ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการสงครามกองโจร
ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีหลักของการสงครามกองโจร มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการใช้การโจมตีขนาดเล็ก, ใช้กองกำลังเคลื่อนที่ได้ง่ายปะทะกองกำลังขนาดใหญ่ที่เทอะทะ กองกำลังกองโจรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจัดอยู่ในหน่วยเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น กลวิธีคือ กองทัพกองโจรทำการโจมตีซ้ำห่างจากศูนย์กลางของฝ่ายตรงข้ามโดยความหนักเบา กับเจตนาในการรักษาจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายของตนเองให้น้อยที่สุด และพยายามทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้อาจยั่วยุศัตรูให้เข้าสู่การตอบโต้ที่โหดร้าย และทำลายล้างมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้สนับสนุนของพวกเขาโกรธและเพิ่มการสนับสนุนกองโจร ในที่สุดก็บังคับให้ศัตรูถอนตัว หนึ่งในตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องนี้คือในช่วงสงครามเพื่ออิสรภาพของไอร์แลนด์ ไมเคิล คอลลินส์ ผู้นำกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์มักใช้กลยุทธ์นี้เพื่อกำจัดหมู่ทหารอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดมันสเตอร์ เช่น เมืองคอร์ก
การสงครามกองโจรในฐานะความต่อเนื่อง
[แก้]การก่อการกำเริบ หรือสิ่งที่เหมา เจ๋อตง เรียกว่าสงครามแห่งธรรมชาติปฏิวัติ การสงครามกองโจรสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความต่อเนื่อง[1] ในระดับต่ำสุดเป็นการตีโฉบฉวยขนาดเล็ก, การซุ่มโจมตี และการโจมตี ในสมัยโบราณการกระทำเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับนโยบายของชนเผ่าขนาดเล็กที่ต่อสู้กับอาณาจักรที่ใหญ่กว่า เช่นเดียวกับในการต่อสู้ของโรมกับชนเผ่าสเปนมานานกว่าศตวรรษ ในยุคสมัยใหม่พวกเขาดำเนินต่อไปด้วยปฏิบัติการของกลุ่มกบฏ, กลุ่มปฏิวัติ และกลุ่มก่อการร้าย ส่วนปลายด้านบนประกอบด้วยยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการทหารแบบบูรณาการ ประกอบด้วยหน่วยทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีส่วนร่วมในการสงครามซึ่งเคลื่อนทีได้ง่าย และการเคลื่อนย้ายอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งในระดับ "กองโจร" ต่ำสุด และที่มีขนาดใหญ่ รูปขบวนเคลื่อนที่ง่ายพร้อมด้วยอาวุธสมัยใหม่
ช่วงหลังมาถึงการแสดงออกอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติการของเหมา เจ๋อตง ในประเทศจีน และหวอ เงวียน ซ้าป ในประเทศเวียดนาม ในระหว่างนั้นเป็นสถานการณ์ขนาดใหญ่ที่หลากหลาย – จากสงครามยืดเยื้อกับอิสราเอลโดยปาเลสไตน์นอกแบบในยุคเดียวกัน ถึงปฏิบัติการนอกแบบของสเปนและโปรตุเกสพร้อมด้วยหน่วยตามแบบแผนของนายพลอังกฤษเวลลิงตัน ในระหว่างสงครามคาบสมุทรต่อต้านนโปเลียน[2]
การก่อความไม่สงบสมัยใหม่และการสงครามประเภทอื่นอาจรวมถึงการรบแบบกองโจรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแบบบูรณาการ พร้อมด้วยลัทธิตบตา, การจัดตั้ง, ทักษะความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการโฆษณาชวนเชื่อ กองโจรอาจมีขนาดเล็ก, กลุ่มคนผู้โจมตีที่กระจัดกระจาย แต่พวกเขายังสามารถทำงานเคียงข้างกันกับกองกำลังปกติ หรือรวมกันเพื่อปฏิบัติการเคลื่อนที่ที่หลากหลายในหมู่, หมวด หรือขนาดกองพัน หรือแม้กระทั่งรูปแบบหน่วยตามแบบแผน ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนและการจัดตั้งของพวกเขา พวกเขาสามารถเปลี่ยนระหว่างวิธีเหล่านี้ทั้งหมดตามสถานการณ์ที่ต้องการ การสงครามกองโจรที่ประสบความสำเร็จนั้นยืดหยุ่น ไม่คงที่
แบบจำลองทางยุทธศาสตร์ของการสงครามกองโจร
[แก้]แบบจำลองผู้นับถือลัทธิเหมาสามระยะ 'คลาสสิก'
