล่าวว่าทั้งวัวและลารู้จักที่นอนของนาย และ หนังสือฮาบากุก 3:2 ที่กล่าวว่า ท่านจะเป็นที่รู้จักในท่ามกลางสัตว์สองตัว และการมีสัตว์สองชนิดนี้ก็ไม่เคยเป็นปัญหากับนักคริสต์ศาสนวิทยา[11] นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน และคนอื่น ๆ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวยิวซึ่งถูกกดขี่โดยกฎหมาย (วัว) และคนนอกศาสนาผู้นับถือรูปต้องห้าม (ลา) พระเยซูมาเกิดเพื่อปลดปล่อยชนทั้งสองกลุ่มจากสิ่งที่กล่าว มารีย์จะปรากฏเฉพาะในฉาก “การนมัสการของโหราจารย์” และในฉากเดียวกันก็จะมีเด็กเลี้ยงคนหนึ่งหรือศาสดาคนหนึ่งถือม้วนหนัง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง เมื่อ ค.ศ. 431 มารีย์ก็กลายเป็นองค์ประกอบถาวรบางครั้งก็มีโยเซฟ ถ้ามีสิ่งก่อสร้างในองค์ประกอบก็จะเป็น “tugurium” คือเพิงมุงกระเบื้องค้ำด้วยเสา [12]

สมัยไบแซนไทน์[แก้]

จิตรกรรมฝาผนังสมัยใหม่ของออร์โธด็อกซ์ที่อิสราเอลซึ่งองค์ประกอบยังเป็นองค์ประกอบเดิมที่ใช้กันมาเป็นร่วมพันปี

การแสดงรูปแบบใหม่ที่ต่างจากเดิมเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ฉากจะเป็น ถ้ำหรือเป็นถ้ำที่เฉพาะเจาะจงคือถ้ำที่พระเยซูประสูติที่เบธเลเฮ็มซึ่งเป็นที่ยอมรับในนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซู เหนือฉากก็จะเป็นภูเขาสูงขึ้นไป[13] มารีย์นอนพักฟื้นอยู่บนเบาะหรือเก้าอี้ใกล้ ๆ พระเยซูผู้ตั้งอยู่สูงกว่า [14] ขณะที่โยเซฟเอามือท้าวคาง[15] นอกจากนั้นโยเซฟก็อาจจะปรากฏในฉากที่หมอตำแยและผู้ที่มาช่วยสรงน้ำให้พระเยซู ฉะนั้นพระเยซูก็จะปรากฏสองครั้งในฉากเดียว หมอตำแยมาจากเอกสารหลายฉบับ ๆ หลักคือซาโลเม ซึ่งกล่าวถึงปาฏิหาริย์ เอกสารหลายฉบับกล่าวถึงแสงสว่างส่องลงมา ซึ่งบางทีก็ตีความหมายว่าเป็นดาวของโหราจารย์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นจานกลมอยู่เหนือฉากและมีรัศมีส่องออกมา แต่ทั้งจานกลมและรัศมีจะเป็นสีหนัก[16]

ในองค์ประกอบ โหราจารย์อาจจะเป็นคนขี่ม้ามาจากทางด้านบนซ้ายสวมหมวกลักษณะแปลก ทางด้านขวาจะเป็นคนเลี้ยงแกะ ถ้าเป็นห้องก็จะมีทูตสวรรค์อยู่รอบ ๆ และเหนือถ้ำ องค์หนึ่งจะมีหน้าที่ประกาศการเกิดของพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ นอกจากนั้นก็จะมีชายสูงอายุที่มักจะใส่เสื้อหนังที่บางครั้งก็ทักทายโยเซฟ อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ต่อมาตีความหมายว่าเป็นอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ[17]

ไบแซนไทน์และออร์ทอดอกซ์[แก้]

ไบแซนไทน์สมัยหลังในยุโรปตะวันตก[แก้]

ศิลปะตะวันตก[แก้]

“การประสูติของพระเยซู” จากฉากแท่นบูชาบลาเดอลิน (Bladelin-Altar) โดย โรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น (Rogier van der Weyden) ราวหลัง ค.ศ. 1446 การวางองค์ประกอบของภาพเขียนสร้างตามคำบรรยายของนักบุญบริจิต ภายใต้ทรากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นเพิงอย่างที่ทำกันมาในสมัยก่อนหน้านั้น นอกจากนั้นภายในภาพยังมีภาพเหมือนของพร้อมกับผู้อุทิศทรัพย์ให้วาดด้วย ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน
Geertgen tot Sint Jans ราวปี ค.ศ. 1490 จากการจัดองค์ประกอบโดยฮูโก ฟาน เดอ โก (Hugo van der Goes) ราวปี ค.ศ. 1470 ซึ่งมีอิทธิพลมาจากการมองเห็นของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดน แสงส่องออกจากพระเยซู คนเลี้ยงแกะอยูบนเนินพร้อมกับทูตสวรรค์ที่มาปรากฏตัว

ศิลปะตะวันตกได้รับอิทธิพลองค์ประกอบบางอย่างมาจากรูปเคารพแบบไบแซนไทน์แต่มักจะชอบใช้โรงนามากกว่าถ้ำ ยกเว้นงานของดุชโชที่พยายามใช้ทั้งสองอย่าง ทางตะวันตกหมอตำแยจะหายไป นักคริสต์ศาสนวิทยาไม่เห็นด้วยกับตำนานนี้แต่การสรงน้ำยังคงอยู่ซึ่งอาจจะเป็นการเตรียมน้ำเอาไว้หรือมารีย์อาบน้ำให้พระเยซู ที่ใดที่มีอิทธิพลไบแซนไทน์มากหมอตำแยก็จะยังอยู่โดยเฉพาะในอิตาลีเช่นในงานของจอตโต ดี บอนโดเน จะเห็นหมอตำแยส่งพระเยซูให้มารีย์ ระหว่างสมัยกอทิกจะมีการเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างแม่พระและพระกุมาร พระแม่มารีย์เริ่มจะอุ้มพระเยซู หรือพระเยซูจะมองไปทางแม่พระ การดูดนมจะไม่ค่อยสร้างแต่ก็มีบ้างบางครั้ง[18]

ศิลปะตะวันตก[แก้]

รูปสัญลักษณ์ในสมัยยุคกลางตอนหลังทางตอนเหนือของยุโรปมักจะมีอิทธิพลจากการเห็นภาพ “การประสูติของพระเยซู” ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1303-1373) ซึ่งเป็นตำนานที่นิยมกัน ก่อนที่จะเสียชีวิตนักบุญบริจิตก็บรรยายว่าได้เห็นภาพของพระเยซูนอนบนพื้นและมีแสงส่องสว่างออกมาจากพระวรกาย พระแม่มารีมีผมทอง การใช้แสงเงาตัดกันแบบ “ค่าต่างแสง” นิยมทำกันจนถึงสมัยศิลปะแบบบาโรก รายละเอียดอย่างอื่นเช่นเทียนเล่มเดียว “อยู่บนผนัง” และมีพระเจ้าปรากฏอยู่ด้วยมาจากตำนานของนักบุญบริจิต

พระนางมารีย์พรหมจารีคุกเข่าลงเพื่ออธิษฐาน หันหลังให้กับรางหญ้า....และขณะที่กำลังยืนสวดมนต์, ฉันเห็นเด็กในท้องเคลื่อนตัว แล้วในทันทีนั้นแม่พระก็ให้กำเนิดบุตรชาย จากร่างของพระองค์มีแสงสว่างส่องออกมาอย่างงดงาม, จนแม้พระอาทิตย์ก็ไม่สามารถเปรียบได้, หรือแสงเทียนที่โจเซพตั้งไว้ก็ไม่ได้ให้แสงสว่างเลย, แสงสว่างอันศักดิ์สิทธิ์นี้ลบแสงสว่างจากเทียน....ฉันเห็นเด็กผู้สวยงามนอนเปลือยอยู่บนพื้นส่องสว่าง ร่างกายของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องจากดินและมลทิน แล้วฉันก็ได้ยินเสียงเทวดาร้องเพลงด้วยเสียงที่ไพเราะและอ่อนหวาน...[19]

หลังจากนั้นพระแม่มารีย์ก็คุกเข่าลงอธิษฐานต่อหน้าพระกุมารโดยมีนักบุญโยเซฟมาร่วม ฉากนี้เรียกกันว่า “การนมัสการพระกุมาร” (Adoration of the Child) ซึ่งเป็นฉากที่นิยมเขียนหรือสร้างกันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งมาแทนภาพนอนของพระแม่มารี แต่ภาพพระเยซูส่องแสงทำกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นเวลานานก่อนคำบรรยายของนักบุญบริจิต และมาจากคณะฟรันซิสกัน[20]

นักบุญโยเซฟที่เห็นกันมักจะเป็นชายสูงอายุและมักจะหลับในฉาก “การประสูติของพระเยซู” บางครั้งก็จะเป็นตัวประกอบที่น่าขัน แต่งตัวไม่เรียบร้อย และช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ในการแสดงละครการประสูติ (Mystery play) ในสมัยกลางโยเซฟจะเป็นตัวตลก น่ารักแต่ทำอะไรไม่ถูก แต่บางครั้งก็เป็นภาพกำลังตัดผ้าเป็นแถบ ๆ เพื่อห่อพระเยซู[21] หรือจุดไฟ แต่เมื่อลัทธิบูชาโยเซฟมีความสำคัญขึ้นทางตะวันตกในสมัยกลางตอนหลังโดยนักบวชคณะฟรันซิสกัน (วันสมโภชนักบุญโยเซฟเพิ่งเริ่มเมื่อ ค.ศ. 1479) ลักษณะการแสดงโยเซฟก็มีความน่านับถือมากขึ้นและปรับปรุงกันมาจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรก จนกระทั่งเมื่อลัทธิบูชาพระแม่มารีย์มารุ่งเรืองขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสำคัญของโยเซฟก็ด้อยลงอีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นตัวรองอยู่ริม ๆ รูป เทียนที่จุดโดยโยเซฟตามคำบรรยายของนักบุญบริจิตเป็นสิ่งที่โยเซฟถือบางที่ก็จุดหรือบางทีก็ไม่

ฉาก “การประสูติของพระเยซู” เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในการเขียนบนแผ่นไม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่บางครั้งฉากประดับแท่นบูชาก็อาจจะถูกเบียดด้วยรูปของผู้อุทิศทรัพย์ให้วาด (เช่นภาพพระแม่มารีย์เลี้ยงพระกุมารทึ่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีผู้อุทิศอยู่สองข้าง [2]) ในภาพวาดของเนเธอร์แลนด์สมัยต้นจะใช้เพิงง่าย ๆ ไม่ต่างไปจากที่ทำกันมาเท่าใดนัก จนกระทั่งค่อยกลายมาเป็นซากปรักหักพังของโบสถ์ เริ่มกันมาตั้งแต่สมัยโรมาเนสก์ ซึ่งเป็นภาพพันธสัญญาเดิม (Old Covenant) ของชาวยิว การใช้ฉากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในการบ่งความเป็นยิวจะใช้บ่อยในงานเขียนของยาน ฟาน เอค และผู้สืบทอดงานต่อมา[22] ในงานเขียนแบบอิตาลี สถาปัตยกรรมของโบสถ์เช่นที่ว่าจะเป็นโบสถ์แบบคลาสสิก (กรีกหรือโรมัน) ซึ่งแสดงถึงการกลับไปสนใจในสถาปัตยกรรมคลาสสิก[23] หลักฐานอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการใช้โบสถ์เป็นฉาก มาจากตำนานทองที่กล่าวว่า คืนที่พระเยซูประสูติ บาซิลิกา ของ แม็กเซนติอุส (Basilica of Maxentius) ที่โรม อันเป็นสถานที่ตั้งรูปเคารพโรมิวลุสล้มครืนลงมา และทิ้งซากไว้ให้เราเห็นจนทุกวันนี้[3] [24]

สมัยกลาง[แก้]

ต้นสมัยลาง[แก้]

กอทิก[แก้]

กอทิกนานาชาติ[แก้]

ก่อนฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี[แก้]

ฟื้นฟูและหลังฟื้นฟูศิลปวิทยา[แก้]

“ขบวนโหราจารย์” โดย เบนนอซโซ กอซโซลิ คริสต์ศตวรรษที่ 15

จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 การนมัสการของโหราจารย์ กลายเป็นฉากที่วาดร่วมกับฉาก “การประสูติของพระเยซู” และเป็นที่นิยมกันมากขึ้นและภาพเขียนก็มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหัวข้อที่วาดเหมาะกับการขยายรายละเอียดและการใช้สีสัน และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะต้องรับรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อมิให้องค์ประกอบแน่นเกินไป และรวมฉาก “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” เป็นฉากเดียวกับ “การประสูติของพระเยซู” ตั้งแต่ปลายสมัยกลางเป็นต้นมา ฉากนี้ก็รวมกันมากก่อนแต่ไม่มาก ทางตะวันตกโหราจารย์จะแต่งตัวอย่างแปลกและน่าสนใจจนบางครั้งเป็นตัวดึงจุดสนใจของผู้ชมแทนที่จะเป็นการประสูติของพระเยซู การเขียนภาพในสมัยเรอเนซองส์ก็เริ่มลดความหมายทางศาสนาลงโดยเฉพาะที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งการวาดภาพสำหรับฆราวาสยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ ตัวอย่างเช่นจิตรกรรมฝาผนังใหญ่ชื่อ “ขบวนโหราจารย์” (Procession of the Magi) เป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงภายในโบสถ์น้อยโหราจารย์ในวังเมดิชิ เขียนโดย เบนอซโซ กอซโซลี (Benozzo Gozzoli) ในปี ค.ศ. 1459-1461 ซึ่งรวมภาพเหมือนของครอบครัวเมดิชิภายในภาพเดึยวกัย จะทราบว่าเป็นภาพศาสนาเกี่ยวกับโหราจารย์ก็เพราะตำแหน่งที่ตั้งของภาพและเมื่อดูชื่อภาพ ถ้าดูภาพแล้วเกือบจะไม่เห็นว่าเป็นภาพศาสนา

จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 การสร้างภาพ “การประสูติของพระเยซู” ที่แสดงเฉพาะครอบครัวพระเยซูก็เริ่มมีความนิยมน้อยลง แต่การาวัจโจใช้วิธีเขียนแบบสัจจะนิยมในการเขียน “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” การวางรูปและองค์ประกอบของภาพในสมัยนี้ก็เริ่มแตกต่างกันมากขึ้นตามจินตนาการของจิตรกรแต่ละคน เช่นงานเขียน “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” ของจิตรกรสามคน เจอราร์ด ฟอน ฮนท์ฮอร์สท [4] (Gerard van Honthorst), จอร์จ เดอลา ทัวร์[5] (Georges de La Tour) และ ชาร์ล เลอ บรุน[6] (Charles Le Brun) แต่ละคนต่างก็วางภาพต่างกันไปซึ่งไม่มีคนใดที่วางภาพแบบที่ทำกันมาแต่ก่อน หัวเรื่องการเขียน “การประสูติของพระเยซู” เสื่อมความนิยมลงหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 18

ต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[แก้]

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายุครุ่งโรจน์[แก้]

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาทางตอนเหนือของอิตาลี[แก้]

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาทางตอนเหนือของยุโรป[แก้]

จริตนิยม[แก้]

บาโรกและโรโกโก[แก้]

หลัง ค.ศ. 1800[แก้]

ศิลปะพื้นบ้าน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Matthew:1:23. The name Jesus is the Biblical Greek form of the Hebrew name Joshua meaning "God, our salvation". No explanation is given in the Gospels as to why this name is used.
  2. Schiller:58
  3. The dates vary slightly between churches and calendars - see the respective articles. In particular, the Eastern Orthodox churches celebrate the visit of the Magi, as well as the Nativity, on December 25th of their Julian calendar, which is January 7th of the usual Gregorian calendar
  4. Schiller:105
  5. Schiller:60
  6. The subject only emerges in the second half of the fourteenth century. Schiller:124. In some Orthodox traditions the older boy is the one who protects Joseph from the "shepherd-tempter" in the main Nativity scene.
  7. Schiller:117-123. The date palm incident is also in the Quran. There are two different falling statue legends, one related to the arrival of the family at the Egyptian city of Sotina, and the other usually shown in open country. Sometimes both are shown.
  8. See, for example, Leonardo's “Virgin of the Rocks”
  9. Schiller:59
  10. Schiller:100
  11. Schiller:60. In fact this sense of the Habakkuk is found in the Hebrew and Greek Bibles, but Jerome's Latin Vulgate, followed by the Authorised Version, translates differently:"O Lord, revive thy work in the midst of the years, in the midst of the years make known" in the AV
  12. Schiller:59-62
  13. The mountain follows Scriptural verses such as Habakkuk 3.3 "God [came] from Mount Paran", and the title of Mary as "Holy mountain". Schiller:63
  14. partly reflecting the arrangement in the Church of the Nativity, where pilgrims already peered under an altar into the actual cave (now the altar is much higher). The actual altar is sometimes shown. Schiller:63
  15. Schiller:62-3
  16. Schiller:62-63
  17. Schiller:66 Though when addressing Joseph he has sometimes been regarded as the "Tempter" (the "shepherd-tempter"), the Orthodox term for Satan, who is encouraging Joseph to doubt the Virgin Birth. In later works a young man may fend the tempter off. See: Léonid Ouspensky, The Meaning of Icons, p.160, 1982, St Vladimir's Seminary, ISBN 0-913836-99-0. In pp.157-160 there is a full account of the later Orthodox iconography of the Nativity.
  18. Schiller:74
  19. Quoted Schiller:78
  20. Schiller:76-8
  21. from about 1400; apparently this detail comes from popular songs. Schiller:80
  22. Schiller, pp. 49-50. Purtle, Carol J, Van Eyck's Washington 'Annunciation': narrative time and metaphoric tradition, p.4 and notes 9-14, Art Bulletin, March, 1999. Page references are to online version. online text. Also see The Iconography of the Temple in Northern Renaissance Art by Yona Pinson เก็บถาวร 2009-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. Schiller:91-82
  24. Lloyd, Christopher, The Queen's Pictures, Royal Collectors through the centuries, p.226, National Gallery Publications, 1991, ISBN 0-947645-89-6. In fact the Basilica was built in the 4th century. Some later painters used the remains as a basis for their depictions.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]