หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ Special Operation Sub-Division | |
---|---|
อาร์มหน่วยปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธร | |
เครื่องหมายปฏิบัติการพิเศษขั้นชำนาญการ S.W.A.T. Advance | |
ชื่อทางการ | กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ |
อักษรย่อ | กก.ปพ. / นปพ. / SO / PSO |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2510 |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
แผนที่เขตอำนาจของ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ | |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | ประเทศไทย, เมืองพัทยา ยกเว้นกรุงเทพมหานคร |
ลักษณะทั่วไป | |
หน่วยงานปกครอง | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ส่วนงาน | • กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 1 – 9 • กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัด 76 จังหวัด |
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (ตัวย่อ: ปพ. / นปพ.) (อังกฤษ: Special Operation Unit) เป็นหน่วยตำรวจสังกัด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ (อังกฤษ: Special Operation Sub-Division: SO / Provincial Special Operation Sub-Division: PSO)[1] อยู่ภายใต้ตำรวจภูธรภาค 1–9 และตำรวจภูธรจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (อังกฤษ: Special Weapons And Tactics: S.W.A.T.) มีการจัดหน่วยในหลายระดับตามภัยคุกคามในอดีต และปัจจุบันมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษต่อภัยคุกคามที่เป็นอาชญากรรม และการก่อการร้าย ด้วยการแย่งชิงตัวประกัน การจับกุม ฯลฯ ตามแนว "การบริหารวิกฤตการณ์" (อังกฤษ: Crisis Management) โดยมีพื้นที่รับผิดชอบระดับจังหวัดและระดับภาค และ เมืองพัทยา ปัจจุบันเป็นหน่วยระดับกองกำกับการ มีอุปกรณ์ครบมือ เช่น ปืนยิงแห, ปืนไฟฟ้า, ปืนพก, ปืนลูกซอง, ปืนกลเบา, ปืนกลมือ, ปืนเล็กยาว, ปืนเล็กสั้น, ระเบิดมือ, ระเบิดแก๊สน้ำตา, ปืนไรเฟิลซุ่มยิง, อุปกรณ์ต่อต้านการจลาจล ฯลฯ มีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์คือสวมหมวกเบเร่ต์เขียว[2] ประกอบกับเครื่องแบบสนามสีกากีแกมเขียว
ปัจจุบันมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับกองบัญชาการ 9 หน่วย สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 – 9 และในระดับหน่วยปฏิบัติการภายใต้ตำรวจภูธรจังหวัด 76 จังหวัด ยกเว้นในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษคือหน่วยอรินทราช 26
ประวัติ
[แก้]ยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจภูธร มีจุดเริ่มต้นในช่วงปี พ.ศ. 2510 – 2511[3] ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (United State Operation Mission: USOM) เพื่อฝึกบุคลากรที่มีศักยภาพในการต่อต้านภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยบุคลากรจากตำรวจภูธรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดได้ถูกส่งไปฝึกตามที่ตั้งของหน่วยรบพิเศษของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และถูกส่งไปประจำตามพื้นที่รับผิดชอบที่มีความรุนแรงของภัยคุกคามคอมมิวนิสต์สูง[4] อาทิ การคุ้มกันความปลอดภัยให้กับข้าราชการพลเรือนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในเขตปลดปล่อยคอมคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่กิ่งอำเภอต่าง ๆ (ในขณะนั้น) จังหวัดพัทลุง ร่วมกับทหาร และกองอาสารักษาดินแดน[5] การจัดตั้งฐานปฏิบัติการต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อวางกำลังต่อต้านกองกำลังของคอมมิวนิสต์[6] รวมถึงการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือในพื้นที่เมื่อฝ่ายเดียวกันเกิดการเพลี่ยงพล้ำ[7]
ปฏิบัติการหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงในปัจจุบันเกี่ยวกับการร่วมปฏิบัติการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ[8] คือปฏิบัติการที่ฐานปฏิบัติการบ้านหมากแข้ง ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการของตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งถูกกลุ่มคอมมิวนิสต์เข้าปิดล้อมและโจมตี รวมถึงยิงเฮลิคอปเตอร์สนับสนุนจากกองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหาร 1617 จนตก ทำให้ไม่สามารถส่งกำลังทางอากาศได้ จึงต้องนำกำลังลงที่ฐานบ้านห้วยมุ่น และเดินเท้ามาสนับสนุน แต่ก็ถูกซุ่มโจมตีจนเกิดความสูญเสียเช่นกัน[9] โดยในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มอบหมายให้ ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินไปแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งหลังจากรับฟังการบรรยายสรุป ได้สั่งการให้เข้าไปในพื้นที่ทันที ผ่านทางเฮลิคอปเตอร์ พร้อมราชองครักษ์ 7 นาย[8] เมื่อถึงฐานปฏิบัติการได้มีคำสั่งให้ปืนใหญ่จาก ฐานบ้านห้วยมุ่น ยิงสนับสนุน และทรงให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงวิธีวางกำลัง และได้ปฏิบัติการจนคอมมิวนิสต์ล่าถอย
ยุคสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2546 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย และรองรับภัยคุกคามต่าง ๆ เพื่อรองรับตามแผนรักษาความสงบ ตามหลักสูตร พัฒนาศัพยภาพหน่วยปฏิบัติการพิเศษ โดยปรับหลักสูตรจากหลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้ายสากล 6 เดือน เหลือ 1 เดือน มอบหมายให้หน่วยนเรศวร 261 รับผิดชอบการฝึก โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพการปฏิบัติการได้อยู่ และในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการฝึก ยุทธวิธีตำรวจพิเศษ และ ชุดพิเศษเฉพาะกิจ สำหรับรองรับการเผชิญเหตุในกรณีที่ไม่สามารถรอการสนับสนุนจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 หรือ อรินทราช 26 โดยฝึกในหลักสูตรการปฏิบัติการทางยุทธวิธีตำรวจในเมืองในระยะประชิด (Close Quarter Battle: CQB) การปิดล้อมตรวจค้น การจับกุม หรือเข้าควบคุมสถานการณ์ร้ายแรงตามกรอบของกฎหมายในเขตเมือง
เครื่องหมาย
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจภูธรนั้น จะประดับเครื่องหมายรูปอาร์มที่แขนเสื้อด้านขวา ลักษณะเครื่องหมายรูปอาร์มสีเลือดหมู ตรงกลางปักเป็นรูปเสือลายพาดกลอนสีเหลืองดำกำลังกระโดดตัดกับสายฟ้าสีขาวบนช่อชัยพฤกษ์สีขาว เหนือรูปอาร์มมีอักษรคำว่า หน่วยปฏิบัติการพิเศษ[10]
ต่อมาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ให้ยกเลิกเครื่องหมายตามข้อ 83[11] แต่ปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ ทั้งในรูปแบบเดิม และในรูปแบบที่ไม่มีช่อชัยพฤกษ์สีขาวประดับอยู่ซึ่งเป็นที่นิยมในการประดับมากกว่า
การจัดกำลัง
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จะจัดกำลังเป็น 2 ระดับ คือระดับตำรวจภูธรภาค และระดับตำรวจภูธรจังหวัด
ตำรวจภูธรภาค 1
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 1 มีชื่อหน่วยว่า ปราบไพรีอริศัตรูพ่าย[12] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 1 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท
ตำรวจภูธรภาค 2
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 2 มีชื่อหน่วยว่า บูรพา 491[13] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 2 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด[4] ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดระยอง
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดตราด
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว
ตำรวจภูธรภาค 3
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 3 มีชื่อหน่วยว่า กำแหงสงคราม[14] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 3 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร
ตำรวจภูธรภาค 4
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 4 มีชื่อหน่วยว่า ทศรถ 491[14] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 4 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเลย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสิทธุ์
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองบัวลำภู
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ
ตำรวจภูธรภาค 5
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 5 มีชื่อหน่วยว่า ยักขราช 49[15] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 5 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา
ตำรวจภูธรภาค 6
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 6 มีชื่อหน่วยว่า สีหราช 65[16] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 6 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดตาก
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี
ตำรวจภูธรภาค 7
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 7 มีชื่อหน่วยว่า อินทรี 7[17] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 7 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตำรวจภูธรภาค 8
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 8 มีชื่อหน่วยว่า พยัคฆ์อันดามัน[18] และ ราชเดช[19][20][21][22] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 8 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดระนอง
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพังงา
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่
ตำรวจภูธรภาค 9
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9 มีชื่อหน่วยว่า แดนไทย 54[23] และ พาลี 63 มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 9 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[24]
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดตรัง
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี[25]
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา[26]
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส[27][28]
หมายเหตุ หน่วยปฏิบัติการพิเศษระดับภูธรภาค 9 ทั้งสองหน่วย อยู่ภายใต้ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9 (กก.ปพ.ภ.9)
- แดนไทย 54 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อทดแทนคอมมานโดกองปราบปราม (สยบริปูสะท้าน) ที่ถูกดึงกำลังกลับต้นสังกัดและโอนย้ายไปเป็นกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เดิมแดนไทย 54 สังกัด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.)[29] ปัจจุบันสังกัด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9 หลังการยุบรวมศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ากับตำรวจภูธรภาค 9[30]
- พาลี 63 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9
หลักสูตรการฝึก
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษนั้น จะมีหลักสูตรการฝึกทบทวนประจำตามหลักสูตรของแต่ละกองกำกับการ[4] โดยจะมีหลักสูตรหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เป็นหลักสูตรในการพัฒนาและเสริมศักยภาพ อาทิ
- หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 18 สัปดาห์[31] ฝึกโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และนเรศวร 261
- หลักสูตรหน่วยปฏิบัติการพิเศษขั้นชำนาญการ (S.W.A.T. Advance) เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 8 สัปดาห์[32] ฝึกโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261
- หลักสูตรการฝึกอบรมการทำลายวัตถุระเบิด (EOD) เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 14 สัปดาห์[33] มีทั้งการฝึกในด้านของทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหน่วยในการตรวจสอบและพิสูจน์ทราบวัตถุต้องสงสัยในการปฏิบัติการ[28]
- หลักสูตรนักปฏิบัติการใต้น้ำ เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 49 วัน[34] โดยกองบังคับการตำรวจน้ำ[35] มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอารักขาและรักษาความปลอดภัย การค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและทางทะเล และภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำรวจค้นหาของกลางและสิ่งผิดกฎหมายใต้น้ำ[36]
วัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ถูกกล่าวถึงในบทเพลงลูกทุ่งในเพลงชื่อว่า นปพ. ครวญ ประพันธ์โดย ทองใบ รุ่งเรือง และขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ มีเนื้อหากล่าวถึงการปฏิบัติงานร่วมกันกับตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้อาภัพในความรัก โดยถูกนำไปขับร้องใหม่ในอีกหลากหลายเวอร์ชัน อาทิ ยอดรัก สลักใจ[37] อ๊อด โฟร์เอส[38]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อรินทราช 26 – หน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษระดับตำรวจนครบาล สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
- นเรศวร 261 – หน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษระดับประเทศไทย สังกัดกองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - หน่วยงานในสังกัด". www.royalthaipolice.go.th (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)[ลิงก์เสีย]. เล่ม 99 ตอนที่ 80, วันที่ 11 มิถุนายน 2525, หน้า 19
- ↑ "ส่อง ตำรวจไทย (เพิ่งรู้ว่าตำรวจก็เจ๋ง ๆ หลายหน่วย)". Pantip.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "ชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ บูรพา 491". www.inv.p2.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
- ↑ ปริญญา นวลเปียน. (2561). โซนสีเทาในพื้นที่สีแดง: ภาพสะท้อนจากเขตปลดปล่อยบริเวณชุมชนเชิงเขาบรรทัดในยุคสงครามเย็น. วารสารรูสมิแล, 39 (3), 7–20 สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/178870
- ↑ การปฏิบัติงานของ พคท.ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย "ยุทธการสามชัย". marines.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
- ↑ ความคิดเห็นที่ 53 (144302) "ย้อนรอยสมรภูมิ"เขาค้อ" ตอนที่ 1". khaoko.com.
- ↑ 8.0 8.1 "'วาสนา' เผยบทสัมภาษณ์ ตร. ระบุ ร.10 ทรงตีลังกาม้วนหน้าทางยุทธวิธี ณ 'บ้านหมากแข้ง' กลางดงคอมมิวนิสต์". prachatai.com.
- ↑ "ย้อนรอยบ้านหมากแข้งสมรภูมิ "พระราชา"". NationTV. 11 November 2020.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)[ลิงก์เสีย]. เล่ม 99 ตอนที่ 80, วันที่ 11 มิถุนายน 2525, หน้า 87
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
- ↑ "รวบตัวแล้ว คนร้ายแหกด่านตำรวจที่ปทุมธานี นำตัวไป สภ.ธัญบุรี (ชมคลิป)". www.thairath.co.th. 2016-03-21.
- ↑ matichon (2022-07-28). "PCT5 ร่วมบูรพา491 เปิดปฏิบัติการตัดวงจรขบวนการส่งคนไทยข้ามแดนไปทำงานแก๊งคอล". มติชนออนไลน์.
- ↑ 14.0 14.1 รายการตำรวจอินดี้ : Start S.W.A.T CHALLENGE 2019, สืบค้นเมื่อ 2022-03-27
- ↑ pearsaralee (2021-12-05). "ภ.5 จัดการฝึกปฐมพยาบาลและทบทวนยุทธวิธีตำรวจของชุดปฏิบัติการพิเศษ (ยักขราช 49)". Chiang Mai News.
- ↑ reporter4. "บิ๊กอ้อ สั่งนเรศ58สยบชายคลั่งจ่อขมับตัวเอง | Police News Varieties" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ฝึกหน่วยปฏิบัติการพิเศษอินทรี7เขี้ยวเล็บตำรวจภาค7". คมชัดลึกออนไลน์. 2014-10-21.
- ↑ ตำรวจอินดี้ 🔰 SWAT CHALLENGE 2021 📍 Stage 3 : Swat Tactics, สืบค้นเมื่อ 2022-03-27
- ↑ "รวบตำรวจยศ ส.ต.ท.คลั่ง เดินถือปืนภายในบ้านพัก ใช้เวลาเจรจานาน 9 ชั่วโมงยอมจำนน". mgronline.com. 2022-10-11.
- ↑ "ผู้การฯเมืองคอนนำทีมลุยจับ 2 สมุน "ไอ้แกร็ก" แต่คนร้ายไหวตัวทันหลบหนีไปได้". mgronline.com. 2022-04-21.
- ↑ reporter4. "ภาค8เข้ม ฝึกราชเดช(พังพระกาฬ) 64 | Police News Varieties" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Chumphon Provincial Operation Center". www.chumphon.go.th.
- ↑ ""บิ๊กใหม่" นำกำลังออกล่า 2 สมุน "ไอ้แกร็ก" หลังสืบทราบหนีกบดานในพื้นที่ป่าพะยอม". m.mgronline.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธรสงขลา". www.facebook.com.
- ↑ "กก.ปฏิบัติการพิเศษ ภ.จว.ปัตตานี". www.facebook.com.
- ↑ "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา". www.facebook.com.
- ↑ "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส". www.facebook.com.
- ↑ 28.0 28.1 "เผย"ชุดอีโอดี"ตกเป็นเป้าสังหาร". www.posttoday.com. 2013-10-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชุดปฏิบัติการพิเศษ แดนไทย 54 ตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้". www.facebook.com.
- ↑ "ปิดตำนาน "ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้" 13 ปี ฟันเฟืองดับไฟใต้ ขวัญกำลังใจยังดีอยู่ไหม?". mgronline.com. 2017-08-01.
- ↑ "อรินทราช 26 หน่วยจู่โจมผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการสำคัญ". bangkokbiznews. 2020-02-09.
- ↑ INSIGHT POLICE - โครงการฝึกหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ขั้นชำนาญการ (S.W.A.T), สืบค้นเมื่อ 2022-03-29
- ↑ "ทำไมกล้าเรียน? เจาะหลักสูตร EOD เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ท้าทายพญายมฯ นักรบกู้บึม!". www.thairath.co.th. 2018-10-17.
- ↑ "45 วัน...ฝึกเข้ม ซีลตำรวจ กู้ภัยพิบัติ...ชม clip การฝึก By ธัชดล ปัญญาพานิชกุล จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29.
- ↑ "ตำรวจน้ำเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักปฏิบัติการใต้น้ำ หน่วยพิทักษ์สันติราษฎร์ทางน้ำ - 77 ข่าวเด็ด". 2018-05-31.
- ↑ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 11 การศึกษา การฝึกและอบรม ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2554 เก็บถาวร 2022-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ยอดรัก สลักใจ ชุด ต.ช.ด. ขอร้อง, สืบค้นเมื่อ 2022-03-28
- ↑ น.ป.พ.ครวญ - อ๊อด โฟร์เอส # ตำนานลูกทุ่ง 6 [Official MV], สืบค้นเมื่อ 2022-03-28