ข้ามไปเนื้อหา

ลมพิษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลมพิษ
ชื่ออื่นurticaria
ลมพิษที่แขน
สาขาวิชาตัจวิทยา
อาการผื่นนูนคันสีแดง[1]
ระยะดำเนินโรคไม่กี่วัน[1]
สาเหตุเกิดจากภูมิแพ้หลังการติดเชื้อ[2]
ปัจจัยเสี่ยงเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, โรคหืด[3]
วิธีวินิจฉัยจากอาการ, การตรวจ patch test[2]
การรักษาสารต้านฮิสตามีน, คอร์ติโคสเตอรอยด์, สารต้านลิวโคไทรอีน[2]
ความชุก~20%[2]

ลมพิษ (อังกฤษ: hives, urticaria) เป็นผื่นผิวหนังนูนสีแดงและคัน[4] มักเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อหรือเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ยา (เช่น โคดีอีน แอสไพริน ไอบิวพรอเฟน และเพนิซิลลิน) อาหาร (เช่น สัตว์น้ำมีเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกแข็ง ไข่ และข้าวสาลี) และแมลงกัดต่อย รวมถึงความเครียด แสงแดด และอากาศหนาว[2]

โดยทั่วไปลมพิษมีสาเหตุมาจากการหลั่งฮิสตามีนของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งฮิสตามีนก่อให้เกิดการอักเสบเพื่อเตือนให้ร่างกายขจัดสารก่อภูมิแพ้และซ่อมแซมตัวเอง[5] ลมพิษสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามระยะเวลา ได้แก่ ลมพิษเฉียบพลัน (เกิดขึ้นและหายไปเองภายใน 48 ชั่วโมง แต่ไม่นานเกิน 6 สัปดาห์) และลมพิษเรื้อรัง (เป็นนานเกิน 6 สัปดาห์)[6] ลมพิษเป็นโรคที่กลับมาเกิดซ้ำได้[2] และไม่ทิ้งร่องรอยบนผิวหนังในระยะยาว[7]

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดลมพิษได้แก่ เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคหืด[3] การวินิจฉัยโรคจะใช้การซักประวัติตรวจร่างกาย และตรวจ patch testing เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้[2] การป้องกันทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรค การรักษาทั่วไปมักให้สารต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน และแรนิทิดีน ในรายที่อาการร้ายแรงมักให้คอร์ติโคสเตอรอยด์หรือสารต้านลิวโคไทรอีน ในรายที่มีอาการเกิน 6 สัปดาห์มักให้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไซโคลสปอริน[2]

ประชากรประมาณ 20% ได้รับผลกระทบจากลมพิษ อัตราส่วนระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในรายที่มีอาการระยะสั้นมีเท่ากัน แต่พบในผู้หญิงมากกว่าในรายที่มีอาการระยะยาว[8] อาการระยะสั้นพบได้ทั่วไปในเด็ก ขณะที่อาการระยายาวพบได้ทั่วไปในวัยกลางคน[8] ลมพิษเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยฮิปพอคราทีส แพทย์ชาวกรีกกล่าวถึงโรคนี้ในชื่อ knidosis ซึ่งมาจากคำว่า knido แปลว่า ต้นตำแย ซึ่งเป็นพืชที่มีขนก่อให้เกิดอาการคัน[9] คำว่า urticaria เริ่มใช้ครั้งแรกโดยวิลเลียม คัลเลน แพทย์ชาวสกอตในปี ค.ศ. 1769[10] โดยมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน urtica ที่แปลว่าต้นตำแยเช่นกัน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Hives". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Jafilan, L; James, C (December 2015). "Urticaria and Allergy-Mediated Conditions". Primary Care. 42 (4): 473–83. doi:10.1016/j.pop.2015.08.002. PMID 26612369.
  3. 3.0 3.1 Zuberbier, Torsten; Grattan, Clive; Maurer, Marcus (2010). Urticaria and Angioedema (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 38. ISBN 9783540790488. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21.
  4. "Hives". MedlinePlus Medical Encyclopedia. April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ January 12, 2020.
  5. "Histamines: What they do, and how they can overreact". WebMD. June 16, 2018. สืบค้นเมื่อ January 12, 2020.
  6. "ลมพิษ (urticaria)". พบแพทย์ - Pobpad. สืบค้นเมื่อ January 12, 2020.
  7. "Hives (Urticaria)". ACAAI Public Website - American College of Allergy. สืบค้นเมื่อ January 12, 202p. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 Griffiths, Christopher; Barker, Jonathan; Bleiker, Tanya; Chalmers, Robert; Creamer, Daniel (2016). Rook's Textbook of Dermatology, 4 Volume Set (ภาษาอังกฤษ) (9 ed.). John Wiley & Sons. p. Chapter 42.3. ISBN 9781118441176.
  9. McGovern TW, Barkley TM (2000). The electronic textbook of Dermatology. New York: Internet Dermatology Society.
  10. Volcheck, Gerald W. (2009) Clinical Allergy Diagnosis and Management. London: Springer.
  11. A Dictionary of Entomology (ภาษาอังกฤษ). CABI. 2011. p. 1430. ISBN 9781845935429. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21.