ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตจตุจักร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90: บรรทัด 90:
{{เขตในกทม.}}
{{เขตในกทม.}}
[[Category:เขตจตุจักร|*]]
[[Category:เขตจตุจักร|*]]
[[category:เขต|จตุจักร]]
[[de: Chatuchak]]
[[de: Chatuchak]]
[[en: Chatuchak]]
[[en: Chatuchak]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:47, 1 มีนาคม 2549

เขตจตุจักร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Chatuchak
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตจตุจักร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตจตุจักร
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด32.908 ตร.กม. (12.706 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2546)
 • ทั้งหมด176,501 คน
 • ความหนาแน่น5,363 คน/ตร.กม. (13,890 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10900
รหัสภูมิศาสตร์1030
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตจตุจักร เป็นหนึ่งใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร


ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร ในกลุ่มเขตวิภาวดี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตลาดพร้าว มีคลองบางบัวและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท มีคลองน้ำแก้ว คลองพระยาเวิก และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางซื่อ มีทางรถไฟสายเหนือและคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์

แต่เดิม ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2507 อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย

ในปี พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว ขึ้นกับเขตบางเขน

ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร พร้อมกับจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532

และเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 5 แขวง เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงเดียว แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงมีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก

การแบ่งเขตการปกครอง

ท้องที่สำนักงานเขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. ลาดยาว (Lat Yao)
2. เสนานิคม (Sena Nikhom)
3. จันทรเกษม (Chan Kasem)
4. จอมพล (Chom Phon)
5. จตุจักร (Chatuchak)

การคมนาคม

ในพื้นที่เขตจตุจักรมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรอง ได้แก่

ถนนกำแพงเพชร 1 ถนนกำแพงเพชร 3
ถนนกำแพงเพชร 4 ถนนกำแพงเพชร 6
ถนนหอวัง ถนนเทศบาลนฤมาน
ถนนเทศบาลนิมิตรเหนือ ถนนเทศบาลนิมิตรใต้
ถนนเทศบาลรังสรรเหนือ ถนนเทศบาลรังสรรใต้
ถนนเทศบาลรังรักษ์เหนือ ถนนเทศบาลรังรักษ์ใต้
ถนนเทศบาลรังสฤษดิ์เหนือ ถนนเทศบาลรังสฤษดิ์ใต้
วิภาวดีรังสิต 3 (ซอยร่วมศิริมิตร) วิภาวดีรังสิต 16 (ซอยโชคชัยร่วมมิตร)

นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้ามหานครตัดผ่านในพื้นที่เขต โดยมีสถานี 2 แห่ง คือ สถานีกำแพงเพชรและสถานีสวนจตุจักร เป็นที่ตั้งของสถานีหมอชิตซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งสายเหนือ (ที่นิยมเรียกกันว่าสถานีขนส่งหมอชิตใหม่หรือจตุจักร)

ลิงก์ภายนอก