สุเนตร ชุตินธรานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุเนตร ชุตินธรานนท์

ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 พ.ศ. 2562
การศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศศ.บ.)
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ศศ.ม.)
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ปร.ด.)
อาชีพนักประวัติศาสตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์
อดีตอาจารย์

ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ เป็นนักประวัติศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์สุเนตรจบการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขา ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุเนตรเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (2557-ปัจจุบัน) เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา (2550-2557) และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า

ผลงาน[แก้]

มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น เมืองโบราณ, ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น มีผลงานด้านหนังสือ เช่น

  • สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐): ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. 2531)
  • พม่ารบไทย (พ.ศ. 2537)
  • สู่ลุ่มอิระวดี (2537)
  • บุเรงนอง กะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. 2538)
  • พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2542)
  • พม่าอ่านไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทรรศนะพม่า (พ.ศ. 2544)
  • เรือ: วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (2545)
  • ชาตินิยมในแบบเรียนไทย (2552)
  • จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้: เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคกรุงธนบุรี (2562)


สำหรับผลงานวิจัย ในปี พ.ศ. 2552 คือ ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ศึกษามุมมองของประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, และมาเลเซีย ว่ามีมุมมอง ทัศนคติต่อไทยอย่างไร ซึ่ง ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ

นอกจากนี้ ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การพูดคุยกับวีระ ธีรภัทรทางวิทยุคลื่น F.M.96.5 MHz เป็นต้น และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (พ.ศ. 2544) ภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550-2557) "พันท้ายนรสิงห์" (พ.ศ. 2558) โดยในเครดิตภาพยนตร์ปรากฏชื่อของ ดร. สุเนตร เป็นผู้เขียนบทร่วมกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ด้วย [1][2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ จาก IMDb
  2. อาจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๖๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๒๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