ข้ามไปเนื้อหา

ชาบี อาลอนโซ

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาบี อลองโซ่)

ชาบี อาลอนโซ
อาลอนโซในปี 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ชาบิเอร์ อาลอนโซ โอลาโน[1]
วันเกิด (1981-11-25) 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (42 ปี)
สถานที่เกิด โตโลซา สเปน
ส่วนสูง 1.83 m (6 ft 0 in)[2]
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน (ผู้จัดการทีม)
สโมสรเยาวชน
อันตีโกวโก
เรอัลโซซิเอดัด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1999–2000 เรอัลโซซิเอดัด เบ 39 (2)
1999–2004 เรอัลโซซิเอดัด 114 (9)
2000–2001เอย์บาร์ (ยืมตัว) 14 (0)
2004–2009 ลิเวอร์พูล 143 (15)
2009–2014 เรอัลมาดริด 158 (4)
2014–2017 ไบเอิร์นมิวนิก 79 (5)
รวม 547 (35)
ทีมชาติ
2000 สเปน อายุไม่เกิน 18 ปี 1 (0)
2002–2003 สเปน อายุไม่เกิน 21 ปี 9 (0)
2003–2014 สเปน 114 (16)
2001–2012 บาสก์ 5 (0)
จัดการทีม
2019–2022 เรอัลโซซิเอดัด เบ
2022– ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2014

ชาบิเอร์ อาลอนโซ โอลาโน (บาสก์: Xabier Alonso Olano) หรือรู้จักในนาม ชาบี อาลอนโซ (Xabi Alonso) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 เป็นอดีตผู้เล่นทีมชาติสเปน โดยตำแหน่งที่ถนัดคือ กองกลางตัวคุมเกม ซึ่งมักจะเล่นในลักษณะครองบอลลึก ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน

อาลอนโซเริ่มต้นชีวิตนักฟุตบอลอาชีพกับทีมเรอัลโซซิเอดัด โดยถูกยืมตัวไปเล่นระยะสั้น ๆ ให้กับเอเซเด เอย์บาร์ ก่อนจะกลับมาลงเล่นในลาลิกา ผู้จัดการทีมเรอัลโซซิเอดัดในขณะนั้น จอห์น โทแช็ก ตั้งอาลอนโซเป็นกัปตันทีม และอาลอนโซก็ทำหน้าที่ได้ดีโดยพาเรอัลโซซิเอดัดไปถึงตำแหน่งรองแชมป์ลาลิกา ฤดูกาล 2002–03 หลังจากนั้นอาลอนโซได้ย้ายไปร่วมทีมกับลิเวอร์พูล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ด้วยค่าตัว 10.5 ล้านปอนด์ โดยฤดูกาลแรกที่มาถึงก็ช่วยให้ลิเวอร์พูลได้รับตำแหน่งแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเหนือเอซีมิลาน และในฤดูกาลต่อมาก็ได้แชมป์คอมมิวนิตีชีลด์และเอฟเอคัพ เขาย้ายมาอยู่กับเรอัลมาดริดเมื่อเริ่มฤดูกาล 2009–10 ด้วยค่าตัว 30 ล้านปอนด์

เขาลงเล่นเกมทีมชาตินัดแรกในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2003 ในชัยชนะ 4–0 ของทีมเหนือทีมชาติเอกวาดอร์ ในการลงแข่งขันในฐานะทีมชาติ อาลอนโซร่วมกับทีมชาติสเปน ชนะการแข่งขันในยูโร 2008, ยูโร 2012 และฟุตบอลโลก 2010 และยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมทีมในยูโร 2004 และฟุตบอลโลก 2006 ด้วย ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เขาลงแข่งในนามทีมชาติเป็นนัดที่ 100 ในรอบก่อนชิงชนะเลิศยูโร 2012 แข่งกับทีมชาติฝรั่งเศส ซึ่งเขายิงทั้ง 2 ประตูให้กับทีมชาติสเปน ส่งทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ

ประวัติ

[แก้]

วัยเยาว์

[แก้]

อาลอนโซเกิดในครอบครัวฟุตบอล พ่อของเขา เปรีโก อาลอนโซ เคยได้แชมป์ลาลิกา 2 สมัยติดต่อกันร่วมกับเรอัลโซซิเอดัด และครั้งที่ 3 กับบาร์เซโลนา ติดทีมชาติทั้งหมด 20 ครั้ง [3] อาลอนโซเกิดในโตโลซา เมืองเล็ก ๆ ในแคว้นประเทศบาสก์ ประเทศสเปน อาลอนโซอาศัยอยู่ในเมืองบาร์เซโลนา 6 ปีหลังจากนั้นจึงย้ายไปเมืองซานเซบาสเตียน ที่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของฟุตบอลของเขา ในช่วงวัยเด็กเขามักจะไปเล่นที่ปลายาเดลากอนชา (Shell Beach) [3] เสมอ และมีเพื่อนเล่นที่ชายหาดคือ มีเกล อาร์เตตา ทั้งสองมักจะดวลเทคนิคกันอยู่เสมอ ๆ[4] เขาหมกมุ่นอยู่กับฟุตบอลร่วมกับพ่อและมีเกล พี่ชาย ในศูนย์ฝึกเซเอซาบาเดย์ อาลอนโซได้รับแรงบันดาลใจจากพ่อทำให้ชอบที่จะส่งบอลมากกว่ายิงประตู[5] ในช่วงแรกของอาชีพค้าแข้งเขาเลือกที่จะเล่นเป็นกองกลางตัวรับช่วยให้เขาได้เรียนรู้การถ่ายบอลอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถนี้แหละที่ทำให้เขาเป็นที่ต้องการทั้งในระดับชาติและระดับสโมสร[3]

เมื่ออายุ 15 ปี อาลอนโซ เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองเคลส์ ในเคาน์ตีมีท ประเทศไอร์แลนด์[6] โดยเขาเล่นฟุตบอลเกลิก ทำให้พัฒนาความสนใจในกีฬานี้

อาลอนโซและอาร์เตตาในวัยเด็กฝันว่าจะได้เล่นร่วมกันที่เรอัลโซซิเอดัดเมื่อโตขึ้น ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเรียนต่างโรงเรียนกัน แต่ก็ยังเข้าร่วมกับสมาคมฟุตบอลเยาวชนเดียวกันที่อันตีโกวโก และเล่นร่วมกันที่นั่นทุกสัปดาห์ ความสามารถของพวกเขาทั้งสองเป็นที่เตะตาแมวมองของทีมระดับยักษ์ใหญ่ ทำให้เส้นทางชีวิตหักเหจากเพื่อนสนิทสู่คู่แข่ง อาลอนโซเข้าร่วมทีมเรอัลโซซิเอดัด ส่วนอาร์เตตาเข้าร่วมทีมบาร์เซโลนา[7] อาลอนโซไปอยู่กับเรอัลโซซิเอดัด ที่พี่ชายของเขาก็อยู่ในทีมนี้ด้วย[3]

อาลอนโซผ่านการคัดเลือกระดับเยาวชนและทีมสำรองที่เรอัลโซซิเอดัด และมีผลงานประทับใจให้สามารถเข้าสู่ทีมชุดใหญ่เมื่ออายุ 18 ปี[5] ในเกมโกปาเดลเรย์ พบกับโลโกรเญสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999[8] แต่หลังจากเกมนั้นก็ไม่ได้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่อีกเลย แต่แล้วโอกาสก็มาถึงอีกครั้งในฤดูกาลถัดมา ต้นฤดูกาล 2000–01 คาเบียร์ เกลเมนเต ส่งอาลอนโซลงเล่นในเซกุนดาลีกากับเอเซเด เอย์บาร์เพื่อหาประสบการณ์ พ่อของเขาคิดว่าการได้เล่นร่วมกับทีมเล็ก ๆ จะช่วยให้เขาพัฒนาได้ดี[5] แต่โซซิเอดัดก็เปลี่ยนผู้จัดการเมื่อทีมต้องจมอยู่ท้ายตารางตั้งแต่เปิดฤดูกาลจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 โซซิเอดัดตั้งจอห์น โทแช็กขึ้นเป็นผู้จัดการ ผู้จัดการทีมคนใหม่แต่งตั้งเขาในวัยเพียง 19 ปีเป็นกัปตันทีมซึ่งโดยปกติแล้วตำแหน่งนี้จะเป็นของนักเตะรุ่นใหญ่ในทีม[3] ตอนท้ายฤดูกาลโซซิเอดัดปีนกลับจากขุมนรกได้โดยจบที่อันดับ 14 ของฤดูกาล โทแช็กกล่าวชื่นชมอาลอนโซเป็นอย่างมาก โดยกล่าวว่า "ทุกอย่างในสโมสรไม่มีอะไรเป็นที่น่าประทับใจเลย เว้นแต่นักเตะจากทีมเยาวชนเท่านั้น"[3]

