เซกุนดาดิบิซิออน
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
![]() | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1929 |
---|---|
ประเทศ | ![]() |
จำนวนทีม | 22 |
ระดับในพีระมิด | 2 |
เลื่อนชั้นสู่ | ลาลิกา |
ตกชั้นสู่ | เซกุนดาดิบิซิออน เบ |
ถ้วยระดับประเทศ | โกปาเดลเรย์ |
ถ้วยระดับนานาชาติ | ยูฟ่ายูโรปาลีก (ผ่านทางโกปาเดลเรย์) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เอเซเด อูเอสกา (1 สมัย) (2019–20) |
ชนะเลิศมากที่สุด | เรอัลมูร์เซีย (8 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | กานัลปลุสอูโน, ลาเซซตา, เตเลเดปอร์เต, ฟอร์ตา, เตรย์นตาเตเบ และมัสเกเตเล |
เว็บไซต์ | lfp.es |
![]() |
เซกุนดาดิบิซิออน (สเปน: Segunda División) หรือเรียกอีกอย่างว่า ลาลิกาเอสมาร์ตบังก์ (LaLiga SmartBank) ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน[1] เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพในประเทศสเปน และเป็นลีกอันดับที่สองในระบบลีกฟุตบอลสเปน รองจากลาลิกา (ปริเมราดิบิซิออน)
ประวัติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้างของลีก[แก้]
การเลื่อนชั้น[แก้]
ทีมอันดับ 1 และ 2 (แชมป์และรองแชมป์) จะได้เลื่อนชั้นไปเล่นในลาลิกาโดยอัตโนมัติ และทีมอันดับ 3–6 จะได้สิทธิ์เตะเพลย์ออฟ เพื่อหาแชมป์เพลย์ออฟขึ้นไปเล่นในลาลิกาอีก 1 ทีม ในขณะเดียวกัน ทีมอันดับ 18–20 ในลาลิกา จะต้องตกชั้นลงมาเล่นในเซกุนดาดิบิซิออนแทน
การตกชั้น[แก้]
สำหรับการตกชั้นไปเล่นในเซกุนดาดิบิซิออน เบของสโมสรในเซกุนดาดิบิซิออนนั้น ทีมอันดับ 19–22 จะต้องตกชั้นลงมาเล่นในเซกุนดาดิบิซิออน เบ ในขณะเดียวกัน ทีมอันดับ 1 ใน 4 โซนแข่งขันของเซกุนดาดิบิซิออน เบ จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นมาเล่นในเซกุนดาดิบิซิออนแทน
สโมสรที่เข้าร่วมเซกุนดาดิบิซิออน (ฤดูกาล 2019–20)[แก้]
สโมสร | เมือง | สนาม | ความจุ (คน) |
---|---|---|---|
กาดิซ | กาดิซ | รามอน เด การ์รันซา | 21,000 |
ซาราโกซา | ซาราโกซา | ลาโรมาเรดา | 34,596 |
ฌิโรนา | ฌิโรนา | มุนติลิบี | 9,200 |
เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา | อาโกรุญญา | อาบังกา-เรียซอร์ | 32,660 |
เตเนริเฟ | ซานตากรุซเดเตเนริเฟ | เอลิโอโดโร โรดริเกซ โลเปซ | 24,000[2] |
นูมันเซีย | โซเรีย | โลสปาฆาริโตส | 8,727 |
ปอนเฟร์ราดินา | ปอนเฟร์ราดา | เอลโตราลิน | 8,800 |
ฟูเอนลาบราดา | ฟูเอนลาบราดา | เฟร์นันโด ตอร์เรส | 2,200 |
มาลากา | มาลากา | ลาโรซาเลดา | 30,044 |
มิรันเดส | มิรันดาเดเอโบร | อันดูบา | 5,759 |
ราซินเดซันตันเดร์ | ซันตันเดร์ | เอลซาร์ดิเนโร | 22,222 |
ราโยบาเยกาโน | มาดริด | บาเยกัส | 14,505 |
ลัสปัลมัส | ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย | กรันกานาเรีย | 32,150 |
ลูโก | ลูโก | อันโช การ์โร | 7,840 |
อัลกอร์กอน | อัลกอร์กอน | ซานโตโดมิงโก | 5,100 |
อัลบาเซเต | อัลบาเซเต | การ์โลส เบลมอนเต | 17,300 |
อัลเมริอา | อัลเมริอา | ฆูเอโกสเมดิเตร์ราเนโอส | 15,000 |
อูเอสกา | อูเอสกา | เอลอัลโกรัซ | 5,500 |
เอซเตรมาดูรา | อัลเมนดราเลโฆ | ฟรันซิสโก เด ลา เอรา | 11,580 |
เอลเช | เอลเช | มาร์ติเนซ บาเลโร | 33,722 |
เอสปอร์ตินเดฆิฆอน | ฆิฆอน | เอลโมลินอน | 29,029 |
โอบิเอโด | โอบิเอโด | การ์โลส ตาร์ติเอเร | 30,500 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "LaLiga and Santander strike title sponsorship deal". La Liga. 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2016. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2019. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "Instalaciones - Estadio Heliodoro Rodríguez López" (ภาษาสเปน). Deportivo Tenerife. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019. Check date values in:
|accessdate=
(help)