ชาโน แพมเบอร์เกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาโน แพมเบอร์เกอร์
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 (28 ปี)
การศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพนักแสดง
ส่วนสูง183 เซนติเมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)[1]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดทหารพราน
กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2557–ปัจจุบัน
ชั้นยศอาสาสมัครทหารพราน (ทหารพราน)
พลทหาร (กองทัพบกไทย)
หน่วยกรมทหารพรานที่ 33 (พ.ศ. 2557)
กองพลทหารราบที่ 11 (พ.ศ. 2559)
กรมทหารพรานที่ 46 (พ.ศ. 2561)
การยุทธ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]

ชาโน แพมเบอร์เกอร์ (เยอรมัน: Chano Pemberger; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 – ) เป็นนักแสดงสายเลือดไทยออสเตรียเยอรมัน[3] และได้ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครทหารพรานในภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[4][5][6]

ประวัติ[แก้]

ชาโน แพมเบอร์เกอร์ เป็นบุตรคนโต และมีน้องสาว 1 คน[1] โดยมีบิดาเป็นชาวออสเตรียเยอรมัน[7] และมีปู่เป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง[8] ซึ่งครอบครัวของชาโนทำธุรกิจนำเข้า–ส่งออกอาหารสัตว์[3]

ในภายหลัง ชาโนได้มีผลงานการแสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 และ ช่อง 3 มาก่อน อาทิ หลงเงาจันทร์ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ก๊วนคานทองกับแก๊งพ่อปลาไหล, นางร้ายซัมเมอร์[9] และวัยแสบสาแหรกขาด[10]

ปัจจุบัน เขากำลังศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3]

การเป็นทหาร[แก้]

ชาโน แพมเบอร์เกอร์ เคยเป็นอาสาสมัครทหารพราน ที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 33 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เมื่อ พ.ศ. 2557 ส่วนในปี พ.ศ. 2559 เขาได้สมัครเป็นทหารของกองทัพบกไทย ที่กองพลทหารราบที่ 11 ก่อนที่จะกลับมาสมัครเป็นอาสาสมัครทหารพรานอีกครั้งในปี พ.ศ. 2561 ที่กรมทหารพรานที่ 46 อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส[11][12]

เกียรติประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2559 ชาโน แพมเบอร์เกอร์ ได้รับเกียรติเป็นผู้ตีกลองชนะประโคมย่ำยามถวายแด่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[13]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ด้านชีวิตส่วนตัว ชาโนตั้งปนิธานว่าจะนำรายได้จากการเป็นนักแสดงไปช่วยเหลือแบ่งปันที่จังหวัดปัตตานี[8]

ผลงานการแสดง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • พ.ศ. 2549 – 13 เกมสยอง รับบทเป็น ภูชิต ช่วงอายุ 11 ปี

ละครโทรทัศน์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ชาโน แพมเบอร์เกอร์ ประวัติ ดาราลูกครึ่งสมัครทหารรับใช้ชาติ - ผู้ชาย - MThai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-18.
  2. ชีวิตนี้สละเพื่อชาติ “ชาโน” ในบทบาททหารชายแดนภาคใต้ - สำนักข่าวเจ้าพระยา
  3. 3.0 3.1 3.2 รักชาติเป็นที่ตั้ง! 'ชาโน'ลง 3 ชายแดนใต้ - ไทยโพสต์
  4. เทสต์ร่างกาย ชาโน แพมเบอร์เกอร์ พร้อมเข้าเป็นทหารชุดดำชายแดนใต้ - ทีวีพูล
  5. "นี่ไงวิถีคนกล้า "ชาโน" ฟิตสมัครทหารประจำการพื้นที่เสี่ยงชายแดนใต้ - สยามดารา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2019-01-18.
  6. ประโยคนั้นยังจำ… ดาราหนุ่มกับวลีลุ้นเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ[ลิงก์เสีย]
  7. หน้าที่นี้เพื่อพ่อ...เรื่องเล่าของ ชาโน แพมเบอร์เกอร์ จาก ดารา สู่ ทหารของพระราชา
  8. 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ฮือฮา
  9. "ชาโน แพมเบอร์เกอร์ อาสาเป็นทหารลง 3 จังหวัดใต้ - MThai News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2019-01-18.
  10. ""วัยแสบสาแหรกขาด" ละครน้ำดีสะท้อนปัญหาสังคม : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-18.
  11. สุดภูมิใจ! 'ชาโน' นักแสดงลูกครึ่ง ไปนราฯ สมัครอาสาทหารพราน - ไทยรัฐ
  12. "ชาโน เล่าไปยิ้มไป เปิดประสบการณ์รั้วของชาติ กับฝันที่ขัดใจพ่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-08. สืบค้นเมื่อ 2019-01-18.
  13. สุดภูมิใจ! "ชาโน แพมเบอร์เกอร์" ได้รับเกียรติตีกลองชนะประโคมย่ำยาม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]