อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์.jpg
รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์

รองศาสตราจารย์ อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

การศึกษา[แก้]

รองศาสตราจารย์ อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์ จากโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เมื่อปี พ.ศ. 2516 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2518 และระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ต่อจากนั้นจึงได้สอบชิงทุนรัฐบาลระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

การทำงาน[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกแล้ว ได้กลับมารับราชการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2539 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการเงินกู้ธนาคารโลก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอีกตำแหน่งหนึ่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี

ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจักตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศไทย รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และในปีเดียวกันจึงได้ผ่านการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์เป็นคนแรก[1]

ในปี 2564 เขาได้รับการเสนอชื่อจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน[2] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548
  2. เปิดประวัติ 'รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์' หลัง ส.ว.เห็นชอบแต่งตั้งให้นั่ง 'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' คนใหม่
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน (จำนวน ๒ ราย ๑. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ๒. นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๖๓, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