[แก้]ในประเทศจีน ทฤษฎีผู้นับถือลัทธิเหมาแห่งสงครามประชาชนแบ่งสงครามออกเป็นสามระยะ ในระยะที่หนึ่ง กองโจรได้รับการสนับสนุนจากประชากรโดยการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อและโจมตีหน่วยงานของรัฐบาล ในระยะที่สอง การโจมตีที่เพิ่มขึ้นจะเริ่มขึ้นต่อกองกำลังทหารของรัฐบาลและสถาบันที่สำคัญ ในระยะที่สาม การสงครามตามแบบและการต่อสู้ใช้เพื่อยึดเมืองต่าง ๆ ล้มล้างรัฐบาลและเข้าควบคุมประเทศ โดยหลักนิยมของเหมาได้คาดการณ์ไว้ว่าสถานการณ์อาจต้องมีการเปลี่ยนไปมาระหว่างระยะขั้นตอนในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง รวมถึงระยะขั้นตอนอาจไม่สม่ำเสมอและเท่ากันทั่วทั้งเมือง ผลงานของเหมาเจ๋อตงที่ชื่อออนเกอร์ริลลาวอร์แฟร์[4] ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศเวียดนาม โดยผู้นำทางทหารและนักทฤษฎี หวอ เงวียน ซ้าป ซึ่งมีผลงานหนังสือ "พีเพิลส์วอร์, พีเพิลส์อาร์มี"[5] ที่ปฏิบัติตามแนวทางสามระยะของลัทธิเหมาอย่างใกล้ชิด แต่เน้นความยืดหยุ่นในการโยกย้ายระหว่างการสงครามกองโจรและการ "จลาจลทั่วไป" ของประชากรที่เกิดขึ้นเองร่วมกับกองกำลังกองโจร ส่วนผู้เขียนบางคนได้เน้นถึงความสามารถในการใช้แทนกันของระยะขั้นตอนที่มีอยู่ในแบบจำลองนี้และการสงครามกองโจรโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปใช้โดยกองโจรเวียดนามเหนือ[6]
รูปแบบร่วมสมัยที่แตกตัวออกนอกเหนือไปกว่า
[แก้]แบบจำลองผู้นับถือลัทธิเหมาแบบคลาสสิกต้องการกลุ่มกองโจรที่เข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียวและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การสงครามกองโจรร่วมสมัยบางอย่างอาจไม่เป็นไปตามแม่แบบนี้เลย และอาจรวมไปถึงความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่รุนแรง, ความรุนแรงทางศาสนา และกลุ่ม 'อิสระ' ขนาดเล็กจำนวนมากที่ปฏิบัติแบบไม่ขึ้นกับใครโดยมีโครงสร้างที่ครอบคลุมเพียงเล็กน้อย รูปแบบเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับหมวดหมู่ที่ขับเคลื่อนด้วยระยะ หรือโครงสร้างสามระดับตามหลักการ (ประจำกองกำลังหลัก, นักรบประจำภูมิภาค, กองโจรนอกเวลา) เหมือนในสงครามประชาชนแห่งเอเชีย
ตัวอย่างเช่น การโจมตีแบบกองโจรของกลุ่มญิฮาดอาจได้รับแรงหนุนจากความปรารถนาทั่วไปที่จะฟื้นฟูยุคทองที่มีชื่อเสียงในยุคก่อนหน้า ด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อยในการสร้างระบอบการเมืองทางเลือกเฉพาะในสถานที่เจาะจง การโจมตีทางชาติพันธุ์ในทำนองเดียวกันอาจยังคงอยู่ในระดับของการระเบิด, การลอบสังหาร หรือการตีโฉบฉวยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อล้างแค้นที่บางคนดูแคลนหรือสบประมาท แทนที่จะเปลี่ยนไปสู่การสงครามตามแบบในขั้นสุดท้ายเช่นเดียวกับในการกำหนดของลัทธิเหมา[7]
สภาพแวดล้อม เช่น การขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น และการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวมถึงความสนใจของสื่อก็ทำให้เหตุการณ์ร่วมสมัยซับซ้อนขึ้นเช่นกัน เหล่ากองโจรไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามนักรบในชนบทแบบคลาสสิกที่ได้รับความช่วยเหลือจากที่ลี้ภัยข้ามพรมแดนในประเทศหรือภูมิภาคที่จำกัด (เช่นเดียวกับในเวียดนาม) แต่ตอนนี้รวมถึงเครือข่ายผู้คนจำนวนมากที่ผูกพันด้วยศาสนาและชาติพันธุ์ที่แผ่ขยายออกไปทั่วโลก[8]
ยุทธวิธี
[แก้]การสงครามกองโจรแตกต่างจากยุทธวิธีของหน่วยเล็ก ๆ ที่ใช้ในปฏิบัติการคุ้มกันหรือลาดตระเวนตามแบบฉบับของกองกำลังทั่วไป นอกจากนี้ยังแตกต่างจากกิจกรรมของเหล่าโจรสลัดหรือผู้ชิงทรัพย์ กลุ่มอาชญากรดังกล่าวอาจใช้ยุทธวิธีแบบกองโจร แต่จุดประสงค์หลักของพวกเขาคือการแสวงหาผลประโยชน์ทางวัตถุในทันที และไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางการเมือง
ยุทธวิธีแบบกองโจรขึ้นอยู่กับข่าวกรอง, การซุ่มโจมตี, การเสแสร้ง, วินาศกรรม และจารกรรม โดยการบ่อนทำลายอำนาจ ผ่านการเผชิญหน้าที่ยาวนานและมีความเข้มข้นต่ำ ซึ่งสามารถทำได้ค่อนข้างประสบความสำเร็จในการต่อต้านระบอบการปกครองของต่างประเทศหรือท้องถิ่นซึ่งไม่เป็นที่นิยม ดังที่แสดงให้เห็นจากการปฏิวัติคิวบา, สงครามอัฟกานิสถาน และสงครามเวียดนาม กองทัพกองโจรอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาการยึดครอง หรือการเป็นอาณานิคมเหนือสิ่งที่อำนาจต่างชาติอาจต้องการแบกรับ ในการต่อต้านระบอบการปกครองท้องถิ่น นักสู้กองโจรอาจทำให้การปกครองเป็นไปไม่ได้ด้วยการโจมตีให้หวาดกลัวและก่อวินาศกรรม รวมถึงแม้กระทั่งการรวมกองกำลังเพื่อกำจัดศัตรูในพื้นที่ในการสู้รบตามปกติ ยุทธวิธีเหล่านี้มีประโยชน์ในการทำให้ศัตรูขวัญเสีย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มขวัญกำลังใจของกองโจร ในหลายกรณี ยุทธวิธีแบบกองโจรอนุญาตให้กองกำลังขนาดเล็กสามารถยับยั้งศัตรูที่มีขนาดใหญ่กว่าและติดตั้งได้ดีกว่าเป็นเวลานาน เช่นเดียวกับสงครามเชชเนียครั้งที่สองของรัสเซีย และสงครามเซมิโนลครั้งที่สองที่ต่อสู้ในหนองน้ำของรัฐฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) ทั้งนี้ ยุทธวิธีและยุทธศาสตร์แบบกองโจรมีการสรุปไว้ด้านล่าง และมีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในงานอ้างอิงมาตรฐาน เช่น "ออนเกอร์ริลลาวอร์แฟร์" ของเหมา[4]
ประเภทของปฏิบัติการทางยุทธวิธี
[แก้]ปฏิบัติการแบบกองโจรมักประกอบด้วยการโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัวในเส้นทางคมนาคมขนส่ง, ตำรวจหรือทหารแต่ละกลุ่ม, สิ่งก่อสร้างและโครงสร้าง, วิสาหกิจทางเศรษฐกิจ และพลเรือนที่เป็นเป้าหมาย ส่วนการโจมตีในกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้การพรางตัวและมักเข้ายึดอาวุธของศัตรูตัวนั้น กองกำลังกองโจรสามารถกดดันศัตรูได้อย่างต่อเนื่องและทำให้ลดจำนวนลง ในขณะที่ยังคงปล่อยให้หลบหนีโดยมีผู้บาดเจ็บค่อนข้างน้อย ความตั้งใจของการโจมตีดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงการทหารเท่านั้นหากแต่เป็นเรื่องทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ประชากรเป้าหมายหรือรัฐบาลเสื่อมกำลัง หรือกระตุ้นปฏิกิริยาตอบโต้ที่บีบบังคับประชากรให้เข้าข้างหรือต่อต้านกองโจร ตัวอย่างมีตั้งแต่การตัดแขนขาของการก่อกบฏภายในแอฟริกาต่าง ๆ ตลอดจนการโจมตีแบบพลีชีพในประเทศอิสราเอลและศรีลังกา ไปจนถึงการดำเนินกลยุทธ์ที่ซับซ้อนโดยเวียดกงและกองทัพเวียดนามเหนือต่อฐานและรูปขบวนทางการทหาร
ไม่ว่าจะใช้ยุทธวิธีใดโดยเฉพาะ กองโจรส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่เพื่อต่อสู้ในวันอื่น และเพื่อขยายหรือสงวนกองกำลังของเขารวมถึงการสนับสนุนทางการเมือง โดยไม่ยึดหรือยึดพื้นที่เฉพาะของอาณาเขตตามที่กองกำลังตามแบบจะทำได้ ด้านบนคือรูปแบบง่ายของการโจมตีแบบซุ่มโจมตีโดยกองกำลังกองโจรเวียดกง (VC) ซึ่งเป็นหนึ่งในกองกำลังกองโจรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การซุ่มโจมตีบนเส้นทางคมนาคมหลักถือเป็นจุดเด่นของปฏิบัติการกองโจร ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบสำหรับการดำเนินการ ซึ่งระบุไว้ตรงนี้โดยเตรียมเส้นทางการถอนกำลังของเวียดกง ในกรณีนี้ การจู่โจมของเวียดกงถูกทำลายโดยอากาศยานและอำนาจการยิงของอเมริกา อย่างไรก็ตาม เวียดกงได้ทำลายยานพาหนะหลายคันและกองกำลังเวียดกงหลักจำนวนมากได้หลบหนี เช่นเดียวกับในสงครามเวียดนามส่วนใหญ่ กองกำลังอเมริกันจะออกจากพื้นที่ในที่สุด แต่ผู้ก่อความไม่สงบจะจัดกลุ่มใหม่และกลับมาในภายหลัง ซึ่งมิติเวลานี้ยังเป็นส่วนสำคัญของยุทธวิธีกองโจร[9]
การจัดตั้ง
[แก้]การสงครามกองโจรมีลักษณะคล้ายกับการก่อกบฏ แต่เป็นแนวคิดที่แตกต่าง การจัดตั้งกองโจรมีช่วงตั้งแต่ขนาดเล็ก, กลุ่มกบฏท้องถิ่นของกองโจรไม่กี่โหล ไปจนถึงนักรบนับพัน โดยการเคลื่อนกำลังพลตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงกองทหาร ในกรณีส่วนใหญ่ ผู้นำมีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนสำหรับสงครามที่พวกเขาทำ โดยปกติแล้ว องค์กรจะมีปีกการเมืองและการทหาร เพื่อให้ผู้นำทางการเมือง "ปฏิเสธได้" สำหรับการโจมตีทางทหาร[10] โครงสร้างการสงครามกองโจรที่บรรจงอย่างครบถ้วนที่สุดคือคอมมิวนิสต์จีนและเวียดนามในช่วงสงครามปฏิวัติของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11] ตัวอย่างของประเภทการจัดตั้งที่ซับซ้อนกว่านี้ – ใช้โดยกองกำลังปฏิวัติในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งแสดงไว้ข้างต้น
การจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัวและข่าวกรอง
[แก้]สำหรับการปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จ กองโจรต้องจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัว หากปฏิบัติการถูกหักหลังหรือถูกบุกรุกมักจะถูกยกเลิกทันที นอกจากนี้ ข่าวกรองยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงมีการรวบรวมความรู้โดยละเอียดเกี่ยวกับท่าที, อาวุธ และขวัญกำลังใจของเป้าหมายก่อนการโจมตีใด ๆ โดยปกติผู้สมรู้ร่วมคิดและผู้ฝักใฝ่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ หากทำงานอย่างลับ ๆ ผู้ปฏิบัติการกองโจรอาจปลอมสมาชิกภาพของเขาในปฏิบัติการของผู้ก่อความไม่สงบ และใช้การหลอกลวงเพื่อคุ้ยข้อมูลที่จำเป็น การจ้างงานหรือการเข้าเป็นทหารในฐานะลูกศิษย์อาจดำเนินการใกล้กับโซนเป้าหมาย, องค์กรชุมชนอาจถูกแทรกซึม และแม้แต่ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องรักใคร่ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมข่าวกรอง[12] แหล่งข้อมูลสาธารณะเป็นสิ่งล้ำค่าสำหรับกองโจร ตั้งแต่ตารางการบินของสายการบินเป้าหมาย ไปจนถึงประกาศสาธารณะเกี่ยวกับการเยี่ยมบุคคลสำคัญในต่างประเทศ และไปจนถึงคู่มือภาคสนามของกองทัพบก การเข้าถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บทำให้การเก็บเกี่ยวและการเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวค่อนข้างง่าย[13] การใช้การลาดตระเวนแบบตรงจุดเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติการจะพิจารณา "กรณี" หรือวิเคราะห์สถานที่หรือเป้าหมายที่เป็นไปได้ในเชิงลึก อาทิเช่น การลงรายการเส้นทางเข้าและออก, โครงสร้างอาคาร, ตำแหน่งของโทรศัพท์และสายสื่อสาร, การมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก สุดท้ายข่าวกรองเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางการเมือง เช่น การเกิดการเลือกตั้ง หรือผลกระทบของปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นต่อขวัญกำลังใจของพลเรือนและศัตรู
ความสัมพันธ์กับประชาชนพลเรือน
[แก้]"ทำไมนักรบแบบกองโจรถึงต่อสู้? เราต้องมาถึงข้อสรุปที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่านักรบแบบกองโจรเป็นนักปฏิรูปสังคม ที่เขาหยิบอาวุธขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการประท้วงที่โกรธแค้นของผู้คนต่อผู้กดขี่ของพวกเขา และเขาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบสังคมที่ทำให้พี่น้องที่ไม่มีอาวุธของเขาอยู่ในความอัปยศและความทุกข์ยาก"
ความสัมพันธ์กับประชาชนพลเรือนได้รับอิทธิพลโดยการรบแบบกองโจรในหมู่ประชากรที่เป็นศัตรูหรือให้ความช่วยเหลือ ประชากรที่ให้ความช่วยเหลือมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนักรบแบบกองโจร, ให้ที่พักพิง, จัดส่ง, การเงิน, ข่าวกรอง และรับคนใหม่ "ฐานของประชาชน" จึงเป็นเส้นชีวิตสำคัญในขบวนการกองโจร ในช่วงแรกของสงครามเวียดนาม เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกัน "ค้นพบว่ามี 'หมู่บ้านสนาม' ที่รัฐบาลควบคุมตามที่คาดคะเนหลายพันซึ่งในความเป็นจริงถูกควบคุมโดยกองโจรเวียดกง ผู้ซึ่ง 'มักจะใช้พวกเขาในการจัดส่ง และที่พักหลบภัย'"[15] การสนับสนุนจำนวนมากเป็นที่แพร่หลายในพื้นที่หรือประเทศที่จำกัด แต่ไม่จำเป็นเสมอไป กองโจรและกลุ่มปฏิวัติยังคงสามารถปฏิบัติการได้โดยใช้ระบบการปกครองที่ให้ความช่วยเหลือ, จัดส่งแผนผัง, อาวุธ, ข่าวกรอง, ความมั่นคงในท้องถิ่น และครอบคลุมในทางทูต
ประชากรที่ไม่แยแสหรือเป็นศัตรูทำให้ชีวิตยากขึ้นสำหรับสมาชิกกองโจรและความพยายามซึ่งต้องใช้กำลังมากมักจะทำให้ได้รับการสนับสนุน สิ่งเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องไม่เพียงแค่การโน้มน้าวใจ แต่เป็นนโยบายที่คำนวณไว้จากการข่มขู่ กองกำลังกองโจรอาจมีลักษณะการปฏิบัติการที่หลากหลายในฐานะการต่อสู้เพื่อปลดปล่อย แต่สิ่งนี้อาจหรือไม่อาจส่งผลให้มีการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากพลเรือนที่ได้รับผลกระทบ ปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงความเกลียดชังชาติพันธุ์และศาสนา สามารถทำให้เสรีภาพในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของชาติไม่สามารถต้านทานได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมที่แน่นอนของการโน้มน้าวใจหรือการข่มขู่ที่ใช้โดยการรบแบบกองโจร ความสัมพันธ์กับประชาชนพลเรือนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในความสำเร็จหรือความล้มเหลว[16]
การใช้ก่อการร้าย
[แก้]ในบางกรณี การใช้การก่อการร้ายอาจเป็นส่วนหนึ่งของการสงครามกองโจร การก่อการร้ายถูกนำมาใช้เพื่อมุ่งเน้นความสนใจของนานาชาติในการก่อกองโจร, ฆ่าผู้นำคู่ต่อสู้, รีดไถเงินจากเป้าหมาย, ข่มขู่ประชาชนทั่วไป, สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และดูแลสมัครพรรคพวกรวมถึงผู้แปรพักตร์ที่อาจเกิดขึ้นในแนวรบ เช่นกัน การใช้การก่อการร้ายสามารถกระตุ้นพลังที่ยิ่งใหญ่กว่าในการตอบสนองที่ไม่สมส่วน ดังนั้นจึงเป็นการทำให้ประชากรพลเรือนบาดหมางซึ่งอาจเข้าข้างต่อสาเหตุการก่อการร้าย ยุทธวิธีดังกล่าวอาจย้อนกลับ และทำให้ประชากรพลเรือนถอนการสนับสนุน หรือกลับสนับสนุนกองกำลังตอบโต้ต่อต้านกองโจร[10]
สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในอิสราเอล ที่การวางระเบิดฆ่าตัวตายสนับสนุนให้ชาวอิสราเอลส่วนใหญ่มีความคิดที่จะยืนหยัดต่อสู้ผู้บุกรุกชาวปาเลสไตน์ รวมถึงการอนุมัติทั่วไปของ "การสังหารเป้าหมายที่กำหนด" เพื่อทำลายเซลล์ศัตรูและผู้นำ[17] ในประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย การโจมตีของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ช่วยเปลี่ยนความคิดเห็นของพลเรือนมาต่อต้านผู้ก่อความไม่สงบ ส่วนในประเทศเปรูและบางประเทศ ความคิดเห็นของพลเรือนบางครั้งหันหลังให้การตอบโต้รุนแรงที่รัฐบาลใช้ต่อต้านขบวนการปฏิวัติหรือกบฏ
การถอนตัว
[แก้]กองโจรต้องวางแผนอย่างรอบคอบสำหรับการถอนตัวเมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้นหรือหากเป็นไปในทางที่ไม่ดี บางครั้งขั้นตอนการถอนตัวถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติตามแผน และการเข้าไปพัวพันกับการต่อสู้ที่ยาวนานกับกองกำลังที่เหนือกว่านั้นมักจะเป็นอันตรายต่อผู้ก่อความไม่สงบ, ผู้ก่อการร้าย หรือผู้ปฏิบัติการปฏิวัติ โดยปกติการถอนจะทำได้โดยใช้เส้นทางและวิธีการที่แตกต่างกัน ตลอดจนอาจรวมถึงการกวาดล้างพื้นที่อย่างรวดเร็วสำหรับปล่อยอาวุธ, การล้างหลักฐาน และการปลอมตัวเป็นพลเรือนที่รักสงบ[4]
การส่งกำลังบำรุง
[แก้]โดยทั่วไป กองโจรจะดำเนินการโดยใช้การส่งกำลังบำรุงขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับรูปขบวนตามแบบแผน; อย่างไรก็ตาม กิจกรรมด้านการส่งกำลังบำรุงของพวกเขาสามารถจัดได้อย่างพิถีพิถัน ข้อพิจารณาเบื้องต้นคือหลีกเลี่ยงการพึ่งพาฐานและคลังถาวรซึ่งค่อนข้างง่ายสำหรับหน่วยทั่วไปในการค้นหาและทำลาย ความคล่องตัวและความเร็วเป็นกุญแจสำคัญ และเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ กองโจรจะต้องอาศัยอยู่นอกแดน หรือได้รับการสนับสนุนจากพลเมืองที่ฝังตัวอยู่ ในแง่นี้ "ผู้คน" จึงกลายเป็นฐานเสบียงของกองโจร[4] การจัดหาเงินทุนสำหรับกิจกรรมของผู้ก่อการร้ายและกองโจรมีตั้งแต่การบริจาคโดยตรงของแต่ละบุคคล (สมัครใจหรือไม่สมัครใจ) และปฏิบัติการจริงขององค์กรธุรกิจโดยผู้ก่อความไม่สงบ ไปจนถึงการปล้นธนาคาร, การลักพาตัว และเครือข่ายทางการเงินที่ซับซ้อน โดยอาศัยความสัมพันธ์เครือญาติ, ชาติพันธุ์ และศาสนา (เช่น ที่ใช้โดยองค์กรญิฮาดิสต์/ญิฮาดสมัยใหม่ใช้)
