กรมทหารพรานที่ 42
กรมทหารพรานที่ 42 | |
---|---|
![]() กรมทหารพรานที่ 42 | |
ประเทศ | ![]() |
รูปแบบ | กำลังกึ่งทหาร[1] |
บทบาท | ปิดล้อมจับกุม[2] การลาดตระเวน[3] รักษาความปลอดภัย[4] ยึดอาวุธปืนสงคราม[5][6] ดำเนินงานด้านยุทธการ[7] |
กำลังรบ | 1,489 นาย (พ.ศ. 2554)[1] |
กองบัญชาการ | ค่ายมหาจักรีสิรินธร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
สีหน่วย | เทา |
วันสถาปนา | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527[8] |
ปฏิบัติการสำคัญ | ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[9] |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บังคับการปัจจุบัน | พันเอก ธายุทธ สวนกูล[10] |
ผบ. สำคัญ | พันเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์[7] พันเอก กฤษฎา คงพันธุ์[11] |

กรมทหารพรานที่ 42 (อักษรย่อ: กรม ทพ. 42; อังกฤษ: 42nd Ranger Forces Regiment) เป็นหนึ่งในกองกำลังเฉพาะกิจของกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสงขลา[1][12] ดูแลอำเภอยะหริ่งและอำเภอปะนาเระ[13] ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายมหาจักรีสิรินธร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา[14] และมีผู้บังคับการคนปัจจุบันคือพันเอก ธายุทธ สวนกูล[15]
นอกจากนี้ กรมทหารพรานที่ 42 ยังได้ดำเนินงานด้านยุทธการ จัดกองร้อยลงปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา[7]
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
กรมทหารพรานที่ 42 ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527[16] ซึ่งภายหลังได้มีส่วนร่วมในภารกิจแก้ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[14]
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เกิดเหตุซุ่มยิงอาสาสมัครทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ขณะเดินลาดตระเวนรอบฐานปฏิบัติการที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จนเสียชีวิต ซึ่งต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เชิญพวงมาลาพระราชทาน และพวงมาลาประทาน มาวางไว้ที่หน้าหีบศพ[17]
ส่วนในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เกิดเหตุลอบวางระเบิดอาสาสมัครทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ขณะเดินลาดตระเวนที่เส้นทางจราจร ในอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จนเสียชีวิต[18] โดยสื่อข่าวทีนิวส์ ได้ร่วมแสดงความเสียใจ ซึ่งผู้เสียชีวิตได้ใช้รูปลูกสาวเป็นภาพปกเฟซบุ๊กส่วนตัว ต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารได้ร่วมเคลื่อนย้ายศพกลับภูมิลำเนา[19] จากเหตุการณ์ดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เชิญสิ่งของพระราชทาน มอบให้แก่ครอบครัวอาสาสมัครทหารพรานที่เสียชีวิต[20]
ปฏิบัติการสำคัญ[แก้]
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ได้ร่วมกำลัง 3 ฝ่าย ทำการปิดล้อมจับกุมผู้ก่อเหตุรุนแรงในบริเวณโรงเรียนยุวอิสลามวิทยามูลนิธิ ในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และเกิดการยิงปะทะกัน ส่งผลให้มีอาสาสมัครทหารพรานได้รับบาดเจ็บ ซึ่งต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เชิญสิ่งของพระราชทานไปมอบแก่อาสาสมัครทหารพรานที่ได้รับบาดเจ็บ[21]
กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]
ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการใช้กองร้อยทหารพรานที่ 4212 กรมทหารพรานที่ 42 เป็นหน่วยรักษาพยาบาลโรคชิคุนกุนยา โดยมีชาวบ้านเข้ารับการรักษาในแต่ละวัน 200–300 คน นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานเงินสมทบเพื่อจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในการรักษา รวมถึงมีการประสานทีมแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลเข้าช่วยแบ่งเบาภาระแก่ทหารพราน ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ควบคู่กับการรักษาความสงบใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา[22]
โครงสร้าง[แก้]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4201[23]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4202[24]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4203[25][26][27]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4204[28][29][30][31]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4205[32]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4206 – มีชุดปฏิบัติการลาดตระเวนจรยุทธ์[33]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4207[34]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4208 – มีพลนำสารเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อปี พ.ศ. 2556[35]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4209[36][37]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4210[38]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4211[39]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4212 – ใช้เป็นหน่วยรักษาพยาบาลโรคชิคุนกุนยาเมื่อปี พ.ศ. 2552[22]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4213[40][41][42][43]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4214[44]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4215[45]
- กองร้อยทหารพรานที่ 4216[46]
- หมวดทหารพรานหญิง กรมทหารพรานที่ 42
สิ่งสืบทอด[แก้]
กรมทหารพรานที่ 42 ได้ดำเนินงานด้านยุทธการ จัดกองร้อยลงปฏิบัติหน้าที่ เพื่อควบคุมและแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา อำเภอละ 1 กองร้อย ได้แก่ อำเภอนาทวี, อำเภอจะนะ, อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ซึ่งเป็นอำเภอติดกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้[7]
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
- พ.ศ. 2554 : ได้รับรางวัลการประกวดภาพถ่ายด้านยุทธการ จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- พันเอก สมคิด คงแข็ง – ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42[47]
ยุทโธปกรณ์[แก้]
ยานพาหนะภาคพื้นดิน[แก้]
รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เฟิร์สวิน | ![]() |
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ![]() |
|
รีวา เอพีซี[33] | ![]() |
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ![]() |
|
ฮีโน่ | – | รถบัส[48] | ![]() |
ใช้สีเขียวขี้ม้า ทะเบียนตรากงจักร[49] |
โตโยต้า ไฮลักซ์[50] | ![]() |
รถกระบะ | ![]() |
อากาศยาน[แก้]
รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ยูเอช-1 ไอระควอย | ![]() |
เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ | ![]() |
อนุมัติการใช้โดยกองทัพบกไทย |
อาวุธเล็ก[แก้]
ชื่อ | ภาพ | ประเภท | ขนาดลำกล้อง | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
กล็อก 19 เจน 4 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ![]() |
||
เอ็ม 16 เอ 1 | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() |
|
เอ็ม 16 เอ 2/เอ็ม 203 | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() |
เอ็ม 16 เอ 2 ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 203 |
เอ็ม 4 เอ 1 คาร์ไบน์ | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() |
ใช้ในหน่วยรบพิเศษ บางกระบอกมีชุดอุปกรณ์โซปมอดติดตั้ง |
ไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21 | ![]() |
ปืนเล็กยาว | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() |
มีใช้ในกองทัพบกไทยเช่นกัน |
ปืนกลเอ็ม 60 | ปืนกลเอนกประสงค์ | 7.62×51 มม. นาโต | ![]() |
หมายเหตุ: หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 โดยไม่ใช้ปืนอาก้า (ข้อมูล พ.ศ. 2557)[11][39]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ผ่าโครงสร้างใหม่ทหารพราน (1) แผนถอนทหารหลักพ้นชายแดนใต้
- ↑ มาได้ไง! “เขมร” ฝังตัวในโรงเรียนปอเนาะ ปัตตานี
- ↑ ลอบวางระเบิดริมถนน จ.ปัตตานี ทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย - Thai PBS News
- ↑ ทหารพรานเสียชีวิตหนึ่งราย ในเหตุระเบิด บนถนนชนบท ที่ปะนาเระ ปัตตานี
- ↑ ทหารลุยค้นยึดปืนสงคราม 3 กระบอก หลังพบโจรใต้แอบนำซุกในป่าเตรียมก่อเหตุ
- ↑ ‘ทหาร’ ตรวจยึดปืนสงคราม 3 กระบอก แอบซุกในป่า เร่งหาเบาะแสชี้อาจเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบ
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 ผบ.ทพ.42 สั่งลุยงานมวลชนดับไฟใต้หลังทหารตรึงพื้นที่
- ↑ "กรมทหารพราน 42 ทำบุญครบวันสถาปนา - POST THAILAND NEWS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ ในหลวงพระราชทานพวงมาลาวางหน้าหีบศพอาสาสมัครทหารพราน - โพสต์ทูเดย์
- ↑ ระเบิดทหาร-อส.เจ็บ 3 นาย หน้าโรงเรียนบ้านน้ำบ่อ จ.ปัตตานี - สยามรัฐ
- ↑ 11.0 11.1 "ชาวบ้านเผยเหตุยิงมัสยิดบ้านท่าม่วงอาจพัวพันทหารพรานในพื้นที่ - DSJ School". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ ปลื้มปีติ “ในหลวง” พระราชทานสิ่งของเยี่ยมอาการบาดเจ็บทหารพรานเหยื่อคนร้ายซุ่มยิง
- ↑ เคยสงสัยไม๊! หน่วยทหารพรานเยอะไปหมดในภาคใต้ หน่วยไหนดูแลตรงไหน มาดูกัน - m today
- ↑ 14.0 14.1 ผ่าโครงสร้างใหม่ทหารพราน (2) จับตาแผนตั้ง "กองทัพน้อยที่ 4" สวนทางลดกำลังพล?
- ↑ "โจรใต้ฝังระเบิด บึมชุดรปภ.ครูที่ปะนาเระ อส.-ทหารพราน บาดเจ็บ 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ กรมทหารพรานที่ 42 จัดทำบุญครบรอบวันสถาปนา - Manager Online
- ↑ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพวงมาลาวางหน้าหีบศพอาสาสมัครทหารพรานที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ คนร้ายกดระเบิดฆ่าทหารพราน ขณะเดินลาดตระเวน - ข่าวช่อง 8
- ↑ เจ้าหน้าที่ทหาร ร่วมส่ง อส.ทพ.ดำรงค์ ยอดวีรบุรุษทหารพราน กลับบ้าน
- ↑ ในหลวงพระราชทานตะกร้าสิ่งของครอบครัว อส.ทพ เสียชีวิตเหตุลอบบึ้ม - มติชน
- ↑ ร.10 พระราชทานตะกร้าสิ่งของมอบแก่ อส.ทพ.บาดเจ็บ จ.ปัตตานี
- ↑ 22.0 22.1 “ราชินี” ทรงพระราชทานเงินซื้อยา “ชิคุนกุนยา” ในสงขลา
- ↑ ปัตตานีกู้ระเบิด 20 กก.ระทึก เชื่อหวังปลิดชีพทหารพราน 4201 หลังสังเวยแล้ว 3 ศพ
- ↑ เหตุระเบิดทหารพรานเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ "คุมตัวแนวร่วมฯ ยิงทหารพรานกลางตลาดนัดที่ปัตตานี ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ผู้ว่าฯ จ.ปัตตานี เชิญดอกไม้พระราชทาน
- ↑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสิ่งของแก่ญาติ อาสาสมัครทหารพราน เสียชีวิต จ.ปัตตานี
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - ทหารพรานเหยียบกับระเบิดดับที่ปะนาเระ - สำนักข่าวอิศรา
- ↑ ทหารพรานชุดรักษาความปลอดภัยครูเสียชีวิต 1 คน เหตุลอบวางระเบิดในปัตตานี คาดฝีมือกลุ่มอาร์เคเครุ่นใหม่
- ↑ อาสาสมัครทหารพรานชุดรักษาความปลอดภัยครูเสียชีวิตหนึ่งนาย ในเหตุระเบิดที่ปานาเระ
- ↑ ทบ.สดุดี 5 ทหารกรมทหารพรานที่ 42 ถูกบึ้ม - Bangkok Biz News
- ↑ โจรใต้ลอบวางระเบิด พื้นที่ยะหริ่ง ทหารพรานปัตตานี เจ็บ 2 - ไทยรัฐ
- ↑ 33.0 33.1 เรื่องเด่น-ภาคใต้ - เก็บตกเหตุร้าย 9 ต.ค. ขโมยรถดับเพลิงหวังเผาโรงพัก
- ↑ บึ้ม! ปัตตานี ทหารพรานพลีชีพ 1 นาย : PPTVHD36
- ↑ “ในหลวง” พระราชทานดินวางหลุมศพ อส.ทพ.เหยื่อไฟใต้
- ↑ สำนักพุทธฯปัตตานีสั่งหยุดบิณฑบาต ชาวบ้านยังร่วมเวียนเทียนมาฆะแน่น
- ↑ วางบึ้ม 15 โลดักสังหารทหารใต้ โชคดีระเบิดทำงานไม่สมบูรณ์
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - บึ้มในโรงเรียนที่สายบุรี มือมืดติดป้ายผ้าพรึ่บ เด็ก 2 ขวบถูกยิงพ้นขีดอันตราย
- ↑ 39.0 39.1 ฝ่ายมั่นคงปัตตานี เข้าชี้แจงเหตุคนร้ายยิง ปชช.ดับ 1 เจ็บ 1 หน้ามัสยิดในปัตตานี
- ↑ ซุ่มยิงทหารพรานเจ็บ 1 ที่จะแนะ – M TODAY
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - แม่ทัพภาค 4 ไม่เครียดถูกตั้งค่าหัว 1 ล้าน บอกถูกกว่านกกรงหัวจุก!
- ↑ กังขา เจ้าหน้าที่สังเวยหลังบึ้มปาดี “หุ่นยนต์ด้อยคุณภาพ-บอมบ์สูทหมดอายุ”
- ↑ พบระเบิด 2 ลูก ปากทางเข้าบ้านเกาะแลหนัง จนท.เร่งสอบยิงฐานปฏิบัติการ
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - บึ้มรถตำรวจระแงะ รปภ.ครู พลีชีพ 2 ปัดระเบิดแว้งหวังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - ใต้เดือดยิงสามี-ภรรยา 3 คู่ อดีตผู้ต้องหาคดีมั่นคงดับ บึ้มรัวหลายจุด
- ↑ บึ้มทหารพราน 42 สายบุรีเจ็บ 1 - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ชี้แจงกรณีเหตุการณ์ในพื้นที่ พร้อมขอความร่วมมือประชาชนร่วมกันเฝ้าระวังการก่อเหตุ และแจ้งเบาะแสกลุ่มผู้ก่อเหตุ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ดักถล่มเดือด! รถบัสทหารปัตตานีกลับจากสอบติดยศนายสิบ อส.ทพ.เลือดโชกเจ็บ 5
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - ซุ่มยิงรถบัสทหารพรานที่ยะหริ่งเจ็บ 5 - สำนักข่าวอิศรา
- ↑ ปิกอัพทพ.ตกสะพาน! จมน้ำตาย 1 หนีรอดได้ 3 - ไทยรัฐ