อิศรา อมันตกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิศรา อมันตกุล
เกิดอิบรอฮีม อะมัน
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 มีนาคม พ.ศ. 2512 (47 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
นามปากกานายอิสระ
อาชีพนักเขียน, นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์
สัญชาติไทย
คู่สมรสสุพัณณา อมันตกุล (พ.ศ. 2498–2512)

อิศรา อมันตกุล (นามเดิม อิบรอฮีม อะมัน; 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ชาวไทย และเป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก

ประวัติ[แก้]

อิศราเกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 10 คน ของมูฮัมหมัดซาเลย์ อะมัน กับวัน อมรทัต ครอบครัวเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายอินเดีย สำเร็จชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา จังหวัดนครปฐม และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ในปี พ.ศ. 2472 โดยมีคะแนนในวิชาภาษาอังกฤษสูงสุดของประเทศ และสอบได้คะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของนักเรียนทั่วประเทศในรุ่นนั้น ต่อมาได้ไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ร่วมกับคณะมิชชันนารี ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 2 ปี จากนั้น ได้เดินทางไปยังประเทศใกล้เคียงอยู่ระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับเข้ากรุงเทพมหานคร[1]

อิศราสมรสกับสุพัณณา อมันตกุล (นามเดิม สเริงรมย์ บุนนาค; พ.ศ. 2465 – 20 สิงหาคม 2557) ธิดาของพลโท พระยาสีหราชเดโชชัย (สวาสดิ์ บุนนาค) กับคุณหญิงสุนีย์สาย บุนนาค (สกุลเดิม อมาตยกุล)[2] ซึ่งเป็นนักแปลบทภาพยนตร์และพระคัมภีร์แก่คณะเยสุอิตที่บ้านเซเวียร์ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน[3] อิศราถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2512 เวลา 15.15 น. ด้วยโรคมะเร็งที่ลิ้น หลังจากพักรักษาตัว ณ ตึกจงกลณี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเวลาเกือบ 10 เดือน โดยฝังศพที่สุสานมัสยิดนูรุ้ลมูบีน (บ้านสมเด็จ) สี่แยกบ้านแขก[4]

งานหนังสือพิมพ์[แก้]

เริ่มงานหนังสือพิมพ์กับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และมาลัย ชูพินิจ ใน หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ และ หนังสือพิมพ์ประชามิตร ตามลำดับ จากนั้น ได้ร่วมก่อตั้ง หนังสือพิมพ์สุวัณณภูมิ กับทองเติม เสมรสุต เสนีย์ เสาวพงศ์ และวิตต์ สุทธิเสถียร

ต่อมา ได้ย้ายไปทำงานในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์บางกอกรายวัน (ผู้ก่อตั้ง) หนังสือพิมพ์เอกราช หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยเบื้องหลังข่าว หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยรายวัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ หนังสือพิมพ์กิตติศัพท์ หนังสือพิมพ์ไทยใหม่ยุคใหม่ และหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ในปัจจุบัน)

เมื่อวันที่20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กระทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 จากจอมพล ถนอม กิตติขจร หลังจากนั้นเพียง 1 วัน (21 ตุลาคม พ.ศ. 2501) หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ถูกปิด นายอิศรา ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ รวมถึงบรรณาธิการ และนักหนังสือพิมพ์อีกหลายคน ถูกจับ ด้วยข้อหา มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยถูกคุมขัง เป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน ก็ถูกปล่อยตัว โดยไม่มีการส่งฟ้องศาล เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2507 หลังจากนั้น เข้ารับตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้ากองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ในปัจจุบัน) จนกระทั่งถึงแก่กรรม

นอกจากนี้อิศราได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก และดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน (พ.ศ. 2499, พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2501) และยังเป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ จากหน้าละ 7 คอลัมน์ เป็น 8 คอลัมน์ อีกด้วย[5]

มูลนิธิ อิศรา อมันตกุล[แก้]

มูลนิธิ อิศรา อมันตกุล
มูลนิธิ อิศรา อมันตกุล

26 มีนาคม พ.ศ. 2512 สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย และ สมาคมหนังข่าวแห่งประเทศไทย ได้ประชุมร่วมกัน และมีมติให้จัดตั้ง “มูลนิธิ อิศรา อมันตกุล” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายอิศรา จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 โดยมี นายสนิท เอกชัย เป็นประธานมูลนิธิฯ คนแรก

โดยมีภารกิจสำคัญ ร่วมกับ สมาคมนักข่าวฯ จัดให้มีการประกาศรางวัลผลงานข่าวหนังสือพิมพ์ และภาพข่าวหนังสือพิมพ์ดีเด่น โดย สมาคมนักข่าวฯ เป็นฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสิน จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 และมีพิธีมอบรางวัลครั้งแรก ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2516[4]

นามปากกา[แก้]

นามปากกา ของอิศรามีเป็นจำนวนมาก เช่น

ผลงานเขียน[แก้]

นายอิศรา มีผลงานเรื่องสั้นหลายเรื่อง ก่อนจะทำงานหนังสือพิมพ์ และยังเขียนนวนิยายไว้เป็นจำนวนมาก

นวนิยาย[แก้]

เรื่องสั้น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อิศรา อมันตกุล นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย
  2. อิศราที่รัก โดยสุพัณณา–สเริงรมย์ อมันตกุล (PDF). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจสุพัณณา–สเริงรมย์ อมันตกุล (2465–2557) ณ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต. 2557. p. 1.[ลิงก์เสีย]
  3. อิศราที่รัก โดยสุพัณณา–สเริงรมย์ อมันตกุล (PDF). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจสุพัณณา–สเริงรมย์ อมันตกุล (2465–2557) ณ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต. 2557. p. 3.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 วีรชน, มูลนิธิอิศรา. "ชีวประวัติบุคคลสำคัญ อิศรา อมันตกุล". นักหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. อิศรา อมันตกุล ต้นตำนานแห่งนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]