ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุจินดา คราประยูร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tataemnoil (คุย | ส่วนร่วม)
Tataemnoil (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
#พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้บัญชาการทหารบก
#พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้บัญชาการทหารบก
#พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
#พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
==ยศทางทหาร==
#ร้อยเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2505)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2510)
#พันตรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2510)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2518)
#พันเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2518)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2524)
#พลตรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2524)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2530)
#พลเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2530)-ปัจจุบัน
==ราชการพิเศษ==
==ราชการพิเศษ==
#พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ ราชการสงครามเวียดนาม ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
#พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ ราชการสงครามเวียดนาม ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
บรรทัด 111: บรรทัด 117:
*[[ไฟล์:Order of the White Elephant - 2nd Class (Thailand) ribbon.png]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น2[[ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก]] (ท.ม.)
*[[ไฟล์:Order of the White Elephant - 2nd Class (Thailand) ribbon.png]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น2[[ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก]] (ท.ม.)
*[[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 2nd Class (Thailand) ribbon.png]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น2[[ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย]] (ท.ม.)
*[[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 2nd Class (Thailand) ribbon.png]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น2[[ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย]] (ท.ม.)
==ความเห็นของพลเอกสุจินดากับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ==

'"จนถึงวันนี้ผมมีแนวความคิดว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง .....ควรที่จะมีทางออกเมื่อหานักการเมืองไม่ได้ ก็หาผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาเป็นแทน ซึ่งเป็นเพียงแนวความคิด แต่ก็มีผู้คนต่อต้าน ไปคิดว่าจะมีการต่อท่ออำนาจการเมือง ไปคิดแค่นั้นแก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่มองระยะยาว....."'
'''สุจินดา คราประยูร'''
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:51, 10 เมษายน 2557

สุจินดา คราประยูร
ไฟล์:สุจินดา คราประยูร1.jpg
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 19
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (0 ปี 48 วัน)
รองนายกรัฐมนตรีมีชัย ฤชุพันธุ์
ณรงค์ วงศ์วรรณ
สมบุญ ระหงษ์
มนตรี พงษ์พานิช
สมัคร สุนทรเวช
รักษาการแทนมีชัย ฤชุพันธุ์
ก่อนหน้าอานันท์ ปันยารชุน
ถัดไปอานันท์ ปันยารชุน
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าพลเอก สุนทร คงสมพงษ์
ถัดไปพลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
29 เมษายน พ.ศ. 2533 – 29 กันยายน พ.ศ. 2534
ก่อนหน้าพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ถัดไปพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย (จนถึง พ.ศ. 2534)
กองบัญชาการทหารสูงสุด
ประจำการพ.ศ. 2496–พ.ศ. 2535
ยศ พลเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารบกไทย (จนถึง พ.ศ. 2534)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พลเอก สุจินดา คราประยูร (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ประวัติ

พลเอก สุจินดา คราประยูร ชื่อเล่นว่าสุ เกิดในครอบครัวของข้าราชการกรมรถไฟ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 เวลาประมาณ 03:35 นาฬิกา ที่ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของจวง คราประยูร กับสมพงษ์ คราประยูร (2452–2531) มีพี่สาว2คน สมรสกับ คุณหญิง วรรณี คราประยูร (สกุลเดิม หนุนภักดี) มีบุตรชาย2คน

การศึกษา

พลเอก สุจินดา จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 จาก โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนวัดราชบพิธจนจบมัธยมปีที่ 6 แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวจึงไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร และเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์รุ่นที่ 5 ตามลำดับ และได้จบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ รัฐแคนซัส

  1. พ.ศ.๒๔๙๔ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
  2. พ.ศ.๒๕๐๑ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  3. พ.ศ.๒๕๐๖ ศึกษาที่โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
  4. พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๐๗ ศึกษาหลักสูตรนายทหารปืนใหญ่ชั้นสูง ฟอร์ทซิลสหรัฐอเมริกา
  5. พ.ศ.๒๕๐๘ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  6. พ.ศ.๒๕๐๙ - ๒๕๑๐ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ฟอร์ทลีเวินเวิร์ธสหรัฐอเมริกา
  7. พ.ศ.๒๕๑๐ หลักสูตรการปรนนิบัติบำรุงสำหรับนายทหารผู้ใหญ่ ฟอร์ทน๊อคซ์ สหรัฐอเมริกา

รับราชการทหาร

พลเอก สุจินดา เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศ ว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหาร ปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการ ทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และวันที่ 29 เมษายน 2533 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุ

ประวัติการเข้ารับราชการ

  1. พ.ศ. ๒๕๐๑ ประจำกองร้อย กรมนักเรียนโรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ต่อมารักษาราชการ ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองบังคับการทหารปืนใหญ่ กองพลที่ ๔
  2. พ.ศ. ๒๕๐๒ รักษาราชการนายทหารสื่อสาร กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๑ และรับพระราชทานยศร้อยตรี
  3. พ.ศ. ๒๕๐๓ รักษาราชการผู้บังคับกองร้อยบังคับการและบริการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๑
  4. พ.ศ. ๒๕๐๔ รับพระราชทานยศร้อยโท
  5. พ.ศ. ๒๕๐๕ ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๑ และรับพระราชทานยศร้อยเอก
  6. พ.ศ. ๒๕๐๗ ครูกองการศึกษา โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
  7. พ.ศ. ๒๕๑๐ รักษาราชการอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศพันตรี
  8. พ.ศ. ๒๕๑๓ หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
  9. พ.ศ. ๒๕๑๔ รองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และรับพระราชทานยศพันโท
  10. พ.ศ. ๒๕๑๗ หัวหน้าแผนกกรมข่าวทหารบก
  11. พ.ศ. ๒๕๑๘ รักษาราชการนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรมข่าวทหารบกและรับพระราชทานยศพันเอก
  12. พ.ศ. ๒๕๒๒ หัวหน้ากอง กรมข่าวทหารบก
  13. พ.ศ. ๒๕๒๔ รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
  14. พ.ศ. ๒๕๒๕ เจ้ากรมยุทธการทหารบก และรับพระราชทานยศพลตรี
  15. พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ และรับพระราชทานยศพลโท
  16. พ.ศ. ๒๕๒๙ รองเสนาธิการทหารบก
  17. พ.ศ. ๒๕๓๐ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเอก
  18. พ.ศ. ๒๕๓๒ รองผู้บัญชาการทหารบก
  19. พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้บัญชาการทหารบก
  20. พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ยศทางทหาร

  1. ร้อยเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2505)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2510)
  2. พันตรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2510)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2518)
  3. พันเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2518)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2524)
  4. พลตรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2524)-(1 ตุลาคม พ.ศ. 2530)
  5. พลเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2530)-ปัจจุบัน

ราชการพิเศษ

  1. พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ ราชการสงครามเวียดนาม ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
  2. พ.ศ. ๒๕๒๕ ราชองครักษ์เวร
  3. พ.ศ. ๒๕๒๖ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
  4. พ.ศ. ๒๕๒๘ ราชองครักษ์เวร ต่อมาเป็นราชองครักษ์พิเศษ
  5. พ.ศ. ๒๕๓๒ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ ต่อมาเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๒ รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบ ที่ ๒ รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ กองพันที่ ๒๑ รักษาพระองค์ และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันที่ ๑ รักษาพระองค์

งานการเมือง

พลเอก สุจินดา เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี[1] ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรคประกาศสนับสนุนณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแถลงข่าวว่า ณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำ ถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[2]

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ไฟล์:200535.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้พลเอก สุจินดา และพลตรี จำลอง เข้าเฝ้า

พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ พลเอก สุจินดา ได้แต่งตั้ง พลเอก อิสรพงศ์ หนุนภักดี เลขาธิการ รสช. ซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยาตน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม ร้อยตรี ฉลาด วรฉัตร อดอาหารประท้วง และพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออก เนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ หรือพฤษภาทมิฬ ขึ้นระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง

มีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

เบ็ดเตล็ด

พลเอก สุจินดา มีเชื้อสายจีน โดยมีแซ่โล้ว อันเป็นแซ่เดียวกับพลตรี จำลอง ศรีเมือง[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจุบัน

ภายหลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ยุติบทบาทการดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงอย่างสิ้นเชิง แต่ยังคงมีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นและการให้คำแนะนำทางด้านการเมือง การปกครอง และการปฏิวัติรัฐประหารในยุคต่อ ๆ มาจากประสบการณ์ตรง และในวันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปี พลเอก สุจินดา คราประยูร จะเปิดบ้านให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้าและนักธุรกิจเข้าเยี่ยมคารวะ เนื่องในวันคล้ายวันเกิด ณ บ้านพักซอยระนอง 2 พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์และตอบคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ความเห็นของพลเอกสุจินดากับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

'"จนถึงวันนี้ผมมีแนวความคิดว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง .....ควรที่จะมีทางออกเมื่อหานักการเมืองไม่ได้ ก็หาผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาเป็นแทน ซึ่งเป็นเพียงแนวความคิด แต่ก็มีผู้คนต่อต้าน ไปคิดว่าจะมีการต่อท่ออำนาจการเมือง ไปคิดแค่นั้นแก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่มองระยะยาว....."'

                                                                                                                                                                                                                      สุจินดา คราประยูร

อ้างอิง

  1. http://www.chartthai.or.th/old/history_th8.html
  2. [1]จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สุจินดา คราประยูร ถัดไป
อานันท์ ปันยารชุน ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
อานันท์ ปันยารชุน