ประเสริฐ บุญสัมพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ประธานคณะกรรมการ บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านบริหารธุรกิจ) ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา [1] กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า[2] ประธานคณะกรรมการบริหาร ไทยคม (บริษัท) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี[4] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตประธานกรรมการบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นายประเสริฐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานคลัสเตอร์ ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต[5][6]

ประวัติ[แก้]

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร จบการศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท บริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ สหรัฐอเมริกา, ปริญญาบัตรหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาค รัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 10 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4010) CERTIFICATE IN ADVANCED MANAGEMENT PROGRAM, HARVARD BUSINESS SCHOOL มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา และหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารชั้นสูงรุ่นที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า

เริ่มทำงานเป็นนักวิเคราะห์ที่ บริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย เมื่อปี 2520 เป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่จะออกไปเป็นผู้อำนวยการตลาด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เมื่อปี 2524 ทำงานอยู่ได้เพียงปีเดียวก็เข้ามาทำงานในปตท. ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการขนส่ง เมื่อปี 2525 หลังจากนั้นก็ได้ก้าวสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อน้ำมันและสัญญา ปตท. ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านการตลาด ปตท. ก่อนจะก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง รองผู้จัดการใหญ่ การตลาด ธุรกิจน้ำมัน ในปี 2535 โดยอยู่ต่ำแหน่งนี้มา 5 ปี

หลังจากนั้นมีการ ปรับโครงสร้างปตท. จึงได้นั่งตำแหน่งเป็นผู้จัดการใหญ่ ปตท.น้ำมัน ก่อนจะถูกโยกย้ายให้ดูแล ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ในตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ ในปี 2543 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัททรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7]

คดีความ[แก้]

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีมติฟ้องร้องนาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 และไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 รวมถึงการจัดทำบันทึกการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  2. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า
  3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  5. เลขาฯอีอีซีชี้ ‘5 โครงการกระดูกสันหลังอีอีซี’ ช่วยดัน ศก.โตได้ปีละ 5%
  6. "หัวหน้าทีมภาคเอกชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
  7. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  8. การจัดทำบันทึกการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