ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Argentina national football team)
อาร์เจนตินา
Shirt badge/Association crest
ฉายาLa Albiceleste
(ขาวและฟ้า)[1] La Scaloneta
[2]
ฟ้าขาว (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลอาร์เจนตินา (AFA)
สมาพันธ์คอนเมบอล (อเมริกาใต้)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนลิโอเนล เอสกาโลนิ
กัปตันลิโอเนล เมสซิ
ติดทีมชาติสูงสุดลิโอเนล เมสซิ (180)
ทำประตูสูงสุดลิโอเนล เมสซิ (106)
สนามเหย้าอันโตนิโอ เบสปูซิโอ ลิเบร์ติ
รหัสฟีฟ่าARG
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 1 Steady (4 เมษายน 2024)[3]
อันดับสูงสุด1 (มีนาคม ค.ศ. 2007, ตุลาคม ค.ศ. 2007–มิถุนายน ค.ศ. 2008, กรกฎาคม–ตุลาคม ค.ศ. 2015, เมษายน ค.ศ. 2016–เมษายน ค.ศ. 2017)
อันดับต่ำสุด20 (สิงหาคม ค.ศ. 1996)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 0–6 อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา
(มอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย; 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1902) [4][5][6][7]
ชนะสูงสุด
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 12–0 เอกวาดอร์ ธงชาติเอกวาดอร์
(มอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย; 22 มกราคม ค.ศ. 1942)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย 6–1 อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา
(เฮลซิงบอรย์ ประเทศสวีเดน; 15 มิถุนายน ค.ศ. 1958)
ธงชาติโบลิเวีย โบลิเวีย 6–1 อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา
(ลาปาซ ประเทศโบลิเวีย; 1 เมษายน ค.ศ. 2009)[8]
ธงชาติสเปน สเปน 6–1 อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา
(มาดริด ประเทศสเปน; 27 มีนาคม ค.ศ. 2018)[9]
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม19 (ครั้งแรกใน 1930)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1978, 1986, 2022)
โกปาอาเมริกา
เข้าร่วม43 (ครั้งแรกใน 1916)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1921, 1925, 1927, 1929, 1937, 1941, 1945, 1946, 1947, 1955, 1957, 1959, 1991, 1993, 2021)
แพนอเมริกันแชมเปียนชิป
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 1956)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1960)
คอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 1993)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1993, 2022)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1992)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1992)

ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา (สเปน: Selección de fútbol de Argentina) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศอาร์เจนตินา อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฟุตบอลในประเทศอาร์เจนตินา

สโมสรที่ฉายาว่า La Albiceleste ('ขาวฟ้า') ปัจุจบันพวกเขาเป็นผู้ถือครองแชมป์โลกจากการฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 2022 ซึ่งทำให้พวกเขาได้เพิ่มดาวดวงที่สามในตราสัญลักษณ์ของทีม อาร์เจนตินาเคยเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกหกครั้ง ซึ่งเป็นมากเป็นอันดับที่สองร่วมกับอิตาลี และเป็นรองเพียงบราซิลและเยอรมนี อาร์เจนตินาเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกครั้งแรกใน ค.ศ. 1930 ซึ่งพวกเขาแพ้เจ้าภาพในครั้งนั้นอย่างอุรุกวัย 4–2 พวกเขาได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในอีก 48 ปีถัดมาในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 ซึ่งทีมมีดานิเอล ปัสซาเรญญาเป็นกัปตัน พวกเขาเอาชนะเนเธอร์แลนด์ 3–1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ คว้าแชมป์โลกสมัยแรกได้สำเร็จ แปดปีถัดมา อาร์เจนตินาซึ่งมีดิเอโก มาราโดนาเป็นกัปตัน ชนะเลิศฟุตบอลโลกสมัยที่สองใน ค.ศ. 1986 ด้วยชัยชนะเหนือเยอรมนีตะวันตก 3–2 สี่ปีถัดมา ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1990 อาร์เจนตินาภายใต้การนำของมาราโดนาสามารถเข้าชิงชนะเลิศได้อีกครั้ง แต่แพ้ให้แก่เยอรมนีตะวันตก 1–0 ต่อมาในฟุตบอลโลก 2014 อาร์เจนตินาภายใต้การนำของลิโอเนล เมสซิ สามารถเข้าชิงชนะเลิศได้เป็นครั้งที่ห้า แต่ก็แพ้ให้แก่เยอรมนีในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1–0 ต่อมาในฟุตบอลโลก 2022 เมสซิพาทีมเข้าชิงชนะเลิศอีกครั้ง และคว้าแชมป์โลกสมัยที่สามได้สำเร็จ หลังจากที่เอาชนะฝรั่งเศสในการดวลลูกโทษ 4–2 หลังจากที่เสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ 3–3

ผู้จัดการทีมที่เคยพาอาร์เจนตินาชนะเลิสฟุตบอลโลก ประกอบด้วย เซซาร์ ลุยส์ เมโนติในปี 1978, การ์โลส บิลาร์โดในปี 1986 และลิโอเนล เอสกาโลนิในปี 2022 นับตั้งแต่ที่ฟีฟ่าก่อตั้งรางวัลลูกบอลทองคำซึ่งมอบให้แก่ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำรายการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 1982 มีผู้เล่นทีมชาติอาร์เจนตินาได้รับรางวัลนี้ทั้งหมดสามครั้ง ได้แก่ มาราโดนาในปี 1986 และเมสซิในปี 2014 และ 2022 ผู้เล่นทีมชาติอาร์เจนตินาที่เป็นผู้ทำประตูสูงสุดของรายการ ได้แก่ Guillermo Stábile ในปี 1930 และ Mario Kempes ในปี 1978

อาร์เจนตินาประสบความสำเร็จอย่างมากในโกปาอาเมริกา โดยชนะเลิศ 15 สมัย มากที่สุดเทียบเท่ากับอุรุกวัย ครั้งล่าสุดที่ชนะเลิศคือปี 2021 พวกเขายังชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแข่งขันรายการนี้ อาร์เจนตินาเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จในคอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์มากที่สุด ชนะเลิศสองสมัยในปี 1993 และ 2022 อาร์เจนตินามีคู่ปรับสำคัญได้แก่ บราซิล, อุรุกวัย, อังกฤษ, เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์[10][11] ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) อาร์เจนตินาเป็นทีมฟุตบอลชายทีมชาติที่ชนะเลิศถ้วยรางวัลมากที่สุดที่ 22 รายการ ส่วนรางวัลส่วนบุคคลนั้น ลิโอเนล เมสซิเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นให้แก่ทีมชาติมากที่สุดที่ 180 นัด และเป็นผู้เล่นที่ทำประตูให้แก่ทีมชาติมากที่สุดที่ 106 ประตู อาร์เจนตินามีอันดับโลกฟีฟ่าเป็นอันดับที่ 1 ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023[12]

ภาพลักษณ์[แก้]

ชุดและตราสัญลักษณ์[แก้]

ผู้ผลิต[แก้]

ผู้ผลิตชุด ระยะเวลา หมายเหตุ
อังกฤษ Gath & Chaves 1930–1934
เยอรมนี อาดิดาส 1973–1979
ฝรั่งเศส Le Coq Sportif 1980–1989
เยอรมนี อาดิดาส 1990–1998
สหรัฐ รีบอค 1999–2001
เยอรมนี อาดิดาส 2001–ปัจจุบัน

กำหนดการและผลการแข่งขัน[แก้]

ลิสต์ต่อไปนี้คือผลการแข่งขันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา รวมไปถึงแมตช์ที่ได้มีกำหนดการไว้ในอนาคต       ชนะ       เสมอ       แพ้

2022[แก้]

27 กันยายน กระชับมิตรจาเมกา ธงชาติจาเมกา0–3ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินาแฮร์ริสัน สหรัฐอเมริกา
20:00 (UTC-4) รายงาน สนามกีฬา: เร็ดบูลอารีนา
ผู้ตัดสิน: มาร์โก อันโตนิโอ ออร์ติซ ยาบส (เม็กซิโก)

ผู้ฝึกสอน[แก้]

ผู้ฝึกสอนของทีมชาติอาร์เจนติน่าคนแรกคือ อังเฆล บัซเกซ ได้รับการแต่งตั้งในปี 1924 กิเยร์โม สตาบิเล คือผู้ฝึกสอนที่คุมทีมชาติอาร์เจนตินาลงทำการแข่งขันมากที่สุด (127)

ระยะเวลา ชื่อ
1924–25 อาร์เจนตินา อังเฆล บัซเกซ
1927–28 อาร์เจนตินา โฆเซ ลาโก มิยาน
1928–29 อาร์เจนตินา ฟราซิสโก โอลาซาร์
1929–30 อาร์เจนตินา ฟรานซิสโก โอลาซาร์ &
อาร์เจนตินา ฆวน โฆตา. ตรามูโตลา
1934 อิตาลี เฟลีเป ปัสกุชชี
1934–37 อาร์เจนตินา มานูเอล เซโออาเน
1937–39 อาร์เจนตินา อังเฆล เฟร์นันเดซ โรกา
1939–58 อาร์เจนตินา กิเยร์โม สตาบิเล
1959 อาร์เจนตินา บิกโตริโอ สปิเนตโต
1960–61 อาร์เจนตินา กิเยร์โม สตาบิเล
ระยะเวลา ชื่อ
1962–63 อาร์เจนตินา ฆวน การ์โลส ลอเรนโซ
1963 อาร์เจนตินา อาเลฆันโดร กาลัน
1963–64 อาร์เจนตินา โอราซิโอ ตอร์เรส
1964–68 อาร์เจนตินา โฆเซ มาริอา มิเนลลา
1968 อิตาลี อาร์เจนตินา เรนาโต เซซารินิ
1968–69 อาร์เจนตินา อุมเบร์โต มัสชิโอ
1969 อาร์เจนตินา อาโดลโฟ เปเดร์เนรา
1969–72 อาร์เจนตินา ฆวน โฆเซ ปิซซูติ
1972–74 อาร์เจนตินา โอมาร์ ซีโบรี
1974 อาร์เจนตินา วลาดิสเลา กัป
1974–83 อาร์เจนตินา เซซาร์ ลุยส์ เมนอตติ
ระยะเวลา ชื่อ
1983–90 อาร์เจนตินา การ์โลส บิลาร์โด
1990–94 อาร์เจนตินา อัลฟิโอ บาซิเล
1994–98 อาร์เจนตินา ดานิเอล ปัสซาเรลลา
1998–2004 อาร์เจนตินา มาร์เซโล บิเอลซา
2004–06 อาร์เจนตินา โฆเซ เปเกร์มัน
2006–08 อาร์เจนตินา อัลฟิโอ บาซิเล
2008–10 อาร์เจนตินา ดิเอโก มาราโดนา
2010–11 อาร์เจนตินา เซร์ฆิโอ บาติสตา
2011–14 อาร์เจนตินา อาเลฆันโดร ซาเบลลา
2014–16 อาร์เจนตินา เฆราร์โด มาร์ติโน
2016–17 อาร์เจนตินา เอดการ์โด เบาซา
ระยะเวลา ชื่อ
2017–18 อาร์เจนตินา ฆอร์เฆ ซัมปาโอลิ
2018– อาร์เจนตินา ลิโอเนล สกาโลนิ

ทีมงานผู้ฝึกสอน[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน อาร์เจนตินา ลิโอเนล เอสกาโลนิ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อาร์เจนตินา ปาโบล ไอมาร์
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อาร์เจนตินา โรเบร์โต อายาลา
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อาร์เจนตินา วัลเตร์ ซามูเอล
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (นักวิเคราะห์) อาร์เจนตินา มาติอัส มันนา
ฟิตเนสโค้ช อาร์เจนตินา ลุยส์ มาร์ติน
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู อาร์เจนตินา มาร์ติน โตกัลลิ

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

รายชื่อนักฟุตบอล 26 คนที่อยู่ในทีมแข่งขันฟุตบอลโลก 2022.[13] ในวันที่ 17 พฤศจิกายน, นิโกลัส กอนซาเลซ ถอนตัวด้วยอาการบาดเจ็บและถูกแทนที่ด้วยอังเฆล กอร์เรอา[14] . ในวันเดียวกัน โฆอากิน กอร์เรอาถอนตัวด้วยอาการบาดเจ็บและถูกแทนที่ด้วยติอาโก อัลมาดา[15]

จำนวนนัดที่เล่นและประตู เป็นข้อมูลจากวันที่ : 16 พฤศจิกายน 2022 หลังจากการแข่งขันกับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[16]

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK ฟรังโก อาร์มานิ (1986-10-16) 16 ตุลาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 18 0 อาร์เจนตินา ริเบร์ เปลต
12 1GK เฆโรนิโม รูลิ (1992-05-20) 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 4 0 สเปน บิยาร์เรอัล
23 1GK เอมิเลียโน มาร์ติเนซ (1992-09-02) 2 กันยายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 19 0 อังกฤษ แอสตันวิลลา

2 2DF ฆวน ฟอยต์ (1998-01-12) 12 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 16 0 สเปน บิยาร์เรอัล
3 2DF นิโกลัส ตาเกลียฟิโก (1992-08-31) 31 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 42 0 ฝรั่งเศส ลียง
4 2DF กอนซาโล มอนติเอล (1997-01-01) 1 มกราคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 18 0 สเปน เซบิยา
6 2DF เฆร์มัน เปเซลา (1991-06-27) 27 มิถุนายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 32 2 สเปน เรอัลเบติส
8 2DF มาร์โกส อากุญญา (1991-10-28) 28 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 43 0 สเปน เซบิยา
13 2DF กริสเตียน โรเมโร (1998-04-27) 27 เมษายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 12 1 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์
19 2DF นิโกลัส โอตาเมนดิ (1988-02-12) 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) 93 4 โปรตุเกส เบนฟิกา
25 2DF ลิซานโดร มาร์ติเนซ (1998-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 10 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
26 2DF นาอูเอล โมลินา (1998-04-06) 6 เมษายน ค.ศ. 1998 (26 ปี) 20 0 สเปน อัตเลติโกมาดริด

5 3MF เลอันโดร ปาเรเดส (1994-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 46 4 อิตาลี ยูเวนตุส
7 3MF โรดริโก เด โปล (1994-05-24) 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 44 2 สเปน อัตเลติโกมาดริด
14 3MF เอกเซกิเอล ปาลาซิโอส (1998-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 20 0 เยอรมนี ไบเออร์ เลเวอร์คูเซิน
16 3MF ติอาโก อัลมาดา (2001-04-26) 26 เมษายน ค.ศ. 2001 (22 ปี) 1 0 สหรัฐ แอตแลนตายูไนเต็ด
17 3MF อาเลฆันโดร โกเมซ (1988-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) 15 3 สเปน เซบิยา
18 3MF กิโด โรดริเกซ (1994-04-12) 12 เมษายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 26 1 สเปน เรอัลเบติส
20 3MF อาเล็กซิส มัก อลิสเตร์ (1998-12-24) 24 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 8 0 อังกฤษ ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน
24 3MF เอนโซ เฟร์นันเดซ (2001-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 3 0 โปรตุเกส เชลซี

9 4FW ฆูเลียน อัลบาเรซ (2000-01-31) 31 มกราคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 12 3 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี
10 4FW ลิโอเนล เมสซิ (กัปตัน) (1987-06-24) 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (36 ปี) 165 91 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
11 4FW อังเฆล ดิ มาริอา (1988-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) 124 27 อิตาลี ยูเวนตุส
15 4FW อังเฆล กอร์เรอา (1995-03-09) 9 มีนาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 22 3 สเปน อัตเลติโกมาดริด
21 4FW เปาโล ดิบาลา (1993-11-15) 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 34 3 อิตาลี โรมา
22 4FW เลาตาโร มาร์ติเนซ (1997-08-22) 22 สิงหาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 40 21 อิตาลี อินเตอร์มิลาน

ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้[แก้]

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวภายในรอบ 12 เดือนล่าสุด

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK อากุสติน มาร์เชซิน (1988-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) 8 0 สเปน เซลตาเดบิโก ฟุตบอลโลก 2022 PRE
GK ฆวน มุสโซ (1994-05-06) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 2 0 อิตาลี อาตาลันตา ฟุตบอลโลก 2022 PRE
GK อากุสติน รอสซิ (1995-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 0 0 อาร์เจนตินา โบกายูนิออร์ส ฟุตบอลโลก 2022 PRE
GK เอสเตบัน อันดราดา (1991-01-26) 26 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 4 0 เม็กซิโก มอนเตร์เรย์ v. ธงชาติเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา, 24 มีนาคม 2022 PRE

DF ลูกัส มาร์ติเนซ กัวร์ตา (1996-05-10) 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 11 0 อิตาลี ฟีออเรนตีนา ฟุตบอลโลก 2022 PRE
DF วัลเตร์ กันเนมัน (1991-03-14) 14 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 6 0 บราซิล เกรมีอู ฟุตบอลโลก 2022 PRE
DF ฟากุนโด เมดินา (1999-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 2 0 ฝรั่งเศส ลองส์ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
DF มาร์โกส เซเนซิ (1997-05-10) 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 1 0 อังกฤษ บอร์นมัท ฟุตบอลโลก 2022 PRE
DF เนอูเอน เปเรซ (2000-06-24) 24 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (23 ปี) 1 0 อิตาลี อูดีเนเซ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
DF นิโกลัส เฟร์นันเดซ (2000-01-11) 11 มกราคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 0 0 สเปน เอลเช ฟุตบอลโลก 2022 PRE
DF ฟรังโก การ์โบนิ (2003-04-04) 4 เมษายน ค.ศ. 2003 (21 ปี) 0 0 อิตาลี คัลยารี v. ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์, 29 มีนาคม 2022

MF โยบานิ โล เซลโซ (1996-04-09) 9 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 41 2 สเปน บิยาร์เรอัล ฟุตบอลโลก 2022 PRE/INJ
MF โรเบร์โต เปเรย์รา (1991-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 19 2 อิตาลี อูดีเนเซ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF มักซิมิเลียโน เมซา (1992-12-15) 15 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 11 0 เม็กซิโก มอนเตร์เรย์ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF นิโกลัส โดมิงเกซ (1998-06-28) 28 มิถุนายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 11 1 อิตาลี โบโลญญา ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF ลูกัส โอกัมโปส (1994-07-11) 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 10 2 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF เอมิเลียโน บูเอนดิอา (1996-12-25) 25 ธันวาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 1 0 อังกฤษ แอสตันวิลลา ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF มาติอัส โซอูเล (2003-04-15) 15 เมษายน ค.ศ. 2003 (21 ปี) 0 0 อิตาลี ยูเวนตุส ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF นิโกลัส ปัซ (2004-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 2004 (19 ปี) 0 0 สเปน เรอัลมาดริดเบ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF ลูกา โรเมโร (2004-11-18) 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 (19 ปี) 0 0 อิตาลี ลาซีโอ ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF บาเลนติน การ์โบนิ (2005-03-05) 5 มีนาคม ค.ศ. 2005 (19 ปี) 0 0 อิตาลี อินเตอร์มิลาน U19 ฟุตบอลโลก 2022 PRE
MF มานูเอล ลันซินิ (1993-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 5 1 อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด v. ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์, 29 มีนาคม 2022
MF เตียโก เฆรัลนิก (2003-03-31) 31 มีนาคม ค.ศ. 2003 (21 ปี) 0 0 สเปน บิยาร์เรอัลเบ v. ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์, 29 มีนาคม 2022

FW โฆอากิน กอร์เรอา (1994-08-13) 13 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 19 4 อิตาลี อินเตอร์มิลาน ฟุตบอลโลก 2022 INJ
FW นิโกลัส กอนซาเลซ (1998-04-06) 6 เมษายน ค.ศ. 1998 (26 ปี) 21 3 อิตาลี ฟีออเรนตีนา ฟุตบอลโลก2022 INJ
FW ลูกัส อาลาริโอ (1992-10-08) 8 ตุลาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 9 3 เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท ฟุตบอลโลก 2022 PRE
FW โยบานิ ซิเมโอเน (1995-07-05) 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 5 1 อิตาลี นาโปลี ฟุตบอลโลก 2022 PRE
FW อาเลฆันโดร การ์นาโช (2004-07-01) 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 (19 ปี) 0 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฟุตบอลโลก 2022 PRE
FW ลูกัส โบเย (1996-02-28) 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (28 ปี) 1 0 สเปน เอลเช v. ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์, 29 มีนาคม 2022

COV ถอนตัวจากทีมเนื่องจากการกักตัวหรือติดเชื้อCOVID-19
INJ ถอนตัวเนื่องจากอาการบาดเจ็บ
PRE ไม่ติดทีมชุดสุดท้าย
RET เกษียนจากทีมชาติ
SUS ถูกแบน

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ[แก้]

สถิติการแข่ง[แก้]

ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา 1964
ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา 2018

ฟุตบอลโลก[แก้]

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    ลำดับที่สาม

สถิติฟุตบอลโลก สถิติฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ปี รอบ ตำแหน่ง เกมที่ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย เกมที่ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อุรุกวัย 1930 รองชนะเลิศ 2 5 4 0 1 18 9
อิตาลี 1934 รอบแรก 9 1 0 0 1 2 3
ฝรั่งเศส 1938 ถอนตัว
บราซิล 1950
สวิตเซอร์แลนด์ 1954
สวีเดน 1958 รอบแบ่งกลุ่ม 13 3 1 0 2 5 10 4 3 0 1 10 2
ชิลี 1962 10 3 1 1 1 2 3 2 2 0 0 11 3
อังกฤษ 1966 รอบก่อนรองชนะเลิศ 5 4 2 1 1 4 2 4 3 1 0 9 2
เม็กซิโก 1970 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 1 1 2 4 6
เยอรมนีตะวันตก 1974 รอบสอง 8 6 1 2 3 9 12 4 3 1 0 9 2
อาร์เจนตินา 1978 ชนะเลิศ 1 7 5 1 1 15 4 ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะเจ้าภาพ
สเปน 1982 รอบสอง 11 5 2 0 3 8 7 ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะแชมป์เก่า
เม็กซิโก 1986 ชนะเลิศ 1 7 6 1 0 14 5 6 4 1 1 12 6
อิตาลี 1990 รองชนะเลิศ 2 7 2 3 2 5 4 ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะแชมป์เก่า
สหรัฐ 1994 รอบสิบหกทีมสุดท้าย 10 4 2 0 2 8 6 8 4 2 2 9 10
ฝรั่งเศส 1998 รอบก่อนรองชนะเลิศ 6 5 3 1 1 10 4 16 8 6 2 23 13
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 รอบแบ่งกลุ่ม 18 3 1 1 1 2 2 18 13 4 1 42 15
เยอรมนี 2006 รอบก่อนรองชนะเลิศ 6 5 3 2 0 11 3 18 10 4 4 29 17
แอฟริกาใต้ 2010 5 5 4 0 1 10 6 18 8 4 6 23 20
บราซิล 2014 รองชนะเลิศ 2 7 5 1 1 8 4 16 9 5 2 35 15
รัสเซีย 2018 รอบสิบหกทีมสุดท้าย 16 4 1 1 2 6 9 18 7 7 4 19 16
ประเทศกาตาร์ 2022 ชนะเลิศ อันดับที่ 1 7 4 2 1 15 8 17 11 6 0 27 8
แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐ 2026 ยังไม่แข่งขัน กำลังคัดเลือก
โมร็อกโก โปรตุเกส สเปน 2030 ยังไม่แข่งขัน
ซาอุดีอาระเบีย 2034
รวม 3 สมัย 18/22 88 47 17 26 152 99 153 86 42 25 262 135

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ[แก้]

สถิติฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
ปี รอบ ตำแหน่ง เกมที่ลงเล่น ชนะ เสมอ * แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย รายชื่อนักเตะใทีม
ซาอุดีอาระเบีย 1992 ชนะเลิศ 1 2 2 0 0 7 1 รายชื่อนักเตะในทีม
ซาอุดีอาระเบีย 1995 รองชนะเลิศ 2 3 1 1 1 5 3 รายชื่อนักเตะในทีม
ซาอุดีอาระเบีย 1997 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เม็กซิโก 1999
เกาหลีใต้ญี่ปุ่น 2001
ฝรั่งเศส 2003
เยอรมนี 2005 รองชนะเลิศ 2 5 2 2 1 10 10 รายชื่อนักเตะในทีม
แอฟริกาใต้ 2009 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
บราซิล 2013
รัสเซีย 2017
รวม 1 ครั้ง 3/10 10 5 3 2 22 14 -

*หมายถึง การเสมอกันรวมถึงในรอบแพ้คัดออกจะใช้วิธีการยิงลูกโทษ

**พื้นหลังสีทอง แสดงว่า เป็นผู้ชนะทัวร์นาเมนต์นั้น กรอบสีแดง แสดงว่า เป็นเจ้าภาพทัวร์นาเมนต์นั้น

โกปาอาเมริกา[แก้]

ฟุตบอลชิงแชมป์ทวีปอเมริกาใต้ / โกปาอาเมริกา
ปี รอบ ตำแหน่ง เกมที่ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อาร์เจนตินา 1916 รอบชิงชนะเลิศ 2 3 1 2 0 7 2
อุรุกวัย1917 รอบชิงชนะเลิศ 2 3 2 0 1 5 3
บราซิล 1919 รอบชิงที่สาม 3 3 1 0 2 7 7
ชิลี 1920 รอบชิงชนะเลิศ 2 3 1 2 0 4 2
อาร์เจนตินา 1921 ชนะเลิศ 1 3 3 0 0 5 0
บราซิล 1922 รอบชิงที่สาม 4 4 2 0 2 6 3
อุรุกวัย 1923 รอบชิงชนะเลิศ 2 3 2 0 1 6 6
อุรุกวัย 1924 รอบชิงชนะเลิศ 2 3 1 2 0 2 0
อาร์เจนตินา 1925 ชนะเลิศ 1 4 3 1 0 11 4
ชิลี 1926 รอบชิงชนะเลิศ 2 4 2 1 1 14 3
เปรู 1927 ชนะเลิศ 1 3 3 0 0 15 4
อาร์เจนตินา 1929 ชนะเลิศ 1 3 3 0 0 9 1
เปรู 1935 รอบชิงชนะเลิศ 2 3 2 0 1 8 5
อาร์เจนตินา 1937 ชนะเลิศ 1 6 5 0 1 14 5
เปรู 1939 ถอนตัว
ชิลี 1941 ชนะเลิศ 1 4 4 0 0 10 2
อุรุกวัย 1942 รอบชิงชนะเลิศ 2 6 4 1 1 21 6
ชิลี 1945 ชนะเลิศ 1 6 5 1 0 22 5
อาร์เจนตินา 1946 ชนะเลิศ 1 5 5 0 0 17 3
เอกวาดอร์ 1947 ชนะเลิศ 1 7 6 1 0 28 4
บราซิล 1949 ถอนตัว
เปรู 1953 ถอนตัว
ชิลี 1955 ชนะเลิศ 1 5 4 1 0 18 6
อุรุกวัย1956 รอบชิงที่สาม 3 5 3 0 2 5 3
เปรู 1957 ชนะเลิศ 1 6 5 0 1 25 6
อาร์เจนตินา 1959 ชนะเลิศ 1 6 5 1 0 19 5
เอกวาดอร์ 1959 รอบชิงชนะเลิศ 2 4 2 1 1 9 9
โบลิเวีย 1963 รอบชิงที่สาม 3 6 3 1 2 15 10
อุรุกวัย 1967 รอบชิงชนะเลิศ 2 5 4 0 1 12 3
ทวีปอเมริกาใต้ 1975 รอบแบ่งกลุ่ม 5 4 2 0 2 17 4
ทวีปอเมริกาใต้ 1979 รอบแบ่งกลุ่ม 8 4 1 1 2 7 6
ทวีปอเมริกาใต้ 1983 รอบแบ่งกลุ่ม 6 4 1 3 0 5 4
อาร์เจนตินา 1987 รอบชิงที่สาม 4 4 1 1 2 5 4
บราซิล 1989 รอบชิงที่สาม 3 7 2 3 2 2 4
ชิลี 1991 ชนะเลิศ 1 7 6 1 0 16 6
เอกวาดอร์ 1993 ชนะเลิศ 1 6 2 4 0 6 4
อุรุกวัย 1995 รอบก่อนรองชนะเลิศ 5 4 2 1 1 8 6
โบลิเวีย 1997 รอบก่อนรองชนะเลิศ 6 4 1 2 1 4 3
ปารากวัย 1999 รอบก่อนรองชนะเลิศ 8 4 2 0 2 6 6
โคลอมเบีย 2001 ถอนตัว
เปรู 2004 รอบชิงชนะเลิศ 2 6 4 1 1 16 6
เวเนซุเอลา 2007 รอบชิงชนะเลิศ 2 6 5 0 1 16 6
อาร์เจนตินา 2011 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7 4 1 3 0 5 2
ชิลี 2015 รอบชิงชนะเลิศ 2 6 3 3 0 10 3
สหรัฐ 2016 รอบชิงชนะเลิศ 2 6 5 1 0 18 2
บราซิล 2019 รอบชิงที่สาม 3 6 3 1 2 7 6
บราซิล 2021 ชนะเลิศ 1 7 5 2 0 12 3
สหรัฐ 2024 อยู่ระหว่างการคัดเลือก
รวม 15 ครั้ง 43/47 202 127 42 33 474 182

โอลิมปิก[แก้]

สถิติโอลิมปิก
ปี รอบ ตำแหน่ง เกมที่ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
กรีซ 1896 ไม่มีการแข่งขันฟุตบอล
ฝรั่งเศส 1900 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
สหรัฐ 1904
กรีซ 1906
สหราชอาณาจักร 1908
สวีเดน 1912
เบลเยียม 1920
ฝรั่งเศส 1924
เนเธอร์แลนด์ 1928 เหรียญเงิน 2 5 3 1 1 25 7
สหรัฐ1932 ไม่มีการแข่งขันฟุตบอล
นาซีเยอรมนี1936 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
สหราชอาณาจักร 1948
ฟินแลนด์ 1952
ออสเตรเลีย 1956
อิตาลี 1960 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7 3 2 0 1 6 4
ญี่ปุ่น 1964 รอบแบ่งกลุ่ม 10 2 0 1 1 3 4
เม็กซิโก 1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เยอรมนีตะวันตก 1972
แคนาดา 1976
สหภาพโซเวียต 1980 ผ่านรอบคัดเลือกและถอนตัว
สหรัฐ 1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เกาหลีใต้ 1988 รอบก่อนรอบชนะเลิศ 8 4 1 1 2 4 5
สเปน 1992 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
สหรัฐ 1996 เหรียญเงิน 2 6 3 2 1 13 6
ออสเตรเลีย 2000 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
กรีซ 2004 เหรียญทอง 1 6 6 0 0 17 0
จีน 2008 เหรียญทอง 1 6 6 0 0 11 2
สหราชอาณาจักร 2012 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
บราซิล 2016 รอบแบ่งกลุ่ม 11 3 1 1 1 3 4
ญี่ปุ่น 2020 TBD
รวม 2 เหรียญทอง

2 เหรียญเงิน

8/19 35 22 6 7 81 32

แพนอเมริกันเกมส์[แก้]

  • 1951 - ชนะเลิศ
  • 1955 - ชนะเลิศ
  • 1959 - ชนะเลิศ
  • 1963 - รองชนะเลิศ
  • 1967 - รอบแรก
  • 1971 - ชนะเลิศ
  • 1975 - อันดับสาม
 
  • 1979 - อันดับสาม
  • 1983 - รอบแรก
  • 1987 - อันดับสาม
  • 1991 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1995 - ชนะเลิศ
  • 1999 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 2003 - ชนะเลิศ

สถิติสำคัญของผู้เล่น[แก้]

ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2022[17]
รายชื่อผู้เล่นที่เป็นตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน

ผู้เล่นที่ลงสนามมากที่สุด[แก้]

ลิโอเนล เมสซิ เจ้าของสถิติลงสนามให้ทีมชาติอาร์เจนตินามากที่สุด
อันดับ ผู้เล่น จำนวนนัดที่ลงเล่น จำนวนประตู ช่วงเวลา
1 ลิโอเนล เมสซิ 178 106 2005–ปัจจุบัน
2 Javier Mascherano 147 3 2003–2018
3 Javier Zanetti 145 5 1994–2011
4 Ángel Di María 129 28 2008–ปัจจุบัน
5 Roberto Ayala 115 7 1994–2007
6 Diego Simeone 104 11 1988–2002
7 Sergio Agüero 101 41 2006–2021
8 Nicolás Otamendi 100 4 2009–ปัจจุบัน
9 Oscar Ruggeri 97 7 1983–1994
10 Sergio Romero 96 0 2009–2018

ผู้ทำประตูสูงสุด[แก้]

อันดับ ผู้เล่น จำนวนประตู จำนวนนัดที่ลงเล่น ค่าเฉลี่ย ช่วงเวลา
1 ลิโอเนล เมสซิ (list) 98 172 0.57 2005–ปัจจุบัน
2 Gabriel Batistuta (list) 56 78 0.72 1991–2002
3 Sergio Agüero 41 101 0.41 2006–2021
4 Hernán Crespo 35 64 0.55 1995–2007
5 Diego Maradona (list) 34 91 0.37 1977–1994
6 Gonzalo Higuaín 31 75 0.41 2009–2018
7 Ángel Di María 28 129 0.21 2008–ปัจจุบัน
8 Luis Artime 24 25 0.96 1961–1967
9 Leopoldo Luque 22 45 0.49 1975–1981
Daniel Passarella 22 70 0.31 1976–1986

กัปตันในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก[แก้]

กัปตันทีมชาติอาร์เจนตินาในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก
ดาเนียล พาสซาเรลลา ในปี ค.ศ. 1978
ดิเอโก มาราโดนา ในปี ค.ศ. 1986
ลิโอเนล เมสซิ ในปี ค.ศ. 2022
ปี ผู้เล่น จำนวนนัดที่ลงเล่น จำนวนประตู
1978 ดาเนียล พาสซาเรลลา 70 22
1986 ดิเอโก มาราโดนา 91 34
2022 ลิโอเนล เมสซิ 180 106

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Grove, Daryl (19 June 2010). "An explanation: 2010 World Cup team nicknames". Dirty Tackle. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
  2. {{cite news |last1=Grove |first1=Daryl |title=¿Qué es la “Scaloneta”? Lo cuenta el propio entrenador |url=https://www.carlospazvivo.com/que-es-la-scaloneta-lo-cuenta-el-propio-entrenador/ |access-date=7 June 2022 |
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  4. Pelayes, Héctor Darío (24 September 2010). "Argentina-Uruguay Matches 1902–2009". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ iffhs
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nostalgia
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ barnade
  8. "Historial entre Argentina y Bolivia". Sitio Oficial de la Asociación del Fútbol Argentino (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
  9. "Spain 6-1 Argentina: Isco scores hat-trick as hosts dismantle Argentina". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
  10. "Great Footballing Rivalries: Argentina vs. Uruguay " SportsKeeda". Sportskeeda. 4 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 June 2012.
  11. Wetzel, Dan (1 July 2010). "War of words renews Argentina-Germany rivalry". Yahoo! Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2010. สืบค้นเมื่อ 7 June 2012.
  12. "Men's Ranking". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 November 2023.
  13. "Lista de convocados de la Selección Argentina para Qatar 2022". AFA (ภาษาสเปน). AFA. 11 November 2022. สืบค้นเมื่อ 11 November 2022.
  14. @Argentina (17 November 2022). "#SelecciónMayor Tras el entrenamiento de hoy, el futbolista Nicolás González sufrió una lesión muscular y quedará desafectado de la nómina mundialista. En su reemplazo, el CT de @Argentina, convoca a Ángel Correa" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  15. Argentina national football team [@Argentina] (17 November 2022). "El futbolista Thiago Almada se suma a la convocatoria mundialista de Qatar 2022" [Thiago Almada has been added to the squad for Qatar 2022.] (ทวีต) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 17 November 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  16. "Argentina-Estonia | Friendlies | Match | UEFA.com". UEFA.
  17. Mamrud, Roberto (12 May 2022). "Appearances for Argentina National Team" (ภาษาอังกฤษ). Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 3 June 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]