ฐานถาวรและกึ่งถาวรเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการส่งกำลังบำรุงแบบกองโจร ซึ่งโดยปกติจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือในที่ลี้ภัยข้ามพรมแดนที่กำบังโดยระบอบมิตร[18] สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างซับซ้อน เช่นเดียวกับในค่ายฐานป้อมเวียดกง/กองทัพบกเวียดนามเหนือ และอุโมงค์ซับซ้อนที่กองกำลังสหรัฐพบในช่วงสงครามเวียดนาม ความสำคัญต่อพวกเขาเหล่านั้นสามารถเห็นได้จากการต่อสู้อย่างหนักซึ่งบางครั้งกองกำลังคอมมิวนิสต์เข้าร่วมเพื่อปกป้องสถานที่ตั้งเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเห็นได้ชัดว่าการป้องกันไม่สามารถป้องกันได้ หน่วยคอมมิวนิสต์มักจะถอนตัวออกไปโดยปราศจากความรู้สึก
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]การสงครามกองโจรมักเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในชนบท และนี่เป็นกรณีของปฏิบัติการขั้นสุดท้ายของเหมาและซ้าป, มุญาฮิดีนของประเทศอัฟกานิสถาน, กองทัพกองโจรแห่งคนยาก (EGP) ของประเทศกัวเตมาลา, กอนตรัสของประเทศนิการากัว และเอเฟเอเมเอเลเอเนของประเทศเอลซัลวาดอร์ อย่างไรก็ตาม กองโจรประสบความสำเร็จในการจัดตั้งในเมืองดังที่แสดงให้เห็นในสถานที่ต่าง ๆ เช่น อาร์เจนตินาอาร์เจนตินา และไอร์แลนด์เหนือ ในกรณีดังกล่าว กองโจรอาศัยประชากรที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อจัดหาเสบียงและข่าวกรอง กองโจรในชนบทชอบที่จะปฏิบัติการในภูมิภาคที่มีที่กำบังและซ่อนเร้นอย่างมาก ส่วนกองโจรในเมือง จะผสมผสานเข้ากับประชากรและยังขึ้นอยู่กับฐานการสนับสนุนในหมู่ประชาชน มากกว่าการหลอมเข้าไปในภูเขาและป่าไม้ ซึ่งการกำจัดและทำลายกองโจรออกจากพื้นที่ทั้งสองประเภทอาจเป็นเรื่องยาก
การสนับสนุนจากต่างประเทศและที่ลี้ภัย
[แก้]การสนับสนุนจากต่างประเทศในรูปแบบของทหาร, อาวุธ, ที่ลี้ภัย หรือข้อความแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อกองโจรไม่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่สามารถเพิ่มโอกาสในชัยชนะของผู้ก่อความไม่สงบได้อย่างมาก[12] การสนับสนุนทางการทูตจากต่างประเทศอาจทำให้เกิดการรบแบบกองโจรในระดับนานาชาติ, กดดันฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่เพื่อให้สัมปทาน หรือได้รับการสนับสนุนที่เห็นอกเห็นใจ และความช่วยเหลือด้านวัตถุ ส่วนที่ลี้ภัยต่างประเทศสามารถเพิ่มโอกาสในการรบแบบกองโจร, การจัดเตรียมอาวุธ, เสบียง, วัตถุดิบ และฐานการฝึก ที่พักพิงดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนประสบความสำเร็จในการปกปิดการสนับสนุน และอ้าง "การปฏิเสธโดยพอรับฟังได้" สำหรับการโจมตีโดยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในดินแดนของตน
เวียดกงและกองทัพบกเวียดนามเหนือได้ใช้ประโยชน์จากที่ลี้ภัยระหว่างประเทศดังกล่าวอย่างกว้างขวางในระหว่างความขัดแย้ง รวมถึงความซับซ้อนของเส้นทาง, สถานีย่อย และฐานที่คดเคี้ยวผ่านประเทศลาวและกัมพูชา, เส้นทางโฮจิมินห์ที่มีชื่อเสียง โดยเป็นเส้นชีวิตด้านการส่งกำลังบำรุงที่ค้ำจุนกองกำลังของพวกเขาในภาคใต้ นอกจากนี้ สหรัฐยังให้ทุนสนับสนุนการปฏิวัติในประเทศโคลอมเบียเพื่อยึดดินแดนที่จำเป็นในการสร้างคลองปานามา อีกตัวอย่างหนึ่งคือกองโจรกองกำลังต่อสู้เพื่ออิสรภาพของบังกลาเทศที่ต่อสู้เคียงข้างกองทัพบกอินเดียในสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศเมื่อ ค.ศ. 1971 กับปากีสถานซึ่งส่งผลให้เกิดการก่อตั้งรัฐบังกลาเทศ ส่วนในยุคหลังสงครามเวียดนาม องค์กรอัลกออิดะฮ์ยังใช้พื้นที่ห่างไกลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อัฟกานิสถานภายใต้ระบอบตอลิบาน เพื่อวางแผนและปฏิบัติการ
การริเริ่มแบบกองโจรและความรุนแรงในการรบ
