ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอิสราเอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: bxr:Израиль
PixelBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต แก้ไข: mr:इज्राएल
บรรทัด 347: บรรทัด 347:
[[ml:ഇസ്രയേൽ]]
[[ml:ഇസ്രയേൽ]]
[[mn:Израйль]]
[[mn:Израйль]]
[[mr:इस्रायल]]
[[mr:इज्राएल]]
[[ms:Israel]]
[[ms:Israel]]
[[mwl:Eisrael]]
[[mwl:Eisrael]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:44, 9 ตุลาคม 2555

รัฐอิสราเอล

מדינת ישראל (ฮีบรู)
دولة إسرائيل (อาหรับ)
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติฮาทิควา ("ความหวัง")
ที่ตั้งของอิสราเอล
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เยรูซาเลม (เป็นข้อโต้แย้ง)
ภาษาราชการภาษาฮีบรูและภาษาอาหรับ
การปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
• ประธานาธิบดี
ชิมอน เปเรส
• นายกรัฐมนตรี
เบนจามิน เนทันยาฮู
เอกราช 
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2491
(ปฏิทินยิว: 05 อิยาร์ 5708)
พื้นที่
• รวม
[convert: %s]%s (151)
~2
ประชากร
• 2555 ประมาณ
7,859,300 2 (97)
• สำมะโนประชากร 2538
5,548,523
324 ต่อตารางกิโลเมตร (839.2 ต่อตารางไมล์) (34)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
163.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (53)
23,416 ดอลลาร์สหรัฐ (28)
เอชดีไอ (2549)0.927
สูงมาก · 23
สกุลเงินเชเกลอิสราเอลใหม่ (₪) (JOD, EGP, ILS)
เขตเวลาUTC+2 (IST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3
รหัสโทรศัพท์972
โดเมนบนสุด.il
1รวมในที่สูงโกลัน
2รวมชาวอิสราเอลที่อาศัยในเขตเวสต์แบงก์

อิสราเอล (อังกฤษ: Israel; ฮีบรู: יִשְׂרָאֵל; อาหรับ: إِسْرَائِيل) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษ: State of Israel; ฮีบรู: מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; อาหรับ: دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเป็น "รัฐยิว" ตามนโยบายแห่งชาติ ประชากรของอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นชาวยิว โดยมีชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามหรือศาสนาคริสต์

ภูมิศาสตร์

หมู่บ้าน อีน เคเรม

แบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร มีพรมแดน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับประเทศเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ อิสราเอลมีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba) และทะเลเดดซี

ประวัติศาสตร์

การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622)

ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อเทพผู้สูงสุดได้ทำพันธสัญญากับท่านอับราฮัม เนื่องจากว่าพระองค์ได้ทรงมองเห็นว่าท่านอับราฮัม เป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์ อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอเซ๊ด (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah)ผู้เป็นบุตรหญิงของบิดาของอับราฮัม แต่ไม่ใด้เกิดจากมารดาเดียวกัน ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอลตามที่พระเจ้าได้ทรงตั้งชื่อให้เมื่อครั้งที่ท่านยาโคบหรือท่านอิสราเอลได้ปล้ำสู้กับเทพเจ้าแล้วได้ชัยชนะครั้งที่ข้ามแม่น้ำยับบอก(การปล้ำสู้กันครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ชายอิสราเอลไม่กินเส้นที่ตะโพก ซึ่งอยู่ที่ข้อต่อตะโพกนั้นจนถึงทุกวันนี้ เพราะพระองค์ทรงถูกต้องข้อต่อตะโพกของ ยาโคบตรงเส้นเอ็นที่ตะโพก ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสามคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ ดาน นัฟทาลี กาด อาเชอร์ อิสสาคาร์ เศบูลุน โยเซฟ และเบนยามิน และดีนาหฺ์ (หลังจากให้กำเนิดเศบูลุน เลอาห์ให้กำเนิดบุตรสาวคือดีนาห์นี่เอง) จากพันธสัญญาระหว่างเทพผู้สูงสุดกับท่านอับราฮัมพระองค์จึงได้บรรดาลให้เกิดภัยแล้งขึ้นทั่วโลก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการทำอิฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "โมเสส" (Moses) โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูซึ่งนับแต่ผู้ชายได้ถึง 600,000 คน ผู้หญิงและเด็กต่างหาก และยังมีฝูงชนชาติอื่นเป็นจำนวนมากติดตามไปด้วย พร้อมทั้งฝูงสัตว์ คือฝูงแพะแกะและโคจำนวนมาก ออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ โดยพระกรที่เหยียดออก พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต (Crete) และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (The Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลาง

350 ปีต่อมา อาณาจักรทั้งสองต้องล่มสลายไป โดยอาณาจักรที่ล่มสลายไปแห่งแรกคือ อาณาจักรอิสราเอล ถูกยึดครองโดยพวกอัสซีเรียน (Assyrian) ในปี 721 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนำโดยกษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 และกวาดต้อนชาวยิวไปยังอัสซีเรีย ต่อมา ปี 587 ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรยูดาห์ต้องล่มสลายโดยเนบูคัดเนสซาร์แห่งอาณาจักรแคลเดียมีชัยต่ออัสซีเรีย จึงตัดสินใจบุกอาณาจักยูดาห์ต่อ เขาได้ทำลายมหาวิหารยะโฮวาห์ และกวาดต้อนชาวอาณาจักรยูดาห์ไปยังบาบิโลน หลังจากอาณาจักรทั้ง 2 แตกไป ชาวยิวต้องอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย กรีก โรมัน เป็นอิสระได้ในระยะเวลาสั้นๆ ในที่สุด ถูกเนรเทศเกือบทั้งหมดและบางส่วนถูกฆ่า ชนชาติอิสราเอลจึงได้กระจัดกระจายไปยังแอฟริกา ยุโรป เปอร์เซีย และแหลมอารเบีย ต่อมาปี ค.ศ 632 ดินแดนปาเลสไตน์ กลับมาเป็นของชนกลุ่มน้อยที่เคยอยู่มาก่อนที่อับราฮัมจะเข้ามา นั่นคือชาวฟิลิเตียหรือชาวปาเลสไตน์ ต่อมาโซจุเตริกท์ประมุขแห่งอิสลามได้เข้าครอบครองเยรูซาเร็ม

สมัยการปกครองของสหราชอาณาจักร

(พ.ศ. 2463–2491)

เมื่อประเทศสหราชอาณาจักรมีอำนาจและอิทธพลในดินแดนแถบนี้ ได้อนุญาตให้ชาวอิสราเอลเดินทางกลับสู่มาตุภูมิได้ตามมติสหประชาชาติ ที่ชาวยิวขอตั้งรัฐอิสระโดยภายใต้การนำของดิโอเดอร์ เฮริท์ ในนาม 'กลุ่มไซออนนิสต์' ซึ่งสหประชาชาติได้แบ่งดินแดนแห่งนี้เป็น 60% ของชาวอิสราเอล และ 40% เป็นของชาวฟิลิเตียหรือปาเลสไตน์ ทำให้มีการจัดตั้งประเทศอิสราเอลในที่สุด

การเมือง

ยิทซาก ราบิน, บิล คลินตัน และ ยัสเซอร์ อราฟัส

อิสราเอลปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภา Knesset มีวาระครั้งละ 7 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Shimon Peres ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี รัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 28 มีนาคม 2549 นำโดยนายกรัฐมนตรี Ehud Olmert จากพรรค Kadima ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากพรรคร่วมรัฐบาล จำนวน 5 พรรค คือ

  1. Kadima 9 ตำแหน่ง
  2. Labour 6 ตำแหน่ง
  3. Shas 4 ตำแหน่ง
  4. Gil 2 ตำแหน่ง
  5. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 2 ตำแหน่ง (ตั้งแต่ตุลาคม 2549 )
  6. ไม่สังกัดพรรค 1 ตำแหน่ง รวมทั้งสิ้น 25 คน

สมาชิกสภา Knesset ซึ่งทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคสำคัญ ๆ ดังนี้

  1. Kadima ซึ่งเป็นพรรคสายกลาง 29 ที่นั่ง
  2. Labour ซึ่งเป็นพรรคนิยมซ้าย 19 ที่นั่ง
  3. Shas ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษนิยม (Ultra-orthodox) 12 ที่นั่ง
  4. Likud ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวาสายกลาง 12 ที่นั่ง
  5. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
  6. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
  7. National Union ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 9 ที่นั่ง
  8. Gil ซึ่งเป็นพรรคของผู้เกษียณอายุ 7 ที่นั่ง

รัฐบาลอิสราเอลให้ความสำคัญสูงสุดต่อนโยบายความมั่นคงภายในประเทศ และการป้องกันภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินเฉพาะของชาวอิสราเอล ความล้มเหลวของการเจรจาสันติภาพก่อให้เกิดการลุกฮือด้วยกำลังของชาวปาเลสไตน์ (Intifada) ในปี 2543 ได้นำไปสู่วงจรความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ นอกจากนี้ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิสราเอลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของปาเลสไตน์ โดยกลุ่มฮามาสเมื่อเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งประกาศไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เพิ่มความตึงเครียดขึ้น

