แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก

วิลเลม อเล็กซานเดอร์ ฟอน นัสเซา-ไวล์บวร์ก
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก
Guillaume IV of Luxembourg.png
แกรนด์ดยุกผู้ปกครองลักเซมเบิร์ก
ดยุกแห่งนัสเซา
ครองราชย์17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455
รัชสมัย6 ปี 100 วัน
รัชกาลก่อนหน้าแกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก
รัชกาลถัดไปแกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก
พระราชบุตรแกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงฮิลดาแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงโซฟีแห่งลักเซมเบิร์ก
ราชวงศ์ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บวร์ก
พระราชบิดาแกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก
พระราชมารดาเจ้าหญิงอเดลเฮด-มารีแห่งอันฮัลท์-เดสซู
ประสูติ22 เมษายน พ.ศ. 2395
พระราชวังบรีบริช,วีสบาเดิน,ประเทศเยอรมนี
สวรรคต25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455
ปราสาทเบิร์ก,คอลมาร์-เบิร์ก,ประเทศลักเซมเบิร์ก
(พระชนมายุ 59 พรรษา)

แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก (22 เมษายน พ.ศ. 2395 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455) ทรงดำรงเป็นแกรนด์ดยุคผู้ปกครองแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์กตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต เป็นพระราชบิดาของแกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์กและแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก ทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อจากแกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก พระราชบิดา และพระองค์ทรงอ้างสิทธิในพระอิศริยยศ ดยุกแห่งนัสเซา[1] พระองค์ทรงเป็นแกรนด์ดยุกพระองค์สุดท้ายแห่งลักเซมเบิร์กที่เสด็จสวรรคตขณะยังเป็นพระประมุข

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ[แก้]

เจ้าชายวิลเลม อเล็กซานเดอร์ทรงประสูติในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2395 ณ พระราชวังบรีบริช,วีสบาเดิน โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในดยุกอดอลฟ์แห่งนัสเซากับพระมเหสีพระองค์ที่สอง เจ้าหญิงอเดลเฮด-มารีแห่งอันฮัลท์-เดสซู

ตั้งแต่ประสูติพระองค์ทรงได้เป็นรัชทายาทแห่งนัสเซา พระราชบิดาของพระองค์ทรงสนับสนุนจักรวรรดิออสเตรียในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียปีพ.ศ. 2406 หลังจากจักรวรรดิออสเตรียพ่ายแพ้ในสงคราม นัสเซาได้ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรปรัสเซียและทำให้พระราชบิดาสูญเสียราชบัลลังก์ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2409

ในราชสำนักลักเซมเบิร์ก[แก้]

พระบรมสาทิสลักษณ์แกรนด์ดยุกอดอลฟ์(ซ้าย)และแกรนด์ดยุกวิลเลม พระโอรส(ขวา)

ในปีพ.ศ. 2422 พระญาติของพระองค์ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาของดยุกอดอลฟ์ พระราชบิดา คือ เจ้าหญิงเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งทรงเป็นแกรนด์ดยุตแห่งลักเซมเบิร์กด้วย ในปีพ.ศ. 2433 พระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จสวรรคต มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวได้สืบราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากพระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนหน้านี้แล้ว พระนางวิลเฮลมินาทรงถูกตัดสิทธิ์ในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กอันเนื่องมาจากกฎหมายแซลิกที่ไม่อนุญาตให้สตรีครองบัลลังก์

ราชรัฐซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่พ.ศ. 2358 ได้ผ่านราชบัลลังก์ไปสู่พระราชบิดาของพระองค์ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์เป็น แกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก ด้วยข้อสัญญาราชสกุลนัสเซา นับได้ว่าแกรนด์ดยุคอดอลฟีทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติลำดับที่ 17 ของพระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยสืบราชสกุลผ่านทางบุรุษ ที่ซึ่งมีความเกี่ยวพันที่ห่างกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์

เจ้าชายวิลเลม อเล็กซานเดอร์ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นแกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก

ครองราชย์[แก้]

แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กกับเจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกสในวันอภิเษกสมรส วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2436

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 แกรนด์ดยุคอดอลฟ์เสด็จสวรรคต แกรนด์ดยุกรัชทายาทวิลเลม อเล็กซานเดอร์ได้ครองราชบัลลังก์สืบต่อเป็น แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก พระองค์ทรงเป็นโปรแตสแตนต์ และทรงอภิเษกสมรสตั้งแต่ก่อนครองราชย์ กับเจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกสพระราชธิดาในอดีตสมเด็จพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงอเดเลดแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์กในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ณ ปราสาทฟิสช์ฮอร์น แซล อัม ซี ออสเตรีย พระองค์ทรงเชื่อว่าการอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาจากประเทศโรมันคาทอลิกจะนำมาสู่การมีพระประมุขที่เป็นโรมันคาทอลิกด้วย โดยนับตั้งแต่หลังรัชสมัยแกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 พระประมุขทุกพระองคืล้วนเป็นคาทอลิก

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระปิตุลา เจ้าชายนิโคเลาส์-วิลเฮล์มในปีพ.ศ. 2448 สายสกุลบุรุษองค์เดียวที่ถูกต้องตามกฎหมายของราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บวร์กคือ พระญาติของแกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 เจ้าชายจอร์จ นิโคเลาส์, เคานท์แห่งมาเรนเบิร์ก ซึ่งเป็นพระโอรสจากการแต่งงานต่างฐานันดร ดังนั้นในพ.ศ. 2450 แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 ทรงประกาศให้เคานท์แห่งมาเรนเบิร์กไม่ใช่ราชนิกุล โดยทรงประกาศให้พระราชธิดาพระองค์โต เจ้าหญิงมารี-อเดเลดขึ้นเป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์ของราชรัฐ

สวรรคต[แก้]

แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ณ ปราสาทเบิร์ก,คอลมาร์-เบิร์ก,ประเทศลักเซมเบิร์ก สิริพระชนมายุ 59 พรรษา พระองค์ทรงเป็นแกรนด์ดยุกพระองค์สุดท้ายแห่งลักเซมเบิร์กที่เสด็จสวรรคตขณะยังเป็นพระประมุข พระราชธิดาได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็น แกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก ภายใต้การสำเร็จราชการของพระนางมารี แอนน์ พระมเหสีของพระองค์ และต่อมาแกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดทรงทำให้เกิดวิกฤตในการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ลักเซมเบิร์ก และแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก พระราชธิดาองค์รองของพระองค์ซึ่งจะได้ครองราชย์สืบต่อจากแกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลด ทรงสามารถแก้ไขวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยพระเชษฐภคินีได้

พระอิศริยยศ[แก้]

  • 22 เมษายน พ.ศ. 2395 - 20 กันยายน พ.ศ. 2409 : เจ้าชายรัชทายาทแห่งนัสเซา[2]
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2409 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 : เจ้าชายวิลเลม อเล็กซานเดอร์แห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก[3]
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 : แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก[3]
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 : แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก[3]

พระราชธิดา[แก้]

แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กมีพระราชธิดาร่วมกับเจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกส 6 พระองค์ แต่ไม่มีพระราชโอรส พระราชธิดาได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
Marie-Adélaïde, Grand Duchess of Luxembourg 2.jpg แกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก 189414 มิถุนายน
พ.ศ. 2437
192424 มกราคม
พ.ศ. 2467
ไม่ทรงอภิเษกสมรส
Charlotte - Grand Duchess of Luxembourg.jpg แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก 189623 มกราคม
พ.ศ. 2439
19859 กรกฎาคม
พ.ศ. 2528
อภิเษกสมรส วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 กับ
เจ้าชายเฟลิกซ์แห่งบูร์บง-ปาร์มา
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก
เจ้าหญิงมารี แอดิเลดแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงมารี กาบรีแยลแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าชายชาร์ลแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงอาลิกซ์ เจ้าหญิงแห่งลีญ
Princess Hilda of Luxemburg (1897 - 1979).jpg เจ้าหญิงฮิลดาแห่งลักเซมเบิร์ก 189715 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2440
19798 กันยายน
พ.ศ. 2522
อภิเษกสมรส วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2473 กับ
อดอล์ฟ ชวาร์ทเซินแบร์ค
ไม่มีพระโอรสธิดา
|เจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งลักเซมเบิร์ก 18997 ตุลาคม
พ.ศ. 2442
195431 กรกฎาคม
พ.ศ. 2497
อภิเษกสมรส วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2464 กับ
เจ้าชายรูพเพ็ชลท์ มกุฎราชกุมารแห่งบาวาเรีย
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายไฮน์ริชแห่งบาวาเรีย
เจ้าหญิงอาร์มีการ์ดแห่งบาวาเรีย
เจ้าหญิงอีดิธาแห่งบาวาเรีย
เจ้าหญิงฮิลดาแห่งบาวาเรีย
เจ้าหญิงกาเบรียลแห่งบาวาเรีย
เจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย
ElisabethMarieWilhelminedeLuxembourg.jpg เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งลักเซมเบิร์ก 19017 มีนาคม
พ.ศ. 2444
19502 สิงหาคม
พ.ศ. 2493
อภิเษกสมรส วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 กับ
เจ้าชายลุดวิก ฟิลิปแห่งทวร์นและทักซิส
มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายอันเซล์มแห่งทวร์นและทักซิส
เจ้าหญิงไอนิกาแห่งทวร์นและทักซิส
Princess Sophie of Luxembourg (1907 - 1942).JPG เจ้าหญิงโซฟีแห่งลักเซมเบิร์ก 190214 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2445
194124 พฤษภาคม
พ.ศ. 2484
อภิเษกสมรส วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2464 กับ
เจ้าชายแอนสท์ ไฮน์ริชแห่งแซ็กโซนี
มีพระโอรส 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายอัลเบิร์ต ดีโมแห่งแซ็กโซนี
เจ้าชายจอร์จ ทีโมแห่งแซ็กโซนี
เจ้าชายรูเพิร์ต เจโรแห่งแซ็กโซนี

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คาร์ล คริสเตียน เจ้าชายแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. เฟรเดอริค วิลเลียม เจ้าชายแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงแคโรไลนาแห่งออเรนจ์-นัสเซา
 
 
 
 
 
 
 
4. วิลเลียม ดยุกแห่งนัสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. วิลเฮล์ม จอร์จ เคานท์แห่งไซน์-ฮาเชนบูร์ก, เบอร์เกรฟแห่งเคิร์ชเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
9. เบอร์เกรฟวีนหลุยส์ อิซาเบลแห่งเคิร์ชเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงอิซาเบลลา ออกุสต์ รอสแห่งกรีซ์
 
 
 
 
 
 
 
2. แกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เออร์เนสต์ เฟรเดอริคที่ 3 ดยุคแห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเซน
 
 
 
 
 
 
 
10. เฟรเดอริค ดยุคแห่งแซ็กซ์-อัลเทนบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงเออร์เนสต์ทีนแห่งแซ็กซ์-ไวมาร์
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเซน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ชาร์ลส์ที่ 2 แกรนด์ดยุคแห่งแม็กเคลนบวร์ก-สเตรลิตซ์
 
 
 
 
 
 
 
11. ดัสเชสชาร์ล็อต จอร์จีนแห่งแม็กเคลนบวร์ก-สเตรลิตซ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แลนด์เกรฟวีนเฟรเดอริเกแห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
1. แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. ลีโอโปลด์ที่ 3 ดยุคแห่งอัลฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
12. เฟรเดอริค เจ้าชายรัชทายาทแห่งอัลฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. มาร์เกรฟวีนหลุยส์แห่งบรานเดนบูร์ก-ชเว็ดท์
 
 
 
 
 
 
 
6. เจ้าชายเฟรเดอริค ออกุสตุสแห่งอันฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เฟรเดอริคที่ 5 แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์-ฮอมบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
13. แลนด์เกรฟวีนอเมลีแห่งเฮสส์-ฮอมบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. แลนด์เกรฟวีนแคโรไลน์แห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงอเดลเฮด-มารีแห่งอันฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เจ้าชายเฟรเดอริคแห่งเฮสส์-คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายวิลเลียมแห่งเฮสส์-คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งนัสเซา-อูซิงเง็น
 
 
 
 
 
 
 
7. แลนด์เกรฟวีนมารี หลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเฮสส์-คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าชายเฟรเดอริค รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงหลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. ดัสเชสโซเฟีย เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Almanach de Gotha (1901), article "Luxembourg"
  2. Members of the German Ducal Houses uses the style of Highness
  3. 3.0 3.1 3.2 It was customary for a reigning Grand Duke, his heir apparent, and their spouses to use the style of Royal Highness

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก ถัดไป
แกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก 2leftarrow.png แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)

(17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455)
2rightarrow.png แกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์ก 2leftarrow.png Arms Nassau.png
ดยุกแห่งนัสเซา
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)
ผู้อ้างสิทธิในพระอิศริยยศ

(17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455)
2rightarrow.png แกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก