น้ำหอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำหอม (ฝรั่งเศส: parfum) เป็นส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยหรือสารประกอบให้กลิ่น, สารฟิกเซทีฟ (fixative) ที่มีกลิ่นหอมกับตัวทำละลาย ใช้เพื่อให้ร่างกายมนุษย์, สัตว์, อาหาร, สิ่งของ หรือพื้นที่อยู่อาศัยมีกลิ่นที่น่าพึงพอใจ[1] โดยทั่วไปแล้วน้ำหอมมักอยู่ในรูปของเหลวและใช้ให้กลิ่นที่น่าเข้าหาแก่ตัวบุคคล การค้นพบทางโบราณคดีและเอกสารโบราณแสดงให้เห็นถึงการใช้น้ำหอมในอารยธรรมยุคแรกสุดของมนุษย์ น้ำหอมยุคใหม่นั้นเริ่มมีในศตวรรษที่ 19 ด้วยการสังเคราะห์เชิงการค้าของสารประกอบให้กลิ่น เช่น vanillin และ coumarin

การอธิบายน้ำหอม[แก้]

ขวดเดิมของ Fougère Royale โดย Houbigant สร้างสรรค์โดย Paul Parquet ในปี 1884 น้ำหอมนี้เป็นหนึ่งในน้ำหอมยุคใหม่ที่สำคัญที่สุด และเป็นจุดบันดาลใจให้กับน้ำหอมคลาส Fougère ในเวลาต่อมา
พีระมิดของกลิ่นหอม (Fragrance pyramid)

สูตรที่ชัดเจนในการผลิตน้ำหอมสำหรับการค้านั้นถูกเก็บไว้เป็นความลับบริษัท ถึงแม้จะมีการตีพิมพ์เผนแพร่อย่างกว้างขวางแต่ก็มักเต็มไปด้วยวัตถุดิบที่มีความซับซ้อนที่ทำให้ยากต่อการอธิบาย ประสบการณ์ โดยลูกค้าต่อกลิ่นนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำหอม (connoisseurs of perfume) สามารถระบุองค์ประกอบและที่มาของกลิ่นในน้ำหอมหนึ่ง ๆ ได้เช่นกัน[2]

วิธีที่เป็นเชิงปฏิบัติที่สุดในการอธิกายน้ำหอมนั้นคือการอธิบายตามฟรากานซ์โน๊ต (fragrance notes) ของกลิ่นหรือ แฟมิลี ("family") ของกลิ่น ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อความประทับใจรวบยอดต่อกลิ่นเมื่อแรกใช้ไปจนถึงฮินต์ (hint) ของกลิ่นที่ยังคงอบอวลอยู่[3][4]

สายทางของกลิ่น (trail of scent) ที่บุคคลที่มีน้ำหอมหนึ่งทิ้งไว้เรียกว่า ซิลเลจ (sillage) ตามคำภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า "wake" ซึ่งคือทางคลื่นที่เกิดขึ้นในน้ำตามเรือที่แล่นผ่าน

ฟรากานซ์โน๊ต[แก้]

น้ำหอมนั้นอธิบายโดยมีดนตรีเป็นคำอุปมา เช่น การมีเซต 3 เซตของโน๊ต (notes) หมายถึงกลิ่นอันเสนาะหู (harmonious scent) แบบ “เสียงดนตรีที่ประสานกัน” (accord) โน๊ตนั้นจะถูกเปิดเผยออกเมื่อเวลาผ่านไป ด้วยความประทับใจแรก (immediate impression) ของท๊อปโน๊ต (top note) ไปยังมิดเดิลโน๊ต (middle notes) ที่ลึกกว่า และเบสโน๊ต (base notes) ที่ค่อย ๆ แสดงออกมาในระยะท้ายสุด โน๊ตต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างปราณีตด้วยศาสตร์ของการระเหยของน้ำหอม ผู้ผลิตน้ำหอมผู้ตีพิมพ์โนี๖น้ำหอมนั้นมักทำด้วยการนำเสนอองค์ประกอบกลิ่น (fragrance components) ในรูปของ พีระมิดกลิ่นหอม (fragrance pyramid)[5] และใช้คำที่เป็นเชิงจินตนาการประกอบ

แฟมิลีการรับกลิ่น[แก้]

การจัดกลุ่มน้ำหอมนั้นไม่มีทางเป็นไปอย่างแน่นอนหรือเป็นไปอย่างรูปธรรม น้ำหอมจำนวนมากประกอบด้วยมุมต่าง ๆ ของแฟมิลีการรับกลิ่น (Olfactive families) ที่ต่างกัน แม้แต่น้ำหอมที่ออกแบบมาเป็นกลิ่น "ดอกไม้ชนิดเดียว" (single flower) ยังประกอบด้วยสารส่งกลิ่นอื่น ๆ ประกอบหรือเป็นฐาน

