ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาตินอร์เวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นอร์เวย์
Shirt badge/Association crest
ฉายาDrillos[a]
Løvene (สิงโต)
สมาคมNorges Fotballforbund (NFF)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนStåle Solbakken
กัปตันมาร์ติน เออเดอโกร์
ติดทีมชาติสูงสุดยุน อาเนอ รีเซอ (110)
ทำประตูสูงสุดJørgen Juve (33)
สนามเหย้าUllevaal Stadion
รหัสฟีฟ่าNOR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 46 เพิ่มขึ้น 1 (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด2 (ตุลาคม 1993, กรกฎาคม–สิงหาคม 1995)
อันดับต่ำสุด88 (กรกฎาคม 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสวีเดน สวีเดน 11–3 นอร์เวย์ ธงชาตินอร์เวย์
(กอเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน; 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1908)
ชนะสูงสุด
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ 12–0 ฟินแลนด์ ธงชาติฟินแลนด์
(บาร์เกิน ประเทศนอร์เวย์; 28 มิถุนายน ค.ศ. 1946)[2]
แพ้สูงสุด
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 12–0 นอร์เวย์ ธงชาตินอร์เวย์
(โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก; 7 ตุลาคม ค.ศ. 1917)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1938)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีม (1998)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม (2000)
เว็บไซต์fotball.no

ฟุตบอลทีมชาตินอร์เวย์ (นอร์เวย์: Norges herrelandslag i fotball หรือแบบไม่ทางการว่า Landslaget) เป็นฟุตบอลทีมชาติจากประเทศนอร์เวย์ ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลนอร์เวย์ หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลฟุตบอลในประเทศนอร์เวย์ มีสนามเหย้าอยู่ในกรุงออสโล ผู้ฝึกสอนคนปัจจุบันคือสโตเล โซลบัคเคิน

นอร์เวย์มีส่วนร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลกสามครั้ง (ค.ศ. 1938, 1994 และ 1998) และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 นอร์เวย์เป็นเพียงหนึ่งในสี่ชาติที่มีสถิติการแข่งขันที่เหนือกว่าทีมชาติบราซิล รวมทั้งเป็นหนึ่งในสองชาติร่วมกับเซเนกัลที่ไม่เคยแพ้บราซิลด้วยผลงานชนะ 3 นัด และเสมอ 1 นัดที่พบกับบราซิล (กระชับมิตรในปี 1988, 1997 และ 2006) และรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 1998 อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ยังไม่สามารถทำผลงานในระดับสูงในการแข่งขันรายการใหญ่ และมักถูกมองเป็นทีมระดับกลางถึงระดับล่างของทวีปยุโรป พวกเขาล้มเหลวในการผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปทุกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2000[3][4]

ประวัติ

[แก้]

ทีมฟุตบอลของนอร์เวย์มีผลงานในระดับชาติที่ด้อยกว่าชาติอื่นในสแกนดิเนเวียอย่างสวีเดน และเดนมาร์ก แต่พวกเขามียุคทองในช่วงทศวรรษ 1930 ด้วยการคว้าอันดับสามในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ซึ่งพวกเขาเอาชนะเจ้าภาพอย่างเยอรมนีในการแข่งขัน พวกเขาผ่านเข้ารอบในฟุตบอลโลก 1938 เป็นครั้งแรกก่อนจะแพ้ทีมแชมป์ในครั้งนั้นอย่างอิตาลีในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1–2 และนอร์เวย์ต้องรออีกกว่า 56 ปีในการลงแข่งขันฟุตบอลโลก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงทศวรรษ 1980 นอร์เวย์ไม่มีสถานะเป็นทีมใหญ่หรือทีมที่ทำผลงานได้ดีในยุโรป พวกเขาไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรายการใหญ่อย่างฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปได้เลยในช่วงเวลานี้ และมักจบในอันดับเกือบท้าย ๆ ในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มในรอบคัดเลือก อย่างไรก็ตาม พวกเขามีการแข่งขันสำคัญในหลายนัดที่เป็นที่จดจำ อาทิ การเอาชนะยูโกสลาเวียในปี 1965 ด้วยผลประตู 3–0 ซึ่งยูโกสลาเวียถือเป็นหนึ่งในทีมมหาอำนาจของวงการฟุตบอลยุโรปในยุคนั้น รวมถึงเอาชนะฝรั่งเศส 1–0 ในปี 1968 และชนะอังกฤษ 2–1 ในปี 1981[5]