[แก้]สามารถเลือกเวลาและสถานที่ที่จะโจมตีได้ ซึ่งเหล่านักรบกองโจรมักจะมีการริเริ่มทางยุทธวิธีและพื้นฐานของการจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัว การวางแผนสำหรับการดำเนินการอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์, เดือน หรือหลายปี โดยมีการยกเลิกอย่างต่อเนื่อง และเริ่มต้นใหม่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง[19] ส่วนการฝึกซ้อมอย่างระมัดระวัง และ "การซักซ้อมปฏิบัติ" มักจะดำเนินการเพื่อหาปัญหาและรายละเอียด การจู่โจมแบบกองโจรหลายครั้งจะไม่เกิดขึ้น เว้นแต่จะสามารถบรรลุความเหนือกว่าด้านจำนวนได้อย่างชัดเจนในพื้นที่เป้าหมาย โดยเป็นรูปแบบทั่วไปของเวียดกง/กองทัพเวียดนามเหนือ และการปฏิบัติการ "สงครามประชาชน" อื่น ๆ ส่วนการโจมตีด้วยระเบิดฆ่าตัวตายรายบุคคลแต่ละครั้งมีรูปแบบอื่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวข้องกับมือระเบิดและทีมสนับสนุนของเขาเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็แพร่กระจาย หรือวัดผลตามความสามารถที่มีอยู่และลมทางการเมือง
ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม กองโจรเป็นผู้ริเริ่มและสามารถยืดเวลาเอาชีวิตรอดได้แม้ว่าความรุนแรงของการต่อสู้จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งหมายความว่าการโจมตีจะกระจายออกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่หลายสัปดาห์จนถึงหลายปี ในช่วงเวลาระหว่างกาล กองโจรสามารถสร้างใหม่, เพิ่มเสบียง และวางแผน ในสงครามเวียดนาม หน่วยคอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ (รวมถึงกองทัพเวียดนามเหนือเคลื่อนที่ที่ใช้ยุทธวิธีแบบกองโจร) ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันต่อปีในการต่อสู้ ในขณะที่พวกเขาอาจถูกบังคับให้เข้าสู่การต่อสู้ที่ไม่ต้องการโดยศัตรูที่กวาดล้าง แต่ส่วนใหญ่มักใช้ในการฝึก, การรวบรวมข่าวกรอง, การแทรกซึมทางการเมืองและการแทรกซึมของพลเมือง, การปลูกฝังโฆษณาชวนเชื่อ, การสร้างตำแหน่งที่ต้องป้องกัน หรือการจัดเก็บที่ซ่อนของ[11] อย่างไรก็ตาม กลุ่มดังกล่าวจำนวนมากโจมตีในเวลาที่ต่างกัน ทำให้การรบมีคุณภาพ "ทั้งวันทั้งคืน"
ด้านอื่น ๆ
[แก้]ระบอบการปกครองของต่างประเทศและพื้นเมือง
[แก้]ตัวอย่างของการทำสงครามกองโจรที่ประสบความสำเร็จกับระบอบการปกครองพื้นเมือง ได้แก่ การปฏิวัติคิวบา และสงครามกลางเมืองจีน เช่นเดียวกับการปฏิวัติซันดินิสตาซึ่งล้มล้างเผด็จการทหารในประเทศนิการากัว การรัฐประหารและการกบฏจำนวนมากในแอฟริกามักสะท้อนถึงการสงครามกองโจร โดยกลุ่มต่าง ๆ มีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนและใช้ยุทธวิธีกองโจร บรรดาตัวอย่างรวมถึงการล้มล้างระบอบการปกครองในประเทศยูกันดา, ไลบีเรีย และที่อื่น ๆ ส่วนในทวีปเอเชีย ระบอบการปกครองพื้นเมืองหรือท้องถิ่นถูกโค่นล้มโดยการสงครามกองโจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเวียดนาม, จีน และกัมพูชา
กองกำลังต่างประเทศเข้าแทรกแซงในทุกประเทศเหล่านี้ แต่ในที่สุดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจก็ได้รับการแก้ไขในระดับท้องถิ่น
มีตัวอย่างจำนวนมากของการสงครามกองโจรที่ต่อต้านระบอบการปกครองท้องถิ่นหรือพื้นเมืองที่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งรวมถึงแอฟริกาโปรตุเกส (แองโกลา, โมซัมบิก และกินี-บิสเซา), ประเทศมาเลเซีย (เวลานั้นคือมาลายา) ระหว่างวิกฤตการณ์มาลายา, โบลิเวีย, อาร์เจนตินา และฟิลิปปินส์ ซึ่งยังสามารถใช้กลยุทธ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับกองกำลังรักษาสันติภาพอินเดียที่ส่งมาจากประเทศอินเดียในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งต่อมาได้ถอนตัวออกไปด้วยเหตุผลหลายประการ ที่โดยหลักแล้วเป็นเรื่องการเมือง ทั้งนี้ กองทัพพยัคฆ์กำลังต่อสู้เพื่อสร้างบ้านเกิดที่แยกจากกันสำหรับชาวทมิฬศรีลังกา ซึ่งหลายคนบ่นว่ารัฐบาลชุดต่อ ๆ มานำโดยชาวสิงหลเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1948
มิติทางจริยธรรม