การจัดกลุ่มแบบแฟมิลี (family) นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการอธิบายน้ำหอม แต่ไม่สามารถจัดประเภทน้ำหอมได้ทั้งหมด

ดั้งเดิม[แก้]

ออเพียม (Opium) ของอีฟว์ แซ็งต์ รอแล็ง (YSL) ซึ่งมีกลิ่นจัดอยู่ในกลุ่มออเรนทัล (oriental)

น่ำหอมชนิดดั้งเดิม (traditional) เริ่มมีขึ้นในราวปี 1900:

  • ซิงเกิลฟลอรอล (Single Floral): กลิ่นเต็มไปด้วยกลิ่นของดอกไม้ชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า soliflore ตัวอย่าง: Serge Lutens Sa Majeste La Rose
  • ฟลอรอลแบนเควท (Floral Bouquet): ประกอบด้วยกลิ่นดอกไม้หลายกลิ่นผสมกัน ตัวอย่าง: Houbigant Quelques Fleurs, Jean Patou Joy
  • แอมเบอร์ หรือ “ออเรนทัล” (Amber or "Oriental"): เป็นกลุ่มใหญ่ที่ประกอบด้วยกลิ่นหวาน (sweet), มีกลิ่นเล็กน้อยที่มาจากกลิ่นของสัตว์ (animalic scents) ไขลำไส้วาฬ (ambergris) หรือ ลับดานัม (labdanum) และมักรวมกับกลิ่นของ วานิลลา, เม็ดตองกา (tonka bean), ดอกไม้ และไม้ สามารถเสริม (enhanced) ด้วยน้ำมันกลิ่นการบูร (camphorous oils) และอินเซนส์เรซินส์ (incense resins) ที่ซึ่งทำให้เกิดภาพของ "โอเรนทัลลิสม์" แบบสมัยวิคตอเรีย ตัวอย่างดั้งเดิม: Guerlain Shalimar, Yves Saint Laurent Opium, Chanel Coco Mademoiselle[6]
  • วูดี (Woody): กลิ่นเต็มไปด้วยกลิ่นคล้ายไม้ (woody scents) โดยทั่วไปคือไม้ agarwood, sandalwood, cedarwood และ vetiver กลิ่นคล้ายการบูร (camphoraceous smell) Patchouli สามารถพบในไม้เหล่านี้ได้ ตัวอย่างดั้งเดิม: Myrurgia Maderas De Oriente, Chanel Bois des Îles. Modern: Balenciaga Rumba
  • เลเธอร์ (Leather): แฟมิลีของกลิ่นที่ประกอบด้วยกลิ่นน้ำผึ้ง, ยาสูบ, ไม้ และ ยางไม้ ที่ชวนให้นึกถึงกลิ่นหนัง ตัวอย่างดั้งเดิม: Robert Piguet Bandit, Balmain Jolie Madame
  • ชีพร์ (Chypre; สัทอักษรสากล: [ʃipʁ]): เป็นคำภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ไซปรัส (cyprus) ซึ่งรวมถึงกลิ่นที่เกิดจาก เบอร์กาม็อต, oakmoss และ labdanum ตั้งชื่อตามน้ำหอม François Coty Chypre (1917) ตัวอย่างในยุคใหม่: Guerlain Mitsouko
  • ฟูแฌร์ (Fougère; สัทอักษรสากล: [fu.ʒɛʁ]): เป็นคำภาษาฝรั่งเศสแปลว่า เฟิร์น เป็นกลิ่นที่มีฐานมาจาก ลาเวนเดอร์, coumarin และ oakmoss ประกอบกับกลิ่นสมุนไพรและไม้ที่ชัด (sharp herbaceous and woody scent) ตั้งชื่อตามน้ำหอม Houbigant's Fougère Royale น้ำหอมบุรุษส่วนมากอยู่ในแฟมิลีนี้ ตัวอย่างยุคใหม่: Fabergé Brut, Guy Laroche Drakkar Noir, Penhaligon's Douro

ยุคใหม่[แก้]

ตั้งแต่ปี 1945 ได้มีหมวดหมู่ใหม่ ๆ เกิดขึ้นในการอธิบายกลิ่นยุคใหม่ (modern scents) ส่วนหนึ่งมากจากการพัฒนาในเทคโนโลยีการผลิตและสังเคราะห์กลิ่น:

  • ไบรท์ฟลอรัล (Bright Floral): รวมเอากลุ่มดั้งเดิม ซิงเกิลฟลอรัล (Single Floral) กับ ฟลอรัลแบนเควต (Floral Bouquet) เข้าด้วยกัน ตัวอย่าง: Estée Lauder Beautiful
  • กรีน (Green): เป็นการตีความใหม่ที่อ่อนลงของกลุ่ม Chypre เสริมด้วย pronounced cut grass, ใบไม้สีเขียวบด และกลิ่นคล้ายแตงกวา ตัวอย่าง: Estée Lauder Aliage, Sisley Eau de Campagne, Calvin Klein Eternity
  • อควอทิก (Aquatic), ออเชนิก (Oceanic), โอโซนิก (Ozonic): เป็นหมวดหมู่ใหม่สุด เริ่มมีในปี 1988 ในน้ำหอม Davidoff Cool Water (1988) และ Christian Dior Dune (1991) เป็นกลิ่นที่สะอาด (clean smell) ชวนให้รำลึกถึงมหาสมุทร นำไปสู่น้ำหอมแอนดรอจีนัส (androgynous) จำนวนมาก โดยทั่วไปแล้วประกอบด้วย calone สารสังเคราะห์ที่ค้นพบในปี 1966 หรือสารสังเคราะห์ที่ค้นพบหลังจากนั้น สามารถนำมาใช้เสริมความเด่น (accent) ของน้ำหอมกลุ่มฟลอรัล (floral), ออเรนทัล (oriental) และวูดี (woody)
  • ซิตรัส (Citrus): ประกอบด้วยกลิ่นที่ให้ความรู้สึกสดชื่น ("freshening") ตัวอย่าง: Penhaligon's Quercus
  • ฟรุตี (Fruity): ประกอบด้วยกลิ่นผลไม้อื่นนอกจากกลุ่มซิตรัส เช่น พีช, cassis (แบล็กเคอร์แรนต์), มะม่วง, เสาวรส เป็นต้น ตัวอย่าง: Ginestet Botrytis
  • กูร์แม (Gourmand; ภาษาฝรั่งเศส: [ɡuʁmɑ̃]): กลิ่นที่มีความ "กินได้" (edible) หรือ "คล้ายขนมหวาน" (dessert-like) มักประกอบด้วยวานิลลา, tonka bean และ coumarin ตัวอย่างหวาน ๆ : Thierry Mugler's Angel (sweet)

วงล้อกลิ่นหอม[แก้]

รูปแบบการจัดประเภทใหม่นี้เป็นที่นิยมใช้ในการค้าและในอุตสาหกรรมเครื่องหอม คิดขึ้นในปี 1983 โดยผู้ให้คำปรึกษาด้านน้ำหอม Michael Edwards รูปแบบนี้นั้นทำให้การจัดแบ่ง, การขานชื่อ และการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชั้นต่าง ๆ เรียบง่ายขึ้น[7] แฟมิลี (families) หลักในวงล้อได้แก่ ฟลอรัล (Floral), ออเรนทัล (Oriental), วูดี (Woody), อโรมาติกฟูแฌร์ (Aromatic Fougère) และ เฟรช (Fresh) ซึ่งแต่ละแฟมิลีจะถูกแบ่งย่อยลงไปอีก และนำมาประกอบกันเป็นวงล้อ ตัวอย่างเช่นน้ำหอม Chanel No.5 ที่ซึ่งดั้งเดิมจัดเป็นฟลอรัลแบบอัลดีไฮด์ (aldehydic floral) จะอยู่ในกลุ่มย่อย ซอฟท์ฟลอรัล (Soft Floral) เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Perfume – Definition and More from Dictionary". Merriam-Webster.
  2. Burr, Chandler (2003). The Emperor of Scent: A Story of Perfume, Obsession, and the Last Mystery of the Senses. New York: Random House. ISBN 0-375-50797-3.
  3. Perfume connoisseurs speak of a fragrance's "sillage", or the discernible trail it leaves in the air when applied. Fortineau, Anne-Dominique (2004). "Chemistry Perfumes Your Daily Life". Journal of Chemical Education.81(1)
  4. Edwards, Michael (2006). "Fragrances of the World 2006". Crescent House Publishing. ISBN 0-9756097-1-8
  5. "Fragrance 101: Understanding The Fragrance Pyramid". Blog.lebermuth.com.
  6. "Coco Mademoiselle from Chanel". Chanel.com. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
  7. Osborne, Grant (1 พฤษภาคม 2001). "Interview with Michael Edwards". Basenotes.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2006.