ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเถิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 93: บรรทัด 93:


== รายชื่อธนาคาร ==
== รายชื่อธนาคาร ==
* [[ธนาคารออมสิน]] สาขาเถิน
* [[ธนาคารออมสิน]] สาขาเถินอิอิ
* [[ธนาคารกรุงเทพ]] สาขาเถิน
* [[ธนาคารกรุงเทพ]] สาขาเถิน
* [[ธนาคารกรุงไทย]] สาขาเถิน
* [[ธนาคารกรุงไทย]] สาขาเถิน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:35, 10 มกราคม 2563

อำเภอเถิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thoen
คำขวัญ: 
ส้มเกลี้ยงฉ่ำ น้ำตกงาม
โป่งข่ามขลัง วังหินอ่อน
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเถิน
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเถิน
พิกัด: 17°36′42″N 99°12′57″E / 17.61167°N 99.21583°E / 17.61167; 99.21583
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,634.8 ตร.กม. (631.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด59,471 คน
 • ความหนาแน่น36.37 คน/ตร.กม. (94.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52160 52230 (เฉพาะตำบลแม่วะ)
รหัสภูมิศาสตร์5208
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเถิน ถนนพหลโยธิน ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 52160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เถิน (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดรองจากอำเภองาว

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเถินตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวเมืองลำปาง 90 กิโลเมตร ตามถนนพหลโยธินสายลำปาง-ตาก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

อำเภอเถินมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดตาก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่เป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาก่อนจะถึงเมืองลำปาง และเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพกรุงศรีอยุธยา บางคราวก็ตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรล้านนา บางคราวก็ขึ้นกับพม่า เวลามีศึกสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า เมืองเถินจึงเป็นเส้นทางผ่านในการเดินทัพ เนื่องจากเมืองเถินนั้นเป็นแค่เมืองเล็กไม่มีกำลังที่จะต้านทัพที่ขอผ่านได้ จึงต้องยอมให้ทั้งกองทัพอยุธยาและพม่าเดินผ่าน ชาวเมืองเถินได้รับความเดือดร้อนจากศึกสงคราม ด้วยกองทัพที่เดินผ่านต่างสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวเมือง ดังนั้นชาวเมืองเถินจึงได้ทิ้งเมืองหนีเข้าไปจนหมดสิ้น ทิ้งเมืองให้กลายเป็นเมืองร้างในช่วงเวลาระยะหนึ่ง

ปี พ.ศ. 2310 เจ้านายเชื้อเจ้าเจ็ดตน มีพระเจ้ากาวิละเป็นปฐม ได้รวบกำลังเข้าสามิภักดิ์กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยหยุดเดินทัพเพื่อระดมพลกำลังที่เมืองเถิน แล้วค่อยตีทยอยตีเมืองขึ้นที่พม่าปกครอง ตั้งแต่ลำปาง ลำพูน จนกระทั่งนครเชียงใหม่ ในที่สุดพระองค์ก็ได้ตีทัพพม่าจนถอยพ่ายออกไปจากแผ่นดินล้านนาได้สำเร็จ เมืองเถินจึงมิได้เป็นทางผ่านของกองทัพอีก

ต่อมาเมื่อถึงแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสถาปนาพระเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่พระองค์ที่ 1 และได้ทยอยผู้คนที่หนีภัยสงครามรวมทั้งข้าต่างเมืองที่ได้เทครัวจากการทำศึกสงครามมาอยู่ในเมืองเถิน มีผู้คนมาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเมืองหนึ่งของล้านนาและเมืองลำปางตราบเช่นทุกวันนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเถินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[1]
1. ล้อมแรด Lom Raet 14 6,135 15,798
2. แม่วะ Mae Wa 8 1,636 5,890
3. แม่ปะ Mae Pa 10 1,518 4,629
4. แม่มอก Mae Mok 10 1,624 5,258
5. เวียงมอก Wiang Mok 14 3,309 10,339
6. นาโป่ง Na Pong 12 1,628 5,777
7. แม่ถอด Mae Thot 13 1,922 6,670
8. เถินบุรี Thoen Buri 14 1,989 6,939

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเถินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

สถานศึกษา

สถานที่ท่องเที่ยว

  • วัดภูนเรศ เป็นโบราณสถาน ที่เชื่อได้ว่าเป็นพลับพลาที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เมื่อครั้งนำทัพสยามไปตีกรุงอังวะ และ เป็นที่พักพระบรมศพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต

สถานตั้งอยู่ที่ ถ.พหลโยธิน ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง

  • แก้วโป่งข่ามยักษ์ แห่งวัดบ้านนาไร่ ที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอเถินโดยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตั้งอยู่ที่ บ้านนาบ้านไร่ ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง
  • โบสถ์ไม้สักทองหลังงาม มุมสูงจากจุดชมรอยพระพุทธบาท วัดถ้ำสุขเกษมสวรรค์ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเถิน ตั้งอยู่ที่ บ้านแม่เติน ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง
  • น้ำตกแม่วะ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วะ บ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วะ บริเวณโดยรอบของน้ำตกแม่วะประกอบไปด้วยภูเขาสูงชัน มีดอยแปลหลวงเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกนี้ และจะไหลลงสู่แม่น้ำวังในที่สุด น้ำตกแม่วะประกอบไปด้วยน้ำตกชั้นต่าง ๆ ทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีความงามแบบต่าง ๆ กัน มีทางเดินขึ้นไปถึงแค่น้ำตกชั้นที่ 8 สภาพเส้นทางระหว่างน้ำตกชั้นที่ 1-4 ระยะทาง 700 เมตร เดินได้สะดวก จากนั้นทางเริ่มสูงชันขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 8 รวมระยะทาง 2.2 กิโลเมตร สำหรับน้ำตกชั้นที่ 9 มีชื่อว่า "ตาดหลวง" มีความสูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนหน้าผาจากน้ำตกชั้นที่ 8 ขึ้นไปอีกไกลจึงจะถึง การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เมื่อผ่านอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ไปถึงประมาณกิโลเมตรที่ 500 จะมีทางแยกเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ผ่านทางแยกนี้ไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.1 (น้ำตกแม่วะ) น้ำตกอยู่ห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร นอกจากนี้ยังมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นทางเดินขึ้นเขาผ่านป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ แล้วเดินขึ้นสันเขาผ่านจุดชมทิวทัศน์ไปจนพบกับน้ำตกชั้นที่ 8 รวมระยะทางประมาณ 3.8 กิโลเมตร เหมาะสำหรับการเดินชมป่าเปลี่ยนสีในช่วงฤดูแล้ง กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมทิวทัศน์ เที่ยวน้ำตก ติดต่อขอข้อมูลได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 52230
  • อ่างเก็บน้ำแม่มอก (ตั้งอยู่ หมู่ที่7 บ้านท่าเกวียน ตำบลเวียงมอก) มีเนื้อที่ถึง 10,000 ไร่ กว้าง 2 กม. สันเขื่อนยาว 1.9 กม. เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำแม่มอก เป็นอ่างแบบเขื่อนดิน (ทำนบดิน) มีทางระบายน้ำล้นกว้าง 45 เมตร มีท่อส่งน้ำ 3 แห่ง ส่งน้ำให้กับอำเภอทุ่งเสลี่ยม และแปลงอพยพ ความจุของอ่างที่ระดับน้ำเก็บกัก 96 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุที่ระดับน้ำนองสูงสุด 138 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค 2 จังหวัด คือ อำเภอทุ่งเสลี่ยมจังหวัดสุโขทัย และพื้นที่ท้ายอ่าง 3 หมู่บ้าน ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในฤดูฝนเกณฑ์เฉลี่ย 45,000 ไร่ ในฤดูแล้ง 2,000 ไร่ บรรยากาศเป็นธรรมชาติ การเดินทางสะดวกลาดยางตลอดสายถึงอ่างเก็บน้ำ ตลอดเส้นทางท่านจะได้สัมผัสบรรยากาศร่มรื่นเขียวชอุ่มด้วยต้นไม้ตลอดทาง ระยะทางแค่ 50 กม. จากปากทางแยกที่อำเภอเถิน บริเวณอ่างมีบ้านพักรับรองไว้บริการ มีแพบริการนำเที่ยวชมบรรยากาศบริเวณอ่างเก็บน้ำ

ตั้งอยู่ที่ ถ.เถิน-สวรรคโลก บ้านท่าเกวียน ต.เวียงมอก อ.เถิน จ.ลำปาง

รายชื่อธนาคาร

สะพาน

  • สะพานสุริยงค์
  • สะพานอำเภอเถิน 100 ปี(ล้อมแรด)
  • สะพานมหาดไทย 100 ปี(บ้านเหล่า)
  • สะพานหนองบัว
  • สะพานสบคือ

รถโดยสารประจำทางระหว่างอำเภอเถินกับกรุงเทพมหานคร

  • สาย 91 กรุงเทพฯ-ลำปาง (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ พรพิริยะทัวร์ นิววิริยะทัวร์
  • สาย 13 กรุงเทพฯ-ฝาง-บ้านท่าตอน (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-เชียงใหม่-แม่ริม-ฝาง-แม่อาย-บ้านท่าตอน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. นิววิริยะทัวร์
  • สาย 18 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-เชียงใหม่)

บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ พรพิริยะทัวร์ นิววิริยะทัวร์ เชิดชัยทัวร์ รุ่งประเสริฐทัวร์ อินทราทัวร์ นครชัยแอร์ เอื้องหลวงทัวร์ บุษราคัมทัวร์

  • สาย 924 กรุงเทพฯ-ลำพูน (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. เชิดชัยทัวร์
  • สาย 964 กรุงเทพฯ-ดอยเต่า-จอมทอง (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เถิน-ลี้-ดอยเต่า-จอมทอง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
  • สาย 9911 กรุงเทพฯ-ลำพูน (ข) (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เถิน-ลี้-ลำพูน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
  • สาย 90 กรุงเทพฯ-เชียงราย (ก) (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ เชิดชัยทัวร์ อินทราทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (รถด่วนพิเศษ VIP) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 559 ระยอง-เชียงใหม่ (รถด่วนพิเศษ VIP) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 155 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-เถิน-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์ ศรีทะวงค์ทัวร์
  • สาย 132 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-ทุ่งเสลี่ยม-เถิน-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 114 นครสวรรค์-เชียงใหม่ (นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครสวรรค์ยานยนต์ (ถาวรฟาร์มทัวร์)
  • สาย 175 ขอนแก่น-เชียงใหม่ (สายเก่า) (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-เถิน-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ ภูหลวงทรานสปอร์ตทัวร์
  • สาย 779 ภูเก็ต-เชียงใหม่ (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-หัวหิน-ชะอำ-เพชรบุรี-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง
  • สาย 672 แม่สาย-แม่สอด (แม่สาย-แม่จัน-เชียงราย-เวียงป่าเป้า-เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-เถิน-บ้านตาก-ตาก-แม่สอด) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง
  • สาย 673 แม่สาย-เชียงราย-ตาก-แม่สอด (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-งาว-ลำปาง-เถิน-ตาก-แม่สอด) บริษัทผู้เดินรถได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • รถตู้ปรับอากาศลำปาง-เถิน-แม่พริก บริษัท สหกรณ์เดินรถนครลำปาง จำกัด

อ้างอิง

  1. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย