ข้ามไปเนื้อหา

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม
จำนวนผู้ได้รับวัคซีนสองโดส (ตามร้อยละของประชากรทั้งหมด):
  น้อยกว่า 20%
  20-40%
  41-60%
  61-80%
  81-100%
วันที่8 มีนาคม 2564 (2021-03-08)ปัจจุบัน
ที่ตั้ง เวียดนาม
สาเหตุการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม
เป้าหมายการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
งบประมาณ25.2 ล้านล้านด่ง (1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[1][2]
จัดโดยกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม
ผู้เข้าร่วม64,767,521 คนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
36,095,377 คนได้รับวัคซีนทั้งสองโดส[3]
ผล66.37% ของประชากรเวียดนามได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
36.99% ของประชากรเวียดนามได้รับวัคซีนทั้งสองโดส
จำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 โดสในเวียดนาม

การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศเวียดนามเป็นการรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในประเทศ หลังจากวัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด–แอสตราเซเนกาได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564 การฉีดวัคซีนเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 และจะดำเนินการต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยมีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565[4] ต่อมาวัคซีนสปุตนิกวี ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564[5] ขณะที่วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม ได้รับการอนุมัติเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564[6]

นี่เป็นการรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยปริมาณวัคซีนมากกว่า 150 ล้านโดส[7] แม้ว่าเวียดนามจะประสบความสำเร็จในการป้องกันโรคและควบคุมการระบาดได้ แต่โครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศนั้นถือว่าเริ่มช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[8][9] เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวียดนามได้ฉีดวัคซีนทั่วประเทศไปแล้ว 100,862,898 โดส[3]

ประวัติ

[แก้]
พิธีส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ให้กับเวียดนามจาก COVAX Facility ในปี 2564

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลเวียดนามประกาศว่าได้ทำข้อตกลงจัดหาวัคซีนสปุตนิกวี 50 ถึง 150 ล้านโดสจากรัสเซีย นอกจากนี้ รัสเซียจะบริจาคเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และอุปกรณ์จำนวนหนึ่งให้กับเวียดนามเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงวัคซีน ในระหว่างนี้ นักวิจัยชาวเวียดนามจะยังคงพัฒนาวัคซีนของประเทศต่อไป[10][11]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้รัฐบาลให้การรับรองวัคซีนจากแอสตราเซเนกา, กามาเลีย และโมเดอร์นา สำหรับการฉีดวัคซีนในประเทศ รัฐมนตรีเหงียน ทัญ ลอง (Nguyễn Thanh Long ) กล่าวว่าวัคซีนได้รับการอนุมัติภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างการระบาดในจังหวัดหายเซือง และจังหวัดกว๋างนิญ[12] แอสตราเซเนกาให้คำมั่นว่าจะจัดหาวัคซีนประมาณ 30 ล้านโดส ให้เวียดนามในปี 2564[13][14][15]

นอกจากข้อตกลงกับแอสตราเซเนกา เวียดนามยังเร่งการเจรจากับไฟเซอร์, โมเดอร์นา, เคียวแว็ก, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และกามาเลีย[16][17]

ตามแผนการปรับใช้และการฉีดวัคซีนแห่งชาติ (National Deployment and Vaccination plan, NDVP) ขององค์การอนามัยโลกซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวียดนามจะได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนดังกล่าวจากคณะกรรมการพิจารณาของ NDVP ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่จำเป็นในการรับวัคซีนโควิด-19 ผ่าน COVAX Facility ซึ่งเป็นกลไกระดับโลกสำหรับการพัฒนา การผลิต และการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง[18] โครงการโคแวกซ์ได้ยืนยันว่าเวียดนามจะได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา 30 ล้านโดสในปี พ.ศ. 2565[19] วัคซีนชุดแรกที่มาจากกลไกของโคแวกซ์ จำนวน 811,200 โดส มาถึงท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายของฮานอยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564[20]

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีผู้เสียชีวิตรายแรกหลังจากฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกาในเวียดนาม โดยเธอเป็นบุคลากรทางการแพทย์อายุ 35 ปีจากจังหวัดอานซาง[21][22]

การจัดหาวัคซีน

[แก้]

รัฐบาลเริ่มจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้[23]

วัคซีน แหล่งกำเนิด ความก้าวหน้า จำนวนที่สั่งผลิต (โดส) จัดส่งแล้ว (โดส) อนุมัติ นำไปใช้ หมายเหตุ
วัคซีนโควิด-19 ของ ออกซฟอร์ดแอสตราเซเนกา สหราชอาณาจักร, สวีเดน การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3[24] 68.9 ล้าน 2,899,300 30 มกราคม 2564[25] 8 มีนาคม 2564[26] รวม 39.9 ล้านโดสผ่านโครงการโคแวกซ์และบริจาคโดยญี่ปุ่น[27][28] ผลิตโดย SK Bioscience และ Catalent Biologics[29][30]
สปุตนิกวี รัสเซีย การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 20 ล้าน[31][32][33] 1,000 23 มีนาคม 2564[34] รอผล รัสเซียบริจาค 2,000 โดส กำลังมีการเจรจากับผู้ผลิตเพื่อขอรับใบอนุญาตผลิตในเวียดนาม[35]
ซิโนฟาร์ม จีน การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ไม่มีข้อมูล[36] 500,000[37] 4 มิถุนายน 2564[38] รอผล แม้ว่าเวียดนามจะไม่ได้สั่งซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม แต่จีนได้บริจาควัคซีนในจำนวน 500,000 โดส[36][37] โดยใช้กับชาวจีนในเวียดนาม, ผู้ที่ต้องการไปเรียนหรือทำงานในจีน และผู้ที่อาศัยบริเวณชายแดนติดกับจีน[37][39]
ไฟเซอร์-ไบออนเทค เยอรมนี, สหรัฐ การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 31 ล้าน[17][40] ไม่มีข้อมูล 12 มิถุนายน 2564[41] รอผล ชุดแรกคาดว่าจะจัดส่งได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564[42]
โมเดอร์นา สหรัฐ การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 5 ล้าน[43][44] ไม่มีข้อมูล รอผล รอผล
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน สหรัฐ, เนเธอร์แลนด์ การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ไม่ทราบ ไม่มีข้อมูล รอผล รอผล
โคแว็กซิน อินเดีย การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ไม่ทราบ ไม่มีข้อมูล รอผล[45] รอผล
Nanocovax เวียดนาม การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3[1] (สามารถผลิตได้ 70 ล้านโดสต่อปี)[1] รอผล รอผล
COVIVAC เวียดนาม การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1[46] (สามารถผลิตได้ปีละ 6–30 ล้านโดส)[47] รอผล รอผล
Vabiotech เวียดนาม การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1[48] รอผล รอผล
  • แม้ว่าจีนมีการประกาศว่าจะจัดลำดับความสำคัญในการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็กและซิโนฟาร์ม[49] แต่เวียดนามเป็นประเทศสุดท้ายในอาเซียนที่เปิดเผยต่อสาธารณะว่าจะใช้วัคซีนเหล่านี้เนื่องจากความรู้สึกต่อต้านจีนในหมู่ประชาชน[50] นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในประเทศสุดท้ายที่อนุมัติวัคซีนของจีน[51]
  • สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามคาดว่าจะมีวัคซีนชุดแรกพร้อมใช้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 วัคซีนเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการรณรงค์ฉีดวัคซีนของประเทศได้ในปี 2565 เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศมีแหล่งที่มาของอุปทานและความมั่นคงด้านสุขภาพ ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อวัคซีนจากต่างประเทศ[19] วัคซีนที่ผลิตในประเทศทั้งสองชนิด ได้แก่ นาโนโคแวกซ์และโควิแว็ก ได้เริ่มการทดลองในเดือนมกราคมและมีนาคม พ.ศ. 2564 ตามลำดับ[52][53]

วัคซีนในระยะทดลอง

[แก้]

สำหรับหัวข้อที่ครอบคลุม โปรดดู วัคซีนโควิด-19, Nanocovax, Covivac (วัคซีนโควิด-19 ของเวียดนาม), วัคซีนโควิด-19 ของ Vabiotech

