อำเภอห้วยทับทัน
อำเภอห้วยทับทัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Huai Thap Than |
คำขวัญ: ไก่ย่างไม้มะดันเลื่องลือ ขึ้นชื่อข้าวหอมมะลิมากมาย หลากหลายผ้าไหมลวดลายดี โครงกระดูกมนุษย์โบราณพันปีน่าศึกษา ปราสาทขอมโบราณตระการตา สืบสานนานมาผ้าเก็บย้อมมะเกลือ | |
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอห้วยทับทัน | |
พิกัด: 15°3′0″N 104°1′24″E / 15.05000°N 104.02333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 194.6 ตร.กม. (75.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 42,242 คน |
• ความหนาแน่น | 217.07 คน/ตร.กม. (562.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 33210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3312 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน เลขที่ 256 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 33210 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ห้วยทับทัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด โดยมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ อำเภอนี้มีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คือ ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน[1]
ที่มาของชื่อ
[แก้]เดิมน่าจะชื่อว่า "ห้วยทัพทัน" เพราะมีความหมายสอดคล้องตำนานเมืองศรีสะเกษมากกว่า แต่ในปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น "ห้วยทับทัน" จากตำนานที่ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพระเจ้าเอกทัศครองราชย์อยู่นั้น ได้เกิดอาเพศช้างเผือกแตกโรงหนี แล้วมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออก มาถึงเขตดินแดนเขมรป่าดง (เขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ในปัจจุบัน) พระเจ้าเอกทัศทรงให้ทหารนายกองออกตามจับช้างเผือก ขบวนทหารร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชนชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง ออกตามจับช้างจน "มาทัน" ที่ลำธารแห่งหนึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอห้วยทับทัน จึงเห็นตัวช้างแต่ยังจับไม่ได้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อลำธารที่นายกองจับช้างตามมาทันนั้นว่า ห้วยทัพทัน เพราะกองทัพตามจับช้างมาทันที่นั่น ช้างเผือกวิ่งหนีเลยไปทางทิศใต้ด้านเขาพนมดงรัก จึงไล่ติดตามจนจับช้างเผือกได้ที่เชิงเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ปัจจุบัน เมื่อนำช้างเผือกมาถึงหมู่บ้านใหญ่บ้านหนึ่งซึ่งเป็นตัวเมืองศรีสะเกษปัจจุบัน ช้างเผือกได้รับบาดเจ็บ พอรักษาพยาบาลช้างจนหายแล้วจึงออกเดินทางนำช้างเผือกส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเป็นชาวกูยจึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านเจียงอี" (ภาษากูย แปลว่า "บ้านช้างเจ็บ") และวัดในหมู่บ้านจึงได้ชื่อว่า "วัดเจียงอี" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]
ประวัติ
[แก้]อำเภอห้วยทับทันแยกออกมาจากอำเภออุทุมพรพิสัยและประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยทับทัน เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2520 ต่อมาทำการเปิดกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยใช้ใต้ถุนศาลาวัดประชารังสรรค์เป็นสถานที่ทำการกิ่งอำเภอ และได้รับงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการอำเภอถาวรเมื่อ พ.ศ. 2524 ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2529[3]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอห้วยทับทันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองจันทร์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออุทุมพรพิสัย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปรางค์กู่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสำโรงทาบ (จังหวัดสุรินทร์)
แหล่งน้ำ
[แก้]ห้วยทับทัน เป็นลำห้วยที่ไหลมาจากอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภอห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และ อำเภอบึงบูรพ์ไหลลงไปบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอห้วยทับทันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 82 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ห้วยทับทัน | (Huai Thap Than) | 8 หมู่บ้าน | ||
2. | เมืองหลวง | (Mueang Luang) | 14 หมู่บ้าน | ||
3. | กล้วยกว้าง | (Kluai Kwang) | 13 หมู่บ้าน | ||
4. | ผักไหม | (Phak Mai) | 17 หมู่บ้าน | ||
5. | จานแสนไชย | (Chan Saen Chai) | 13 หมู่บ้าน | ||
6. | ปราสาท | (Prasat) | 16 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอห้วยทับทันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง (เทศบาลตำบล 2 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง) ได้แก่
- เทศบาลตำบลห้วยทับทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทับทัน เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6–8
- เทศบาลตำบลจานแสนไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจานแสนไชยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทับทัน เฉพาะหมู่ที่ 3–5
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกล้วยกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกล้วยกว้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักไหมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาททั้งตำบล
ประชากร
[แก้]สาธารณสุข
[แก้]- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยทับทัน
- โรงพยาบาลห้วยทับทัน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในตำบลต่าง ๆ
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนมัธยมศึกษา สพม. 2 แห่ง [4] ได้แก่ โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม (ตำบลห้วยทับทัน) และโรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล (ตำบลผักไหม)
- โรงเรียนในสังกัด สพฐ. 28 แห่ง[5]
- โรงเรียนประถมศึกษา 23 แห่ง
- โรงเรียนบ้านปะโด๊ะ (ตำบลปราสาท)
- โรงเรียนบ้านหนองอาคูณ (ตำบลปราสาท)
- โรงเรียนบ้านขะยูง (ตำบลปราสาท)
- โรงเรียนบ้านหว้า (ตำบลปราสาท)
- โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน (ตำบลห้วยทับทัน)
- โรงเรียนบ้านเทศบาล ๑ (หนองสิมใหญ่) (ตำบลห้วยทับทัน)
- โรงเรียนบ้านสร้างเรือ (ตำบลห้วยทับทัน)
- โรงเรียนบ้านจังเอิน (ตำบลเมืองหลวง)
- โรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่น (ตำบลเมืองหลวง)
- โรงเรียนบ้านหนองสะมอน (ตำบลเมืองหลวง)
- โรงเรียนบ้านเมืองน้อย (ตำบลเมืองหลวง)
- โรงเรียนบ้านเมืองหลวง (ตำบลเมืองหลวง)
- โรงเรียนบ้านกล้วยกว้าง (ตำบลกล้วยกว้าง)
- โรงเรียนบ้านพอกหนองแข้ (ตำบลกล้วยกว้าง)
- โรงเรียนบ้านไพรพระยอม (ตำบลกล้วยกว้าง)
- โรงเรียนบ้านไฮใหญ่ (ตำบลกล้วยกว้าง)
- โรงเรียนบ้านพงสิม (ตำบลจานแสนไชย)
- โรงเรียนบ้านจานแสนไชย (ตำบลจานแสนไชย)
- โรงเรียนบ้านนานวนหนองแคน (ตำบลจานแสนไชย)
- โรงเรียนบ้านตาทอง (ตำบลผักไหม)
- โรงเรียนบ้านกระสังข์ (ตำบลผักไหม)
- โรงเรียนบ้านกระเต็ล (ตำบลผักไหม)
- โรงเรียนมัธยมศึกษาขยายโอกาส 5 แห่ง
- โรงเรียนบ้านปราสาท (ตำบลปราสาท)
- โรงเรียนบ้านอีสร้อย (ตำบลปราสาท)
- โรงเรียนบ้านโทะ (ตำบลเมืองหลวง)
- โรงเรียนบ้านบุยาว (ตำบลกล้วยกว้าง)
- โรงเรียนบ้านนาทุ่ง (ตำบลผักไหม)
- โรงเรียนบ้านพระวร (ตำบลจานแสนไชย)
- โรงเรียนประถมศึกษา 23 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]- ทางถนน
อำเภอห้วยทับทันมีถนนสายหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา–อุบลราชธานี) ซึ่งเชื่อมระหว่างหัวยทับทัน–เมืองสุรินทร์ ระยะทาง 64 กิโลเมตร และเชื่อมระหว่างห้วยทับทัน–เมืองศรีสะเกษ ระยะทาง 37 กิโลเมตร
- ทางรถไฟ
อำเภอห้วยทับทันมีสถานีรถไฟประจำอำเภอคือสถานีรถไฟห้วยทับทัน โดยรถไฟเกือบทุกขบวน (ยกเว้นรถด่วนพิเศษอีสานวัตนาที่ 23/24 และรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 21/22) จะหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารที่สถานีนี้
การท่องเที่ยว
[แก้]ปราสาทห้วยทับทัน
[แก้]ปราสาทบ้านปราสาท (ห้วยทับทัน) ถูกสำรวจพบและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติใน พ.ศ. 2478 โดยตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท หมู่ที่ 12 ตำบลปราสาท อยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 39 กิโลเมตร ตัวปราสาทประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตู สันนิษฐานว่า เดิมมี 3 หรือ 4 ทิศ ปัจจุบันคงเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น ก่อด้วยศิลาแลง ปรางค์สององค์ที่ขนาบข้างขนาดเดียวกัน ได้รับการดัดแปลงรูปแบบไปมาก โดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตู ซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทรายและชิ้นส่วนทับหลังสลักภาพการกวนเกษียรสมุทรตกอยู่ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยแบบบาปวน สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และบูรณะมาแล้ว 3 ยุค กรมศิลปากรได้มีการขุดพบวัตถุโบราณคือ เทวรูปศิลาหินทราย ทับหลังพระอิศวรทรงโคอุศุภราช หรือโคนนทิ และ ทับหลังกูรมาวตาร และในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้สำรวจขุดพบ และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุราว 3 พันปี ตั้งแต่ยุคหินใหม่ กำไลสำริด เภาชนะดินเผา ลูกปัดสี กระเบื้องเคลือบ กระดองเต่า ขาวสารที่กลายเป็นหิน
-
ปราสาทห้วยทับทัน
-
ปราสาทห้วยทับทัน อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อ่างเก็บน้ำห้วยยาง บ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน ถนน ศก.3013 ห้วยทับทัน-ปรางค์กู่
วัฒนธรรม
[แก้]3 กลุ่มชาติพันธุ์
ประกอบไปด้วย ชาติพันธุ์เขมร ชาติพันธุ์กูยและ ชาติพันธุ์ลาว
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
[แก้]อำเภอห้วยทับทันมีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง คือ ไก่ย่างไม้มะดัน[1] ผลิตจากไก่พื้นเมืองสามสายเลือด ใช้ไม้มะดันเป็นไม้เสียบไก่ รสชาติจะออกเปรี้ยวพอเหมาะกับสูตรเครื่องปรุง ลักษณะพิเศษคือการนำไม้มะดันที่ขึ้นตามธรรมชาติมาเหลาเสียบเป็นไม้ปิ้งซึ่งต่างจากที่อื่น
นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์อีกอย่างหนึ่ง คือ ผ้าไหมเก็บย้อมมะเกลือ (ผ้าทอยกดอกลายลูกแก้ว) เป็นผ้าไหมที่ผ่านกรรมวิธีการย้อมด้วยวิธีการพื้นบ้าน (แช่น้ำมะเกลือ) 300 แดด 60 จุ่ม และนำมาปักเพิ่มลวดลวย ด้วยเส้นไหมหลากหลายสี เพื่อเพิ่มมูลค่า เรียกว่า “การแซว” อีกทั้งยังเป็นสินค้า GI (Geographical Indication) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ศูนย์เรียนรู้ผ้าไหมเก็บย้อมมะเกลือ ตั้งอยู่ ณ บ้านเมืองหลวง หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองหลวง [1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ผลิตภัณฑ์ไก่ย่างไม้มะดัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ ทัศนวิทย์ สิทธิโท. พิมพ์ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ. จากพระครูมงคลกิจประสาธน์ (ประศาสน์ อนุตฺตโร). วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม. ศรีสะเกษ, 2537.
- ↑ ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ กรมการปกครอง
- ↑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
- ↑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2