ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550
วันที่1–8 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 (อังกฤษ: Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary) เป็นงานฉลองที่ประกอบด้วยรัฐพิธี ราชพิธี และราษฎรพิธี เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จัดขึ้นในสมัยรัฐบาลของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

พระราชพิธี

[แก้]

ในการประชุม คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้เห็นชอบเกี่ยวกับ การกำหนดแนวทาง การจัดงานพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม–8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อน ดังนี้

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เสด็จถึงวัดอรุณฯเพื่อร่วมพิธีทอดกฐินพระราชทาน ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2550

[แก้]

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550

[แก้]

โดยตลอดสองข้างทางเสด็จพระราชดำเนินจาก พระตำหนักจิตรลดารโหฐานยัง พระบรมมหาราชวัง ขอเชิญชวนประชาชน เฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และจุดเทียนชัยถวายพระพร ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พุทธศักราช 2550

[แก้]

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2550

[แก้]
  • เวลา 17.00 น. คณะทูตานุทูต เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ใน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

นอกจากนี้ ในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เวลา 15.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (โดยกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินประทับเรือพระที่นั่งที่ท่าวาสุกรี ขบวนเรือล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา และส่งเสด็จขึ้นที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค)

รัฐพิธี

[แก้]

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • การจัดพิธีเสกและอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้ทุกจังหวัดคัดเลือกแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ และสำนักพระราชวังได้กำหนดวันประกอบพิธี ดังนี้
    • ฤกษ์ตักน้ำ วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
    • ฤกษ์เสกน้ำพระพุทธมนต์ (ในส่วนภูมิภาค) ในวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ระหว่างเวลา 17.39 น.-18.09 น.
    • ฤกษ์เสกน้ำพระพุทธมนต์ (ในส่วนกลาง) ในวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ระหว่างเวลา 16.19 น.-16.49 น. ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    • วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 09.00 น. จะมีการจัดขบวนอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บรรจุในพระเต้าปทุมนิมิต ทอง นาก เงิน โดยเคลื่อนขบวนอิสริยยศจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ในการพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม
  • วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ลานพระราชวังดุสิต ในเวลา 16.00 น. ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับเชิญเสด็จไปในพิธี โดยจะมีการแสดงก่อนเวลา ได้แก่ การแสดงคีตะมวยไทย และ การแสดงดนตรีมหาดุริยางค์ทัพบกไทยเทิดไท้องค์ราชัน
  • วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน เวลา 08.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล (โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และในส่วนภูมิภาคจัดที่หน้าศาลากลางของทุกจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนกลางในการจัดพิธี และหน่วยงานอื่น ๆ จัดที่สถานที่ตั้งของหน่วยงานตามความเหมาะสม)
  • วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายเครื่องราชสักการะ และ จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และพิธีถวายพระพรชัยมงคล ของเหล่าข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย ซึ่งกำหนดจัดที่ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง และ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด ดังเช่นที่ได้จัดมาเป็นประจำทุกปี โดย มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ ณ ทำเนียบรัฐบาล เวลา 19.00 น. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สำหรับการจัดงานมีการแสดงชุดพิเศษ คือ การแสดงดนตรีของวงเฉลิมราชย์ในเพลง พ่อแห่งแผ่นดิน การแสดงโขนชุด "พระจักราวตาร" และการแสดงพลุกับดอกไม้ไฟเฉลิมพระเกียรติ

งานศาสนพิธี

[แก้]

รัฐบาลไทย ได้เตรียมการจัดศาสนพิธี เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • จัดงานอุปสมบทหมู่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัด
  • จัดสาธยายพระไตรปิฎกทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม ถึง 10 ธันวาคม
  • จัดพิธีทางศาสนาของทุกศาสนา
  • จัดกิจกรรมโดยร่วมกับองค์กรเครือข่ายพุทธศาสนา
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จำนวนทั้งสิ้น 9 ครั้ง
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จตุรพิศ
  • การขอพระราชทานสถาปนา เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์
  • คณะสงฆ์ ทั้งในและต่างประเทศ ถวายพระพร โดยสวดชัยมงคลคาถา ตลอดปี พ.ศ. 2550 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดจัดพิธีเป็นประจำทุกเดือน โดยครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550
  • พระราชทาน ยกวัดราษฎร์ เป็นพระอารามหลวง

การประชาสัมพันธ์

[แก้]

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

สิ่งที่ระลึก

[แก้]

เหรียญที่ระลึก

[แก้]
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 80 พรรษา (ด้านหน้า)
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 80 พรรษา (ด้านหลัง)

ธนบัตรที่ระลึก

[แก้]

ธนบัตรชนิดราราคา 16 บาท จัดทำเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ธปท. เห็นเป็นการสมควรออกบัตรธนาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ณ สมัยอันเป็นมงคลนี้

ธปท. ได้ออกแบบธนบัตรใหม่ทั้งหมด และประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 และเริ่มจ่ายแลกในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 ในราคาฉบับละ 100 บาทพร้อมแผ่นพับ

ขนาดธนบัตร 22.90 x 14.70 เซนติเมตร

จำนวนการพิมพ์ ประมาณ 15 ล้านฉบับ หมายเลขธนบัตร หมวด 9ธ 0000001 - 9999999 และหมวด 9พ 0000001 - 5000000

ธนบัตรด้านหน้า เบื้องซ้ายมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นภาพประธาน ตอนกลางของธนบัตรชนิดราคา 1 บาท มีภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี 2493 ชนิดราคา 5 บาท มีภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร ในปี 2506 และชนิดราคา 10 บาท มีภาพการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีพระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี 2549 เรียงตามลำดับ

ธนบัตรด้านหลัง เป็นภาพลำดับเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย " ๙ "

เรือตรวจการณ์

[แก้]

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นชุดเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งที่กองทัพเรือไทยจัดสร้างขึ้นจำนวนทั้งหมด 3 ลำ คือ เรือ ต.991 เรือ ต.992 และเรือ ต.993 โดยมอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้จัดสร้างเรือ ต.991 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี ส่วนเรือ ต.992 และ ต.993 กองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการต่อเรือ

สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

[แก้]
สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สวนพุทธอุทยาน) ในจังหวัดอำนาจเจริญ

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

[แก้]

ปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน ให้เป็นโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 9 แห่ง ได้แก่

ตราสัญลักษณ์

[แก้]

ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 ออกแบบโดย สุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ 7 กลุ่มงานศิลปประยุกต์ กลุ่มจิตรกรรมศิลปประยุกต์และลายรดน้ำ กรมศิลปากร

สำหรับข้อปฏิบัติในการใช้ตราสัญลักษณ์นั้น มีดังนี้

  1. กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน) เพื่อพิจารณาคำขออนุญาต
  2. โครงการและกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ จากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว สามารถนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในโครงการและกิจกรรมได้เลย โดยให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการทราบ เพื่อรวบรวมบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยกเว้นโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะต้องได้รับการพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการก่อน
  3. ให้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้า และประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ของหน่วยงาน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี โดยไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน) ทั้งนี้ ให้ประดับในระยะเวลาของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]