วัคซีนทดลอง โควิด‑19
วัคซีนทดลอง,
ผู้พัฒนา และผู้สนับสนุน
ชนิด (เทคโนโลยี) ระยะทดลองปัจจุบัน (ผู้เข้าร่วม)
แบบการทดลอง
ระยะที่เสร็จสมบูรณ์[a] (ผู้เข้าร่วม)
ภูมิคุ้มกันตอบสนอง
อ้างอิง
Nanocovax
บริษัทร่วมทุน Nanogen Pharmaceutical Biotechnology
ชนิดหน่วยย่อย (จากการตัดต่อโปรตีนหนามของไวรัส SARS‑CoV‑2 และสารเสริมฤทธิ์เกลืออะลูมิเนียม) ระยะ 3 (13,000)
ช่วงเวลา: มิ.ย.–ก.ย. 2564
ระยะ 1-2 (620)
ระยะที่ 1 (60): การทดลองแบบเปิด, ปรับขนาดยาวิจัย
ระยะที่ 2 (560): การทดลองแบบสุ่ม, อำพรางสองฝ่าย, หลายศูนย์, ศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก
ช่วงเวลา: ธ.ค. 2563–มิ.ย. 2564
[54][55][56][57][58]
COVIVAC
สถาบันวัคซีนและชีวการแพทย์ (IVAC)
ชนิดใช้ไวรัสอื่นเป็นพาหะ/จากไข่ไก่ฟัก, วัคซีนเชื้อตายชนิดเต็ม ใช้ไวรัสก่อโรคนิวคาสเซิล (NDV) โดยจับอยู่กับเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนรวมเข้ากับโปรตีนหนามของไวรัส SARS-CoV-2 ที่เสถียรในรูปไตรเมอร์ (Hexapro) + CpG 1018 ระยะ 1-2 (420)
ระยะที่ 1–2 (120–300): การทดลองแบบสุ่ม, ควบคุมโดยใช้ยาหลอก, อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลา: มี.ค. 2564–พ.ค. 2565
พรีคลินิก [59][60][61][62]
วัคซีนโควิด-19 ของ Vabiotech
บริษัทผลิตวัคซีนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ หมายเลข 1 (Vabiotech)
ชนิดหน่วยย่อย พรีคลินิก
สถานะ - รอการดำเนินการในการทดลองระยะที่ 1
[63]

กำหนดการดำเนินงาน

[แก้]
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เตรียมฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา ให้กับนักข่าวที่สถาบันปาสเตอร์ในนครโฮจิมินห์

บริษัทร่วมทุนวัคซีนเวียดนาม (VNVC) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับผิดชอบการนำเข้าและจัดเก็บวัคซีนในเวียดนาม ได้กล่าวว่าบริษัทมีพนักงานและสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมในการจัดเก็บวัคซีนได้มากถึง 170 ล้านโดส มีคลังสินค้าเก็บวัคซีนแยกในต่างจังหวัด 49 แห่ง คลังสินค้าห้องเย็น 2 แห่ง และคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิติดลบ 3 แห่ง ซึ่งมีการจัดการอุณหภูมิที่ -40° ถึง -86°C ความสามารถในการให้บริการของ VNVC ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รองรับได้ถึง 100,000 รายการต่อวัน และสามารถเพิ่มความสามารถในการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ได้ถึง 4 ล้านโดสต่อเดือน[64]

แผนการฉีดวัคซีนของเวียดนามสำหรับปี พ.ศ. 2564[65][66]
กลุ่ม จำนวน เป้าการฉีดวัคซีน
ครอบคลุม (%)
จำนวนผู้รับวัคซีน
ไตรมาสแรก
บุคลากรทางการแพทย์ 500,000 95% 475,000
บุคคลที่มีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันการระบาด 116,000 110,200
รวม 616,000 585,200
ไตรมาสที่สอง
เจ้าหน้าที่ศุลกากร 9,200 95% 8,740
นักการทูต 4,080 3,876
บุคลากรของกองทัพ 1,027,000 975,650
เจ้าหน้าที่ตำรวจ 304,000 288,800
บุคลากรทางการศึกษา 550,000 522,500
รวม 1,894,280 1,799,566
ไตรมาสที่ 3 และ 4
บุคลากรทางการศึกษา 750,000 95% 712,500
ผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี 7,600,000 7,220,000
ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (การบิน, การขนส่ง, การท่องเที่ยว, อื่น ๆ) 1,930,000 1,833,500
ผู้มีโรคประจำตัว 7,000,000 6,650,000
รวม 17,280,000 16,416,000

