แอนฟีลด์
สนามฟุตบอลแอนฟีลด์ถ่ายจากฝั่ง เคนนี ดัลกลิช | |
ชื่อเต็ม | แอนฟีลด์ |
---|---|
เจ้าของ | สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล |
ผู้ดำเนินการ | สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล |
ที่นั่งพิเศษ | 64 |
ความจุ | 60,725[2] |
สถิติผู้ชม | 61,905 (ลิเวอร์พูล–วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์, 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) |
ขนาดสนาม | 101 โดย 68 เมตร (110.5 โดย 74.4 หลา)[3] |
พื้นผิว | กราสมาสเตอร์[1] |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | ค.ศ. 1884 |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1884 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 1895, 1903, 1906, 1928, 1957, 1963, 1973, 1982, 1992, 1994, 1998, 2014–2016, 2021–2024 |
การใช้งาน | |
สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน (ค.ศ. 1884–1892) สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (ค.ศ. 1892–ปัจจุบัน) |
แอนฟีลด์ (อังกฤษ: Anfield) เป็นสนามฟุตบอลในแอนฟีลด์, ลิเวอร์พูล, อังกฤษ มีความจุ 60,725 ที่นั่ง ทำให้เป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ห้าในประเทศอังกฤษ[4] แอนฟีลด์เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรใน ค.ศ. 1892 แต่เดิมเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1884–1892 ก่อนจะย้ายไปกูดิสันพาร์ก หลังจากมีเรื่องขัดแย้งกับประธานสโมสร[5]
แอนฟีลด์ประกอบไปด้วยอัฒจันทร์สี่ด้าน ได้แก่ สปิออนค็อป, อัฒจันทร์หลัก, เซอร์ เคนนี ดัลกริช สแตนด์และอัฒจันทร์ฝั่งถนนแอนฟีลด์[6] สถิติจำนวนผู้ชมสูงสุดคือ 61,905 คน ในนัดการแข่งขันระหว่างลิเวอร์พูลกับวูฟแฮมป์ตันวอนเดอเรอส์เมื่อ ค.ศ. 1952[7] ต่อมาสนามฟุตบอลได้เปลี่ยนเป็นจากแบบยืนเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมดใน ค.ศ. 1994 อันเป็นผลมาจากรายงานเทย์เลอร์ ทำให้ความจุลดลง
ประตูทางเข้าสองฝั่งในสนามฟุตบอลตั้งชื่อตามอดีตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล บิลล์ แชงคลีและบ็อบ เพสลีย์ ผู้จัดการทีมทั้งสองได้รับเกียรติด้วยรูปปั้นนอกสนาม โดยแชงคลีเปิดตัวใน ค.ศ. 1997 อยู่ฝั่งอัฒจันทร์เดอะค็อป และเพสลีย์เปิดตัวในปี ค.ศ. 2020 อยู่ฝั่งอัฒจันทร์หลัก สนามฟุตบอลห่างจากสถานีรถไฟลิเวอร์พูลถนนไลม์ 2 ไมล์ (3 กิโลเมตร)
มีการเสนอใน ค.ศ. 2002 ให้สโมสรย้ายไปที่สนามฟุตบอลแห่งใหม่ที่อยู่ติดกับสแตนลีย์พาร์ก แต่หลังการเข้าซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลโดย เฟนเวย์สปอร์ตส์กรุปใน ค.ศ. 2010 มีความชัดเจนว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น โดยมีการตัดสินใจขยายแอนฟีลด์แทน การก่อสร้างเพื่อขยายอัฒจันทร์หลักเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2014[8] การขยายอัฒจันทร์นี้ทำให้กลายเป็นหนึ่งในอัฒจันทร์แบบมีที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในฟุตบอลยุโรป เปิดให้สาธารณะเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2016 เพิ่มความจุของสนามเป็น 54,074 ที่นั่ง[9] อัฒจันทร์ฝั่งถนนแอนฟีลด์อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการปรับปรุงใหม่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 และจะเพิ่มความจุสนามมากกว่า 61,000 ที่นั่ง
อ้างอิง
- ↑ Tarkett Sports (11 July 2017). "Tarkett Sports: Liverpool FC Opt Again for 'Hybrid' GrassMaster Pitch at Anfield".
- ↑ This Is Anfield 10 Feb 2024
- ↑ "Anfield Stadium". สืบค้นเมื่อ 23 August 2023.
- ↑ This Is Anfield 10 Feb 2024
- ↑ "Liverpool Football Club is formed". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
- ↑ "Centenary Stand to be renamed The Kenny Dalglish Stand". Liverpool FC. สืบค้นเมื่อ 4 May 2017.
- ↑ "Attendances". Liverpool FC official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2010.
- ↑ "Carillion to start work on £75m Anfield expansion". The Telegraph. Retrieved 17 January 2015
- ↑ "Premier League Handbook 2022/23" (PDF). 19 July 2022. p. 26. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 April 2023.
บรรณานุกรม
- Adams, Duncan (2007). A Fan's Guide to Football Grounds: England and Wales. Hersham: Ian Allan. ISBN 978-0-7110-3268-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2008.
- Graham, Matthew (1984). Liverpool. Twickenham: Hamlyn Publishing. ISBN 0-600-50254-6.
- Inglis, Simon (1983). The Football Grounds of England and Wales. Beverley: Willow. ISBN 0-00-218024-3.
- Kelly, Stephen F. (1988). You'll Never Walk Alone. London: Queen Anne Press. ISBN 0-356-19594-5.
- Liversedge, Stan (1991). Liverpool The Official Centenary History. London: Hamlyn Publishing. ISBN 0-600-57308-7.
- Moynihan, Leo (2008). The Liverpool Miscellany. London: Vision Sports Publishing. ISBN 978-1-905326-46-4.
- Smith, Tommy (2008). Anfield Iron. London: Bantam Press. ISBN 978-0-593-05958-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สนามฟุตบอลแอนฟีลด์