ข้ามไปเนื้อหา

เรืองโรจน์ มหาศรานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ก่อนหน้าพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ถัดไปพลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 มีนาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
ศาสนาพุทธ​
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
คู่สมรสผศ.รัตนาภรณ์ มหาศรานนท์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1] อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีชื่อเล่นว่า "ต๋อย" บุตร ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา[2]พี่ชายชื่อ นายเรืองเดช มหาศรานนท์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาได้สอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2505 หลังจากนั้นได้เข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และจบออกรับราชการเป็นร้อยตรี ในเหล่าทหารราบแห่งกองทัพบกเมื่อปี พ.ศ. 2511

ในตอนต้นของชีวิตราชการได้ปฏิบัติราชการในกรมผสมที่ 5 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้ และต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสังกัด กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรุงเทพมหานคร

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้ไปปฏิบัติราชการเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุงของกองพลทหารราบที่ 3 ต่อจากนั้น ได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่เป็น ฝ่ายเสนาธิการประจำตัวของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

ได้รับพระราชทานยศ "พลตรี" ในตำแหน่ง เสนาธิการกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2534 ต่อมาได้ยศ พลโท ในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำ เสนาธิการทหาร พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ทำให้ได้สะสมประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาระดับสูงของกองทัพไทยเพิ่มขึ้น

พลเอกเรืองโรจน์ได้รับความไว้วางใจในเวลาต่อมา ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร ในช่วงที่ประเทศไทยประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ และมีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการด้านงบประมาณของกองทัพไทย จนผ่านอุปสรรคมาได้ เป็นเวลาถึง 3 ปี ก่อนที่จะได้รับยศเป็น พลเอก ในตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เมื่อปี พ.ศ. 2543 หน่วยนี้ก่อตั้งมากว่า 43 ปี ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกองทัพไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาชนบทเพื่อส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชนและขจัดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การแตกแยกทางความคิดของประชาชนซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำรงความมั่นคงของชาติ

พลเอกเรืองโรจน์ได้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา 3 ปี และได้ริเริ่มปรับทิศทางการพัฒนาเพื่อจัดระเบียบตามแนวชายแดน เพื่อให้ชุมชนชายแดนร่วมเป็นปราการในการป้องกันประเทศ แนวความคิดดังกล่าวนี้ยังเป็นแนวความคิดที่ยังใช้ได้มาจนถึงปัจจุบัน

พลเอกเรืองโรจน์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาโดยตรงแก่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

ในเหตุการณ์การรัฐประหารในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอกเรืองโรจน์ถูกแต่งตั้งโดยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ให้เป็นผู้อำนวยการควบคุมสถานการณ์ แต่ทว่าคำสั่งนี้ไม่อาจปฏิบัติได้ เนื่องจากกองกำลังของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ควบคุมสถานการณ์ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดไว้ได้แล้ว ต่อมา พลเอกเรืองโรจน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและรองกรรมการคณะกรรมการคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยตำแหน่งหลังแต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 แต่งตั้งโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์เป็นประมุข[3]และดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่ประชุมสมาชิกเดิมของพรรคไทยรักไทย มีมติให้ ส.ส.เก่าของพรรค สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน เพื่อดำเนินการทางการเมืองต่อไป พลเอกเรืองโรจน์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคด้วย และได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และต่อมาได้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[4]

พลเอกเรืองโรจน์สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนาภรณ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี มีบุตรชาย 1คน ชื่อ นายเดชอุดม มหาศรานนท์ และบุตรสาว 1 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2550 - เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
  9. 9.0 9.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา 49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
ก่อนหน้า เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ถัดไป
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 254830 กันยายน พ.ศ. 2549)
พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์