พฤฒิชัย วิริยะโรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พฤฒิชัย วิริยะโรจน์
ผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (56 ปี)
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
ไทยรักษาชาติ

พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ ผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ

ประวัติ[แก้]

พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาวิชาการตลาด จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

พฤฒิชัย เป็นน้องชายของนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันนายพฤฒิชัย ยังมีสถานะภาพโสด

การทำงาน[แก้]

พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ ประกอบอาชีพนักธุรกิจส่งออกก่อนจะเข้าสู่งานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่มาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 85[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 72[3]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คือ การยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคฯ[4][5] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติพร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี [6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  2. "แจก'63เก้าอี้'ข้าราชการการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  5. "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  6. "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