[แก้]บรรดาพลเรือนอาจถูกโจมตีหรือสังหารเพื่อเป็นการลงโทษสำหรับความร่วมมือที่ถูกกล่าวหา หรือเป็นนโยบายในการข่มขู่และบีบบังคับ การโจมตีดังกล่าวมักจะถูกคว่ำบาตรโดยผู้นำกองโจรโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่จะต้องบรรลุผล ซึ่งการโจมตีอาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดขวัญกำลังใจของพลเรือน เพื่อให้การสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามของกองโจรลดลง ส่วนสงครามกลางเมืองอาจเกี่ยวข้องกับการโจมตีพลเรือนโดยเจตนา โดยทั้งกลุ่มกองโจรและกองทัพที่จัดตั้งขึ้นกระทำความโหดร้าย นอกจากนี้ ความบาดหมางทางชาติพันธุ์และศาสนาอาจเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในวงกว้าง เนื่องจากฝ่ายที่ต่อสู้กันก่อให้เกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ต่อประชากรพลเรือนที่เป็นเป้าหมาย
บรรดากองโจรในการทำสงครามกับมหาอำนาจต่างชาติอาจสั่งการโจมตีพลเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกองกำลังต่างชาติแข็งแกร่งเกินกว่าที่จะเผชิญหน้าโดยตรงในระยะยาว ซึ่งในประเทศเวียดนาม การวางระเบิดและการโจมตีก่อการร้ายต่อพลเรือนเป็นเรื่องปกติ และมักมีประสิทธิภาพในการทำลายความคิดเห็นในท้องถิ่นที่สนับสนุนระบอบปกครองกับชาวอเมริกันผู้หนุนหลัง[ต้องการอ้างอิง] แม้ว่าการโจมตีฐานทัพอเมริกาอาจเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่ใช้เวลานานและการบาดเจ็บล้มตาย แต่การโจมตีก่อการร้ายในระดับที่เล็กกว่าในขอบเขตพลเรือนนั้นทำได้ง่ายกว่า ซึ่งการโจมตีดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อระดับนานาชาติ, การทำให้ชาวอเมริกันเสียขวัญ และการเร่งถอนตัว[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ On Guerrilla Warfare, by Mao Zedong, 1937, See the text of Mao's work online at www.marxists.org
- ↑ Encyclopædia Britannica, "Warfare Conduct Of, Guerrilla Warfare", 1984 ed, p. 584)
- ↑ Võ Nguyên Giáp, Big Victory, Great Task, (Pall Mall Press, London (1968)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Mao, op. cit.
- ↑ Peoples War, Peoples Army, Võ Nguyên Giáp
- ↑ Dan Jakopovich, "Time Factor in Insurrections", Strategic Analysis, Vol. 32, No. 3, May 2008.
- ↑ Counterinsurgency Redux – David Kilcullen, 2006, retrieved June 1, 2007
- ↑ FRANK G. HOFFMAN, "Neo-Classical counterinsurgency?", United States Army War College, Parameters Journal: Summer 2007, pp. 71-87.
- ↑ Cash, John A.; Albright, John; Sandstrum, Allan W. (1985) [1970]. "Chapter 2: CONVOY AMBUSH ON HIGHWAY 1, 21 NOVEMBER 1966". Seven Firefights in Vietnam. Vietnam Studies. WASHINGTON, D. C.: United States Army Center of Military History. CMH Pub 70-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-24.
- ↑ 10.0 10.1 "Insurgency & Terrorism: Inside Modern Revolutionary Warfare", Bard E. O'Neill
- ↑ 11.0 11.1 Inside the VC and the NVA, Michael Lee Lanning and Dan Cragg
- ↑ 12.0 12.1 Lanning/Cragg, op. cit.
- ↑ Terrorist use of web spreads
- ↑ Guerrilla Warfare, by Ernesto Guevara & Thomas M. Davies, Rowman & Littlefield, 1997, ISBN 0-8420-2678-9, pg 52
- ↑ Encyclopædia Britannica, 14ed, "Guerrilla Warfare" p. 460-464
- ↑ "Defeating Communist Insurgency: The Lessons of Malaya and Vietnam", Robert Thompson
- ↑ Steven R. David (September 2002). "Fatal Choices: Israel's Policy of Targeted Killing" (PDF). THE BEGIN-SADAT CENTER FOR STRATEGIC STUDIES; BAR-ILAN UNIVERSITY. Retrieved on 2006-08-01.
- ↑ Mao, op. cit., Lanning/Cragg, op. cit.
- ↑ Lanning/Cragg, op. cit
หนังสือ
[แก้]Peter Polack, Guerrilla Warfare; Kings of Revolution, Casemate, ISBN 9781612006758.