ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการไม่คาดคิด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.Big Bean (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Allied army positions on 10 May 1945.png|400px|กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปกลางเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2488]]
[[ไฟล์:Allied army positions on 10 May 1945.png|400px||thumb|กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปกลางเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2488]]


'''ปฏิบัติการเหนือความคาดหมาย''' หรือ '''ปฏิบัติการอันธิงคาเบิล''' ({{lang-en|Operation Unthinkable}}) เป็นชื่อรหัสของทั้งสองแผนของพันธมิตรตะวันตก โดยแผนดังกล่าวได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ[[วินสตัน เชอร์ชิลล์]]เมื่อปีพ.ศ. 2488 และพัฒนาโดยกองทัพอังกฤษหลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในยุโรป
'''ปฏิบัติการเหนือความคาดหมาย''' หรือ '''ปฏิบัติการอันธิงคาเบิล''' ({{lang-en|Operation Unthinkable}}) เป็นชื่อรหัสของทั้งสองแผนของพันธมิตรตะวันตก โดยแผนดังกล่าวได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ[[วินสตัน เชอร์ชิลล์]]เมื่อปีพ.ศ. 2488 และพัฒนาโดยกองทัพอังกฤษหลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในยุโรป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:06, 15 ธันวาคม 2560

กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปกลางเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2488

ปฏิบัติการเหนือความคาดหมาย หรือ ปฏิบัติการอันธิงคาเบิล (อังกฤษ: Operation Unthinkable) เป็นชื่อรหัสของทั้งสองแผนของพันธมิตรตะวันตก โดยแผนดังกล่าวได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษวินสตัน เชอร์ชิลล์เมื่อปีพ.ศ. 2488 และพัฒนาโดยกองทัพอังกฤษหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป

แผนแรกเป็นปฏิบัติการในการโจมตีของกองกำลังโซเวียตที่ประจำการอยู่ในประเทศเยอรมนี เพื่อกำจัดภัยคุกคามของโซเวียตในยุโรปตะวันออกรวมถึงการแก้ไขปัญหาข้อตกลงโปแลนด์[1] (หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการประชุมยัลตา) ต่อมาแผนแรกก็ถูกยกเลิกไป ต่อมารหัสนี้ก็ถูกนำมาใช้ในแผนที่สอง แผนที่สองเป็นปฏิบัติการป้องกันการโจมตีของกองกำลังโซเวียตหลังสหรัฐถอนทัพไปยังแนวรบแปซิฟิก

ปฏิบัติการอันธิงคเบิล นับป็นปฏิบัติการแรกในช่วงสงครามเย็นที่กล่าวถึงการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต[2] ทั้งสองมีแผนถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 [3]

ปฏิบัติการเชิงรุก

เป้าหมายแรกเป็น การพยามการบีบบังคับให้โซเวียตยอมรับและทำตามสัญญาของสหรัฐฯและจักรวรรดิอังกฤษ ในการข้อตกลงเกี่ยวโปแลนด์และการไม่คุมคามในยุโรปตะวันออกจากการประชุมยัลตา

ในช่วงเวลานั้นคณะเสนาธิการกังวลว่าถึงจำนวนกองทัพโซเวียตที่ในช่วงท้ายสงครามอีกทั้งผู้นำโซเวียตโจเซฟ สตาลินดูเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือสิ่งเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อยุโรปตะวันตกได้ ในช่วงสหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่นยังอยู่ในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันนั้นสมมติฐานหนึ่งรายงานว่าสหภาพโซเวียตอาจจะเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นในกรณีที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต

ปฏิบัติการเริ่มต้นของการบุกสหภาพโซเวียตของสัมพันธมิตรในยุโรปมีกำหนดการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นสี่วันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร[4]ตามแผนการทหารอังกฤษและอเมริกัน กว่า 47 กองพล จากทั้งหมด 100 กองพลของอังกฤษ อเมริกันและแคนาดาที่ประจำการในเวลานั้น จะเจาะแนวรบตรงกลางของกองทัพแดงบริเวณเมืองเดรสเดนและโดยรอบ[4] และศึกนี้จะเป็นการร่วมกันเข้าตีของทหารเยอรมันกว่า 1 แสนนาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอาวุธเป็นที่เรียบร้อย โดยจะเข้าทำการโจมตีที่ตั้งหน่วยทหารโซเวียตทั่วทุกหัวเมืองใหญ่ของเยอรมันร่วมถึงโน้มน้าวให้โปแลนด์ ต่อต้านโซเวียตและเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และประสานการโจมตีจากกองทัพโปแลนด์ด้วยเช่นกัน ในปฏิบัติการต้องทำการรุกอย่างรวดเร็วก่อนถึงฤดูหนาวเพราะเมื่อถึงฤดูหนาวจะทำให้สงครามยืดเยื้อจนเกิดความสูญเสียมหาศาล

แผนดังถูกนำเสนอให้กับคณะเสนาธิการของอังกฤษ แต่เนื่องมีกการคาดการณ์ไว้ว่าในวันที่ 1 กรกฎาคมซึ่งคาดว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้นกองกำลังโซเวียตในยุโรปและตะวันออกกลางจะมีอยู่ 2.5 ต่อ 1 ของกองกำลังสัมพันธมิตรเสนาธิการจึงไม่อนุมัติในการจัดกองกำลัง[5]อีกทั้งสหรัฐไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามในยุโรปอีก จนในที่สุด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปฏิบัติการถูกยกเลิกไปเนื่องจาก "อันตรายเกินไป"


ปฏิบัติการป้องกัน

เพื่อตอบสนองสั่งของเชอร์ชิลล์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ตามรายงานเขียนว่า "จะต้องทำให้แน่ใจว่าเกาะอังกฤษจะมีการป้องกันพอรับสถานะการณ์กรณีที่เกิดสงครามกับรัสเซียในอนาคตอันใกล้นี้" [6] กองกำลังสหรัฐกำลังย้ายไปอยู่ที่แปซิฟิกเพื่อวางแผนการรุกรานญี่ปุ่นและเชอร์ชิลล์กังวลว่าการลดกำลังสนับสนุนนี้จะทำให้สหภาพโซเวียตใช้ช่วงเวลานี้ในการคุมคามยุโรปตะวันตก รายงานสรุปว่าถ้าสหรัฐอเมริกามุ่งเน้นอยู่กับการยุทธในแปซิฟิก สหราชอาณาจักร มองว่า""นั้นเป็นเรื่องประหลาดใจมาก""[7]

เจ้าหน้าที่วางแผนร่วมปฏิเสธความคิดของเชอร์ริลในการยึดเมืองหัวเขตฝั่งต่างๆทวีปยุโรปเนื่องจากไม่มีประโยชน์ในการปฏิบัติงาน มีการคาดการณ์ว่าอังกฤษจะใช้กองทัพอากาศและกองทัพเรือในการป้องกันและต่อต้านในการรุกรานถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์อีกว่าอาจจะมีการโจมตีด้วยจรวดจากโซเวียตก็ตาม

ดูเพิ่ม

เจ็ดวันไปแม่น้ำไรน์

อ้างอิง

  1. Operation Unthinkable..., p. 1 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)
  2. Costigliola, p. 336
  3. Gibbons, p. 158
  4. 4.0 4.1 Reynolds, p. 250
  5. Operation Unthinkable p. 22 Retrieved 2 May 2017
  6. Operation Unthinkable..., p. 30 (Annex) ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)
  7. Operation Unthinkable..., p. 24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)