ชินเมวะ ยูเอส-2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอส-2
ชินเมวะ ยูเอส-2
หน้าที่ กู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบกทางอากาศและทะเล
ผู้ผลิต ชินเมวะ
เที่ยวบินแรก 18 ธันวาคม ค.ศ. 2003
เริ่มใช้ 30 มีนาคม ค.ศ. 2007
สถานะ ในการผลิต
ผู้ใช้หลัก กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
การผลิต ค.ศ. 2003–ปัจจุบัน
จำนวนที่ถูกผลิต 4 ลำ (ที่คาดคิด 3 ลำ)
พัฒนาจาก ชินเมวะ ยูเอส-1เอ

ชินเมวะ ยูเอส-2 (ญี่ปุ่น: US-2 (航空機); อังกฤษ: ShinMaywa US-2) เป็นเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกบินขึ้นและลงจอดในระยะทางสั้นขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ที่ออกแบบมาสำหรับการกู้ภัยในทะเลทางอากาศ (SAR) ซึ่งดำเนินการโดยกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ยูเอส-2 มีกำหนดจะแทนที่ชินเมวะ ยูเอส-1เอ รุ่นเก่าในราชการญี่ปุ่น มันสามารถใช้ดับเพลิงโดยใช้น้ำได้ 15 ตัน[1]

การออกแบบและพัฒนา[แก้]

ด้วยกองบินชินเมวะ ยูเอส-1เอ ที่เปิดตัวในคริสต์ทศวรรษ 1970 เริ่มสิ้นสุดอายุการใช้งาน ทางกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นพยายามที่จะขอรับเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนในคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ไม่สามารถรับได้เพียงพอที่จะพัฒนาเครื่องบินใหม่ทั้งหมด ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1995 ทางบริษัทชินเมวะ (ที่เปลี่ยนชื่อจากชิน เมวะ) ได้เริ่มแผนสำหรับรุ่นอัปเกรดของยูเอส-1เอ คือ ยูเอส-1เอ ไก (US-1A 改 - "ยูเอส-1เอ รุ่นปรับปรุง") เครื่องบินลำนี้มีการปรับแต่งตามหลักอากาศพลศาสตร์นานัปการ, ลำเครื่องบินซึ่งใช้กำลังอากาศกดภายใน และเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เออี 2100 ที่ทรงพลังกว่าเดิม การทดสอบการบินเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2003 และกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้จัดซื้อเครื่องบินเหล่านี้มากถึง 14 ลำ ซึ่งเข้าส่วนราชการในฐานะ ชินเมวะ ยูเอส-2

ประวัติการดำเนินงาน[แก้]

ชินเมวะ ยูเอส-2 ค้นหาและกู้ภัยเรือบิน

ปัจจุบันเครื่องบินดังกล่าวดำเนินการโดยกองบินที่ 31 (กองทัพอากาศที่ 71, ฝูงบินที่ 71) ที่สถานีอากาศอิวากูมิ และฐานทัพอากาศอาสึงิ

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 เครื่องบินหมายเลข 9905 เกิดอุบัติเหตุ[2] โดยเครื่องบินกำลังทำการฝึกซ้อมใกล้กับแหลมอาชิซูริในเกาะชิโกกุ และลูกเรือสี่คนได้รับบาดเจ็บ[3] ยูเอส-2 หกลำได้รับการจัดส่งภายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 โดยมีการผลิตอีก 2 ลำ[4]

การส่งออก[แก้]

กองทัพเรืออินเดียมีความต้องการเครื่องบินค้นหาและกู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบกยูเอส-2 จำนวน 12–18 ลำที่ราคา 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกเหล่านี้จะประจำการในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์[5][6] ส่วนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 ชินเมวะลดราคาลงมาอยู่ที่ประมาณ 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเครื่อง[7] ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะมีการเซ็นสัญญาสำหรับการสั่งซื้อในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016[8] แต่ถูกเลื่อนออกไปโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอินเดีย มโนหาร์ ปาร์รีการ์[9][10] สำหรับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศอินเดีย เค็นจิ ฮิรามัตสึ ได้บอกกับเดอะฮินดูบิสซิเนสไลน์ ว่าการเจรจายังดำเนินอยู่[11]

มีรายงานว่าประเทศไทยสนใจจัดซื้อเครื่องบินนี้[12]

ส่วนประเทศอินโดนีเซียเป็นลูกค้าที่คาดหวังอีกราย[13]

หลังจากเกิดเพลิงไหม้ในแคว้นแอตติกาของกรีซในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 รัฐบาลกรีกรายงานว่าพยายามสั่งซื้อยูเอส-2 เพื่อแทนที่กองบินดับเพลิงที่มีอายุมากขึ้น[14]

ประจำการ[แก้]

ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

ข้อมูลจำเพาะ (ยูเอส-2)[แก้]

มุมมองด้านข้างของเครื่องยนต์และปีกของยูเอส-2
ยูเอส-2 ระหว่างบินขึ้น
ยูเอส-2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ท่าอากาศยานฮาเนดะ

ข้อมูลจาก ชินเมวะ[15][16][17]

ลักษณะทั่วไป

  • ลูกเรือ: 11 คน
  • ความจุ: ผู้โดยสาร 20 คน หรือเปลหามคนเจ็บ 12 เปล
  • ความยาว: 33.46 m (109 ft 9 in)
  • ระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง: 33.15 m (108 ft 9 in)
  • ความสูง: 9.8 m (32 ft 2 in)
  • พื้นที่ปีก: 135.8 m2 (1,462 sq ft)
  • น้ำหนักเปล่า: 25,630 kg (56,504 lb)
  • น้ำหนักรวม: 55,148 kg (121,581 lb)
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด: 47,700 kg (105,160 lb) บินขึ้นบินลง
  • Powerplant: 4 × โรลส์-รอยซ์ เออี 2100เจ เทอร์โบพรอป, 3,424 kW (4,592 hp) each
  • Powerplant: 1 × แอลเอชเทก ที800 คอมเพรสเซอร์ควบคุมชั้นชิดผิวเทอร์โบชาฟต์, 1,017 kW (1,364 hp)
  • ใบพัด: 6 ใบ ดาวตี อาร์414

สมรรถนะ

  • ความเร็วสูงสุด: 560 km/h (350 mph, 300 kn)
  • ความเร็วที่เครื่องบินบินได้: 480 km/h (300 mph, 260 kn) at 6,000 m (20,000 ft)
  • พิสัย: 4,700 km (2,900 mi, 2,500 nmi)
  • ความสูงที่เครื่องบินบินได้: 7,195 m (23,606 ft)
  • ระยะทางบินขึ้นบนพื้นดินที่น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น: 490 m (1,610 ft)
  • ระยะทางลงจอดบนพื้นดินที่น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น: 1,500 m (4,900 ft)
  • ระยะทางบินขึ้นบนน้ำที่ระวางบรรทุก: 280 m (920 ft)
  • ระยะทางลงจอดบนน้ำที่ระวางบรรทุก: 330 m (1,080 ft)

ดูเพิ่ม[แก้]

อากาศยานที่มีบทบาท, องค์ประกอบ และยุคเทียบเท่า

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ShinMaywa Fire Fighting เก็บถาวร 2017-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 2018-08-18.
  2. ShinMaywa US-2 involved in major accident at sea April 29, 2015 FlightGlobal Retrieved December 9, 2016
  3. Aircraft accident ShinMaywa US-2 9905 Aircraft Safety Network Retrieved December 9, 2016
  4. Waldron, Greg (28 November 2018). "JAPAN AEROSPACE: Shinmaywa stays after India US-2 deal". FlightGlobal.com. สืบค้นเมื่อ 9 December 2018.
  5. "For First Time Since World War 2, Japan Will Sell Military Equipment. To India". NDTV. สืบค้นเมื่อ 26 December 2014.
  6. Chandra, Atul (4 September 2014). "India looks to acquire 18 ShinMaywa US-2 amphibians". Flightglobal. Bangalore: Reed Business Information. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
  7. Raghuvanshi, Vivek (20 October 2016). "India Resolves US-2 Aircraft Price Issue With Japan". www.defensenews.com. Sightline Media Group. สืบค้นเมื่อ 20 October 2016.
  8. Japan, India likely to ink pivotal US-2 aircraft deal November 6, 2016 เก็บถาวร 2017-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Times Retrieved November 28, 2016
  9. Defence minister Manohar Parrikar defers Rs 10,000 crore deal for 12 Japanese aircraft November 10, 2016 India Today Retrieved November 28, 2016
  10. GOVT OK’S NEW BLACKLISTING POLICY, RS 80K-CR DEF DEALS November 8, 2016 The Pioneer Retrieved November 28, 2016
  11. Basu, Nayanima (21 March 2018). "India must provide high-quality products to meet Japan consumers' expectations: Envoy". www.thehindubusinessline.com. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
  12. Thailand Mulling Purchase of Japanese Sub-Hunting Aircraft June 7, 2016 The Diplomat Retrieved December 9, 2016
  13. Indo Defence 2016: ShinMaywa inches towards US-2 sale to Indonesia November 4, 2016 เก็บถาวร ธันวาคม 20, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Jane's
  14. "Japan looks to Greece for first major defense export". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  15. "Performance of the State-of-the-Art US-2: US-2 Specifications". ShinMaywa. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
  16. Lake, Jon (November 2005). "ShinMaywa's Innovative Amphibian". Air International. 69 (5): 26–30. ISSN 0306-5634.
  17. "US-2: STOL Search and Rescue Amphibian" (PDF). ShinMaywa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-20. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]