ข้ามไปเนื้อหา

คลองบางกอกน้อย

พิกัด: 13°45′47″N 100°28′45″E / 13.763056°N 100.479167°E / 13.763056; 100.479167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองบางกอกน้อย ทิวทัศน์จากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
คลองบางกอกน้อยช่วงที่ไหลผ่านวัดศรีสุดาราม มองไปทางด้านทิศตะวันตก
คลองบางกอกน้อย เกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเปลี่ยนทิศทางเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

คลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2077–2089) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำขึ้นจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งกล่าวกันว่าช่วยย่นระยะทางได้ถึง 1 วัน [1] ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คลองลัดทำให้คลองกว้างขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ส่วนแม่น้ำสายเดิมแคบลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่แทน

คลองบางกอกน้อยเริ่มต้นตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาทางเหนือของสถานีรถไฟธนบุรี ไหลขึ้นไปบรรจบคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) และคลองลัดบางกรวย ตรงข้ามวัดสุวรรณคีรี มีความกว้างมากถึง 40 เมตร และยาว 3.3 กิโลเมตร [2] คณะรัฐมนตรีมีมติให้คลองบางกอกน้อยเป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510[3] ในปัจจุบันช่วงคลองลัดบางกรวย (หมายเลข ๒ ในภาพ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งคลองบางกอกน้อยไปด้วย รวมถึงคลองอ้อมนนท์ (ช่วงตั้งแต่คลองบางกรวยถึงคลองบางใหญ่) ก็เรียกกันทั่วไปว่าคลองบางกอกน้อยเช่นกัน

ปัจจุบัน คลองบางกอกน้อยใช้ในการคมนาคม สัญจร ทัศนาจร ท่องเที่ยว ใช้ขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำ ใช้ล้างภาชนะ ใช้ระบายน้ำ และยังเป็นเส้นทางชักพระของวัดนางชีซึ่งมีขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี[4] โดยชักแห่ไปทางน้ำ ผ่านคลองชักพระ คลองบางกอกน้อย แล้ววกลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ กลับไปยังวัดนางชีตามเดิม

สถานที่สำคัญริมคลองบางกอกน้อย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เมืองบางกอกอยู่ที่ไหน" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ลูกทุ่งคนยาก บทความประวัติศาสตร์ สามก๊กวิว
  2. "คลองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และความเจริญเติบโตของกรุงธนบุรี" เก็บถาวร 2009-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แหล่งเรียนรู้ชุมชนฝั่งธนบุรี โรงเรียนศึกษานารี แหล่งที่มาจากจดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ของคณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525
  3. "คลองอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี" เก็บถาวร 2012-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองระบบคลอง ปรับปรุง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
  4. "แหล่งท่องเที่ยวเขตบางกอกน้อย" เก็บถาวร 2009-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนคลองบางกอกน้อยกับพุทธศาสนา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′47″N 100°28′45″E / 13.763056°N 100.479167°E / 13.763056; 100.479167