อนึ่ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 กลุ่มฮามาสสามารถยึดครองฐานที่ตั้งของฝ่ายฟาตาห์ทั้งหมดในกาซาโดยการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้ประธานาธิบดี Mahmoud Abbas ตะวันตก และอิสราเอล ยอมไม่ได้จึงประกาศกฎอัยการศึก และประกาศถอดถอนนายกรัฐมนตรี Ismail Haniyaa ผู้นำฝ่ายฮามาส และถอดถอนรัฐมนตรีฝ่ายฮามาสทั้งหมด โดยแต่งตั้งนาย Salam Fayyad อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปาเลสไตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีปาเลสไตน์ชุดใหม่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มฟาตาห์ทั้งหมด โดยมีฐานที่ตั้งในเขตเวสต์แบงค์ เรียกได้ว่าอิสราเอลได้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นชาวปาเลสไตน์ลงทั้งหมด

อิสราเอล สหรัฐอเมริกา EU รัสเซีย (กลุ่ม Quartet) OIC และ อียิปต์ ได้ผลักดันแต่งตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้กลุ่มฟาตาห์ โดยอิสราเอลได้เริ่มเจรจาสันติอีกครั้งกับประธานาธิบดี Abbas และได้โอนเงินภาษีปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึดไว้คืนให้ 118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งหมด 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ (ฝ่ายฟาตาห์) 255 คน จากทั้งหมด 11,000 คน รวมทั้ง อภัยโทษให้ผู้ต้องหาปาเลสไตน์หัวรุนแรง ซึ่งประธานาธิบดี Abbas ได้สั่งการให้กลุ่มติดอาวุธฟาตาห์เกือบทั้งหมด 300 คน วางอาวุธ เพื่อเป็นการตอบแทน

อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังคงมีความระมัดระวังในการเจรจากับกลุ่มฟาตาห์ โดยอิสราเอลยังคงเรียกร้องให้กลุ่มฟาตาห์เจรจาให้กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่นๆ ยอมรับเงื่อนไข 3 ประการของกลุ่ม Quartet ได้แก่

  1. การยุติความรุนแรง
  2. การยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ และยอมรับรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง (ฟาตาห์)
  3. การยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงสันติภาพต่างๆ กับอิสราเอลในอดีต

อิสราเอลยังคงไม่ส่งมอบพื้นที่ยึดครองในเวสต์แบงค์ หรือรื้อถอนจุดตรวจค้นระหว่างอิสราเอล-เวสต์แบงค์ หรือการยุติการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชาวอิสราเอลในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กระทำมาโดยตลอด 60 ปี ตามที่รัฐบาลปาเลสไตน์และสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ต้องการ

ทั้งนี้ โดยที่การจัดตั้งรัฐบาลของอิสราเอลที่ผ่านมาล้วนเป็นแบบรัฐบาลผสม ทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลอิสราเอลมีความอ่อนไหวสูงต่อข้อเรียกร้องของพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มกดดันทางการเมืองภายในประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา
อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา

ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])

  • เขตเหนือ (North District หรือ Mehoz HaZafon เมฮอซฮาซาฟอน)
    • เมืองเอก: นาซาเรธ (Nazareth)
    • เซฟัต (Zefat)
    • คินเนเรต (Kinneret)
    • ยิซเรเอล (Yizre'el)
    • อัคโค (Akko)
    • โกลัน (Golan)
  • เขตไฮฟา (Haifa District หรือ Mehoz Hefa เมฮอซเฮฟา)
    • เมืองเอก: ไฮฟา
    • ไฮฟา (Haifa)
    • ฮาเดรา (Hadera)
  • เขตกลาง (Center District หรือ Mehoz HaMerkaz เมฮอซฮาเมอร์คาซ)
    • เมืองเอก: รามลา
    • ชารอน (Sharon)
    • เปตาห์ติกวา (Petah Tiqwa)
    • รามลา (Ramla)
    • เรโฮวอต (Rehovot)

กองทัพ

กองทัพบก

กองทัพอากาศ

กองทัพเรือ

กองกำลังกึ่งทหาร

กระบวนการยุติธรรม และ กฎหมาย

ความสัมพันธ์ระหวางประเทศ

เศรษฐกิจ

เทลอาวีฟ

ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง

  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
  • อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง
    • ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
    • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

ประชากร

กรุงเยรูซาเลม เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอิสราเอล

มีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี ชาย 77.33 ปี หญิง 81.7 ปี อัตราการเขียนออกอ่านได้ ร้อยละ 95.4

เชื้อชาติ

ยุโรป 32.1% อิสราเอล 20.8% อาหรับ 19.9% แอฟริกา 14.6% เอเชีย 12.6%

วัฒนธรรม

อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2491 ชาวอิสราเอลร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนายูดาห์ 80.1% ศาสนาอิสลาม 14.6% ศาสนาคริสต์ 2.1% ศาสนาบาไฮ และอื่น ๆ อีก 3.2%

อาหาร

ดนตรี

การท่องเที่ยว

กีฬา

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA