อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงมารี-อัสทรีดแห่งลักเซมเบิร์ก
De troonwisseling in Luxemburg, de Hertogelijke familie, Bestanddeelnr 917-1202.jpg
พระสวามีอาร์ชดยุกคาร์ล คริสเตียนแห่งออสเตรีย
พระนามเต็ม
มาเรีย อัสตริด ลิเลียน ชาร์ล็อต เลโอปอลด์ วิลเฮลมิไนล์ อิงเงอร์บอร์ก แอนโทเนต เอลิซาเบธ แอนน์ อัลเบิร์ต
พระบุตร
  • อาร์ชดัชเชสมาเรีย-คริสติน
  • อาร์ชดยุกอิม
  • อาร์ชดยุกคริสตอฟ
  • อาร์ชดยุกอเล็กซานเดอร์
  • อาร์ชดัชเชสกาเบรียลลา
ราชวงศ์
พระบิดาแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก
พระมารดาแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก
ประสูติ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (69 ปี)
นครลักเซมเบิร์ก ประเทศลักเซมเบิร์ก
ศาสนาโรมันคาทอลิก

อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย (เดิม:เจ้าหญิงมารี-อัสทรีดแห่งลักเซมเบิร์ก) (อังกฤษ: Archduchess Marie Astrid of Austria) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กกับแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียมและอัสตริดแห่งสวีเดน ผ่านทางสายพระมารดา พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐา 4 พระองค์ คือ แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งลีชเทินชไตน์ เจ้าชายฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก และเจ้าชายกีโยมแห่งลักเซมเบิร์ก พระองค์เสกสมรสกับอาร์ชดยุกคาร์ล คริสเตียนแห่งออสเตรีย มีพระบุตร 4 พระองค์

พระประวัติ[แก้]

อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย (เดิม เจ้าหญิงมารี-อัสทรีดแห่งลักเซมเบิร์ก) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กและแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก โดยทรงมีพระราชบิดาพระราชมารดาทูลหัว คือ พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม (ตา) และแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก (ย่า) พระองค์ได้รับการตั้งพระนามจากมารี แม่แห่งเจวสต์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นพระราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก

โดยขณะเจริญพระชันษา พระองค์ทรงเป็นที่กล่าวในเรื่องความงดงามทั้งพระพักตร์และพระจริยวัตร สมกับเป็นเจ้าหญิงที่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระสิริโฉม พระเกียรติยศ และพระอิสริยยศ โดยทรงถูกเลือกให้เป็นว่าที่พระวรชายาใน เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ โดยใน พ.ศ. 2513 หนังสือพิมพ์เลดีเอ็กเพรส ได้ลงข่าวว่า ใน พ.ศ. 2520 พระองค์จะสมรสกัน เพราะขณะนี้ทั้ง 2 กำลังคบหาดูใจกันอยู่ แต่สื่อมวลชนในอังกฤษก็ตกตะลึงเมื่ สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ได้ทรงขัดแย้งและทรงอ้างว่า

หากพวกเธอสมรสกันออกไป บุตรที่เกิดมาจะได้ไม่เป็นโรมันคาทอลิก

— สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6

ในขณะที่คณะรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและลักเซิมเบิร์ก ก็ได้ประชุมหาลือในเรื่องนี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าพระองค์จะไม่ได้สมรสกันอย่างที่สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ตรัสไว้ หลังจากนั้นไม่นาน ทั้งคู่ก็เลิกคบหาดูใจกัน

เสกสมรส[แก้]

หลังจากที่พระองค์ไม่ได้รับการเลือกให้เป็นพระวรชายาใน ชาลส์ เจ้าฟ้ามกุฎราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ได้เข้าพิธีเสกสมรสกับ อาร์ชดยุกคาร์ล คริสเตียนแห่งออสเตรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ณ เมืองลักเซมเบิร์ก โดยรับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย พระชายา และมีพระนามอย่างเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า (อังกฤษ: Her Imperial and Royal Highness Archduchess Marie-Astrid of Austria, Princess of Luxembourg, Nassau and Bourbon-Parma) โดยทรงมีพระบุตรร่วมกันดังนี้

  1. อาร์ชดัชเชสมาเรีย-คริสติน
  2. อาร์ชดยุกอิม
  3. อาร์ชดยุกคริสตอฟ
  4. อาร์ชดยุกอเล็กซานเดอร์
  5. อาร์ชดัชเชสกาเบรียลลา

พระกรณียกิจ[แก้]

อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีด ทรงปฏิบัติพระกรณียากิจในด้านต่างๆ ดังนี้

  1. ทรงเป็นประธานสภากาชาดสำหรับเยาวชนลักเซมเบิร์กตั้งแต่ พ.ศ. 2513
  2. คณะเยาวชลูกเสือแห่งลักเซมเบิร์ก

ทั้งนั้พระองค์ทรงเป็นพระมารดาทูลหัวให้กับ เจ้าชายกีโยม แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก พระภาติยะอีกด้วย

พระชนม์ชีพหลังสมรส[แก้]

หลังจากทรงสมรสแล้วนั้น พระองค์พระสวามีและพระบุตร ทรงอยู่อย่างพอเพียงไม่เอิกเกริก และเสด็จร่วมงานสำคัญๆของพระราชวงศ์ลักเซมเบิร์กเกือบทุกครั้ง และเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 ภายหลังการเสด็จสวรรคตลงของ แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก พระบิดา พระองค์ได้เสด็จไปร่วมงานพระบรมศพด้วย โดยพระองค์ได้นำเสด็จขบวนตามพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ของ แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก ในฐานะพระพี่นางพระองค์ใหญ่ของพระอนุชาและพระขนิษฐา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Honorary distinctions of the Grand Duchy of Luxembourg, publication of the government of Luxembourg : Princes and Princesses of the Grand-Ducal House of Luxembourg are Grand Crosses of the Order by birth but the decoration is worm only after they reach their majority (18 years old).
  2. Badraie
  3. Badraie
  4. Boletín Oficial del Estado
  5. Boletín Oficial del Estado