งานศึกษาตามยาว
งานศึกษาตามยาว[1] หรือ วิธีศึกษาระยะยาว[1] (อังกฤษ: longitudinal study) เป็นการศึกษาวิจัยโดยสหสัมพันธ์ที่สังเกตวัดค่าตัวแปรเดียวกัน ๆ เป็นระยะเวลายาว บ่อยครั้งเป็นทศวรรษ ๆ เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่ง มักใช้ในสาขาจิตวิทยาเพื่อศึกษาพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดชั่วชีวิต และในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งชีวิตหรือหลายชั่วชีวิต เป็นการศึกษาที่ไม่เหมือนกับการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะการศึกษาตามขวางเปรียบเทียบลักษณะเดียวกันของบุคคลต่าง ๆ[2] แต่การศึกษาตามยาวติดตามบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ค่าต่าง ๆ ที่พบในบุคคลเหล่านั้น มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชั่วคน การศึกษาตามยาวจึงสามารถแสดงความเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำกว่า และจึงมีการประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ในการแพทย์ การศึกษาแบบนี้ใช้เพื่อค้นหาตัวทำนาย (predictor) ของโรค ส่วนในการโฆษณา ใช้เพื่อตรวจความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมโฆษณา
เนื่องจากการศึกษาแบบนี้เป็นแบบสังเกต คือสังเกตดูสภาพความจริงโดยที่ไม่เข้าไปจัดการ จึงมีการอ้างว่า มีกำลังที่จะตรวจจับความเป็นเหตุผลน้อยกว่าการศึกษาเชิงทดลอง แต่เพราะว่า เป็นการสังเกตลักษณะในระดับบุคคลอย่างซ้ำ ๆ กัน จึงมีกำลังกว่าการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะสามารถแยกออกซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นกับเวลา และสามารถติดตามเหตุการณ์ตามลำดับเวลา ข้อเสียของการศึกษาตามยาวก็คือใช้เวลามากและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จึงไม่ค่อยสะดวกที่จะทำ[3]
การศึกษาแบบนี้ช่วยให้นักสังคมศาสตร์แยกแยะระหว่างปรากฏการณ์ระยะสั้นกับปรากฏการณ์ระยะยาว เช่นความยากจน คือ ถ้าอัตราความยากจนอยู่ที่ 10% ที่เวลาหนึ่ง ก็อาจจะหมายความว่า มีประชากร 10% พวกเดียวกันที่เป็นคนยากจนตลอด หรือว่า ในประชากรทั้งหมด ณ เวลาหนึ่ง จะมีประชากร 10% ที่เป็นคนยากจน ซึ่งไม่สามารถจะแยกแยะได้โดยใช้การศึกษาตามขวางซึ่งวัดค่าต่าง ๆ เพียงครั้งเดียว
ประเภทต่าง ๆ ของการศึกษาตามยาวรวมทั้งงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) และ panel study งานแบบแรกสุ่มตัวอย่างจากคนในรุ่น ซึ่งกำหนดเป็นกลุ่มบุคคลที่ประสบเหตุการณ์อย่างหนึ่ง (ปกติคือการเกิด) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วติดตามศึกษาเป็นระยะ ๆ ส่วนงานแบบที่สองสุ่มตัวอย่างตามขวาง คือจากทั้งกลุ่มประชากร แล้วสำรวจข้อมูลต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ
ส่วนการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เป็นการศึกษาตามยาวที่ตรวจข้อมูลย้อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น อาจจะตรวจดูบันทึกทางการแพทย์ของปีที่แล้วเพื่อตรวจหาแนวโน้ม
ตัวอย่าง
[แก้]ชื่องาน | ประเภท | ภูมิภาค | ค.ศ. เริ่มต้น | ผู้เข้าร่วม | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
Alzheimer's Disease Neuroimaging Initiative | Panel | สากล | 2004 | - | |
Australian Longitudinal Study on Women's Health (ALSWH) | ตามรุ่น | ประเทศออสเตรเลีย | 1996 | 50,000 | ติดตามข้อมูลสุขภาพของหญิง 4 รุ่นที่เกิดระหว่างปี 1921-1926, 1946-1951, 1973-1978 และ 1989-1995 |
Colombian Longitudinal Survey by Universidad de los Andes (ELCA) | Panel | ประเทศโคลอมเบีย | 2010 | 15,363[4] | ติดตามบุคคลในครอบครัวทั้งในชนบทและในเมือง เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ในประเทศโคลอมเบีย |
Avon Longitudinal Study of Parents and Children (ALSPAC) | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 1991 | 14,000 | - |
Born in Bradford | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 2007 | 12,500 | - |
1970 British Cohort Study (BCS70) | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 1970 | 17,000 | ติดตามพัฒนาการของทารกที่เกิดในสหราชอาณาจักรในช่วงอาทิตย์หนึ่งของเดือนเมษายน ปี 1970 |
British Household Panel Survey | Panel | สหราชอาณาจักร | 1991 | ไม่มีข้อมูล | งานมีแบบจากงาน US Panel Study of Income Dynamics (PFID study) |
Busselton Health Study | Panel | ประเทศออสเตรเลีย | 1966 | 10,000 | - |
Caerphilly Heart Disease Study | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 1979 | 2,512 | ผู้ชายจากประเทศเวลส์ |
Canadian Longitudinal Study on Aging (CLSA-ÉLCV) | ตามรุ่น | ประเทศแคนาดา | 2012 | 1,000 | เป็นการศึกษามีโครงการ 20 ปี[5] |
Child Development Project เก็บถาวร 2014-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1987 | 585 | ติดตามเด็กก่อนที่จะเข้าโรงเรียนอนุบาลในเมือง 3 เมือง คือแนชวิลล์ Knoxville และ Bloomington |
Children of Immigrants Longitudinal Study (CILS) | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1992 | 5,262 | รัฐฟลอริดา |
Congenital Heart Surgeons' Society (CHSS) | ตามรุ่น | ประเทศแคนาดา | - | 5,000 | งานศึกษาหลายโครงการ บริหารโดย Congenital Heart Surgeons' Society Data Center |
Dunedin Multidisciplinary Health and Development Study | ตามรุ่น | ประเทศนิวซีแลนด์ | 1972 | 1,037 | ทั้งหมดเกิดในปี 1972 |
Study of migrants and squatters in Rio’s Favelas | ตามรุ่น | ประเทศบราซิล | 1968 | ไม่มีข้อมูล | รายงานในหนังสือ Favela (2014)[6] |
Fragile Families and Child Wellbeing Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1998 | ไม่มีข้อมูล | งานศึกษาในเมือง 20 เมือง |
Framingham Heart Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1948 | 5,209 | รัฐแมสซาชูเซตส์ |
Genetic Studies of Genius | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1921 | 1,528 | งานศึกษาตามยาวที่เก่าแก่ที่สุดยาวนานที่สุดของโลก |
Socio-Economic Panel (SOEP) | Panel | ประเทศเยอรมนี | 1984 | 12,000 | - |
Growing Up in Scotland (GUS) | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 2003 | 14,000[7] | ประเทศสกอตแลนด์ |
Health and Retirement Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1988 | 22,000 | - |
Household, Income and Labour Dynamics in Australia Survey | Panel | ประเทศออสเตรเลีย | 2001 | 25,000 | - |
Human Speechome Project | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 2005 | 1 | ผู้ร่วมการทดลองรายเดียวเป็นลูกชายของนักวิจัย เป็นงานศึกษาพัฒนาการทางภาษา เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 |
Study of Australian Children | ตามรุ่น | ประเทศออสเตรเลีย | 2004 | 10,000 | - |
Luxembourg Income Study (LIS) | ตามรุ่น | สากล | 1983 | ไม่มีข้อมูล | ประเทศ 30 ประเทศ |
Midlife in the United States | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1983 | 6,500 | - |
Millennium Cohort Study (MCS) | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 2000 | 19,000 | ศึกษาพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งการเข้าสังคมและชีวิตในครอบครัว |
Millennium Cohort Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 2000 | 200,000 | การประเมินผลระยะยาวต่อสุขภาพของการเป็นทหาร รวมทั้งการเข้ารบ |
Minnesota Twin Family Study | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 1983 | 17,000 (แฝด 8,500 คู่) | - |
National Child Development Study (NCDS) | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 1958 | 17,000 | - |
National Longitudinal Surveys (NLS) | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1979 | ปี 79-12,686, ปี 97-ประมาณ 9000 | รวม 4 รุ่น คือ NLSY79 (เกิด 57-64), NLSY97 (เกิด 80-84), NLSY79 เด็กและวัยหนุ่มสาว, National Longitudinal Surveys of Young Women and Mature Women (NLSW) |
National Longitudinal Survey of Children and Youth (NLSCY) | ตามรุ่น | ประเทศแคนาดา | 1994 | 35,795 | ไม่มีความคืบหน้าตั้งแต่ปี 2009. |
Pacific Islands Families Study | ตามรุ่น | New Zealand | 2000 | 1,398 | - |
Panel Study of Belgian Households เก็บถาวร 2007-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | Panel | ประเทศเบลเยียม | 1992 | 11,000[8] | - |
Panel Study of Income Dynamics | Panel | สหรัฐอเมริกา | 1968 | 70,000 | อาจจะเป็นงานศึกษาครอบครัวตามยาวที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา |
Rotterdam Study | ตามรุ่น | ประเทศเนเธอร์แลนด์ | 1990 | 15,000 | เพ่งความสนใจไปที่ผู้อาศัยในเขต Ommoord ของเมืองรอตเทอร์ดาม |
Seattle 500 Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1974 | 500 | ศึกษาผลของนิสัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของมารดาในช่วงตั้งครรภ์ ต่อพัฒนาการของทารก |
Study of Health in Pomerania | ตามรุ่น | ประเทศเยอรมนี | 1997 | 15,000 | ตรวจสอบองค์ความเสี่ยงสามัญต่อโรคไม่มีอาการ (subclinical) และโรคที่อาการชัดเจนในกลุ่มประชากรมีความเสี่ยงสูง |
Irish Longitudinal Study on Ageing (TILDA) | ตามรุ่น | ประเทศไอร์แลนด์ | 2009 | 8,500 | ศึกษาสถานการณ์ทางสุขภาพ ทางสังคม และทางการเงินของผู้สูงวัยชาวไอริช |
New Zealand Attitudes and Values Study | - | ประเทศนิวซีแลนด์ | 2009 | ไม่มีข้อมูล | - |
Seattle Longitudinal Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1956 | 6,000[9] | - |
UK households: a longitudinal study | Panel | สหราชอาณาจักร | 2009 | 100,000 | รวมทั้ง British Household Panel Survey |
Up Series | ตามรุ่น | สหราชอาณาจักร | 1964 | 14 | โปรเจ็กต์ภาพยนตร์สารคดี |
Study on Global Ageing and Adult Health (SAGE) | ตามรุ่น | สากล | 2002 | 65,964 | ศึกษาสุขภาพและความเป็นอยู่ของกลุ่มประชากรผู้ใหญ่และความแก่ชราในประเทศ 6 ประเทศ คือ ประเทศจีน กานา อินเดีย เม็กซิโก รัสเซีย และแอฟริกาใต้ |
Wisconsin Longitudinal Study | ตามรุ่น | สหรัฐอเมริกา | 1957 | 10,317 | ติดตามนักเรียนที่จบจากโรงเรียนมัธยมปลายในรัฐวิสคอนซินในปี ค.ศ. 1957 |
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ longitudinal ว่า "-ตามยาว" และของ longitudinal study ว่า "วิธีศึกษาระยะยาว"
- ↑ Carlson, Neil; และคณะ (2009). Psychology the Science of Behavior (7 ed.). United States of America: Pearson Canada. ISBN 9780205547869.
- ↑ Cherry, Kendra. "What Is Longitudinal Research?". experiments. About.com guide. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
- ↑ "Encuesta Longitudinal Colombiaba de la Universidad de los Andes - ELCA 2013" [งานศึกษาตามยาวแห่งประเทศโคลอมเบียของมหาวิทยาลัยแอนดีส (โคลอมเบีย) 2013] (PDF). มหาวิทยาลัยแอนดีส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Teotonio, Isabel (2012-04-24). "Landmark study on aging to follow 50,000 Canadians over the next two decades". Toronto Life. Toronto Star Newspapers Ltd. สืบค้นเมื่อ 2014-07-28.
- ↑ "Favela: Longitudinal Multi-Generational Study of migrants and squatters in Rio's Favelas, 1968-2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.
- ↑ Growing Up in Scotland, Study dsign เก็บถาวร 2015-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Panel Study of Belgian Households, Survey summary
- ↑ "About the Seattle Longitudinal Study". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-14. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.