พระเจ้าอโศกมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าชายอโศก)
พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าจักรพรรดิ
Mahasamrat
Magadhapati
Magadhadhiraj
Magadha Samrat
Priyadarśin เทวานัมปริยะ
Mahasammata janapadasthamaviryaprapt
ภาพนูน ป. คริสต์ศตวรรษที่ 1/ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช จากสาญจี แสดงพระเจ้าอโศกบนราชรถ เสด็จไปยังโกลิยะที่รามคาม[1][2]
จักรพรรดิโมริยะองค์ที่ 3
ครองราชย์ป. 268 –  232 ปีก่อน ค.ศ.[3]
ราชาภิเษก269 ปีก่อน ค.ศ.[3]
ก่อนหน้าพระเจ้าพินทุสาร
ถัดไปพระเจ้าทศรถ
พระราชสมภพป. 304 ปีก่อน ค.ศ.
ปาฏลีบุตร แคว้นมคธ จักรวรรดิเมารยะ
(ปัจจุบันคือปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)
สวรรคต232 ปีก่อน ค.ศ. (ป. 71 – 72 พรรษา)
ปาฏลีบุตร แคว้นมคธ จักรวรรดิเมารยะ
ชายา
  • จักรพรรดินี เทวี (ธรรมเนียมศรีลังกา)
  • จักรพรรดินี พระนางอสันธิมิตรา (ธรรมเนียมศรีลังกา)
  • จักรพรรดินี ปัทมาวตี (ธรรมเนียมอินเดียเหนือ)
  • จักรพรรดินี Karuvaki (จารึกของพระองค์)
  • จักรพรรดินี Tishyaraksha (ธรรมเนียมศรีลังกาและอินเดียเหนือ)
พระราชบุตร
  • เจ้าชาย มเหนทระ (ธรรมเนียมศรีลังกา)
  • เจ้าหญิง สังฆมิตตา (ธรรมเนียมศรีลังกา)
  • มกุฎราชกุมาร กุณาละ (ธรรมเนียมอินเดียเหนือ)
  • เจ้าชาย Jalauka
  • เจ้าหญิง Charumati
  • เจ้าชาย Tivala (จารึกของพระองค์)
ราชวงศ์โมริยะ
พระราชบิดาจักรพรรดิ พินทุสาร เมารยะ
พระราชมารดาจักรพรรดินี สุภัทรางคี หรือ ธรรมะ[note 1]
ศาสนาพุทธ[4][5]

จักรพรรดิอโศก (เสียงอ่านภาษาสันสกฤต: [ɐˈɕoːkɐ], IAST: Aśoka; ป. 304 – 232 ปีก่อน ค.ศ.) หรือรู้จักกันในทั่วในพระนาม อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ ป. 268 ถึง 232 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์เป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทั่วเอเชียโบราณ จักรพรรดิอโศกขยายดินแดนของจักรวรรดิจากสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะไปถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถานจนถึงบังกลาเทศ เกือบทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย ยกเว้นเพียงบางส่วนของที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทมิฬนาฑู, กรณาฏกะ และเกรละ ราชธานีในรัชสมัยคือปาฏลีบุตร (ใน มคธ, ปัจจุบันคือปัฏนา) และราชธานีชนบทที่ตักศิลา และ อุชไชนะ

ศึกครั้งสำคัญของจักรพรรดิอโศกคือศึกอันโหดร้ายต่อรัฐกลิงคะ ข้อมูลจากการตีความจารึกพระเจ้าอโศก ระบุว่าพระองค์เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธ[6] หลังต้องเผชิญกับการล้มตายครั้งใหญ่ในสงครามกลิงคะ ซึ่งมีรายงานเสียชีวิตอยู่ที่ราว 100,000 รายเป็นอย่างต่ำ[7] จักรพรรดิอโศกเป็นที่จดจำในฐานผู้ตั้งอโศกสตมภ์ และเผยแผ่จารึกของพระองค์[8] และจากการส่งพระสงฆ์ไปยังศรีลังกาและเอเชียกลาง[4] รวมถึงการสร้างวิหารขึ้นเพื่อบูชาและเป็นอนุสรณ์ต่อช่วงชีวิตสำคัญของพระโคตมพุทธเจ้า[9]

การมีตัวตนของพระเจ้าอโศกในฐานะจักรพรรดิในประวัติศาสตร์เกือบถูกลืมไปแล้ว แต่นับตั้งแต่การถอดความข้อมูลที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าอโศกได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์อินเดีย ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินเดียดัดแปลงมาจากหัวเสาอโศกรูปสิงห์ ส่วนอโศกจักรนำมาดัดแปลงไปตั้งตรงกลางธงชาติอินเดีย

แหล่งที่มาของข้อมูล[แก้]

ข้อมูลของพระเจ้าอโศกมีทั้งจากจารึกของพระองค์ จารึกอื่นที่ระบุถึงพระองค์หรืออาจมาจากสมัยพระองค์ และวรรณกรรมสมัยโบราณ โดยเฉพาะข้อมูลศาสนาพุทธ[10] ข้อมูลเหล่านั้นมักขัดแย้งกันเอง แม้ว่านักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเชื่อมโยงหลักฐานของตนก็ตาม[11] เช่น ในขณะที่พระอโศกมักได้รับการระบุด้วยการสร้างโรงพยาบาลหลายแห่งในสมัยของพระองค์ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีโรงพยาบาลในอินเดียโบราณช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช หรือพระอโศกมีส่วนรับผิดชอบในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างหรือไม่[12]

พระราชกฤษฎีกาศิลาหลักของพระเจ้าอโศกที่ชูนาครห์มีจารึกของพระเจ้าอโศก (พระราชกฤษฎีกาของพระเจ้าอโศกทั้ง 14 เล่ม) Rudradaman I และ Skandagupta

จารึก

จารึกของพระเจ้าอโศกเป็นการแสดงอำนาจของจักรวรรดิแรกสุดในอนุทวีปอินเดีย[13] อย่างไรก็ตาม จารึกเหล่านี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่หัวข้อ ธรรมะ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุมมองอื่น ๆ ของรัฐหรือสังคมเมารยะน้อย[11] แม้แต่ในหัวข้อ ธรรมะ เนื้อหาเหล่านี้ก็ไม่สามารถตีความหมายอย่างตรงไปตรงมา จอห์น เอส. สตรอง นักวิชาการชาวอเมริกัน พูดไว้ว่า บางครั้งเป็นประโยชน์กว่าที่คิดว่าข้อความของพระเจ้าอโศกเป็นการโฆษณาชวนเชื่อโดยนักการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายนำเสนอภาพลักษณ์อันดีของตนเองและฝ่ายบริหาร มากกว่าบันทึกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์[14]

ตำนานศาสนาพุทธ

ข้อมูลเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกจำนวนมากมาจากตำนานศาสนาพุทธที่แสดงพระองค์เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในอุดมคติ[15] ตำราเกี่ยวกับตำนานนี้ไม่ได้อยู่ร่วมสมัยพระเจ้าอโศกและเรียบเรียงโดยนักเขียนชาวพุทธที่ใช้เรื่องราวต่าง ๆ ในการแสดงให้เห็นถึงผลของศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าอโศก ทำให้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในขณะที่ใช้ข้อมูลนี้ในทางประวัติศาสตร์[16] ในบรรดานักวิชาการสมัยใหม่ มีความเห็นตั้งแต่ละเรื่องราวเหล่านี้เป็นตำนาน ไปจนถึงการยอมรับส่วนที่ดูมีความเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ทั้งหมด[17]

ตำนานศาสนาพุทธเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกปรากฏอยู่ในหลายภาษา เช่น สันสกฤต, บาลี, ทิเบต, จีน, พม่า, เขมร, สิงหล, ไทย, ลาว และโคตัน ตำนานทั้งหมดสืบต้นตอถึงธรรมเนียมปฐมภูมิ 2 แหล่ง คือ:[18]

  • ธรรมเนียมอินเดียเหนือที่บันทึกในภาษาสันสกฤต เช่น ทิวยาวทาน (รวมถึง อโศกาวทาน); และข้อมูลภาษาจีนอย่าง A-yü wang chuan และ A-yü wang ching[18]
  • ธรรมเนียศรีลังกาที่บันทึกในภาษาบาลี เช่น ทีปวงศ์, มหาวงศ์, Vamsatthapakasini (อรรถาธิบายของ มหาวงศ์), อรรถาธิบายของพระพุทธโฆสะในเรื่องวินัย และ Samanta-pasadika[18][19]

มีความแตกต่างที่ชัดเจนบางส่วนระหว่างสองธรรมเนียมนี้ เช่น ธรรมเนียมศรีลังกาเน้นบทบาทของพระเจ้าอโศกในตติยสังคายนา และการส่งพระสงฆ์หลายรูปไปยังพื้นที่ห่างไกล ซึ่งรวมถึง มเหนทระ พระโอรส ไปยังศรีลังกา[18] อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมอินเดียเหนือไม่มีระบุถึงเหตุการณ์เหล่านี้ แต่ก็มีเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในธรรมเนียมศรีลังกา เช่นเรื่องราวเกี่ยวกับพระโอรสอีกองค์ที่มีพระนาม Kunala [20]

พระเจ้าอโศกเสด็จไปยังรามคามเพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุจากนาค แต่ไม่ได้ผล ประตูทางใต้ สถูปที่ 1 สาญจี[2]

ข้อมูลอื่น

หลักฐานเกี่ยวกับเหรียญ ประติมากรรม และโบราณคดีเป็นส่วนเสริมการวิจัยเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก[21] พระนามของพระองค์ปรากฏในรายพระนาามจักรพรรดิเมารยะในปุราณะหลายบท อย่างไรก็ตาม ข้อความเหล่านี้ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์มาก เนื่องจากนักเขียนพราหมณ์ไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์เมารยะ[22] ข้อมูลอื่น ๆ อย่าง Arthashastra และ Indica of Megasthenes ที่ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสมัยเมารยะ สามารถใช้อนุมานเกี่ยวกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกได้[23] กระนั้น Arthashastra เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานที่เน้นไปที่อุดมคติมากกว่าสถานะทางประวัติศาสตร์ และการสืบย้อนไปถึงสมัยเมารยะยังคงเป็นประเด็นถกเถียง ส่วน Indica เป็นผลงานที่สูญหาย และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่รอดมาได้ในรูปแบบของการถอดความในงานเขียนสมัยหลัง[11]

