ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศซูรินาม

พิกัด: 4°N 56°W / 4°N 56°W / 4; -56
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซูรินาเม)

4°N 56°W / 4°N 56°W / 4; -56

สาธารณรัฐซูรินาม

Republiek Suriname (ดัตช์)
ธงชาติซูรินาม
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของซูรินาม
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"ยุติธรรม – กตัญญู – ศรัทธา"
Justitia – Pietas – Fides (ละติน)
Gerechtigheid – Vroomheid – Vertrouwen (ดัตช์)
เพลงชาติโคดไซแม็ตโอนส์ซือรีนาเมอ (ดัตช์)
("ขอพระเจ้าสถิตอยู่กับซูรินามของเรา")
ที่ตั้งของ ประเทศซูรินาม  (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศซูรินาม  (เขียว)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปารามาริโบ
5°50′N 55°10′W / 5.833°N 55.167°W / 5.833; -55.167
ภาษาราชการดัตช์
ภาษาชนพื้นเมือง 8 ภาษา
ภาษากลางซรานันโตโง
ภาษาอื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(2020)[7]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่มีประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารที่เป็นอิสระจากสภานิติบัญญัติ สาธารณรัฐธรรมนูญ
Chan Santokhi
Ronnie Brunswijk
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช
15 ธันวาคม ค.ศ. 1954
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975
พื้นที่
• รวม
163,821 ตารางกิโลเมตร (63,252 ตารางไมล์) (90th)
1.1
ประชากร
• กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ประมาณ
558,368[8] (อันดับที่ 171)
• สำมะโนประชากร 2012
541,638[5]
2.9 ต่อตารางกิโลเมตร (7.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 231)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
9.044 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]
15,845 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
4.110 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]
6,881 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.738[10]
สูง · อันดับที่ 97
สกุลเงินดอลลาร์ซูรินาม (SRD)
เขตเวลาUTC-3 (SRT)
รูปแบบวันที่วว-ดด-ปปปป
ไฟบ้าน220 โวลต์–50 เฮิร์ตซ์
127 โวลต์–60 เฮิร์ตซ์
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+597
โดเมนบนสุด.sr

ซูรินาม[12] (อังกฤษ: Suriname, Surinam, ออกเสียง: /ˈsʊrɨnɑːm/; ดัตช์: Suriname, ออกเสียง: [ˌsyriˈnaːmə]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐซูรินาม (อังกฤษ: Republic of Suriname; ดัตช์: Republiek Suriname) เดิมรู้จักกันในชื่อ "ดัตช์กีอานา" เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ระหว่างเฟรนช์เกียนาทางทิศตะวันออกกับกายอานาทางทิศตะวันตก เขตแดนทางทิศใต้ติดต่อกับบราซิล ส่วนทางเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก พื้นที่ทางใต้สุดของประเทศกำลังเป็นกรณีพิพาทกับกายอานาและเฟรนช์เกียนา

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในปลายศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้มาตั้งอาณานิคมริมแม่น้ำซูรินาม ต่อมาเนเธอร์แลนด์ได้ทำความตกลงแลกอาณานิคมกับอังกฤษ โดยที่เนเธอร์แลนด์ได้ครอบครองอาณานิคมซูรินาม ส่วนอังกฤษได้ครอบครองนิวอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ (คือนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน)

ในยุคอาณานิคมชาวดัตช์ได้บุกเบิกที่ดินทำไร่ และนำทาสจำนวนมากจากแอฟริกามาใช้ทำงานไร่ ความเป็นอยู่ของทาสในซูรินามนั้นมีความยากลำบากมาก ทาสจำนวนหนึ่งจึงได้หนีเข้าไปตั้งถิ่นฐานในป่าลึก ต่อมาเมื่อมีการเลิกทาส จึงได้มีการนำแรงงานใหม่ที่มีสัญญาจ้างงานมาจากอินโดนีเซีย อินเดีย และจีน แรงงานเหล่านี้ได้กลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากของซูรินาม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 อาณานิคมซูรินามได้รับการยกฐานะให้เป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ สามารถเลือกผู้แทนตนเองเพื่อบริหารกิจการภายใน แต่กิจการต่างประเทศ และการป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของเนเธอร์แลนด์ ต่อมาซูรินามได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2518

การเมือง

[แก้]

ซูรินามมีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกจากสภาเป็นทั้งประมุขของประเทศ และหัวหน้ารัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ซูรินามได้เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติใน ปี พ.ศ. 2518

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
เขตการปกครองของซูรินาม

ซูรินามมีเขตการปกครอง 10 เขต ได้แก่

  1. โบรโกโปนโด (Brokopondo)
  2. โกมเมอไวเนอ (Commewijne)
  3. โกโรนี (Coronie)
  4. มาโรไวเนอ (Marowijne)
  5. นิกเกรี (Nickerie)
  6. ปารา (Para)
  7. ปารามาริโบ (Paramaribo)
  8. ซารามักกา (Saramacca)
  9. ซีปาลีวีนี (Sipaliwini)
  10. วานีกา (Wanica)

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจ ในช่วงที่ซูรินามอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมือง และความวุ่นวายอันเนื่องมาจากการหยุดงานของกรรมกรอยู่เป็นประจำ รวมทั้งการระงับความช่วยเหลือทางการเงินของเนเธอร์แลนด์ มีผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไปด้วย ต่อมาเมื่อซูรินามมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และรายได้ประชาชาติก็เพิ่มขึ้นด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Suriname: An Asian Immigrant and the Organic Creation of the Caribbean's Most Unique Fusion Culture, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2017, สืบค้นเมื่อ 19 July 2017
  2. "Censusstatistieken 2012" (PDF). Algemeen Bureau voor de Statistiek in Suriname (General Statistics Bureau of Suriname). p. 76. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-29.
  3. "The World Factbook – Central Intelligence Agency". cia.gov. 29 September 2021.
  4. Algemeen Bureau voor de Statistiek. "Geselecteerde Census variabelen per district (Census-profiel)" (PDF). ABS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 September 2008. สืบค้นเมื่อ 24 July 2008.
  5. 5.0 5.1 "Census statistieken 2012". Statistics-suriname.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014.
  6. "Definitieve Resultaten (Vol I) Etniciteit". Presentatie Evaluatie Rapport CENSUS 8: 42.
  7. "Suriname". Global Religious Futures Project. Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.
  8. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Suriname". International Monetary Fund.
  10. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  11. "GINI index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  12. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Box, Ben, Footprint Focus Guide: Guyana, Guyane & Suriname, (Footprint Travel Guides, 2011)
  • Counter, S. Allen and David L. Evans, I Sought My Brother: An Afro-American Reunion, Cambridge: MIT Press, 1981
  • Dew, Edward M., The Trouble in Suriname, 1975–93, (Greenwood Press, 1994)
  • Gimlette, John, Wild Coast: Travels on South America's Untamed Edge (Profile Books, 2011)
  • McCarthy Sr., Terrence J., A Journey into Another World: Sojourn in Suriname, (Wheatmark Inc., 2010)
  • Westoll, Adam, Surinam, (Old Street Publishing, 2009)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
เว็บไซต์รัฐบาล ประธานาธิบดี และรัฐสภา