รูปเคารพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“พระเยซู” โดยอันเดร รูเบลฟ (Andrei Rublev) ราวปี ค.ศ. 1410
รูปเคารพทำจากเซรามิคจากราวปีค.ศ. 900 จากเพรสลาฟ ประเทศบัลกาเรีย

รูปเคารพ (ภาษาอังกฤษ: icon; ภาษากรีก: εἰκών, eikon) คือรูป, รูปเหมือน หรือสิ่งที่สร้างแทน ที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน “รูปเคารพ” โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยทั่วไปจะหมายถึงสัญลักษณ์เช่นชื่อ, หน้า, รูป หรือคนที่เป็นที่รู้จักที่มีชื่อเสียงที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สิ่งของหรือรูปเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นตามตัวอักษรหรือตามการตีความหมายมักจะใช้ในศาสนา, วัฒนธรรม, การเมือง, หรือทางเศรษฐกิจ

ในประวัติศาสตร์ลัทธินิยมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมทางศาสนา[1]รูปเคารพจะมีอิทธิพลมาจากรูปที่เป็นตัวเป็นตนไม่ว่าจะเป็นรูปสองหรือสามมิติ ความประสงค์ของรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสั่งสอนหรือเป็นแรงบันดาลใจ หรือวิธีใช้เช่นเพื่อการบูชาหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความสำคัญของการใช้รูปเคารพก็ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ใช้และสมัยของการใช้

รูปเคารพในคริสต์ศาสนา[แก้]

คริสต์ศาสนามีต้นรากมาจากขบวนการภายในศาสนายูดายในสมัยที่มีความกังวลกันเป็นอันมากเรื่องรูปปั้นต้องห้าม ในพันธสัญญาใหม่หรือในเอกสารอื่น ไม่มีหลักฐานการสร้างและการใช้รูปเคารพทาสีหรือรูปบูชาทางศาสนาโดยคริสต์ศาสนิกชน แต่ด็อกเตอร์สตีเฟน บิงแฮม (Dr. Steven Bingham) กล่าวว่าสิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือการไม่มีการเอ่ยถึงรูปเคารพคริสเตียน หรือ รูปที่ไม่เป็นรูปต้องห้ามใด ๆ ในพันธสัญญาใหม่เลย แต่การที่มิได้มีการกล่าวถึงก็มิได้หมายความว่าเอกสารบรรยายกิจการของอัครสาวกหรือของผู้นับถือคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นเอกสารที่บรรยายกิจการทุกอย่างอย่างครบถ้วน นักบุญจอห์นอีแวนเจลลิสเองกล่าวว่า “พระเยซูทรงทำเครื่องหมายต่อหน้าสาวก, ซึ่งมิได้เขียนลงในหนังสือ...” (จอห์น 20.30) จากเหตุผลนี้เราก็สามารถจะกล่าวได้ว่าสิ่งที่อัครสาวกพูดและหรือทำ มิได้บันทึกไว้ในพันธสัญญาใหม่ไปเสียทุกอย่าง ดังนั้นถ้าจะพยายามหาหลักฐานว่าในสมัยคริสเตียนยุคแรกว่ามีการสร้างและใช้รูปเคารพหรือไม่, พันธสัญญาใหม่ก็ไม่มีประโยชน์ใดใดทั้งสิ้น การที่ไม่มีการกล่าวถึงก็มีเหตุผลต่าง ๆ กันไปแล้วแต่การสรุปของผู้ตีความหมาย[2] สิ่งที่น่าสังเกตคือรูปเคารพทางคริสต์ศาสนามีการวิวัฒนาการอย่างแพร่หลายกันแล้วก่อนที่คริสต์ศาสนกฎบัตร (New Testament Canon) จะได้รับการอนุมัติเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 4

คำว่า “eikon” ปรากฏในพันธสัญญาใหม่แต่มิได้หมายถึงรูปเคารพแบบทาสีแต่หมายถึงภาพเหมือน (มัทธิว 22:20) ภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาเองก็มีมาตั้งแต่สมัยคริสเตียนยุคแรกที่พบบนผนังในที่เก็บศพแบบรังผึ้งในกรุงโรม เช่นที่วัดโดมิทิลลา (Domitilla) และวัดคัลลิสโต (Callisto)

ในนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ทางตะวันออกและการเขียนรูปเคารพตามประเพณีคริสต์ศาสนามักจะเขียนบนแผ่นไม้แบนเป็นรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นพระเยซู, พระแม่มารี, นักบุญ, เทวดา หรือ กางเขน นอกจากนั้นรูปเคารพยังอาจจะเป็นโลหะหล่อ, หินแกะ, ผ้าปัก, งานโมเสก, ภาพพิมพ์บนกระดาษหรือโลหะ การสร้างงานรูปเคารพแบบลอยยังไม่เป็นที่แพร่หลายเป็นเวลาหลายร้อยปีเพราะความเชื่อที่ว่ารูปลอยอาจจะทำให้เป็นที่สิงสถิตย์ของสิ่งชั่วร้ายตามความเชื่อของรูปปั้นของชนนอกศาสนา (pagan)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Meaning of Icons, by Vladimir Lossky with Léonid Ouspensky, SVS Press, 1999. (ISBN 0-913836-99-0)
  2. Rev. Dr. Steven Bingham, Early Christian Attitudes Toward Images, Orthodox Research Institute, 2004