Rajatarangini ข้อมูลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์กัศมีร์นาม อโศกแห่งราชวงศ์ Gonandiya ผู้สรา้งสถูปหลายแห่ง: นักวิชาการบางสว่น เช่น Aurel Stein ระบุกษัตริย์องค์นี้เป็นจักรพรรดิอโศกแห่งเมารยะ ในขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่ม อย่าง Ananda W. P. Guruge ปัดการระบุตัวตนนี้ว่าไม่ถูกต้อง[24]

พระนามและตำแหน่ง[แก้]

พระนาม "อโศก" หมายถึง "ไร้ซึ่งความเศร้า" ตำนาน อโศกาวทาน ระบุไว้ว่า พระราชมารดาให้พระนามนี้เนื่องจากการที่พระองค์กำเนิดขจัดความเศร้าของพระนาง[25]

สวรรคต[แก้]

ธรรมเนียมศรีลังการะบุว่า พระเจ้าอโศกสวรรคตในปีรัชสมัยที่ 37[26] ซึ่งเสนอแนะว่าพระองค์สวรรคตประมาณ 232 ปีก่อน ค.ศ.[27]

ตำนานระบุว่าในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระวรกายของพระองค์ถูกเผาไหม้เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน[28]

สิ่งสืบทอด[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ข้อมูลอินเดียเหนือระบุว่าพระราชมารดาของพระองค์มีพระนามว่า สุภัทรางคี ส่วนข้อมูลศรีลังการะบุพระนางมีพระนามว่า ธรรมะ

อ้างอิง[แก้]

  1. Lahiri 2015, pp. 295–296.
  2. 2.0 2.1 Singh 2017, p. 162.
  3. 3.0 3.1 Singh 2008, p. 331.
  4. 4.0 4.1 Strong, John S. (2002–2003). Faure, Bernard (บ.ก.). "Aśoka's Wives and the Ambiguities of Buddhist Kingship". Cahiers d'Extrême-Asie. Paris: École française d'Extrême-Orient. 13 (1): 35–54. doi:10.3406/asie.2002.1176. eISSN 2117-6272. ISSN 0766-1177. JSTOR 44167352. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
  5. Lahiri 2015, p. 219.
  6. Bentley 1993, p. 44.
  7. Bentley 1993, p. 45.
  8. Bisschop, Peter C.; Cecil, Elizabeth A. (May 2019). Copp, Paul; Wedemeyer, Christian K. (บ.ก.). "Columns in Context: Venerable Monuments and Landscapes of Memory in Early India". History of Religions. University of Chicago Press for the University of Chicago Divinity School. 58 (4): 355–403. doi:10.1086/702256. ISSN 0018-2710. JSTOR 00182710. LCCN 64001081. OCLC 299661763.
  9. Bentley 1993, p. 46.
  10. Thapar 1961, pp. 5–8.
  11. 11.0 11.1 11.2 Singh 2012, p. 132.
  12. Kenneth Zysk. Asceticism And Healing in Ancient India Medicine in the Buddhist Monastery. Oxford University Press, 1991, 44. Link to book.
  13. Singh 2012, p. 131.
  14. Strong 1995, p. 141.
  15. Singh 2008, pp. 331–332.
  16. Thapar 1961, pp. 8–9.
  17. Strong 1989, p. 12.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Strong 1995, p. 143.
  19. Thapar 1961, p. 8.
  20. Strong 1995, p. 144.
  21. Thapar 1961, p. 11.
  22. Thapar 1995, p. 15.
  23. Thapar 1961, p. 9.
  24. Guruge, Review 1995, pp. 185–188.
  25. Strong 1989, p. 205.
  26. Guruge, Unresolved 1995, p. 51.
  27. Kosmin 2014, p. 36.
  28. Strong, John (2007). Relics of the Buddha. Motilal Banarsidass Publishers. p. 149. ISBN 978-81-208-3139-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • James Merry MacPhail (1918). Asoka. London: Oxford University Press.
  • Olivelle, Patrick (2024). Ashoka: Portrait of a Philosopher King. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-27490-5.
  • Sen, Colleen Taylor (2022). Ashoka and the Mauraya Dynasty: the history and legacy of ancient India's greatest empire. Dynasties. London: Reaktion Books. ISBN 978-1-78914-596-0.
  • สุรพศ ทวีศักดิ์. (2560). ความคิดทางการเมืองของพุทธศาสนายุคต้น: กำเนิดและพัฒนาการรัฐพุทธศาสนายุคอโศกและยุคกลาง. ใน ความ (ไม่) เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย. บรรณาธิการโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. น. 115-39. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2560.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระเจ้าอโศกมหาราช ถัดไป
พระเจ้าพินทุสาร กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ
(ประมาณ 268–232 ปีก่อนคริสตกาล)
พระเจ้าทศรถ เมารยะ