นอร์เวย์มีช่วงเวลาที่ดีที่สุดระหว่าง ค.ศ. 1990 ถึง 1998 ภายใต้การฝึกสอนโดยเอกิล โอลเซน ซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะตำนานของนอร์เวย์ พวกเขามีอันดับโลกสูงสุดที่อันดับ 2 ในปี 1993 การคุมทีมนัดแรกของโอลเซนคือการเอาชนะแคเมอรูนด้วยผลประตู 6–1 วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1990 และนัดสุดท้ายคือการแพ้อิตาลี 0–1 ในรอบแบ่งกลุ่มรอบที่สองของฟุตบอลโลก 1998 นอร์เวย์ทำผลงานยอดเยี่ยมในรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1994 ด้วยการเป็นอันดับ 1 ในกลุ่ม เหนือแชมป์ยุโรปและรองแชมป์ฟุตบอลโลกหลายสมัยอย่างเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งอดีตแชมป์โลกอย่างอังกฤษโดยนอร์เวย์เอาชนะทั้งสองทีมได้ในรอบนี้ อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ต้องตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 1994 มีผลงานคือชนะเม็กซิโก ตามด้วยการแพ้อิตาลีและเสมอไอร์แลนด์ พวกเขาตกรอบด้วยผลต่างประตูโดยทั้งสี่ทีมในกลุ่มมี 4 คะแนนเท่ากัน ต่อมา นอร์เวย์ตกรอบแรกในฟุตบอลโลก 1998 ด้วยการแพ้อิตาลีอีกครั้ง โดยผลงานรอบแบ่งกลุ่มคือการเสมอสองนัดกับโมร็อกโก และสกอตแลนด์ และชนะบราซิล 2–1 ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่เป็นที่จดจำมากที่สุดมาถึงปัจจุบัน

นีลส์ โยฮัน เซมบ์ รับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อจากโอลเซน และพาทีมผ่านเข้ารอบฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ซึ่งกลายเป็นการลงแข่งขันระดับเมเจอร์รายการสุดท้ายของนอร์เวย์มาถึงปัจจุบัน เซมบ์ลาออกเนื่องจากไม่สามารถพาทีมประสบความสำเร็จ และถูกแทนที่โดยออเก ฮาไรเด ภายใต้การฝึกสอนของฮาไรเด นอร์เวย์มีผลงานดีขึ้นจนเกือบจะได้เข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 2006 และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฮาไรเดลาออกในปลายปี 2008 หลังจากที่นอร์เวย์ไม่สามารถเอาชนะในการแข่งขันใดได้เลยตลอดปี เอกิล โอลเซนกลับมาคุมทีมอีกครั้ง และพ้นจากตำแหน่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013[6] หลังจากที่นอร์เวย์แพ้ต่อสวิตเซอร์แลนด์ 0–1 และเหลือโอกาสในการผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 2014 ไม่มากนัก แพร์-มัทธิอัส เฮิกมู เข้ามารับช่วงต่อจนถึงปี 2016

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในสมัยที่ Egil 'Drillo' Olsen เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "Norwegian national team 1946". www.rsssf.no.
  3. "Why Erling Haaland isn't at the Euros: How Man City star, Martin Odegaard missed out with Norway | Sporting News". www.sportingnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-12-02.
  4. "Can Haaland and Odegaard take Norway back to international prominence?". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2023-02-13.
  5. admin (2011-09-08). "The radio man who gave England's boys a hell of a beating". Sports Journalists' Association (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  6. Øgar, Sindre; Borud, Eirik; Brenne, Øyvind; Vik, Marius (2013-09-27). "Drillo ferdig som landslagssjef - Høgmo overtar nå". VG (ภาษานอร์เวย์).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]