เรอัลโซซิเอดัด

[แก้]

ภายใต้การนำของจอห์น โทแช็ก ทีมของกัปตันอาลอนโซพลิกฟอร์มจากหน้ามือเป็นหลังมือ โทแช็กรู้ถึงความสามารถของอาลอนโซ จึงได้ทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อมและคิดวิธีการฝึกในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับกัปตันหนุ่มของเขา โดยเฉพาะการจับและควบคุมบอล[9] ในปี 2001–02 โซซิเอดัดจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 โดยอาลอนโซลงเล่นไปทั้งหมด 30 เกมและยิงประตูแรกในลีกของเขาได้ในฤดูกาลนี้เอง และยิงรวมไปทั้งสิ้น 3 ประตู โซซิเอดัดเปลี่ยนผู้จัดการอีกครั้งเป็นเรนัลด์ เดอนูอิกซ์แต่ก็ยังไว้วางใจอาลอนโซเช่นเดิม[10]

ฤดูกาล 2002–03 เป็นปีที่ทำผลงานได้ดีที่สุดนับตั้งสโมสรได้แชมป์ลาลิกาครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1981–1982 โดยจบฤดูกาลด้วยอันดับรองแชมป์ตามหลังเรอัลมาดริดแค่ 2 คะแนน และก็เป็นคะแนนสูงสุดที่สโมสรเคยได้ และผ่านเข้าไปเล่นในแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรก อาลอนโซได้รับคำชมเป็นอย่างมากในบทบาทของกองกลางตัวรับรวมไปถึงได้รับรางวัลผู้เล่นสเปนยอดเยี่ยมจากนิตยสารกีฬา ดอนบาลอน และในฤดูกาลนั้นอาลอนโซยิงช่วยทีมไปถึง 12 ประตู (รวมทุกถ้วย)[11] และจากผลงานของเขาทำให้ได้รับการเรียกตัวติดทีมชาติสเปนในสมัยของอีญากี ซาเอซ เกมแรกในนามทีมชาติเป็นชัยชนะในเกมกระชับมิตรเหนือทีมชาติเอกวาดอร์ ในเดือนเมษายน 2003 และอีญากีได้กล่าวชื่นชมเป็นอย่างมากว่า "เขามีลูกส่งระยะไกลที่แม่นยำสูงมาก และมีทัศนวิสัยที่กว้างไกลจริง ๆ"[3]

ฤดูกาล 2003–04 ฤดูกาลแห่งความสับสน ในแชมเปียนส์ลีกโซซิเอดัดผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ต้องพ่ายให้กับโอลิมปิกลียง ส่วนในลีกก็จบลงด้วยอันดับ 15 การแสดงออกที่ยอดเยี่ยมของอาลอนโซขัดกับผลงานของทีมเป็นอย่างมาก นี่เองเป็นเหตุให้อาลอนโซต้องย้ายออกจากโซซิเอดัด[11] แม้มาดริดจะแสดงความสนใจแต่อาลอนโซก็ยังต้องอยู่กับทีมต่อไป[3] มาดริดไม่อาจยอมจ่ายค่าตัว 13 ล้านปอนด์[11] ในช่วงสิ้นฤดูกาลนี้ อาลอนโซเองก็มีภารกิจต้องรับใช้ชาติในยูโร 2004[12] เขาลงสนามเป็นตัวสำรองในเกมที่สเปนมีชัยเหนือรัสเซีย 1–0 และลงเล่นเต็มเกมพบกับโปรตุเกส และก็ต้องสิ้นสุดแค่นั้นเมื่อสเปนไม่อาจผ่านเข้ารอบต่อไปหลังจากทำคะแนนตามหลังกรีซและโปรตุเกส ถึงแม้จะได้ลงสนามเพียงเล็กน้อยแต่ก็เป็นที่เตะตาของแจน โมลบี ในการส่งบอลที่แม่นยำ[3]

เมื่อตลาดนักเตะเปิดโซซิเอดัดก็ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ มีเกล อาร์เตตา เพื่อนวัยเด็กที่ฝันว่าจะได้เตะบอลร่วมกัน[13] อาร์เตตาตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่จะได้เล่นบอลร่วมกับอาลอนโซอีกครั้ง แต่ความฝันนั้นก็คงอยู่ไม่นาน[4] เมื่อลิเวอร์พูลได้ยื่นข้อเสนอให้แก่โซซิเอดัด และโซซิเอดัดก็ไม่ได้นำอาลอนโซร่วมทีมในเกมช่วงก่อนฤดูกาลด้วย[13] และแล้ววันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2004 โซซิเอดัดก็ได้ประกาศรับข้อเสนอของลิเวอร์พูลที่ 10.5 ล้านปอนด์[8][14] อาลอนโซไม่ได้เสียใจเลยกับการไม่ได้ย้ายไปมาดริดเมืองที่เป็นคู่อริของแคว้นประเทศบาสก์ ซึ่งไม่มีวันกลายเป็นจริง ในทางกลับกันเขามุ่งมั่นเต็มที่กับสโมสรใหม่ภายใต้การคุมทีมของราฟาเอล เบนีเตซอดีตผู้จัดการทีมบาเลนเซีย[3]

ลิเวอร์พูล

[แก้]

2004–05 ชัยชนะในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

[แก้]

อาลอนโซย้ายมาลิเวอร์พูลพร้อม ๆ กับลุยส์ การ์ซีอา ซานซ์จากบาร์เซโลนาเป็นการเปิดยุคใหม่ของลิเวอร์พูล ผู้จัดการทีมคนใหม่ของลิเวอร์พูล ราฟาเอล เบนีเตซ พยายามปฏิวัติสโมสรโดยรวมไปถึงการยกเครื่องผู้เล่นใหม่หมดเพื่อให้เข้ากับรูปแบบและแทคติกของเขา[15] กองกลางจอมเทคนิคชาวสเปนรายนี้ เป็นผู้เล่นคนแรกที่เบนีเตซซื้อเข้ามาและเขาก็ได้ใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์กับทีม และสร้างความแตกต่างให้กับทีม[14][16] อาลอนโซเริ่มเกมพรีเมียร์ลีกของเขาในเกมพบกับโบลตันวันเดอเรอส์ที่รีบอกสเตเดียม เมื่อ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2004 [8] ถึงแม้ลิเวอร์พูลจะแพ้ไป 1–0 แต่อาลอนโซก็ได้รับคำชื่นชมในการจ่ายบอลเป็นอย่างมากจากกลุ่มผู้สื่อข่าว[17] ในเกมพรีเมียร์ลีกพบกับฟูลัม อาลอนโซยิ่งแสดงความสามารถออกมา โดยลิเวอร์พูลตามหลังอยู่ 2–0 เบนีเตซตัดสินใจส่งอาลอนโซจากม้านั่งสำรองลงสนามในครึ่งหลัง การลงสนามของเขาทำให้ลิเวอร์พูลพลิกกลับมาชนะ 4–2[18] ในเกมนั้นอาลอนโซยิงฟรีคิกเป็นประตูขึ้นนำให้กับลิเวอร์พูล และก็เป็นประตูแรกของเขาในสีเสื้อลิเวอร์พูลด้วย[19]

อาลอนโซ เจอกับเดอะนิวเซนส์ ใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

อาลอนโซยังทำประตูสำคัญอย่างต่อเนื่องให้กับลิเวอร์พูล ทำประตูแรกในแอนฟิลด์กับเกมชนะ 2–1 เหนืออาร์เซนอล[20] เขามีความสุขเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเริ่มต้นได้ดีในอังกฤษ "ผมคิดว่าตั้งตัวได้เร็วเหรอ ไม่หรอก คุณก็รู้ว่าการไปอยู่ต่างประเทศต่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องยากแค่ไหนแต่คุณก็ต้องยอมรับมัน" "มันน่าตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่สามารถทำประตูได้ที่แอนฟีลด์ ผมเองก็ลองอยู่หลายครั้งแล้วผมก็รู้สึกเยี่ยมมากเมื่อทำได้ ยิ่งในเกมใหญ่อย่างนี้ด้วยแล้ว" [21] ในเกมกับอาร์เซนอล สตีเวน เจอร์ราร์ดหายเจ็บกลับมาลงเล่นได้อีกครั้ง การจับคู่กันของทั้งสองคนเป็นไปอย่างดีต่อเนื่องไปอีกหลายเกมจนกระทั่งอาลอนโซข้อเท้าหักในเกมพ่าย 0–1 ให้กับเชลซี ในวันปีใหม่ ค.ศ. 2005 และต้องหยุดพักไปนานถึง 3 เดือน[22][23]

เขากลับมาลงเล่นอีกครั้งในเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรองชนะเลิศนัดที่ 2 พบกับยูเวนตุส แม้อาลอนโซจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายไม่เต็มร้อยแต่ก็ต้องลงเล่นเต็มเกมเนื่องจากการบาดเจ็บของเจอราร์ด และลิเวอร์พูลก็ยันเสมอได้ 0–0 ที่อิตาลี ส่งให้ลิเวอร์พูลผ่านเข้ารอบต่อไปด้วยประตูรวม 2–1 [24] เควิน แมกคาร์รา คอลัมนิสต์แห่งหนังสือพิมพ์อังกฤษ เดอะการ์เดียน ยกให้ความสามารถของอาลอนโซเป็นสิ่งชี้นำความสำเร็จโดยกล่าวว่า "ผลการแข่งขันอันแสนวิเศษที่สตาดีโอเดลเลอัลปี เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเทคนิคอันยอดเยี่ยมสามารถลบข้อแตกต่างของร่างกายได้"[25] ในรอบรองชนะเลิศพบกับเชลซี นัดแรกอาลอนโซได้รับใบเหลืองจากการแสดงอารมณ์ฮึดฮัดเล็กน้อยในเกม 0–0 ที่ สแตมฟอร์ดบริดจ์ ทำให้ถูกห้ามลงแข่งในเกมนัดที่ 2[26] อาลอนโซกังวลกับเรื่องนี้และพยายามอุทธรณ์ต่อผู้ตัดสินแต่ไม่ได้ผล[27][28] เป็นกัปตันเจอราร์ดที่กลับมาจากบาดเจ็บในนัดที่สองและนำทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศด้วยประตูชัย 1–0 จากลุยส์ การ์เซีย โดยจะเข้าไปพบกับเอซี มิลาน[29]

พรีเมียร์ลีกปิดฉากลงแล้ว ลิเวอร์พูลได้อันดับ 5 แต่ฤดูกาลแรกของอาลอนโซยังไม่ปิดฉากลง ถ้วยใบใหญ่สุดของยุโรปแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศยังรอเขาอยู่ ลิเวอร์พูลตามหลังเอซีมิลานอยู่ 3–0 เมื่อจบครึ่งแรก แต่แล้วก็กลายเป็นมหากาพย์ชั้นเยี่ยม[30] เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตามหลังมาเป็น 3–2 และได้ลูกจุดโทษ เป็นอาลอนโซที่ต้องดวลกับดีดา ผู้รักษาประตูทีมชาติบราซิลของเอซีมิลาน ดีดาเซฟได้ในจังหวะแรกแต่อาลอนโซเข้าซ้ำได้ทัน ส่งให้ลิเวอร์พูลกลับมาตีเสมอเอซีมิลานเป็น 3–3[31] และสุดท้ายเป็นลิเวอร์พูลที่ได้แชมป์จากการยิงจุดโทษ (3–2) หลังช่วงต่อเวลา[32] อาลอนโซได้รับคำสรรเสริญเป็นอย่างมากว่าเป็นจุดสำคัญของในการกลับมาของลิเวอร์พูล และเบนีเตซเองก็ได้เพิ่มบทบาทของอาลอนโซต่อทีมมากขึ้น[33][34][35] อาลอนโซตื่นเต้นยินดีกับความสำเร็จนี้เป็นอย่างมากโดยกล่าวว่า "นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตการค้าแข้งของผม"[36] นี่เป็นปีแรกในอังกฤษที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของอาลอนโซวัย 23 ปี และแสดงให้เห็นอนาคตอันสดใส

2005–06: ชนะถ้วยเอฟเอคัพ

[แก้]
อาลอนโซกำลังเตะมุมให้กับลิเวอร์พูล

ปี 2005–06 อาลอนโซลงเล่นในทีมชุดใหญ่อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้รับบาดเจ็บหนักเหมือนฤดูกาลแรก ช่วงปิดฤดูกาล การมาถึงของกองหน้าปีเตอร์ เคราช์ กับส่วนสูงของเขาส่งให้ลิเวอร์พูลปรับเปลี่ยนรูปแบบของทีมเป็นการโยนบอลยาว เคราช์ปฏิเสธว่ามิได้เกิดเพราะการเข้ามาของเขาแต่เป็นเพราะความสามารถในการจ่ายบอลของอาลอนโซและเจอร์ราร์ดที่เป็นผู้กำหนดสไตล์การเล่นของลิเวอร์พูล[37] อาลอนโซต้องต่อสู้มากยิ่งขึ้นเพื่อแย่งตำแหน่งกับโมฮัมเหม็ด ซิสโซโก แต่เมื่อเจอร์ราร์ดได้รับบาดเจ็บและความที่เบนีเตซชอบแผนการเล่นในแบบ 4-5-1 มากกว่า ทำให้อาลอนโซได้ลงเล่นอย่างสม่ำเสมอ อาลอนโซลงเล่นในทุกเกมของลิเวอร์พูลในแชมเปียนส์ลีก แต่ทีมก็ต้องพ่ายตกรอบอย่างรวดเร็วต่อเบนฟีกา ตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้าย

7 มกราคม ค.ศ. 2006 ในเอฟเอคัพ รอบสามพบลูตันทาวน์ อาลอนโซช่วยให้ทีมพลิกกลับมาชนะ 5–3 หลังจากทีมต้องตกเป็นรอง 3–1 เมื่อเริ่มครึ่งหลังได้ไม่นาน[38] อาลอนโซทำ 2 ประตู และเป็นลูกยิงระยะไกลทั้ง 2 ประตู ลูกแรกเป็นลูกยิงจากระยะ 35 หลา ส่วนอีกลูกเป็นลูกปิดกล่องจากระยะมากกว่า 65 หลาหลังเส้นกลางสนามด้วยซ้ำ[39][8] และผลที่ตามมาจากประตูของอาลอนโซส่งให้แฟนผู้โชคดีของลิเวอร์พูลคนนึงชนะพนันถึง 25,000 ปอนด์ จากเงินต้น 200 ปอนด์ โดยลงพนันว่าอาลอนโซจะทำประตูได้จากแดนของตัวเอง[40] อาลอนโซได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าในนัดมีชัย 3–1 เหนือพอร์ตสมัท ซึ่งอาจทำให้เขาหมดสิทธิ์ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศ[41] แต่อย่างไรก็ตามเขากลับมาทันลงสนามพบกับเวสต์แฮมได้ แต่อาลอนโซก็ต้องถูกเปลี่ยนตัวออกในช่วงกลางครึ่งหลังเนื่องจากอาการบาดเจ็บ และเป็นสตีเวน เจอร์ราร์ดที่ทำประตูที่ 3 ให้ลิเวอร์พูลตามตีเสมอเวสต์แฮมอย่างเหลือเชื่อในช่วงทดเจ็บ ก่อนจะปิดท้ายด้วยชัยชนะในการดวลจุดโทษเหนือเวสต์แฮม ส่งให้อาลอนโซได้รับเหรียญรางวัลเอฟเอคัพเหรียญแรก[42]

2006–07 และ 2007–08

[แก้]
อาลอนโซ กับ เดิร์ค เคาท์ ที่ แอนฟิลด์

เป็นอาลอนโซอีกครั้งที่ทำประตูในชัยชนะ 2–0 เหนือนิวคาสเซิล ด้วยสุดยอดลูกยิงประตูจากกลางสนามอีกครั้ง (70 หลา) [43] แอนดี้ ฮันเตอร์ จากดิอินดีเพนเดนต์ ให้คำจำกัดความว่าเป็น "หนึ่งในลูกยิงสุดมหัศจรรย์ในประวัติศาสตร์ 117 ปีของลิเวอร์พูล" [44] อาลอนโซบอกว่าเขาฝึกซ้อมยิงประตูระยะไกลเป็นประจำอยู่แล้วไม่ใช่ลูกฟลุก[45] เมื่อมีคนถามว่าลูกไหนดีกว่ากัน เขาบอกว่า "ผมคิดว่าลูกยิงกับนิวคาสเซิลดีกว่า เพราะลูกที่ยิงกลับลูตันนั้นกระดอนพื้น 2–3 ครั้งก่อนเข้าประตู แต่ลูกนี้ลอยเข้าประตูไปเลย และประตูกับลูตัน ผมใช้เท้าซ้ายยิง มันต่างกัน แต่ผมก็รู้สึกยินดีที่สามารถทำประตูได้" [46] นี่เป็นประตูแรกของเขานับแต่เกมพบกับลูตัน กลายเป็นการยิงประตูจากแดนตัวเอง 2 ลูกติดต่อกัน[43]

8 มิถุนายน ค.ศ. 2007 อาลอนโซต่อสัญญากับลิเวอร์พูลอีก 5 ปีเป็นการสิ้นสุดข่าวลือการย้ายทีม เขาทำผลงานได้ดีหลังจากต่อสัญญา และกล่าวว่า "ผมรู้ว่ามีหลายสโมสรสนใจผม แต่ผมรักที่จะอยู่นี่ ผมอยู่ที่นี่มา 3 ปีแล้ว และมีความรู้สึกพิเศษกับแฟน ๆ ของทีม ผมรู้ว่าสโมสรนี้มีความหมายต่อคนหลายคน และเป็นสโมสรพิเศษที่ผมไม่อยากจากไป"[47] การขาดหายไปของเจอร์ราร์ดในช่วงออกสตาร์ตฤดูกาล 2007–08 ทำให้อาลอนโซต้องมีส่วนในเกมรุกมากขึ้นและเขายิง 2 ประตูในชัยนะ 6–0 เหนือทีมน้องใหม่ดาร์บีเคาน์ตี[48][49] แต่ทว่าการเปิดตัวอย่างสวยงามก็จบลงอย่างรวดเร็วด้วยอาการบาดเจ็บจากเกมกับพอร์ตสมัธ[50] อาการบาดเจ็บที่กระดูกฝ่าเท้าส่งผลให้เขาต้องพักไปถึง 6 สัปดาห์ และเมื่อเร่งการกลับมามากเกินไปทำให้บาดเจ็บซ้ำในเกมแรกที่กลับมา อาลอนโซกล่าวถึงเกมนั้นในภายหลังว่า "ผมรู้สึกเหนื่อยมาก เพราะเป็นเกมแรกที่ได้ลงเล่นและยังเป็นเกมที่เร็วมาก แต่ไม่มีผู้เล่นคนไหนหรอกที่อยากถูกเปลี่ยนตัวออก โดยเฉพาะในเกมที่เรากำลังได้เปรียบ"[51]

อาลอนโซกลับมาจากอาการบาดเจ็บอีกครั้งในช่วงปลายปี 2007 แต่ยังต้องต่อสู้เพื่อแย่งตำแหน่งในทีมอีกร่วมเดือนกับคาเบียร์ มาเชราโน และลูกัส เลย์วา[52][53] ตำแหน่งในทีมของเขาได้รับการการันตีเมื่อใช้กองกลาง 5 คน และแม้ว่าเบนีเตซจะยอมรับว่าอาลอนโซเป็นผู้เล่นระดับสุดยอดก็ตาม แต่เบนีเตซเลือกที่จะใช้เขาเป็นตัวเปลี่ยนเกมและทลายเกมรับของคู่แข่งขันมากกว่า[54][55] อาลอนโซลงเล่นในเกมที่ 100 ให้กับลิเวอร์พูลในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2008 พบกับมิดเดิลสโบร[56]

ฤดูกาล 2008–09

[แก้]

ก่อนเริ่มฤดูกาล 2008–2009 อาลอนโซได้รับอาจต้องย้ายออกจากสโมสร เมื่อสโมสรกำลังจะแทนที่เขาด้วยกองกลางทีมชาติอังกฤษ แกเร็ท แบร์รี[57] แม้การย้ายจะไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งเริ่มฤดูกาล แต่ข่าวลือก็ยังไม่จบและอาลอนโซรู้สึกไม่สบายใจนัก พร้อมกับที่ตำแหน่งในทีมเริ่มสั่นคลอน[58][59] แต่อย่างไรก็ตาม แฟน ๆ ของทีมช่วยให้เขามีกำลังใจเป็นอย่างมากไม่ว่าจะอยู่บนสนามหรือบนม้านั่งสำรอง อาลอนโซรับรู้เรื่องนี้ดี และกล่าวว่า "แฟนของเราแสดงความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบแล้ว ตอนที่ผมไปกินข้าวหรือกาแฟ จะมีซักคนเสมอที่เดินเข้ามาและบอกผมว่า "เราอยากให้คุณอยู่ที่นี่นะ" ผมรู้สึกยินดีที่สุดท้ายแล้วจบลงโดยไม่มีการย้ายทีมเกิดขึ้น และผมเองก็ไม่เคยขอย้ายทีมเลย"[60]

ถึงจะมีข่าวเรื่องการย้ายตัวในช่วงหน้าร้อน แต่อาลอนโซก็ยังแสดงผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมและได้รับคำชื่นชมทั้งจากเพื่อนร่วมทีมและผู้สื่อข่าวในเรื่องกำลังใจอันแข็งแกร่ง และส่งให้สโมสรเปิดฤดูกาลได้ดีที่สุดในรอบหลายปี[60][61] ความสำคัญของอาลอนโซต่อทีมถูกชี้ให้เห็นอีกครั้ง ในประตูโทนเหนือเชลซี เป็นการหยุดสถิติไร้พ่าย 4 ปี (86 นัด) ในสแตมฟอร์ดบริดจ์ของเชลซี[62] จากการเปิดเผยผลวิเคราะห์ทางสถิติของออปตา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ระบุว่า อาลอนโซเป็นนักเตะคนแรกที่ผ่านบอลสำเร็จเกิน 1,000 ครั้ง ในฤดูกาล 2008–2009 [63] ประตูสุดท้ายของเขาสำหรับการเล่นให้ลิเวอร์พูลคือในแมตช์ที่พบกับฮัลซิตี เขาทำประตูด้วยการยิงลูกวอลเลย์และยิงฟรีคิก

เรอัลมาดริด

[แก้]
อาลอนโซเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด

ฤดูกาล 2009–2010

[แก้]

อาลอนโซได้ย้ายไปอยู่ สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดด้วยค่าตัว 30 ล้านยูโรในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2009[64] มีนัยว่า เขาไม่เคยต้องการที่จะออกจากแอนฟิลด์ ด้วยสัญญาของเขาที่มีอยู่อย่างน้อยก็จนกว่าปี ค.ศ. 2012 และที่เขาออกจากสโมสรเนื่องจากมีความขัดแย้งกับ ราฟาเอล เบนีเตซ[65][66][67] อดีตเพื่อนร่วมทีมของเขา สตีเวน เจอร์ราร์ด บอกว่าเขาหมดสภาพจิตใจไปโดยการตัดสินใจของอาลอนโซและอ้างที่เขาออกจากสโมสรเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของลิเวอร์พูลที่ฟอร์มตกในฤดูกาลถัดมา[68]

อาลอนโซได้รับหมายเลข 22 ในเสื้อของมาดริดและเล่นในตำแหน่งกองกลาง เขาทำประตูแรกของเขาให้กับทีมใหม่ของเขาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2010 ด้วยการยิงลูกโทษชนะบิยาร์เรอัลไป 6–2[69] ถึงแม้เขาจะบาดเจ็บหรือถูกพักตัว แต่หลังจากนั้นมานวยล์ เปเยกรีนีก็เริ่มให้อาลอนโซเล่นในการแข่งขันของทุกอย่างเช่นใน แชมเปียนส์ลีกและในลาลิกา ในฤดูกาลแรกของเขากับเรอัลมาดริด[70]ในลาลิกาเขาช่วยสโมสรจบด้วยสถิติใหม่ของสโมสร 96 คะแนน ซึ่งตามหลัง สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา อยู่ 3 คะแนน[71] และเป็นครั้งที่สามในอาชีพของอาลอนโซในการที่เขาช่วยให้ทีมของเขาตั้งสถิติของสโมสรใหม่ในแง่ของ สถิติคะแนน ที่จบในตำแหน่งอันดับสอง (เขาประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกันกับ เรอัลโซซิเอดัด ในฤดูกาล 2002–03 และ ลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2008–09) ในช่วงฤดูกาลแรกของเขาที่เรอัลมาดริดอาลอนโซยิงสามประตูและถือเป็นหนึ่งในสโมสร "ผู้เล่นที่เหนียวแน่นมากที่สุด"[72] หนังสือพิมพ์มาร์กา ได้เผยแพร่ข่าวว่าอาลอนโซได้เป็นหนึ่งในผู้เล่นแห่งฤดูกาลโดยลงไว้ในตำแหน่งกองกลางตัวรับ และอีกคนจากเรอัลมาดริดคือ คริสเตียโน โรนัลโด[73] อาลอนโซได้รับรางวัลเดียวกันจาก อีเอสพีเอ็น ซ็อกเกอร์เน็ต[74] นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัล แอลเอฟพีอวอร์ด รางวัลจากลีกาเดฟุตบอลโปรเฟซีอองนัล สหพันธ์ฟุตบอลสเปนลีก และอาลอนโซได้เข้าชิงรางวัลกองกลางที่ดีที่สุดโดยมี ชาบี และ คาบี มาร์ตีเนซได้เข้าชิงรางวัลนี้ด้วย[75] สมาชิกหลายคนของสื่อมวลชนสเปนเช่นเดียวกับผู้สนับสนุนของเรอัลมาดริด ตั้งฉายาใหม่ในช่วงฤดูกาลนี้ชื่อว่า La Barba Roja (เคราสีแดง)[76]

ฤดูกาล 2010–2011

[แก้]

ฤดูกาลที่สองของเขาที่เรอัลมาดริดเริ่มต้นด้วยการมาถึงของผู้จัดการคนใหม่ โชเซ มูรีนโย เขาสวมเสื้อหมายเลข 14 หลังจากการจากไปของรองกัปตันทีม กูตี[77] เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เมื่อถามว่าถ้าจะเคยพิจารณาที่จะกลับไปลิเวอร์พูล อาลอนโซบอกผ่านทาง Liverpoolfc.tv "ทำไมจะไม่ล่ะ" เขายังบอกด้วยว่า "ในขณะนี้ผมไม่ทราบว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น แต่มันอาจจะเป็นไปได้ อย่าพูดว่าไม่"[78]

ฤดูกาล 2011–2012

[แก้]

อาลอนโซ เริ่มต้นฤดูกาลที่สามของเขาที่เรอัลมาดริดโดยการยิงประตูที่สองให้กับเรอัลมาดริดในนัดที่เสมอ 2–2 กับ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ใน 2011 ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ที่ซานเตียโก เบร์นาเบว ต่อมาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2011 เขาเล่นเกมอย่างเป็นทางการของเขาครบ 100 นัดสำหรับเรอัลมาดริด ในนัดที่เสมอ 0–0 กับราซินเดซันตันเดร์ อาลอนโซยังคงเป็นกำลังหลักที่ไม่มีปัญหาในสิบเอ็ดคนแรกของทีมและเรอัลมาดริดก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ถือว่าเป็นแชมป์ลีกที่อาลอนโซได้เป็นครั้งแรก

ไบเอิร์นมิวนิก

[แก้]

หลังจากประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติสเปนแล้ว อาลอนโซได้ย้ายจากเรอัลมาดริดไปร่วมทีมไบเอิร์นมิวนิก ในบุนเดิสลีกา เยอรมนี อย่างกระทันหัน[79]

การแข่งขันระดับทีมชาติ

[แก้]
อาลอนโซ ในนัดเจอกับฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสในยูโร 2012

ยูโร 2004

[แก้]

อาลอนโซได้ลงเป็นตัวสำรองในนัดที่สเปนชนะรัสเซีย 1–0 และได้ลงเต็มเวลา 90 นาทีในนัดเจอกับโปรตุเกส สเปนตกรอบในรอบแบ่งกลุ่ม

ฟุตบอลโลก 2006

[แก้]

อาลอนโซติดอยู่ในชุดทีมชาติสเปนในฟุตบอลโลก 2006 เขาเป็นผู้ยิงประตูแรกให้กับทีมชาติสเปน ประตูแรกในฐานะทีมชาติยิงในนัดเจอกับยูเครนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2006[80] ถึงแม้ว่าในรอบแบ่งกลุ่มสเปนจะชนะในทุกครั้ง แต่เขาก็ไม่สามารถนำทีมสู่ชัยชนะได้ โดยท้ายสุดแพ้ให้กับฝรั่งเศสในรอบแรกของรอบแพ้คัดออก[81]

ยูโร 2008

[แก้]

ลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2007–08 จบลงแบบไร้ถ้วยรางวัล แต่ชัยชนะที่อาลอนโซรออยู่นั้นคือ ยูโร 2008 ในการแข่งขันครั้งนี้เขามักได้ลงเป็นตัวสำรอง แต่ก็ถือเป็นผู้เล่นสำคัญ เขานำสเปนผ่านรอบแบ่งกลุ่มโดยชนะกรีซ และได้รับตำแหน่งแมนออฟเดอะแมตช์ด้วย[82] ถึงแม้ว่าเขาแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง แต่เขาก็ไม่สามารถลงในตำแหน่งตัวจริงกับทีม แสดงเห็นถึงความแข็งแกร่งของทีมชาติสเปน[83] สเปนชนะในการแข่งขันยูโรครั้งนี้ เขาลงเล่น 4 นัด จาก 6 นัด[84] กีเยม บาลาเก ผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลกล่าวว่า สเปนสมควรได้ชัยชนะและทีมเวิร์กที่ยอดเยี่ยมของทีมตลอดทั้งการแข่งขัน อาลอนโซรู้สึกปลาบปลื้มกับชัยชนะครั้งนี้และประกาศว่า "ขณะนี้ เรากำลังอยู่ในเวลาสำคัญซึ่งไม่น่าเชื่อและพวกเรากำลังเดินอยู่ในความฝัน ช่างน่ามหัศจรรย์"[85] ในฐานะทีมชาติ เขายังยิงประตูอีก 2 ประตู ในนัดชนะ 3–0 แข่งกับเดนมาร์กในนัดกระชับมิตรในเดือนสิงหาคม[86]

ฟุตบอลโลก 2010

[แก้]

ชาบี อาลอนโซลงแข่งในทุกเกมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ลงเล่นร่วมกับเซร์คีโอ บุสเกตส์และชาบีในตำแหน่งกองกลางและช่วยให้ทีมชนะในฟุตบอลโลกครั้งแรกของทีมชาติสเปนได้[87] ในนาทีที่ 28 ของนัดตัดสินที่แข่งกับฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ เขาถูกกองกลางเนเธอร์แลนด์ ไนเจล เดอ ยองถีบลงที่หน้าอกแบบกังฟู การฟาวล์ครั้งนี้เป็นข้อพิพาท เหตุเพราะควรเป็นการฟาวล์ที่ได้ใบแดงตรงแทนที่จะเป็นใบเหลืองจากฮาเวิร์ด เวบบ์ และเกรงว่าอาลอนโซจะเจ็บรวมถึงกลัวว่ากระดูกซี่โครงหัก[88] แต่ถึงแม้ว่ายังเจ็บ เขายังคงเล่นจนครบ 1 ชั่วโมง

ยูโร 2012

[แก้]

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ชาบี อาลอนโซลงแข่งเป็นนัดที่ 100 ให้กับทีมชาติสเปน[89]ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับฝรั่งเศส เขายิงทั้ง 2 ประตู ทำให้สเปนชนะด้วยประตู 2–0 ประตูแรกเป็นประตูหม่ง ที่ฌอร์ดี อัลบาส่งมาจากทางด้านซ้าย ส่วนลูกที่ 2 เป็นการยิงลูกโทษ หลังจากที่เปโดร โรดรีเกซถูกทำฟาวล์โดยอังตอนี เรแวแยร์ในนาทีสุดท้าย ต่อมาในรอบรองชนะเลิศอาลอนโซดวลลูกโทษพลาด ในนัดที่สเปนชนะดวลจุดโทษได้ 4–2 หลังจากเสมอ 0–0

ประกาศเลิกเล่น

[แก้]

หลังจบฟุตบอลโลก 2014 ที่สเปนซึ่งเป็นแชมป์เก่าแต่ต้องตกรอบแรก อาลอนโซได้ประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติสเปนไป หลังจากติดทีมชาติมาอย่างยาวนาน 11 ปี ติดทีมชาติทั้งสิ้น 114 นัด ยิงได้ 16 ประตู [90]

ทีมชาติบาสก์

[แก้]

อาลอนโซลงแข่งนัดแรกให้กับทีมชาติบาสก์ในนัดกระชับมิตรแข่งกับกานาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2001[91] และได้รับการเรียกตัวอยู่ประจำ แต่เนื่องจากเขายุ่งกับการแข่งสโมสร ทำให้ไม่สามารถลงแข่งได้ การแข่งครั้งล่าสุด อาลอนโซลงแข่งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2011[92] โดยพ่ายให้กับตูนิเซีย 2–0[93]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อาลอนโซเป็นคนไม่ค่อยพูดแต่เป็นมิตรกับทุกคนในทีม[94] เขาพบรักกับนาโกเร อารันบูรู และมีลูกชายคนแรกเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2008 ชื่อว่า คอนต์ชู อาลอนโซ อารันบูรู[95][96] และลูกสาว 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2010 ชื่ออาเน อาลอนโซ[97][98] อาลอนโซอยู่ข้างเธอในวันที่คลอด โดยไม่ได้ลงสนามในเกมกับอินเตอร์มิลาน อาลอนโซกล่าวในภายหลังว่า "มันน่าเสียใจนิดหน่อยที่ไม่ลงเล่นกับอินเตอร์ แต่ผมต้องอยู่กับครอบครัว"[99] แต่นี่ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างเบนีเตซกับอาลอนโซเพราะทำให้เขาไม่สามารถใช้งานอาลอนโซได้ในเกมสำคัญแบบนี้[100][101][102]

อาลอนโซกับเพื่อนในวัยเด็ก มีเกล อาร์เตตา ได้กลับมาเป็นเพื่อนบ้านกันอีกครั้งเหมือนสมัยที่อยู่ในซานเซบาสเตียน[103] หลังจากที่อาลอนโซกล่อมอาร์เตตาให้ย้ายมาร่วมทีมกับเอฟเวอร์ตัน[104] อาลอนโซยังได้ช่วยอดีตเพื่อนร่วมทีมเรอัลโซซิเอดัด ควน อูการ์เต ย้ายไปร่วมทีมกับเร็กซ์แฮม เมื่อปี 2004 ด้วย[105]

พี่ชายของเขา มีเกล อาลอนโซ อยู่กับสโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก ก่อนหน้านี้าร่วมทีมกับโบลตันในแบบยืมตัวในฤดูกาล 2007–2008 โดยมีเงื่อนไขที่อาจซื้อขาดได้[106][107] แต่สุดท้ายก็ไม่มีการย้ายถาวร มีเกลกลับสู่เรอัลโซซิเอดัดเช่นเดิม[108] อาลอนโซยังมีพี่ชายชื่อ จอน ทำงานเป็นผู้ตัดสินฟุตบอล[109]

อาลอนโซยังเป็นผู้สนับสนุนเกลิกฟุตบอล โดยเขาเชียร์ทีมมีท (Meath GAA) เขาสนใจในกีฬานี้ตั้งแต่อายุ 15 ปี เมื่อเขาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนภาษาอังกฤษที่เคลส์ เคาน์ตีมีท โดยเขาใช้เวลาว่างในการเล่นเกลิกฟุตบอล

ขณะที่เขาเล่นอยู่ที่เรอัลมาดริด อาลอนโซประกาศว่าเป็นผู้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลและกลับมาดูการแข่งขันที่แอนฟีลด์หากเขามีเวลาว่าง เขาพูดกับ เดอะไทมส์ออนไลน์ ในปี ค.ศ. 2011 ว่า "เขายังคงเป็นแฟนลิเวอร์พูลและยังเป็นตลอดไป" และเขาจะเลี้ยงลูกชายของเขาที่เกิดในลิเวอร์พูลให้เป็นแฟนหงส์แดง[110]

อาลอนโซยังเป็นผู้บริหารด้านการสื่อสารของ Laspalmas.dk ผู้สนับสนุนชาวเดนมาร์กของสโมสรสเปน สโมสรลัสปัลมัสที่เล่นอยู่ในเซกุนดาดิบิซิออน[111]

สถิติอาชีพ

[แก้]

ระดับสโมสร

[แก้]
ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2017
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย1 ลีกคัป ยุโรป อื่น ๆ2 รวม
ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู
เรอัลโซซิเอดัด 1999–2000 0 0 1 0 0 0 1 0
รวม 0 0 1 0 0 0 1 0
เอย์บาร์ 2000–01 14 0 0 0 0 0 14 0
รวม 14 0 0 0 0 0 14 0
เรอัลโซซิเอดัด 2000–01 18 0 0 0 0 0 18 0
2001–02 29 3 0 0 0 0 29 3
2002–03 33 3 1 0 0 0 34 3
2003–04 34 3 0 0 8 1 42 4
รวม 114 9 1 0 8 1 123 10
ลิเวอร์พูล 2004–05 24 2 0 0 0 0 8 1 32 3
2005–06 35 3 5 2 0 0 10 0 3 0 53 5
2006–07 32 4 1 0 2 0 15 0 1 0 51 4
2007–08 19 2 3 0 1 0 4 0 27 2
2008–09 33 4 3 0 1 0 10 1 47 5
รวม 143 15 12 2 4 0 47 2 4 0 210 19
เรอัลมาดริด 2009–10 34 3 0 0 7 0 41 3
2010–11 34 0 7 1 11 0 52 1
2011–12 36 1 4 0 10 0 2 1 52 2
2012–13 28 0 7 0 10 0 2 0 47 0
2013–14 26 0 7 0 9 0 0 0 42 0
2014–15 0 0 0 0 0 0 2 0 2 0
รวม 158 4 25 1 47 0 6 1 236 6
ไบเอิร์นมิวนิก[112] 2014–15 24 2 4 0 8 2 0 0 36 4
2015–16 26 0 4 1 8 1 1 0 39 2
2016–17 27 3 3 0 7 0 1 0 38 3
รวม 79 5 11 1 25 3 2 0 117 9
รวมทั้งหมด 508 33 50 4 4 0 128 6 11 1 701 44
1 รวม เอฟเอคัพและโกปาเดลเรย์
2 รวม ยูฟ่าซูเปอร์คัพ, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ และ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา

ระดับทีมชาติ

[แก้]
อาลอนโซในระหว่างการแข่งขันยูโร 2008
ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2012
ทีมชาติ ฤดูกาล ลงแข่ง ประตู
สเปน
2002–03 1 0
2003–04 10 0
2004–05 6 0
2005–06 12 1
2006–07 8 0
2007–08 10 2
2008–09 14 4
2009–10 15 4
2010–11 10 1
2011–12 16 3
2012–13 5 0
2013–14 5 1
รวมทั้งหมด 112 16

ประตูทีมชาติ

[แก้]
# วัน สถานที่ คู่แข่ง คะแนน ผล การแข่งขัน
1. 14 มิถุนายน ค.ศ. 2006 เซนทรัลชตาดีโยน, ไลพ์ซิจ, เยอรมนี ธงชาติยูเครน ยูเครน 1–0 4–0 ฟุตบอลโลก 2006
2. 20 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ปาร์เกน, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 0–1 0–3 นัดกระชับมิตร
3. 20 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ปาร์เกน, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 0–3 0–3 นัดกระชับมิตร
4. 1 เมษายน ค.ศ. 2009 อาลีซามีเยน, อิสตันบูล, ตุรกี ธงชาติตุรกี ตุรกี 1–1 1–2 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010
5. 28 มิถุนายน ค.ศ. 2009 รอยัลบาโฟเกง, รุสเทนเบิร์ก, แอฟริกาใต้ ธงชาติแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 3–2 3–2 2009 คอนเฟเดเรชันส์คัป
6. 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 บีเซนเตกัลเดรอน, มาดริด, สเปน ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 1–0 2–1 นัดกระชับมิตร
7. 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 บีเซนเตกัลเดรอน, มาดริด, สเปน ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 2–1 2–1 นัดกระชับมิตร
8. 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ตีโซลี, อินส์บรุค, ออสเตรีย ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 2–1 3–2 นัดกระชับมิตร
9. 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010 กอนโดมีนา, มูร์เซีย, สเปน ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 3–0 6–0 นัดกระชับมิตร
10. 7 มิถุนายน ค.ศ. 2011 โคเซอันโตเนียวอันโซอาเตกิ, ปวยร์โตลากรุซ, เวเนซุเอลา ธงชาติเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา 0–3 0–3 นัดกระชับมิตร
11. 10 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ซานนีโกลา, บารี, อิตาลี ธงชาติอิตาลี อิตาลี 1–1 2–1 นัดกระชับมิตร
12. 7 ตุลาคม ค.ศ. 2011 เจเนราลีอารีนา, ปราก, สาธารณรัฐเช็ก ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย 0–2 0–2 รอบคัดเลือกยูโร 2012
13. 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 สตาดเดอซูส, แบร์น, สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2–1 4–1 นัดกระชับมิตร
14. 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ดอนเบสส์อารีนา, โดเนตสค์, ยูเครน ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1–0 2–0 ยูโร 2012
15. 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ดอนเบสส์อารีนา, โดเนตสค์, ยูเครน ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2–0 2–0 ยูโร 2012
16 13 June 2014 Arena Fonte Nova, Salvador, Brazil ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 1–0 1–5 2014 FIFA World Cup

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
ลิเวอร์พูล
เรอัลมาดริด
ไบเอิร์นมิวนิก

ทีมชาติ

[แก้]
สเปน

ส่วนตัว

[แก้]

ผู้จัดการทีม

[แก้]
ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน

เหรียญตรา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIFA World Cup South Africa 2010: List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 4 June 2010. p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  2. "Alonso". realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 5 June 2015.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Ballague, Guillem (2005-05-22). "Clever Xabi sets the pass mark". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  4. 4.0 4.1 Fifield, Dominic (2006-03-25). "Arteta seeks revenge in battle of Basques". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  5. 5.0 5.1 5.2 Balague, Guillem (2008-05-18). "Dads and Lads: Periko and Xabi Alonso". Liverpool FC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  6. "Royal help for Alonso". eleven-a-side.com. Lynn Group. 25 May 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-26. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
  7. Hunter, Andy (2005-11-19). "Mikel Arteta: 'It's a long way from San Sebastian...'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Xabi Alonso Profile". Liverpool. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  9. Abbandonato, Paul (2008-07-03). "It's the Real deal for Toshack". Wales Online (Western Mail). สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
  10. Lowe, Sid (2002-11-04). "Sociedad enjoy ride of their lives". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  11. 11.0 11.1 11.2 Sinnott, John (2004-08-21). "Alonso the pass master". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
  12. "Xabi Alonso Profile". Football Database. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
  13. 13.0 13.1 "Real Sociedad drop Alonso". BBC Sport. 2004-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
  14. 14.0 14.1 "Alonso makes Anfield move". BBC Sport. 2004-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-12.
  15. Ortego, Enrique (2008-11-03). "La 'Rafalution' entra en la historia del Liverpool (The 'Rafalution' becomes part of Liverpool history)". Diario AS. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  16. "Liverpool grab Garcia". BBC Sport. 2004-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  17. "Bolton 1-0 Liverpool". BBC Sport. 2004-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  18. Cox, Gerry (2004-10-17). "Alonso inspires a change of fortune". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  19. "Fulham 2-4 Liverpool". BBC Sport. 2004-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  20. "Liverpool 2-1 Arsenal". BBC Sport. 2004-11-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  21. Xabi Alonso (2004-12-03). Alonso happy to be at Anfield (Windows Media Player/Real Video) (Video). BBC Sport. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0.05mins/2.00mins. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15. I think I'm settling quickly no? You know you come to a different country with a different culture but you have to accept all this"/"It was exciting to score at Anfield. I was looking for it and I felt great when I did, in a big game as well
  22. "Liverpool 0-1 Chelsea". BBC Sport. 2005-01-01. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  23. "Alonso sidelined for three months". BBC Sport. 2005-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  24. "Juventus 0-0 Liverpool". BBC Sport. 2005-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  25. McCarra, Kevin (2005-04-14). "Liverpool set up Chelsea clash". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  26. McCarra, Kevin (2005-04-28). "Red resistance tips the balance". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  27. Shaw, Phil (2005-05-25). "Alonso adds touch of the sublime". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  28. "Alonso tells of Reds heartbreak". BBC Sport. 2005-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  29. Winter, Henry (2005-05-04). "Glorious Liverpool a big noise again". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  30. Keogh, Frank (2005-05-25). "Why it was the greatest cup final". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  31. McCarra, Kevin (2005-05-26). "Grit, spirit and the ultimate glory". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  32. "AC Milan 3-3 Liverpool (aet)". BBC Sport. 2005-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  33. Fifield, Dominic (2005-05-26). "Gerrard inspires Liverpool by sheer willpower". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  34. "Benítez's brave change of tack leaves Milan in reverse gear". The Guardian. 2005-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  35. "Benítez demands trophy defence for Reds". The Guardian. 2005-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  36. "Benítez stunned by epic comeback". BBC Sport. 2006-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  37. "Crouch defends Liverpool tactics". BBC Sport. 2005-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  38. Bradbury, Jamie (2006-01-07). "Reds edge classic". The FA. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
  39. McCarra, Kevin (2006-01-09). "Echoes of another epic as Liverpool forced to treat Luton like Milan". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
  40. "Fan makes £25,000 on dream goal". BBC Sport. 2006-01-10. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  41. Anthony, Peter (2006-05-08). "Football: Classic Fowler turn undoes Portsmouth". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  42. "Liverpool 3-3 West Ham (aet)". BBC Sport. 2006-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  43. 43.0 43.1 Hughes, Ian (2006-09-20). "Liverpool 2-0 Newcastle". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  44. Hunter, Andy (2006-09-21). "Liverpool 2 Newcastle United 0: Alonso hits 70-yard wonder goal to thrill Reds". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  45. Winrow, Ian (2006-09-22). "Alonso denies his long shots are a gamble". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  46. "Newcastle goal my best". The Daily Star. 2006-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.
  47. "Alonso signs five-year Reds deal". The Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
  48. Jackson, Jamie (2007-09-02). "Benítez has Liverpool dreaming of a new tilt at the title". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
  49. "Xabi Alonso is aware he won't be playing". The Independent. 2007-09-04. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
  50. "Bad breaks put Xabi Alonso and Daniel Agger out for six weeks". Liverpool Daily Post. 2007-09-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
  51. "Xabi Alonso speaks of his Liverpool injury hell". Liverpool Daily Post. 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
  52. Barrett, Tony (2007-12-18). "Steven Gerrard out of cup clash as Xabi Alonso returns". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  53. Winter, Henry (2008-03-12). "Torres ensures Liverpool place in Fab Four". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  54. McNulty, Phil (2008-08-14). "Liverpool may fall short in title tilt". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  55. "Rafa Benítez: "Xabi Alonso es un jugador de clase superior" (Xabi Alonso is a top class player)" (ภาษาสเปน). Marca. 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  56. Hassall, Paul (2008-01-12). "Xabi's sweeper dream". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  57. "Liverpool FC still want Gareth Barry". Liverpool Daily Post. 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
  58. Barrett, Chris (2008-07-16). "Juventus end pursuit of Alonso". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
  59. "Alonso admits summer sorrow". Sky Sports. 2008-10-04. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
  60. 60.0 60.1 Taylor, Daniel (2009-10-04). "The adopted son they couldn't drive away". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
  61. "Gerrard Tribute to Xabi Alonso". Liverpool FC. 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
  62. "Alonso Fires Reds Clear at the Top". Liverpool F.C. 2008-10-26. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  63. Rice, Jimmy (2008-12-11). "Xabi's 1,000 passes". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  64. "Alonso completes £30m Real move". BBC Sport. 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
  65. Pearce, James. "Liverpool's Xabi Alonso hands in transfer request". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2009-07-30.
  66. Eaton, Paul. "Liverpool agree Alonso Deal". Liverpool. สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
  67. "Alonso completes £30m Real move". BBC Sport. 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
  68. "Gerrard 'devastated' by Alonso exit". Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
  69. "Real Madrid 6 – 2 Villarreal". ESPN. 2010-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-27. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
  70. "Xabi Alonso statistics". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.[ลิงก์เสีย]
  71. "Spanish Primera División Table 2009-2010". ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  72. Ball, Phil (17 May 2010). "At the end of the day..." ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-22. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  73. "Seis azulgranas, en el once ideal de la Liga". Marca. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  74. Alvarez, Eduardo (17 May 2010). "La Liga Team of the Season". ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-20. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  75. "Finalistas Premios LPF". LFP. สืบค้นเมื่อ 15 july 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  76. Torres, Diego (23 February 2010). "Capitán sin brazalete". El Pais. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  77. Irish, Ollie. "Cristiano Ronaldo Takes Raul's No.7 Shirt At Real Madrid, Benzema Moves To No.9, Xabi Alonso Takes No.14". Whoateallthepies.tv. สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
  78. "Alonso won't rule out Reds return". Sky Sports News. 2010-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  79. "คอนเฟิร์ม! บาเยิร์น ตกลงคว้า อลอนโซ่ คุมเกมแดนกลางเรียบร้อย". เอ็มไทย. 28 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  80. Bulman, Erica (2006-06-14). "David Villa scores twice as Spain reigns over Ukraine 4–0". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  81. "Spain 1–3 France". BBC Sport. 2007-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  82. Baskett, Simon (2008-06-18). "Second string Spain too good for Greece". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  83. Taylor, Daniel (2008-06-19). "Second-string Alonso displays class of Spanish squad". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  84. "Xabi Alonso Player Profile Euro 2008". Sky Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  85. Balague, Guillem (2008-06-30). "Exclusive Interview: Xabi Alonso". Guillem Balague. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  86. McLaughlin, Kim (2008-08-20). "UPDATE 1-Soccer-Alonso double helps Spain ease past Denmark". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  87. "FIFA player Statistics: XABI ALONSO". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  88. Joyce, Paul. "Xabi Alonso in broken rib fear". the Daily and Sunday Express. สืบค้นเมื่อ 15 July 2010.
  89. "Xabi Alonso fires Spain to Euro 2012 semifinals". 24 June 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  90. "อลอนโซ ประกาศอำลาทีมชาติสเปน". 28 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  91. "Euskadi-Ghana". Euskadiko Futbol Federakundea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  92. "Euskal Selekzioa–Tunisia preview". thoffside.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  93. "Euskal Selekzioa 0 Tunisia 2". thoffside.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  94. Rice, Jimmy (2008-12-03). "Reina hails 'One of world's best'". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  95. Recalde, Mikel (2008-07-03). "Valoro mis títulos, pero me falta una liga (I value my honours, but I still lack a league title)" (ภาษาสเปน). Noticias de Gipuzkoa (Gipuzkoa News). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  96. Beesley, Chris (2008-03-31). "Chance of Real Madrid move for Xabi Alonso". Liverpool Daily Post. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  97. Recalde, Mikel (2008-07-03). "Valoro mis títulos, pero me falta una liga (I value my honours, but I still lack a league title)" (ภาษาสเปน). Noticias de Gipuzkoa(Gipuzkoa News). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  98. Beesley, Chris (2008-03-31). "Chance of Real Madrid move for Xabi Alonso". Liverpool Daily Post. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  99. "Xabi Alonso: "Fue un poco frustrante no jugar, pero tenía que estar con mi familia" (It was a little frustrating to miss the match, but i had to be with my family)" (ภาษาสเปน). El Mundo. 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  100. Wallace, Sam (2008-03-11). "Alonso left at home after Benítez tires of baby talk". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  101. Thomas, Phil (2008-03-11). "That's yer tot, Alonso". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  102. Martín, Luis (2008-03-12). "La paternidad de Xabi Alonso provoca un lío en Anfield (Xabi Alonso's fatherhood whips up a storm at Anfield)" (ภาษาสเปน). El Pais. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  103. Ducker, James (2006-03-25). "Arteta puts friendship on hold as Everton eye Europe". The Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.[ลิงก์เสีย]
  104. Prentice, David (2008-09-26). "Mikel Arteta and Xabi Alonso's special bond put on hold in Everton-Liverpool derby". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  105. Rice, Jimmy (2007-01-18). "Xabi Alonso: The Big Interview". Liverpool FC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  106. "Bolton clinch Alonso". Manchester Evening News. 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  107. "Alonso joins Bolton from Sociedad". BBC Sport. 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  108. Lorenzo, J. L. (2008-09-03). "El club presentará mañana el ERE con Alonso y Stevanovic (The club will release Alonso and Stefanovic tomorrow under ERE legislation)" (ภาษาสเปน). Mundo Deportivo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-12-01.
  109. Daswani, Manoj (2009-01-28). El Tenerife elige a Mikel Alonso ("Tenerife sign Mikel Alonso") เก็บถาวร 2012-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. La Opinion de Tenerife. Retrieved on 2009-01-29.
  110. "Alonso: My son's a Red". Liverpool. 2011-04-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-05.
  111. "UDLP Peña Danesa". Laspalmas.dk. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12.
  112. "Xabi Alonso" (ภาษาเยอรมัน). kicker.de. สืบค้นเมื่อ 15 April 2015.
  113. "Royal Order of Sporting Merit 2011".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]