ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำโก-ลก

พิกัด: 6°14′40″N 102°05′26″E / 6.2445°N 102.0906°E / 6.2445; 102.0906
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำโก-ลก
Sungai Golok
ที่มาของชื่อ'แม่น้ำมีดพร้า'
ที่ตั้ง
ประเทศไทย/มาเลเซีย
รัฐ/จังหวัดกลันตัน/นราธิวาส
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ 
 • ตำแหน่งทิวเขาสันกาลาคีรี
ปากน้ำ 
 • พิกัด
6°14′40″N 102°05′26″E / 6.2445°N 102.0906°E / 6.2445; 102.0906
ความยาว103 กิโลเมตร
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งอ่าวไทย
ลุ่มน้ำ
สะพานสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซีย

แม่น้ำโก-ลก[1] เป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย ชื่อแม่น้ำในภาษามลายูมีความหมายว่า 'แม่น้ำมีดพร้า'[2] แม่น้ำนี้กั้นระหว่างรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซียกับจังหวัดนราธิวาสของประเทศไทย และมีสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างเมืองรันเตาปันจังของมาเลเซียและเมืองสุไหงโก-ลกของไทย โดยเมืองรันเตาปันเจาอยู่ในเขตปลอดอากร[2]

แม่น้ำนี้ไหลลงตรงอ่าวไทยที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยพื้นที่ริมแม่น้ำนี้ถูกน้ำท่วมประจำฤดูในช่วงมรสุม[2] ครั้งหนึ่ง เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมขนาดใหญ่ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งก่อให้เกิดการอพยพฉุกเฉินในรัฐกลันตันบางส่วน[3]

แม่น้ำนี้มีต้นกำเนิดที่เขาเยลีบนทิวเขาสันกาลาคีรีในอำเภอสุคิริน แล้วไหลไปที่อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอตากใบ รวมมีความยาว 103 กิโลเมตร (64 ไมล์) บริเวณที่แม่น้ำไหลผ่าน โดยเฉพาะอำเภอสุคีริน เคยเป็นที่ตั้งของเหมืองทองคำหลายแห่งมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะไม่ครึกครื้นเหมือนแต่ก่อน แต่อาชีพร่อนทองยังคงมีอยู่ โดยชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาการขุดทองเป็นตัวหารายได้เสริมนอกจากการท่องเที่ยว[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 140.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Rantau Panjang & Golok River". Life in Penang, is more than beautiful. 4 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-09-07.
  3. "Golok river floods Kelantan forcing 440 to Evacuate". Demotix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-09-07.
  4. Khemkhao, Amonrat (2019-09-11). "ชูอาชีพ "ร่อนทอง" จุดขายเที่ยวสุคิริน". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.