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเจิ่น วัน ถวน (Trần Văn Thuấn ) ได้ระบุว่า เพื่อสร้างการคุ้มกันโรคสำหรับประชากรส่วนใหญ่ เวียดนามจำเป็นต้องกระจายอุปทานของวัคซีน ซึ่งรวมถึงวัคซีนที่ผลิตในประเทศ และต้องเพิ่มทรัพยากรจากภาคธุรกิจและงบประมาณของฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นให้สูงสุดนอกเหนือจากงบประมาณของรัฐบาล เพื่อให้โปรแกรมการฉีดวัคซีนบรรลุเป้าหมาย งบประมาณที่จำเป็นในการฉีดวัคซีนสำหรับ 20% ของประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 6.739 ล้านล้านด่ง (9,090.6 ล้านบาท) โดยกว่า 90% ของค่าใช้จ่ายนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการโคแวกซ์ รัฐบาลจะบริจาคเงิน 24,000 ล้านด่ง ส่วนที่เหลือมาจากฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลและจังหวัด และมาจากภาคเอกชน[67]

อาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน

[แก้]

จากบุคลากรทางการแพทย์ 69 คนของโรงพยาบาลสนามในจังหวัดซาลาย ที่ฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 มี 8 คนมีอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และพยาบาลหญิงหนึ่งคนมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ห้านาทีหลังการฉีดพยาบาลคนนี้ (ซึ่งมีประวัติเป็นโรคหอบหืด) มีอาการชาในช่องปาก อาเจียน เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก[68] ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 จากผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน 20,000 คน มีผู้ป่วย 4,078 รายที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องร่วง มีไข้หรือลมพิษ โดย 5 รายมีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ระดับ 2 และ 1 รายมีอาการระดับ 3 ทุกกรณีอยู่ในสภาวะคงที่ กระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ซึ่งเผชิญกับปฏิกิริยารุนแรงหลังการฉีด จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินสาเหตุ[69][70] ไม่มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดรุนแรงแบบในยุโรปบางประเทศ[70]

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวียดนามมีผู้เสียชีวิตรายแรกหลังจากการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา โดยเป็นบุคลากรทางการแพทย์อายุ 35 ปีในจังหวัดอานซาง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงคนนี้ได้รับวัคซีน ในเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม ที่สถานที่ฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทั่วไปของเมืองตันเจา (Tân Châu ) ก่อนการรับวัคซีนเธอได้รับการคัดกรองและอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาหลังการฉีด[22][71]

หลังการฉีดวัคซีน เธอมีปฏิกิริยาช็อกจากอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ตามข้อสรุปของกรมอนามัยจังหวัดอานซาง สาเหตุของการเสียชีวิตคือ อาการแพ้รุนแรงที่เกิดจากการแพ้ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์[21]

ความคิดเห็นสาธารณะ

[แก้]

ผลการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่าเวียดนามมีอัตราการยอมรับวัคซีนสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดย 98% ของผู้ตอบแบบสำรวจตอบว่าพวกเขา "จะรับแน่นอนหรืออาจจะรับ" เมื่อมีวัคซีนโควิด-19 พร้อม[72]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ระยะล่าสุดที่มีการเผยแพร่ผลการทดลอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Tomoya Onishi (4 June 2021). "Vietnam launches $1.1bn COVID vaccine fund: 5 things to know". Nikkei Asia.
  2. "Cần hơn 25.000 tỷ đồng để mua vaccine COVID-19". VnExpress. 20 May 2021.
  3. 3.0 3.1 "Ngày 16/11: Có 9.650 ca mắc COVID-19 tại 59 tỉnh, thành, tăng hơn 1.000 ca so với hôm qua". Sức khỏe & Đời sống/Ministry of Health. 16 November 2021. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
  4. TOMOYA ONISHI (28 March 2021). "Vietnam travel bubble with Japan loses fizz as execs shun tight rules". Nikkei Asia.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Vietnam approves Russia's Sputnik V vaccine". France 24. 23 March 2021.
  6. VnExpress. "Vietnam approves Sinopharm Covid vaccine for emergency use - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  7. "Bắt đầu tiêm vaccine Covid-19" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  8. Lê Phương; Thuỳ An; Lê Cầm (6 May 2021). "Đợt dịch Covid-19 'bùng phát nhiều ổ, mất dấu F0, đa dạng biến chủng'". VnExpress (ภาษาเวียดนาม).{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Vietnam calls for faster vaccine rollout before shots expire". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 16 April 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Lan Anh; Bảo Anh (14 August 2020). "Việt Nam đặt mua 50 - 150 triệu liều vắc xin ngừa COVID-19 của Nga". Tuổi Trẻ.
  11. Nguyen, Phuong (14 August 2020). "Vietnam to buy Russian COVID-19 vaccine". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03.
  12. "Đề xuất Bộ Y tế phê duyệt thêm 2 vaccine COVID-19 của Mỹ và Nga" (ภาษาเวียดนาม). Ministry of Health (Vietnam). 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.[ลิงก์เสีย]
  13. "Việt Nam announces COVID-19 vaccine delivery dates, warns of scams". Việt Nam News. 11 March 2021.
  14. "Nóng: Bộ Y tế thông tin lịch trình cung ứng 60 triệu liều vắc xin phòng COVID-19 tại Việt Nam" (ภาษาเวียดนาม). Sức khỏe & Đời sống. 10 March 2021.
  15. "Vaccination and surging confidence foster economic growth". Nhân Dân. 10 March 2021.
  16. "Vietnam engages in negotiations to extend vaccine coverage". VOV. 11 March 2021.
  17. 17.0 17.1 Nguyen, Phuong (14 May 2021). "Vietnam seeks 31 mln doses of Pfizer-BioNTech vaccine in 2021". Reuters.
  18. "Vietnam included in Covax vaccine compensation program". VnExpress. 23 February 2021. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
  19. 19.0 19.1 "Lùi thời gian vaccine Covid-19 Covax về Việt Nam" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 23 March 2021. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
  20. "811.000 liều vắc xin AstraZeneca về tới Việt Nam". Tuổi Trẻ. 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
  21. 21.0 21.1 "Người đầu tiên tử vong sau tiêm vaccine Covid-19". VnExpress (ภาษาเวียดนาม). 7 May 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. 22.0 22.1 "Vietnam reports first death in patient who received AstraZeneca COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 7 May 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Bộ trưởng Y tế: 'Việt Nam không thiếu vaccine Covid-19'" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  24. "Coronavirus Vaccine Tracker". New York Times. 25 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  25. James Pearson; Khanh Vu (2021-01-30). "Vietnam approves AstraZeneca vaccine, cuts short Communist Party congress". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-13.
  26. "Coronavirus Vaccine Tracker". Nikkei Asia. 8 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  27. Viết Tuân (2021-04-27). "Covax cung ứng thêm gần 9 triệu liều vaccine cho Việt Nam". VnExpress.
  28. "Nhật Bản hỗ trợ Việt Nam 1 triệu liều vaccine phòng chống COVID-19". Vietnam Government Portal. 15 June 2021.
  29. "Vietnam's first batch of COVID-19 vaccine arrives from South Korea". Reuters. 2021-02-24.
  30. "Việt Nam tiếp nhận lô vaccine COVID-19 thứ 2 từ cơ chế COVAX với hơn 1,682 triệu liều". Vietnam Television. 16 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 May 2021.
  31. Lan Anh (2 June 2021). "Việt Nam mua 20 triệu liều vắc xin Sputnik V của Nga". Tuổi Trẻ.
  32. Lê Nga (2 June 2021). "Vietnam to receive 20 million Russian-made vaccine doses". VnExpress.
  33. Khanh Vu (2 June 2021). "Vietnam to buy 20 mln doses of Sputnik V vaccine this year". Reuters.
  34. "Vietnam says approves Russia's Sputnik V vaccine for use". Reuters. 23 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  35. Thục Linh; Lê Nga (2021-03-16). "Nga tặng vaccine Sputnik V cho Việt Nam". VnExpress.
  36. 36.0 36.1 "Bộ Y tế phê duyệt có điều kiện vắc xin ngừa COVID-19 của Trung Quốc". Tuổi Trẻ. 4 June 2021.
  37. 37.0 37.1 37.2 "500.000 liều vaccine Covid-19 Sinopharm về Việt Nam". VnExpress. 20 June 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  38. "Vietnam approves China's Sinopharm vaccine for use against COVID-19". Reuters. 4 June 2021. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
  39. "3 nhóm ưu tiên được tiêm 500.000 liều vắc-xin Covid-19 Sinopharm của Trung Quốc". Người Lao Động. 19 June 2021.
  40. Xuan Quynh Nguyen; Mai Ngoc Chau (14 May 2021). "Vietnam to Get 31 Million Pfizer-BioNTech Vaccine Doses in 2021". Bloomberg News.
  41. "Việt Nam phê duyệt vaccine Covid-19 Pfizer". VnExpress. 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
  42. Tran, Thu (June 16, 2021). "Lô vaccine Pfizer đầu tiên sẽ về Việt Nam trong tháng sau". ZingNews.
  43. "Toàn cảnh đàm phán và các hợp đồng cung cấp vaccine ngừa COVID-19 cho Việt Nam trong năm 2021" (ภาษาเวียดนาม). Vietnam Television. 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
  44. "Bộ Y tế đàm phán mua vaccine Covid-19 Johnson & Johnson". VnExpress. 4 June 2021.
  45. "Việt Nam sẽ rút ngắn thủ tục cấp phép vaccine Covid-19". VnEconomy. 31 March 2021.
  46. "Vietnam kicks off trials for second homegrown vaccine candidate". Nikkei Asia. 19 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  47. "Human trials of second homegrown COVID-19 vaccine begin". Vietnam News. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  48. "Dự kiến cuối quý 3-2021, Việt Nam sẽ có vaccine phòng Covid-19 đầu tiên". Nhân Dân. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  49. "China promises Mekong neighbours access to Chinese Covid-19 vaccine". South China Morning Post. 2020-08-24. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  50. "Vietnam begins Covid-19 vaccination drive without China-made shots". SCMP. 7 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  51. "Source information country by country". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  52. VIR, Vietnam Investment Review- (February 28, 2021). "First Vietnamese COVID-19 vaccine Nano Covax enters second phase of human trials". Vietnam Investment Review - VIR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  53. https://moh.gov.vn/tin-noi-bat/-/asset_publisher/3Yst7YhbkA5j/content/6-tinh-nguyen-vien-tiem-thu-nghiem-vac-xin-covivac-phong-covid-19-cua-viet-nam
  54. "VN starts injection of homegrown COVID-19 vaccine in first-stage human trial". Viet Nam News. 17 December 2020.
  55. "Draft landscape and tracker of COVID-19 candidate vaccines". WHO. 26 February 2021.
  56. "How much does first Made-in Vietnam COVID-19 vaccine cost?". Voice of Vietnam. 11 December 2020.
  57. Local Nanocovax vaccine's phase 3 trial to begin next week
  58. Le C, Thu A (26 February 2021). "Vietnam enters second phase of Covid-19 vaccine trials". VnExpress.
  59. "Second Việt Nam-produced COVID-19 vaccine to enter human trials this month". Vietnam News. January 5, 2021.
  60. "Draft landscape and tracker of COVID-19 candidate vaccines". WHO. 30 March 2021.
  61. "Human trials start on second Vietnam-produced COVID-19 vaccine". Nhân Dân. March 15, 2021.
  62. "A Phase 1/2 Safety and Immunogenicity Trial of COVID-19 Vaccine COVIVAC". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  63. "Dự kiến cuối quý 3-2021, Việt Nam sẽ có vaccine phòng Covid-19 đầu tiên". Nhân Dân. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  64. "Việt Nam chuẩn bị đủ kho siêu lạnh để nhập vaccine Covid-19". VnExpress (ภาษาเวียดนาม). 22 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  65. "Vietnam details priorities for first phase of COVID-19 vaccinations". สืบค้นเมื่อ 24 February 2021 – โดยทาง Channel News Asia.[ลิงก์เสีย]
  66. "Lịch trình tiêm vaccine COVID-19 cho 18 triệu người Việt Nam đầu tiên". Vietnam Television. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
  67. "VN's health ministry details COVID-19 vaccine rollout plan, lists priority groups to receive the shots". Vietnam News. สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
  68. "9 người ở Gia Lai bị phản ứng phụ sau tiêm vaccine Covid-19". VnExpress.
  69. "Việt Nam sẽ tiếp tục tiêm phòng COVID-19 bằng vaccine AstraZeneca". VTV.
  70. 70.0 70.1 "Vietnam continues AstraZeneca rollout despite blood clot concern". VnExpress. 12 March 2021.
  71. "After lull, cases spread in Vietnam's cities, provinces". Associated Press. 8 May 2021.
  72. Wouters, Olivier J; Shadlen, Kenneth C; Salcher-Konrad, Maximilian; Pollard, Andrew J; Larson, Heidi J; Teerawattananon, Yot; Jit, Mark (12 February 2021). "Challenges in ensuring global access to COVID-19 vaccines: production, affordability, allocation, and deployment". Health Policy. 397 (10278): 1023–1034. doi:10.1016/S0140-6736(21)00306-8. PMC 7906643. PMID 33587887.