จิตร ภูมิศักดิ์
จิตร ภูมิศักดิ์ | |
---|---|
จิตร ไม่ทราบปีที่ถ่าย | |
เกิด | สมจิตร ภูมิศักดิ์ 25 กันยายน พ.ศ. 2473 อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (35 ปี) อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ถูกล้อมยิง |
ชื่ออื่น | สหายปรีชา |
ศิษย์เก่า | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | นักเขียน, อาจารย์, นักประวัติศาสตร์, นักภาษาศาสตร์, นักกิจกรรม |
ผลงานเด่น | |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2508–2509) |
ถูกกล่าวหา | กระทำการเป็นคอมมิวนิสต์ |
สถานะทางคดี | ถูกคุมขังก่อนพิจารณาคดี และยกฟ้อง |
บิดามารดา |
|
ลายมือชื่อ | |
จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เกิดที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นนักประวัติศาสตร์ นักกิจกรรม[1] นักคิดด้านการเมือง นักภาษาศาสตร์ชาวไทย ผลงานของเขาได้รับยกย่องเป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านถึง 3 รายการ
จิตรเป็นนักวิชาการคนแรก ๆ ที่กล้าถกเถียงคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด[2]
แม้ว่าจะมีผลงานหลากหลายแขนง แต่อุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของเขาเป็นปรปักษ์กับระบอบทหารที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นในเวลานั้น จนทำให้ตัดสินใจไปเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก่อนถูกยิงเสียชีวิต กระนั้นผลงานและแนวคิดของเขาเป็นส่วนหนึ่งของพลังผลักดันให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา[3] และยังมีอิทธิพลอยู่เรื่อยมา
ประวัติ
[แก้]จิตรเป็นบุตรของศิริ ภูมิศักดิ์ กับแสงเงิน ฉายาวงศ์[4] มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม[5] บิดาเป็นผู้มีความคิดก้าวหน้าและถือว่าหัวสมัยใหม่มากสำหรับคนในยุคนั้น มีการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามาใช้ เป็นผลทำให้ความคิดของผู้เป็นบุตรมีความก้าวหน้าและเปิดกว้างมากกว่าเด็กในสมัยนั้น[5]
พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปี พ.ศ. 2482 จิตรย้ายมาอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อีก 7 เดือนบิดาก็ได้รับคำสั่งย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั้น
พ.ศ. 2490 ประเทศไทยเสียพระตะบองให้ฝรั่งเศส จิตรจึงอพยพตามมารดากลับไทย ระหว่างที่ครอบครัวเขายังอยู่ที่เมืองพระตะบอง มารดาเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน) และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด
จิตร เคยคบหากับเวียน เกิดผล ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แล้วใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอยู่นาน แต่ก็เลิกรากันไป โดยไม่ได้แต่งงานกัน[6]
การเคลื่อนไหวทางการเมือง
[แก้]จิตรเริ่มเป็นที่รู้จักจากกรณี "โยนบก" เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากรให้กับหนังสือประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496 ในครั้งนั้นเขาเปลี่ยนเนื้อหาของหนังสือโดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการสอบสวนจิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ จับโยนบกลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตรถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497[7]
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นานก็ถูกไล่ออก เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"[5]
ในงานเขียน โฉมหน้าศักดินาไทย จิตรใช้วิธีวิเคราะห์แบบวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ในสำนักลัทธิมากซ์[8][9]
ปี พ.ศ. 2498 เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่"วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์" และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร[10]
จิตรถูกจับเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยมีการนำตัวไปคุมขังหลายที่ และย้ายไปขังที่คุกลาดยาวใน พ.ศ. 2503[11] วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2506 อัยการศาลทหารกรุงเทพฯ ยื่นฟ้องจิตรตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 ในคดีนี้ผู้พิพากษาให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมในโอกาสครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ไปแล้ว การฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีซ้ำซึ่งขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมาย ศาลทหารยกฟ้องและมีคำสั่งปล่อยตัวจิตรเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2507[12]
เนื่องจากเขาถูกติดตามคุกคามจากทางการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างหนักทำให้เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับการปกครองด้วยระบบทหาร ในนาม สหายปรีชา เมื่อ พ.ศ. 2508 ต่อมาด้วยการคุกคามจากอำนาจรัฐ จิตรถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิตที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะในบ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509[13]
จากแนวคิดและอิทธิพลของเขาทำให้บ้างมีการเรียกเขาว่าเป็น "เช เกบาราเมืองไทย"[14]
ผลงานเขียน
[แก้]จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรม"ภาษาละหุ" (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว
ผลงาน 3 รายการของเขาได้รับยกย่องเป็น หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ประกอบด้วย โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน (2500), ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ และ บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์
รายการบทความและงานเขียนเท่าที่ปรากฏเช่น
- จากพญาฝันถึงทยอยใน (2496)
- นวนิยายเรื่องขวัญเมือง
- การปฏิวัติในฝรั่งเศส
- ตำนานนครวัด (2498-2499)
- ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน (2500)
- บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี (2500)
- ชีวิตและศิลปะ (2500-2501)
- โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน (2500)
- เพลงยาวบัตรสนเท่ห์ (2500)
- คนขี่เสือ งานแปล (2501)
- โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา (2505)
- ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์ เป็นผลงานรวมเล่มระหว่าง ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม กับ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ
- ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย
- ภาษาและนิรุกติศาสตร์
- บทวิเคราะห์วรรณกรรมยุคศักดินา
- ความเรียงว่าด้วยศาสนา งานแปล
- ว่าด้วยงานศิลปะวรรณคดี งานแปล
- เสียงเพลงแห่งการต่อต้าน
- บทวิเคราะห์มรดกวรรณคดีไทย
- โคทาน งานแปล
- นิราศหนองคายวรรณคดีที่ถูกสั่งเผา
- บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม
- ความอบอุ่นอันอ่อนหวาน
- คาร์ลมาซ์ก งานแปล
- แม่ งานแปล
- กรณี'โยนบก' ๒๓ ตุลา
- พระเจ้ากำเนิดข้ามาเสรี
- ความใฝ่ฝันแสนงาม
- หลุมฝังศพของดนตรีไทย
บทเพลงและบทกวีเท่าที่ปรากฏ
- เพลง ภูพานปฏิวัติ
- เพลง มาร์ชเยาวชนไทย
- เพลง มาร์ชกรรมกร
- เพลง เปิบข้าว
- เพลง ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ชิงชัย
- เพลง แสงดาวแห่งศรัทธา
- เพลง ทะเลชีวิต
- บทกวี เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน
- บทกวี อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย
- บทกวี ฉันท์ ๒๙ มีน์ ๙๓ งานถวายพระเพลิง
- บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์
นามปากกา
[แก้]นามปากกา ของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น
|
|
อนุสรณ์
[แก้]อนุสาวรีย์จิตร ภูมิศักดิ์ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานวัน "จิตร ภูมิศักดิ์" ในวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี[10]
ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ปานชัย บวรรัตนปราณ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร (ในขณะนั้น) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และเทศบาลตำบลคำบ่อ ดำเนินการปรับภูมิทัศน์บริเวณที่จิตรถูกยิงเสียชีวิต พร้อมสร้างรูปปั้นจิตรแบบครึ่งตัวไว้ในพื้นที่ดังกล่าว ในโอกาสการรำลึก 80 ปีชาตกาลจิตร ภูมิศักดิ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์การสร้างอนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์ และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ราษฎารานุสาวรีย์ของจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผลงานของสันติ พิเชฐชัยกุล
ใน พ.ศ. 2563 กรรมการนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ขอโทษกรณีโยนบกจิตร[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "25 กันยายน 2473 วันเกิด จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิด-นักประวัติศาสตร์ที่ "ก่อเกิด" สองครั้ง". ศิลปวัฒนธรรม. 25 กันยายน 2016.
- ↑ "จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์". 18 ตุลาคม 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2014.
- ↑ ธนาพล อิ๋วสกุล และคณะ. 5 พ.ค. 2509 จิตร ภูมิศักดิ์ จบชีวิตอย่างไร้ค่าที่สกลนคร ก่อนกำเนิดอีกครั้งหลัง 14 ตุลาฯ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2547 สืบค้น 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564. ISSN 0125-3654.
- ↑ "บิดาและมารดาของจิตร ภูมิศักดิ์". สามัญชนบนถนนประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 วีรชน, คนกล้า (7 พฤศจิกายน 2017). "ชีวประวัติบุคคลสำคัญ จิตร ภูมิศักดิ์". นักปราชญ์ประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2021.
- ↑ Artyasit Srisuwan (29 เมษายน 2018). "อัณฑะมาร์กซ ผู้หญิงของจิตร ภูมิศักดิ์ : เรื่องรักและความป่วยไข้ของนักคิดนักเขียน". The MATTER.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์ กับกรณีโยนบก “28 ตุลาคม 2496” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2547 สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563. ISSN 0125-3654.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์ (2007). ประพต เศรษฐกานนท์ (บ.ก.). โฉมหน้าศักดินาไทย (9 ed.). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. ISBN 9789748075242.
- ↑ ธรรมเกียรติ กันอริ (กันยายน 1974). "โฉมหน้าศักดินาไทยในสายตาของจิตร ภูมิศักดิ์" (PDF). สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 12 (9): 82–94. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2021.
- ↑ 10.0 10.1 "54 ปี "จิตร ภูมิศักดิ์" เผด็จการปลิดชีวิตกลางป่า ถูกตั้งศาลเตี้ย จับโยนบก". ข่าวสด. 5 พฤษภาคม 2020.
- ↑ ""จิตร ภูมิศักดิ์" กับชีวิตในห้องขังกองปราบปทุมวัน เผยสภาพชีวิตใน "คอมมูน"". ศิลปวัฒนธรรม. 5 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 July 2022.
- ↑ "จิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อถูกปล่อยตัวจากคุกลาดยาว". มติชนออนไลน์. 5 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 July 2022.
- ↑ "วันนี้ในอดีต/เดือนพฤษภาคม, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 : จิตร ภูมิศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม". หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. 22 พฤษภาคม 2017.
- ↑ 50 ปีจิตร ภูมิศักดิ์ เช เมืองไทย Volce online สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "5 พฤษภาคม 2509: จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกยิงเสียชีวิต". The Momentum. 5 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 July 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โครงการจัดพิมพ์สรรพนิพนธ์ ของจิตร ภูมิศักดิ์ รวบรวมผลงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509
- นักเขียนชาวไทย
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- นักประวัติศาสตร์ชาวไทย
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- นักโบราณคดีชาวไทย
- นักปรัชญา
- นักปฏิวัติ
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- บุคคลจากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากอำเภอประจันตคาม
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- นักแต่งเพลงชาวไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากพระตะบอง