สไตล์ (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)
"สไตล์" | ||||
---|---|---|---|---|
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ | ||||
จากอัลบั้ม 1989 | ||||
วางจำหน่าย | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 | |||
สตูดิโอ |
| |||
แนวเพลง | ||||
ความยาว | 3:51 | |||
ค่ายเพลง | บิกแมชีน | |||
ผู้ประพันธ์เพลง |
| |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์ | ||||
| ||||
มิวสิกวิดีโอ | ||||
"สไตล์" ที่ยูทูบ |
"สไตล์" (อังกฤษ: Style) เป็นเพลงของนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ เป็นเพลงลำดับที่สามจากสตูดิโออัลบั้มที่ห้า 1989 (2014) "สไตล์" เป็นเพลงป็อปร็อก เขียนโดยสวิฟต์ แมกซ์ มาร์ติน เชลล์แบ็ก และอาลี พายามี[1][2] เพลงออกเผยแพร่สู่วิทยุโดยสังกัดรีพับลิกเรเคิดส์ พร้อมกับสังกัดหุ้นส่วนของสวิฟต์ที่ชื่อบิกแมชีนเรเคิดส์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 เป็นซิงเกิลที่สามต่อจากเพลง "แบลงก์สเปซ"[3]
"สไตล์" ได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกจากนักวิจารณ์เพลง โดยยกย่องการผลิตเพลงแบบยุค 80 และโทนที่น่าตื่นเต้น "สไตล์" ขึ้นถึงอันดับหกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นซิงเกิลที่ขึ้นสิบอันดับแรกเป็นเพลงที่สามจากอัลบั้ม 1989 ในประเทศ[4] และในชาร์ตในประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ และขึ้น 40 อันดับแรกในสหราชอาณาจักร ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์
นักสร้างสรรค์ภาพยนตร์ คายล์ นิวแมน เป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอของเพลง ร่วมแสดงโดยนักแสดงชาย ดอมินิก เชอร์วูด รับบทเป็นคนรักของสวิฟต์ มิวสิกวิดีโอเผยแพร่ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2015 โดยวิดีโอมีลักษณะที่มืดมัวและเป็นนามธรรมมากกว่ามิวสิกวิดีโอจากซิงเกิลอื่นในอัลบัม 1989 ทั้ง "เชกอิตออฟ" หรือ "แบลงก์สเปซ" สวิฟต์ยังเลือกแสดงเพลง "สไตล์" เป็นหนึ่งในรายชื่อเพลงที่แสดงในคอนเสิร์ตเวิลด์ทัวร์ของเธอสองครั้ง ทั้ง เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ (2015) เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ (2018) และดิเอราส์ทัวร์ (2023)
การผลิตและการปล่อย
[แก้]เทย์เลอร์ สวิฟต์ ได้รับอิทธิพลจากดนตรีป็อปของยุค 1980 ที่ซึ่งมีการทดลองใช้ซินธ์, ดรัมแพด และเสียงร้องที่ซ้อนเหลื่อมกัน เธอจึงตัดสินใจที่จะขยับตัวออกจากรูปแบบดนตรีคันทรีที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอในผลงานก่อน ๆ และเริ่มนำเอารูปแบบการผลิตดนตรีป็อปมาใช้อย่างตรง ๆ ในผลงานอัลบัมสตูดิโอที่ห้าของเธอในชื่อ 1989[5][6][7] ขั้นตอนการอัดเสียงเริ่มต้นในกลางปี 2013 ในช่วงเดียวกับงานแสดงเดอะเรดทัวร์ทั่วโลกซึ่งเธอแสดงเพลงจากอัลบัมสตูดิโอลำดับที่สี่ เรด[8] สวิฟต์ประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ว่าเธอกำลังทำงานร่วมกับแม็กซ์ มาร์ติน และ เชลแบ็ก อีกครั้ง เธอเคยมีผลงานร่วมกับทั้งคู่ในสามเพลงของ เรด อัลบัมก่อนหน้า[9] ทั้งคู่ได้ผลิตเพลงจำนวนเจ็ดจากสิบสามเพลงให้กับอัลบัมในรูปแบบมาตรฐาน นอกจากนี้ มาร์ตินยังเป็นผู้ผลิตพิเศษให้กับสวิฟต์ด้วย[10]
แรกเริ่มเดิมที "สไตล์" เป็นผลงานเขียนโดยนักประพันธ์ อาลี เพยามี และนักกีตาร์นีคลัส ลยุงเฟลต์ (Niklas Ljungfelt) ที่เขียนให้กับตัวเอง โดยแทร็กดนตรีที่มีกีตาร์เป็นตัวชูโรงนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปินที่ลยุงเฟลต์เรียกว่า "เพลงอิเล็กโทรนิกแบบฟังก์" ("funky electronic music") เช่น ดาฟต์พังก์ เพยามีบรรเลงเครื่องดนตรีให้กับมาร์ตินที่สตูดิโอของมาร์ติน ต่อมาสวิฟต์หลงรักแทร็กนี้มากหลังได้ยินผ่าน ๆ และตัดสินใจที่จะนำแทร็กนี้มาอัดในอัลบัมของเธอ[6] สวิฟต์, เพยามี, มาร์ติน และเชลแบ็ก ได้รับการให้เครดิตว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลง ผลงานผลิตดูแลโดยผู้ประพันธ์เพลงทุกคน ยกเว้นสวิฟต์ ไมเคิล อิลเบิร์ท (Michael Illbert) และ แซม ฮอลล์แลนด์ (Sam Holland) เป็นผู้อัดแทร็กที่เอ็มเอ็กซ์เอ็มสตูดิโอส์ (MXM Studios) ในสต็อกโฮล์ม และที่คอนเวย์เรเคิดดิงสตูดิโอในลอสแอนเจลิส ภายใต้ความข่วยเหลือของคอรี ไบซ์ (Cory Bice) เพลงได้รับการมิกซ์โดยเซอร์แบน เกเนีย (Serban Ghenea) และจอห์น ฮานีส (John Hanes) ที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ (MixStar Studios) ในเวอร์จีเนียบีช และได้รับการมาสเตอร์โดยทอม คอย์น ที่สเตอร์ลิงซาวด์ (Sterling Sound) ในนิวยอร์กซิตี[10] "สไตล์" เป็นหนึ่งในเพลงสุดท้ายที่ทีมโปรดิวเซอร์ทำเสร็จสำหรับอัลบั้ม 1989[11]
เพลงเผยแพร่ครั้งแรกในรูปแบบเพลงตัวอย่างสั้น ๆ (snippet) ในโฆษณาของอัลบัมให้กับทาร์เก็ตในวันที่ 22 ตุลาคม 2014[12] ในวันที่ 28 ธันวาคม 2014 ซีอีโอของบิกแมชชีน อดีตค่ายเพลงที่สวิฟต์เคยสังกัด สก็อต บอร์ชเชตตา จัดงานถามตอบบนทวิตเตอร์ ในคำถามที่แฟนคลับถามถึงซิงเกิลที่กำลังจะมาใน 1989 ต่อจาก "เชกอิตออฟ" และ "แบลงก์สเปซ" บอร์ชเชตตาตอบว่าเขาอยากให้เป็นเพลง "สไตล์"[1] ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 รีพับลิกเรเคิดส์ร่วมกับบิกแมชชีนทำการส่งเพลงนี้ไปยังวิทยุฮ็อตอดัลท์คอนเทมพอรารีในฐานะซิงเกิลที่สาม[3] ในวันถัดมา รีพับลิกทำการส่งเพลง "สไตล์" ให้กับวิทยุคอนเทมพอรารีฮิต และ ริทธึมมิกคอนเทมพอรารี ของสหรัฐ[13][14] เพลงปล่อยบนวิทยุคอนเทมพอรารีฮิตของอิตาลีในวันที่ 3 เมษายน 2015[15]
ดนตรีและเนื้อร้อง
[แก้]"สไตล์" เป็นเพลงแนวซินต์-ป็อปเป็นหลัก[16][17] เจสัน ลิปชักซ์ (Jason Lipshutz) ของ บิลบอร์ด ระบุลักษณะของ "สไตล์" ว่าเป็นเพลงป็อปร็อก[1] ส่วน มิกาเอล วูดส์ (Mikael Wood) ของ ลอสแอนเจลิสไทมส์ และ คิตตี เอมพายร์ ของ ดิออบเซิร์ฟเวอร์ บรรยายรูปแบบเพลงว่าเป็นเพลง "ฟังก์-ป็อป"[18][19] ช่วงครึ่งแรกของส่วนรีเฟรน (refrain) มีพื้นฐานจากคอร์ด ดีเมเจอร์ และ จีเมเจอร์ ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศออกไปทางมีความสุข ส่วนครึ่งหลังมีส่วนผสมของคอร์ด บีไมเนอร์ ซึ่งช่วยกระตุ้นความเศร้าโศกขึ้นมาเบา ๆ[20] เช่นเดียวกับเพลงอื่นใน 1989 แทร็กนี้มีการใช้ดนตรีจากซินธ์อย่างหนัก, การซ้อนเหลื่อมของเสียงร้อง และผลงานผลิตที่มีชีวิตชีวา ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากรูปแบบคันทรีอันเป็นเอกลักษณ์ของสวิฟต์[21][22][23] แซม แลนสกี (Sam Lansky) จาก ไทม์ เขียนว่า "สไตล์" มีกรูฟที่แอบมีความเป็นดิสโกยุค 1970[24] นอกจากนี้ในท่อนรีเฟรนยังมีเสียงคีย์บอร์ดประกอบเป็นจังหวะ[25] อาเล็กซ์ เพทรีดิส จาก เดอะการ์เดียน เปรียบเทียบรูปแบบที่ออกไปทางอีเล็กทรอนิกกับซาวด์แทร็กจากภาพยนตร์ ปี 2011 เรื่อง ไดรฟ์ และอัลบัมปี 2013 ของดาฟต์พังก์ชื่อ แรนดอมแอคเซสเมมอรีส์[26]
เนื้อเพลงของ "สไตล์" ถือว่ากำกวม[27] แรกเริ่มนักวิจารณ์บางส่วนคิดว่าเพลงพูดถึงความโรแมนติกและมาตรฐานความงามในแง่เชิงชู้สาว (flirtatious)[19][24] วูดชี้ให้เห็นว่าท่อนเปิดของเพลงที่ว่า "Midnight / You come and pick me up, no headlights" (เที่ยงคืน / เธอมารับฉันไป [ในรถที่]ไม่ได้เปิดไฟหน้า) เป็นการสื่ออ้อม ๆ ถึงการมีเพศสัมพันธ์ ประเด็นที่ซึ่งสวิฟต์ไม่เคยเขียนถึงในเพลงมาก่อน[18] ส่วนเนื้อเพลงท่อน "You've got that James Dean daydream look in your eye / And I've got that red lip classic thing that you like" (เธอมีหน้าตาเหมือนเจมส์ ดีน ที่กำลังฝันกลางวันที่คนรู้กันอยู่ ในแววตาของเธอ / และฉันก็มีริมฝีปากแดง [ซึ่งคือ]เรื่องคลาสสิกที่เธอชอบ) ช่วงแรกเป็นการอ้างถึงนักแสดงยุคคริสต์ทศวรรษ 1950 เจมส์ ดีน ที่ซึ่งสเปนเซอร์ คอร์นเฮเบอร์ (Spencer Kornhaber) จาก ดิแอตแลนติก ระบุว่าเป็นการสะท้อนถึงมาตรฐานความงามที่มีในคนดังของอเมริกาอย่าง มาริลิน มอนโร และ ซินดี ครอว์ฟอร์ด[28] คอร์นเฮเบอร์ชี้ว่าความงาม "คลาสสิก" ในเนื้อเพลงนั้นประกอบมากับเสียงกระซิบเบา ๆ เรื่องเชื้อชาติ (racial undertone)[28] และที่ซึ่งซาชา เกฟเฟน (Sasha Geffen) จาก คอนซีเควนซ์ออฟซาวด์ เรียกตรง ๆ ว่าหมายถึงว่าเป็นมาตรฐานความงามที่ส่วนใหญ่ใช้ได้ในผู้หญิงผิวขาว[29]
ฟอร์เรสต์ วิกแมน (Forrest Wickman) จาก สเลต พบว่าเพลงดูเหมือนจะเกี่ยวกับ "แฟชั่นไร้กาลเวลา" (timeless fashions) แต่จริง ๆ กลับเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ดี (unhealthy relationship)[30] ขณะแสดงคอนเสิร์ตสดให้กับ ไอฮาร์ตเรดิโอ เมื่อ 27 ตุลาคม 2014 สวิฟต์กล่าวว่าแรงบันดาลใจของเพลงมาจากความสัมพันธ์ที่ดูประดุจ "แฟชั่นชิ้นประจำ[ที่]... เราไม่เคยคิดจะโยนมันทิ้งออกจากตู้เสื้อผ้า"[31] สี่วันถัดมา ขณะให้สัมภาษณ์กับไรอัน ซีเครสต์ เธออธิบายว่า "สไตล์" ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความสัมพันธ์เชิงชู้สาวที่ "ผิดไปอยู่นิด ๆ ตลอด" ("always a bit off") และยังแสดงถึงมุมมองต่อความสัมพันธ์ในอดีตของเธอที่พัฒนาขึ้น ผ่านการยอมรับความผิดที่กระทำโดยทั้งสองฝ่าย แทนที่จะเป็นความคิดที่ว่า "ฉันถูก เธอผิด" แบบที่พบในเพลงก่อน ๆ[11] ท่อนที่เสนอว่าสวิฟต์โตขึ้น เช่นในท่อนที่อยู่ในพรีคอรัส (pre-chorus) ที่สอง เธอสารภาพต่อคู่รักของเธอว่าเธอก็นอกใจเช่นกัน[10][20][32]
I say, "I heard that you've been out and about with some other girl"
He says, "What you've heard is true, but I,
Can't stop thinking about you and I"
I said, "I've been there too a few times"
(แปล: ฉันพูดไปว่า "ฉันได้ยินมาว่าเธอออกไปเจอและมีอะไรกับหญิงอื่น"
เขาตอบว่า "ที่เธอได้ยินมามันจริง แต่เรา
ไม่สามารถหยุดคิดถึง[เรื่องระหว่าง]เรากับเธอ
ฉันบอกไปว่า "ฉันก็เคยทำอย่างนั้นมาก่อนสองสามครั้งเหมือนกัน")
การตอบรับเชิงวิจารณ์
[แก้]"สไตล์" ได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่จากนักวิจารณ์ดนตรี คิตตี เอมพายร์ (Kitty Empire) จาก ดิออบเซิร์ฟเวอร์ เรียกเพลงนี้ว่าเป็นเพลง "กลั่นกรองทะลุทะลวง" (percolating) ที่ "เป็นที่น่าพึงใจในทุกระดับ"[19] คอรีย์ บีสลีย์ (Corey Beasley) จาก พ็อพแมตเทอส์ ประทับใจในการออกจากรูปแบบดนตรีคันทรึของสวิฟต์ไปสู่รูปแบบใหม่ ๆ ที่ "เข้ากันได้ดีกับเธอ ราวกับถุงมือที่ข้างในหุ้มด้วยผ้าแคชเมียร์" และถือว่าเพลงนี้ "ไม่มีจุดด่างพร้อย" (immaculate)[33] เบนยามิน โบลส์ (Benjamin Boles) จาก นาว คัดเลือกให้ "สไตล์" เป็นไฮไลต์ของอัลบัม[34] โจอี กูร์เรรา (Joey Guerra) จาก ยิวสตันครอนิเคิล เชิดชูเพลงนี้ว่า "ดึงดูดยิ่ง" (compelling)[35] มิกาเอล วูด (Mikael Wood) จาก เดอะลอสแอนเจลิสไทมส์ ยกให้เพลงนี้เป็นเพลงที่โดดเด่นของอัลบัมเช่นกัน ด้วยยกเหตุผลว่าเพลงนี้ให้บรรยากาศที่ "เร้าประสาท" (sensual)[18] รอเบิร์ด รีดัม (Robert Leedham) จาก ดราวนด์อินซาวด์ ชื่นชมธีมของแทร็กที่ฉลองความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และโอบรับมุมมองทางบวกของสวิฟต์ แทนที่จะเป็นรูปแบบ "[รับบท]ผู้ถูกกระทำ" ที่สวิฟต์ชอบทำมาตลอด[36]
นักวิจารณ์ จ็อน คารามานิกา จาก เดอะนิวยอร์กไทมส์ ถือให้ "สไตล์" เป็น "จุดระบุของระดับสูง" (high mark) ของ 1989 ที่มีความโตของสวิฟต์ซึ่งทั้ง "ป่าเถื่อน, บิดเบี้ยว และ แหลมคม" เมื่อเทียบกับอัลบัมก่อนหน้า[21] ริชาร์ด เอส. เฮอ (Richard S. He) จาก บิลบอร์ด ชื่นชมเพลง "สไตล์" จากการแสดงให้เห็น "ผลงานประพันธ์เพลงของสวิฟต์ในระดับที่บริสุทธิ์ที่สุด" ผ่านการกระตุ้น "โลกของอารมณ์หลายโลก" ทั้ง ๆ ที่เลือกใช้รูปแบบการจัดวางเพลงแบบธรรมดา[37] แอนดี กิลล์ (Andy Gill) จาก ดิอินดีเพนเดนต์ อธิบายว่าธีมของเพลงมี "รสจัดจ้าน" (piquancy) และทิศทางของดนตรี "การรวมกันอย่างส่อเสี่ยงของกรูฟแบบอิเล็กโทรป็อปและรูปแบบที่ซ้ำซากจำเจของบริษัทค่ายเพลง"[38] แอลลี วอลผ์ (Allie Volpe) จาก เดอะฟีลาเดลเฟียอินไควร์เรอร์ มองว่าเนื้อเพลง "ตื้นเขิน" แต่ชื่นชมส่วนดนตรี และบอกว่าเป็น "เธอชอบที่สุดในทั้งอัลบัม"[39] ซาชา เกฟเฟน (Sasha Geffen) จาก คอนซีเควนซ์ออฟซาวด์ สรรเสริญรูปแบบทางดนตรีของเพลง แต่วิจารณ์ธีมของเนื้อเพลงที่กล่าวถึงมาตรฐานความงามของ "คนขาว" ว่าจำเจ และทำให้ "ความน่ารักแบบเด็กหญิงข้างบ้าน" ของสวิฟต์ต้องด่างพร้อย[29]
พิตช์ฟอร์ก จัดอันดับให้ "สไตล์" อยูที่ลำดับ 50 ในรายชื่อเพลงที่ดีที่สุดของปี 2014[25] ในฐานะผู้เผยแพร่เพลง จอร์แดน ซาร์เจนต์ (Jordan Sargent) ชี้ให้เห็นว่าในขณะที่เนื้อเพลงจะโอบรับ "ภาพแทนที่คุ้นเคยของความรักแบบตะวันตก" (familiar tropes of Western romance) ในเพลงก่อน ๆ ของสวิฟต์ แต่ดนตรีและเสียงร้องของสวิฟต์ที่ "หนักแน่นและหน่วงรั้ง" ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนผ่านรูปแบบของเธอ[25] เพลงถูกจัดอันดับเป็นที่ 24 ในผลสำรวจแพซซ์แอนด์จ็อพ ของปี 2015 ซึ่งเป็นผลการสำรวจนักวิจารณ์ดนตรีขนาดใหญ่ของ เดอะวิลเลจวอยซ์[40] ในงานมอบรางวัลบีเอ็มไอปี 2016 เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงที่ได้รับรางวัลของสวิฟต์ที่ทำให้เธอได้รับเกียรติยศเชิดชูเป็นนักประพันธ์เพลงแห่งปี[41] "สไตล์" ยังได้รับการเสนอชื่อเป็นผลงานนานาชาติแห่งปี ที่รางวัลดนตรีอาร์ปา 2016[42] ในปี 2020 ฮันนาห์ มีลเรีย (Hannah Mylrea) จาก เอ็นเอ็มอี จัดอันดับให้เพลงนี้เป็นหนึ่งใน 10 เพลงที่ดีที่สุดของสวิฟต์ และระบุว่าเพลงนี้เป็น "ผลงานที่ดีที่สุดของสวิฟต์" (Swift at her best)[43] ในปี 2021 นักวิจารณ์ของ แคลช เลือกให้ "สไตล์" เป็นหนึ่งใน 15 เพลงที่ดีที่สุดของสวิฟต์[44]
การตอบรับบนอันดับเพลง
[แก้]"สไตล์" เปิดตัวที่อันดับ 60 บนชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ของสหรัฐในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2014 หลังการปล่อยอัลบัมแม่ 1989[45] หลังการแสดงเพลง "สไตล์ " โดยสวิฟต์ที่งานแสดงแฟชั่นวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ปี 2014 เพลงกลับเข้ามาในชาร์ตอีกครั้งที่อันดับ 75 ของวันที่ 27 ธันวาคม 2014[46] หลังผู้บริหารของบิกแมชชีน บอร์ชเชตตา ประกาศว่าเขาสนับสนุนให้ "สไตล์" ปล่อยในรูปซิงเกิลในเดือนธันวาคม 2014 เพลงเปิดตัวบน บิลบอร์ด เมนสตรีมท็อป 40 ที่อันดับ 39 ของวันที่ 12 มกราคม 2015[47] ซิงเกิลขึ้นสูงสุดที่อันดับสิบบนชาร์ตฮอต 100 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015 และกลายมาเป็นเพลงที่สามติดต่อกันของอัลบัม 1989 ที่อยู่ในสิบอันดับแรกของฮอต 100 ต่อจากซิงเกิลอันดับหนึ่งทั้ง "เชกอิตออฟ" และ "แบลงก์สเปซ"[48] เพลงไต่ถึงอันดับสูงสุดที่อันดับหกของชาร์ตในวันที่ 21 มีนาคม 2015[49]
ซิงเกิลยังประสบความสำเร็จบนชาร์ตคอมโพเนนต์ของ บิลบอร์ด โดยอยู่อันดับหนึ่งของเมนสตรีมท็อป 40,[50] อะดัลต์ท็อป 40[51] และอะดัลต์คอนเทมพอรารี[52] "สไตล์" เป็นเพลงที่มีผลงานดีที่สุดอันดับเจ็ดบนชาร์ตเรดิโอเซิงส์ของปี 2015 โดย บิลบอร์ด โดยมีการกดฟัง (audience impressions) รวม 3.163 พันล้านครั้ง จากการเปิดเพลงนี้ 550,000 ครั้งตลอดทั้งปี[53] เพลงนี้ได้รับการรับรองทริปเปิลแพลตินัมโดยสมาคมอุตสาหกรรมค่ายเพลงอเมริกา (RIAA) ซึ่งมอบให้กับเพลงที่มีมูลค่าเทียบเท่าการขายสามล้านหน่วย โดยเทียบจากการวางจำหน่ายและจากสตรีม[54] ภายในเดือนพฤศจิกายน 2017 "สไตล์" มียอดจำหน่าย 2.2 ล้านก็อปปีในสหรัฐ[55]
ในแคนาดา ซิงเกิลขึ้นสูงสุดที่อันดับหกบนแคนาเดียนฮอต 100 และได้รับการรับรองทริปเปิลแแพลทินัมจากมิวสิกแคนาดา (MC)[56][57] "สไตล์" ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในยุโรป อยู่ในยี่สิบอันดับแรกของชาร์ตในประเทศสก็อตแลนด์ (9),[58] เช็กเกีย (11),[59] โปแลนด์ (13),[60] สโลวะเกีย (14)[61] และฮังการี (18)[62] ซิงเกิลไต่อันดับถึงที่ 21 บนยูเคซิงเกิลส์ชาร์ต และได้รับการรับรองแพลตินัมจากอุตสาหกรรมโฟโนกราฟิกบริเตน (BPI) ซึ่งมอบให้เพลงที่มียอดเทียบเท่าการจำหน่ายและการสตรีม 600,000 หน่วย[63][64] เพลงนี้ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ในโอเชียเนีย ขึ้นสูงสุดอันดับที่ 8 บนชาร์ตของออสเตรเลีย และอันดับ 11 บนชาร์ตของนิวซีแลนด์[65][66] เพลงได้รับการรับรองดับเบิลแพลตินัมโดยสมาคมอุตสาหกรรมค่ายเพลงออสเตรเลีย (ARIA)[67] และการรับรองโกลด์โดย เรเคิดเด็ดมิวสิก เอนเซด (RMNZ)[68] นอกจากนั้นยังขึ้นอันดับสูงสุดในชาร์ตของแอฟริกาใต้ด้วย[69]
มิวสิกวิดีโอ
[แก้]นักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน คายล์ นิวแมน เป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอของเพลง "สไตล์" โดยถ่ายทำในลอสแองเจลิส และถ่ายทำเสร็จภายในเวลาสี่วันในช่วงฤดูร้อนของปี 2014[70][71] ก่อนการปล่อย สวิฟต์ได้โพสต์ภาพตัวอย่างและคลิปสั้นจากวิดีโอลงบนบัญชีสื่อสังคมของเธอ[72] เธอวางแผนฉายวิดีโอรอบปฐมทัศน์ในรายการ กูดมอร์นิงอเมริกา ในเช้าวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2015 แต่ช่องดนตรีสัญชาติแคนาดา มัช ได้ปล่อยมิวสิกวิดีโอนี้ไปก่อนในช่วงเที่ยงคืนก่อนหน้า[73][74] สวิฟต์ได้อัปโหลดวิดีโอขึ้นบนบัญชีวีโวของเธอในวันเดียวกัน[75] ในวิดีโอมีนักแสดงชาวอังกฤษ ดอมินิก เชอร์วูด รับบทเป็นคนรักของสวิฟต์[76] สวิฟต์ติดต่อเขาผ่านทางข้อความมือถือราวหนึ่งเดือนก่อนการถ่ายทำ ทั้งสองรู้จักกันผ่านเพื่อนที่มีร่วมกัน ในขณะที่ถ่ายทำวิดีโอ เชอร์วูดพึ่งเสร็จสิ้นการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Take Down ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Billionaire Ransom (ออกฉายปี 2016)[71][77]
วิดีโอไม่มีแสดงถึงบท (narrative) ที่ชัดเจน แต่แสดงภาพย้อนอดีต (flashback) ที่ต่างกันของสวิฟต์และคนรักของเธอริมชายหาด, ในป่า และบนรถ[20] ในบางช่วง ชิ้นส่วนกระจกที่แตกที่ซึ่งสวิฟต์และคนรักต่างมองเห็นกันและกันผ่านทางกระจกนี้ เป็นตัวแทนถึงความทรงจำของความสัมพันธ์ในอดีตที่ยังคงเหลืออยู่[78] บทตีพิมพ์ของสื่อชื่นชมและชี้ให้เห็นถึงบรรยากาศที่มืด, เป็นนามธรรม และออกเชิงเพศ (sensual) มากกว่า เมื่อเทียบกับมิวสิกวิดีโอของเพลง "เชกอิตออฟ" และ "แบลงก์สเปซ"[20][75][79] เคลซีย์ แม็กคินนีย์ (Kelsey McKinney) จาก ว็อกซ์ ออกความเห็นว่าสวิฟต์ได้โอบรับเอาความเป็นเพศ (sexuality) ของเธอ ผ่าน "ภาพเชิงเพศ" (sensual imagery) ของเธอกำลังสัมผัสตนเอง ซึ่งเป็นการแสดงตัวอย่างถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของสวิฟต์ในฐานะศิลปิน[20] เอมิลี ลินดเนอร์ (Emilee Lindner) จาก เอ็มทีวี บรรยายวิดีโอนี้ว่า "เป็นผู้ใหญ่, มีรสชาติ และ ... เซ็กซี่" (mature, tasteful, and ... sexy)[78] ส่วน สเปนซ์ คอร์นแฮเบอร์ (Spence Kornhaber) จาก ดิแอตแลนติก ระบุว่าสวิฟต์ได้แสดงความเป็นเพศของเธอออกมาในลักษณะที่สงวน (conservative manner) มากกว่ารูปลักษณ์ของเธอที่ร่วมสมัยกันซึ่งทำให้เธอแตกต่างจาก "ความหมกมุ่นของดนตรีป็อปกับทรวดทรงของผู้หญิง" (the pop obsession with women's bodies)[28] นักเขียนของ อินสไตล์ เฮลีย์ สเปนเซอร์ (Hayley Spencer) เรียกขานให้เป็น "วิดีโอที่มีความเป็นภาพยนตร์มากที่สุดของสวิฟต์ในตอนนี้" ("Swift's most cinematic video to date")[80]
ภาพจำนวนมากในวิดีโอเป็นภาพเงา (silhouettes) ของศีรษะของสวิฟต์ วางซ้อนด้วยฉากอื่น ๆ ของคนรักเธอ, ป่าไม้, เมฆควัน หรือพายุฝน ลักษณะดังกล่าวได้รับการเปรียบเปรยว่าคล้ายกับเครดิตเปิดของละครชุดแนวดรามา-อาชญากรรมเรื่อง ทรูดีเท็กทีฟ[20][81][82] ในขณะที่ ไมเคิล ดริสคอล (Michael Driscoll) จาก เดอะวอลสตรีตเจอร์นัล เปรียบเปรยบรรยากาศของวิดีโอว่าคล้ายกับวิดีโอดนตรีป็อปในยุค 1980s โดยเฉพาะซิงเกิลปี 1989 ของคริส อีซาก เพลง "วิกเค็ตเกม"[83] มิกาเอล วูด (Mikael Wood) จาก ลอสแองเจลิสไทม์ เรียกลักษณะภาพ (visual) ว่าเป็น "การแสดงคารวะแบบหลอน ๆ" (a creepy homage) แก่ภาพยนตร์แนวปริศนาของเดวิด ลินช์ เรื่อง มูลฮอลแลนด์ไดรฟ์ (2001)[84]
การแสดงสดและการนำไปใช้ในกรณีอื่น
[แก้]สวิฟต์แสดงสดเพลง "สไตล์" ครั้งแรกใน "ช่วงลับ 1989" (1989 Secret Session) ซึ่งแสดงบนดาดฟ้าตึกเอมพายร์สเตท และถ่ายทอดสดโดยยาฮู! กับ ไอฮาร์ดเรดิโอ (iHeartRadio) เมื่อ 27 ตุลาคม 2014[85] ในวันที่ 2 ธันวาคม เธอแสดงเพลงนี้ร่วมกับ "แบลงก์สเปส" ที่งานแสดงแฟชั่นของวิกตอเรียซีเคร็ตปี 2014 ในลอนดอน[86] "สไตล์" เป็นหนึ่งในรายชื่อเพลงเฮดไลน์ของสวิฟต์ที่จะแสดงใน 1989 เวิลด์ทัวร์ของปี 2015[87] สวิฟต์ยังใส่เพลงนี้ในรายชื่อเพลงสำหรับแสดงในคอนเสิร์ตปี 2018 เรพูเทชั่นสเตเดียมทัวร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเมดเลย์ของเพลง "เลิฟสตอรี" และ "ยูบีเลิงวิธมี"[88]
ในวันที่ 23 เมษายน 2019 สวิฟต์แสดงสดเวอร์ชันอะคูสติกของเพลงที่ศูนย์ศิลปะการแสดงลิงคอล์นในงานกาล่าของ ไทม์ 100 ที่ซึ่งเธอได้รับการเสนอชื่อเป็นหนึ่งใน "100 บุคคลทรงอิทธิพลแห่งปี" ของปีนั้น[89] สวิฟต์ยังแสดงเพลงนี้อีกครั้งในเทศกาลแวงโกแทงโกในวันที่ 1 มิถุนายน,[90] ในคอนเสิร์ตแอมะซอนไพรม์เดน์ในวันที่ 10 กรกฎาคม[91] และที่คอนเสิร์ตหนึ่งวันซิตีออฟลัฟเวอร์ในปารีสเมื่อ 9 กันยายน 2019[92]
นักร้องเพลงร็อก ไรอัน แอดัมส์ คัฟเวอร์เพลง "สไตล์" ในอัลบัมที่เขาคัฟเวอร์ทุกเพลงจากอัลบัม 1989 ปล่อยในปี 2015[93] โดยที่แอดัมส์เปลี่ยนช่วงที่เนื้อร้องอ้างถึงเจมส์ ดีน เป็น "You've got that 'Daydream Nation' look in your eye" (คุณมีหน้าตาแบบ "เดย์ดรีมเนชัน" อยู่ในแววตาของคุณ" ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อวงดนตรีร็อกซอนิกยูธจากยุค 1980[94] นอกจากนี้เขายังนำรูปแบบดนตรีแนวร็อกมาใช้ ซึ่งได้รับการเปรียบเปรยกับผลงานโดยวงดนตรีร็อกสัญชาติไอริช ยูทู และนักร้องนำ โบโน[95][96][97] แอนนี ซาเลสกี จาก ดิเอ.วี.คลับ มองว่าเพลงนี้เป็นเพลงเด่นของ 1989 ที่แอดัมส์ทำคัฟเวอร์ และชื่นชมว่า "ให้ความรู้สึกหวนถึงอดีต ให้อารมณ์คอลเลจร็อกฟีเวอร์ดรีมจากยุค 80 ประกอบเสียงคำรามแบบพังก์แทรก"[98] สแลนต์แมกกาซีน โดยเจเรีมี วิโนกราด (Jeremy Winograd) กลับมองว่าเพลงนี้เป็น "เพลง U2 ห่วย ๆ เพลงหนึ่ง"[95]
เครดิตและผู้มีส่วนร่วม
[แก้]ข้อมูลต่อไปนี้ปรับมาจากไลเนอร์โนตส์ของ 1989[10]
- เทย์เลอร์ สวิฟต์ – เสียงร้อง, เสียงร้องพื้นหลัง, ประพันธ์เพลง
- แม็กซื มาร์ติน – โพรดิวเซอร์, ประพันธ์เพลง, คีย์บอร์ด
- เชลแบ็ก – โพรดิวเซอร์, ประพันธ์เพลง, คีย์บอร์ด, โพรแกรมมิง, กีตาร์เพิ่มเติม
- อาลี เพยามี – โพรดิวเซอร์, ประพันธ์เพลง, คีย์บอร์ด, โพรแกรมมิง
- ไมเคิล อิลเบอร์ท (Michael Ilbert) – อัดเสียง
- นิกลัส ลยุงเฟลต์ (Niklas Ljungfelt) – กีตาร์
- แซม ฮอลแลนด์ (Sam Holland) – อัดเสียง
- คอรี ไบซ์ (Cory Bice) – ผู้ช่วยอัดเสียง
- เซอร์แบน เกเนีย – มิกซ์
- จอห์ย ฮานีส (John Hanes) – เอนจิเนียร์ฟอร์มิกซ์
- ทอม คอย์น – มาสเตอริง
ชาร์ต
[แก้]
ชาร์ตรายสัปดาห์[แก้] |
ชาร์ตปลายปี[แก้]
|
การรับรอง
[แก้]ประเทศ | การรับรอง | จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย |
---|---|---|
Australia (ARIA)[67] | 2× Platinum | 140,000^ |
Canada (Music Canada)[57] | 3× Platinum | 240,000* |
New Zealand (RMNZ)[68] | Gold | 7,500* |
Norway (IFPI Norway)[129] | Gold | 30,000‡ |
United Kingdom (BPI)[64] | Platinum | 600,000‡ |
United States (RIAA)[54] | 3× Platinum | 3,000,000‡ |
*ตัวเลขยอดขายขึ้นกับการรับรองอย่างเดียว |
ประวัติการปล่อย
[แก้]ภูมิภาค | วันที่ | รูปแบบ | ค่ายเพลง | อ |
---|---|---|---|---|
สหรัฐ | 9 กุมภาพันธ์ 2015 | ฮ็อตอะดัลต์คอนเทมพอรารี |
|
[3] |
10 กุมภาพันธ์ 2015 | คอนเทมพอรารีฮิตเรดิโอ | [13] | ||
ริทธึมมิกเรดิโอ | [14] | |||
อิตาลี | 3 เมษายน 2015 | เรดิโอแอร์เพลย์ |
|
[15] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Lipshutz, Jason (December 29, 2014). "Taylor Swift's Next Single Should Be 'Style,' Says Head of Her Record Label". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2015. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015.
- ↑ Stephen Thomas Erlewine. "1989 - Taylor Swift". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Taylor Swift 'Style': Officially Impacts HAC 2/9". Republic Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2015. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
- ↑ "Bruno Mars gains longest Hot 100 reign; Taylor Swift hits top 10".
- ↑ Eells, Josh (September 16, 2014). "Taylor Swift Reveals Five Things to Expect on '1989'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2018. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
- ↑ 6.0 6.1 Zollo, Paul (February 13, 2016). "The Oral History of Taylor Swift's '1989'". Medium. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2016. สืบค้นเมื่อ March 23, 2016.
- ↑ Light, Alan (December 5, 2014). "Billboard Woman of the Year Taylor Swift on Writing Her Own Rules, Not Becoming a Cliche and the Hurdle of Going Pop". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2014. สืบค้นเมื่อ February 27, 2019.
- ↑ Talbott, Chris (October 13, 2013). "Taylor Swift talks next album, CMAs and Ed Sheeran". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2013. สืบค้นเมื่อ October 26, 2013.
- ↑ "Taylor Swift on new album, dating and keeping her clothes on". CNN. February 5, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2014. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 1989 (CD liner notes). Taylor Swift. Big Machine Records. 2014. BMRBD0500A.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 11.0 11.1 Swift, Taylor (October 31, 2014). Taylor Swift Breaks Down 'Style' (radio interview). On Air with Ryan Seacrest. iHeartRadio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2018. สืบค้นเมื่อ February 12, 2019 – โดยทาง YouTube.
- ↑ Strecker, Erin (October 22, 2014). "Hear New Taylor Swift Song in Target Commercial". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2019. สืบค้นเมื่อ February 11, 2019.
- ↑ 13.0 13.1 "Taylor Swift 'Style' – Republic Playbook". Republic Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2015. สืบค้นเมื่อ January 14, 2015.
- ↑ 14.0 14.1 "Republic Playbook: Taylor Swift 'Style'". Republic Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2015. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
- ↑ 15.0 15.1 "Taylor Swift – Style" (ภาษาอิตาลี). Radio Airplay SRL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2016. สืบค้นเมื่อ April 26, 2015.
- ↑ Sheffield, Rob (December 12, 2019). "All 153 of Taylor Swift's Songs, Ranked". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2019. สืบค้นเมื่อ December 16, 2019.
- ↑ Jagoda, Vrinda (August 19, 2019). "Taylor Swift: 1989 Album Review". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2019. สืบค้นเมื่อ September 14, 2019.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Wood, Mikael (October 27, 2014). "Review: Taylor Swift smooths out the wrinkles on sleek '1989'". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2014. สืบค้นเมื่อ November 15, 2014.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Empire, Kitty (October 26, 2014). "Taylor Swift: 1989 review – a bold, gossipy confection". The Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2014. สืบค้นเมื่อ April 6, 2019.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 McKinney, Kelsey (February 19, 2015). The anatomy of Taylor Swift's new 'Style' (analysis video). Edit & animation: Joe Posner. Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2019. สืบค้นเมื่อ February 12, 2019 – โดยทาง YouTube.
- ↑ 21.0 21.1 Caramanica, Jon (October 23, 2014). "A Farewell to Twang". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2014. สืบค้นเมื่อ March 3, 2019.
- ↑ Kimberlin, Shane (November 3, 2014). "Taylor Swift – 1989". musicOMH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2014. สืบค้นเมื่อ November 5, 2014.
- ↑ McCormick, Neil (October 23, 2014). "Taylor Swift, 1989, review: 'full of American fizz'". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2018. สืบค้นเมื่อ November 17, 2018.
- ↑ 24.0 24.1 Lansky, Sam (October 23, 2014). "Review: 1989 Marks a Paradigm Swift". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2014. สืบค้นเมื่อ November 1, 2014.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Sargent, Jordan (December 15, 2014). "The 100 Best Tracks of 2014". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2018. สืบค้นเมื่อ March 23, 2018.
- ↑ Petridis, Alexis (October 24, 2014). "Taylor Swift: 1989 review – leagues ahead of the teen-pop competition". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2014. สืบค้นเมื่อ November 1, 2014.
- ↑ Petridis, Alexis (April 26, 2019). "Taylor Swift's singles – ranked". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2019. สืบค้นเมื่อ April 27, 2019.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 Kornhaber, Spencer (February 13, 2015). "Reading Taylor Swift's Lips". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2019. สืบค้นเมื่อ April 15, 2019.
- ↑ 29.0 29.1 Geffen, Sasha (October 30, 2014). "Taylor Swift – 1989". Consequence of Sound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2014. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Wickman, Forrest (October 24, 2014). "Taylor Swift's 1989: A Track-by-Track Breakdown". Slate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2019. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
- ↑ Swift, Taylor (October 27, 2014). The 1989 Secret Session (live concert). New York City: iHeartRadio / Yahoo!.
- ↑ Strecker, Erin (October 27, 2014). "Taylor Swift's '1989' Liner Note Messages & Reference Guide". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2014. สืบค้นเมื่อ November 11, 2014.
- ↑ Beasley, Corey (October 31, 2014). "Taylor Swift: 1989". PopMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2017. สืบค้นเมื่อ November 11, 2017.
- ↑ Boles, Benjamin (November 5, 2014). "Taylor Swift". Now. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2018. สืบค้นเมื่อ December 9, 2018.
- ↑ Guerra, Joey (December 17, 2014). "Some albums demand to be listened to". Houston Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2019. สืบค้นเมื่อ February 9, 2019.
- ↑ Leedham, Robert (October 30, 2014). "Album Review: Taylor Swift – 1989". Drowned in Sound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2018. สืบค้นเมื่อ November 25, 2018.
- ↑ He, Richard S. (November 9, 2017). "Why Taylor Swift's '1989' Is Her Best Album: Critic's Take". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2017. สืบค้นเมื่อ November 9, 2017.
- ↑ Gill, Andy (October 24, 2014). "Taylor Swift, 1989 – album review: Pop star shows 'promising signs of maturity'". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2014. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
- ↑ Volpe, Allie (October 31, 2014). "Taylor Swift, '1989': A Track-by-Track Review". The Philadelphia Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2019. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019 – โดยทาง The Seattle Times.
- ↑ Christgau, Robert (January 12, 2016). "Pazz & Jop Top 2015 Singles". The Village Voice.
- ↑ "BMI Honors Taylor Swift and Legendary Songwriting Duo Mann & Weil at the 64th Annual BMI Pop Awards". Broadcast Music, Inc. May 11, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2016. สืบค้นเมื่อ June 2, 2016.
- ↑ "Full List of Nominees". Australasian Performing Right Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2016. สืบค้นเมื่อ March 24, 2016.
- ↑ Mylrea, Hannah (September 8, 2020). "Every Taylor Swift song ranked in order of greatness". NME (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 17, 2020.
- ↑ "Taylor Swift: Her 15 Best Songs". Clash. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
- ↑ Trust, Gary (November 5, 2014). "Taylor Swift's 'Shake It Off' Returns to No. 1 on Hot 100". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2014. สืบค้นเมื่อ November 7, 2014.
- ↑ Trust, Gary (December 18, 2014). "Taylor Swift Leads Billboard Hot 100, Ed Sheeran Soars to Top 10". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2019. สืบค้นเมื่อ February 11, 2019.
- ↑ Trust, Gary (January 12, 2015). "Chart Highlights: Taylor Swift's Likely-Next-Single 'Style' Debuts on Pop Songs". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2017. สืบค้นเมื่อ April 1, 2017.
- ↑ Trust, Gary (February 18, 2015). "Bruno Mars Scores Longest Hot 100 Reign, Taylor Swift Hits Top 10". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2018. สืบค้นเมื่อ December 14, 2018.
- ↑ 49.0 49.1 "Taylor Swift Chart History (Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 11, 2015.
- ↑ 50.0 50.1 "Taylor Swift Chart History (Pop Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 26, 2015.
- ↑ 51.0 51.1 "Taylor Swift Chart History (Adult Pop Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 2, 2015.
- ↑ 52.0 52.1 "Taylor Swift Chart History (Adult Contemporary)". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 2, 2015.
- ↑ "2016 Reports: 2015 Year-End Music Report" (PDF). Nielsen Business Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 30, 2019. สืบค้นเมื่อ May 30, 2019.
- ↑ 54.0 54.1 "American single certifications – Taylor Swift – Style". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
- ↑ Trust, Gary (November 26, 2017). "Ask Billboard: Taylor Swift's Career Album & Song Sales". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2018. สืบค้นเมื่อ November 25, 2018.
- ↑ 56.0 56.1 "Taylor Swift Chart History (Canadian Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 14, 2015.
- ↑ 57.0 57.1 "Canadian single certifications – Taylor Swift – Style". Music Canada. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ 58.0 58.1 "Official Scottish Singles Sales Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ March 29, 2015.
- ↑ 59.0 59.1 "ČNS IFPI" (in Czech). Hitparáda – Radio Top 100 Oficiální. IFPI Czech Republic. Note: Change the chart to CZ – RADIO – TOP 100 and insert 201515 into search. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
- ↑ 60.0 60.1 "Listy bestsellerów, wyróżnienia :: Związek Producentów Audio-Video". Polish Airplay Top 100. สืบค้นเมื่อ May 18, 2015.
- ↑ 61.0 61.1 "ČNS IFPI" (in Slovak). Hitparáda – Radio Top 100 Oficiálna. IFPI Czech Republic. Note: insert 201520 into search. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
- ↑ 62.0 62.1 "Archívum – Slágerlisták – MAHASZ" (in Hungarian). Single (track) Top 40 lista. Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ April 10, 2015.
- ↑ 63.0 63.1 "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ March 22, 2015.
- ↑ 64.0 64.1 "British single certifications – Taylor Swift – Style". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ December 7, 2017.
- ↑ 65.0 65.1 "Taylor Swift – Style". ARIA Top 50 Singles. สืบค้นเมื่อ February 11, 2015.
- ↑ 66.0 66.1 "Taylor Swift – Style". Top 40 Singles. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ 67.0 67.1 "ARIA Charts – Accreditations – 2015 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ April 30, 2016.
- ↑ 68.0 68.1 "New Zealand single certifications – Taylor Swift – Style". Recorded Music NZ. สืบค้นเมื่อ March 6, 2015.
- ↑ 69.0 69.1 "EMA Top 10 Airplay: Week Ending 2015-04-28". Entertainment Monitoring Africa. สืบค้นเมื่อ May 5, 2015.
- ↑ "Taylor Swift's 'Style' Music Video Is Finally Here!". Elle Canada. February 14, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2019.
- ↑ 71.0 71.1 Jacobs, Matthew (March 2, 2015). "What It's Really Like To Star in a Music Video With Taylor Swift". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2017. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
- ↑ Lynch, Joe (February 10, 2015). "Taylor Swift Reveals 'Style' Music Video Is Dropping Friday the 13th". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2016. สืบค้นเมื่อ May 14, 2016.
- ↑ Goodman, Jessica (February 13, 2015). "Taylor Swift's 'Style' Music Video Is Here". HuffPost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2017. สืบค้นเมื่อ December 4, 2017.
- ↑ Johnson, Zach (February 13, 2015). "Taylor Swift's 'Style' Music Video Debuts Early and Features a Nod to Ex-Boyfriend Harry Styles". E!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (video)เมื่อ April 26, 2018. สืบค้นเมื่อ April 26, 2018.
- ↑ 75.0 75.1 Kreps, Daniel (February 13, 2015). "Taylor Swift Shows Her Sensual Side in Moody 'Style' Video". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2015. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ "Taylor Swift premieres music video". Elle UK. February 13, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2019. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
- ↑ "Billionaire Ransom (Take Down)". Rotten Tomatoes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2019. สืบค้นเมื่อ March 27, 2019.
- ↑ 78.0 78.1 Lindner, Emilee (February 13, 2015). "Taylor Swift's 'Style' Video Brings Out Sexy Taylor And We Love It". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2015. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ Derschowitz, Jessica (February 13, 2015). "Taylor Swift debuts 'Style' music video". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2015. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ Spencer, Hayley (February 13, 2015). "Here's Taylor Swift's New Steamy, Surreal Music Video for 'Style'". InStyle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2015. สืบค้นเมื่อ October 11, 2015.
- ↑ Lawler, Kelly (February 13, 2015). "All the times Taylor Swift's new video was basically the 'True Detective' opening credits". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2015. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
- ↑ B. Kile, Meredith (February 13, 2015). "Taylor Swift's 'Style' is Basically the 'True Detective' Opening". Entertainment Tonight Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2017. สืบค้นเมื่อ February 4, 2017.
- ↑ Driscoll, Michael (February 13, 2015). "Taylor Swift's 'Style' Video Sticks to the '1989′ Script". The Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2015. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ Wood, Mikael (February 13, 2015). "Taylor Swift has that red-lip thing that you like in 'Style' video". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2015. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ Stutz, Colin (October 27, 2014). "Taylor Swift Live-Broadcasts Manhattan Rooftop Secret Session". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2014. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
- ↑ Harvey, Lydia (December 3, 2014). "Taylor Swift prances around in lingerie during Victoria's Secret Fashion Show". Tampa Bay Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2019. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ Yahr, Emily (May 5, 2015). "Taylor Swift '1989' World Tour: Set list, costumes, the stage, the spectacle". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2015. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
- ↑ Sheffield, Rob (May 9, 2018). "Why Taylor Swift's 'Reputation' Tour Is Her Finest Yet". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2018. สืบค้นเมื่อ May 10, 2018.
- ↑ Brandle, Lars (April 24, 2019). "Taylor Swift Took Some of the World's Biggest Stars Down Memory Lane With This Performance". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ April 24, 2019.
- ↑ Willman, Chris (June 2, 2019). "Taylor Swift Goes Full Rainbow for Pride Month at L.A. Wango Tango Show". Variety. สืบค้นเมื่อ December 16, 2020.
- ↑ Brandle, Lars (July 11, 2019). "Taylor Swift Sings 'Shake It Off,' 'Blank Space' & More at Amazon Prime Day Concert: Watch". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2019. สืบค้นเมื่อ July 14, 2019.
- ↑ Mylrea, Hannah (September 10, 2019). "Taylor Swift's The City of Lover concert: a triumphant yet intimate celebration of her fans and career". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2019. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
- ↑ Gracey, Oscar (September 21, 2015). "Ryan Adams' '1989': Track By Track". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2016. สืบค้นเมื่อ January 26, 2016.
- ↑ Wood, Mikael (September 21, 2015). "Ryan Adams turns to Taylor Swift for help on his version of '1989'". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2017. สืบค้นเมื่อ October 19, 2017.
- ↑ 95.0 95.1 Winograd, Jeremy (October 21, 2015). "Review: Ryan Adams, 1989". Slant Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2019. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
- ↑ Richardson, Mark (September 25, 2015). "Ryan Adams: 1989 Album Review". Pitchfork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2015. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.
- ↑ Greenblatt, Leah (September 21, 2015). "1989 by Ryan Adams". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2018. สืบค้นเมื่อ February 12, 2018.
- ↑ Zaleski, Annie (September 21, 2015). "Ryan Adams transforms Taylor Swift's 1989 into a melancholy masterpiece". The A.V. Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2018. สืบค้นเมื่อ February 12, 2018.
- ↑ "Taylor Swift – Style" (in German). Ö3 Austria Top 40. สืบค้นเมื่อ March 4, 2015.
- ↑ "Taylor Swift – Style" (in Dutch). Ultratip. สืบค้นเมื่อ February 11, 2015.
- ↑ "Taylor Swift – Style" (in French). Ultratip. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
- ↑ "Hot 100 Billboard Brasil – weekly". Billboard Brasil (ภาษาโปรตุเกส). June 1, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2015. สืบค้นเมื่อ June 1, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Canada AC)". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 30, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Canada CHR/Top 40)". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 11, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Canada Hot AC)". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 30, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Euro Digital Song Sales)". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 1, 2016.
- ↑ "Taylor Swift: Style" (in Finnish). Musiikkituottajat. สืบค้นเมื่อ June 25, 2019.
- ↑ "Taylor Swift – Style" (in French). Les classement single. สืบค้นเมื่อ May 1, 2015.
- ↑ "Taylor Swift – Style" (in German). GfK Entertainment charts. สืบค้นเมื่อ March 3, 2015.
- ↑ "Archívum – Slágerlisták – MAHASZ" (in Hungarian). Rádiós Top 40 játszási lista. Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ April 23, 2015.
- ↑ "Irish-charts.com – Discography Taylor Swift". Irish Singles Chart. สืบค้นเมื่อ January 28, 2020.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Japan Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 17, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Mexico Airplay)". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 22, 2021.
- ↑ "Nederlandse Top 40 – Taylor Swift" (in Dutch). Dutch Top 40. สืบค้นเมื่อ February 13, 2015.
- ↑ "Airplay 100 – 3 mai 2015" (ภาษาโรมาเนีย). Kiss FM. May 3, 2015. สืบค้นเมื่อ April 10, 2020.
- ↑ "SloTop50 – Slovenian official singles chart". slotop50.si. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2018. สืบค้นเมื่อ March 1, 2018.
- ↑ "Taylor Swift – Style" Canciones Top 50. สืบค้นเมื่อ May 24, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Dance Mix/Show Airplay)". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 16, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Dance Club Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 26, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Rhythmic)". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
- ↑ "ARIA Charts – End of Year Charts – Top 100 Singles 2015". Australian Recording Industry Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2016. สืบค้นเมื่อ January 6, 2016.
- ↑ "Canadian Hot 100 Year End 2015". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
- ↑ "Hot 100: Year End 2015". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
- ↑ "Adult Contemporary Songs Year End 2015". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
- ↑ "Adult Pop Songs Year End 2015". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2015. สืบค้นเมื่อ August 25, 2016.
- ↑ "Dance/Mix Show Songs Year End 2015". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2015. สืบค้นเมื่อ August 25, 2016.
- ↑ "Pop Songs Year End 2015". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2015. สืบค้นเมื่อ August 25, 2016.
- ↑ "Adult Contemporary Songs: Year End 2016". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2016. สืบค้นเมื่อ December 18, 2016.
- ↑ "Norwegian single certifications – Taylor Swift – Style" (ภาษานอร์เวย์). IFPI Norway. สืบค้นเมื่อ November 27, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความคัดสรร
- เพลงในปี พ.ศ. 2557
- ซิงเกิลในปี พ.ศ. 2558
- เพลงของเทย์เลอร์ สวิฟต์
- เพลงซินธ์ป็อป
- เพลงที่ประพันธ์คำร้องโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
- เพลงที่ประพันธ์คำร้องโดยแมกซ์ มาร์ติน
- เพลงที่ประพันธ์คำร้องโดยเชลล์แบ็ก (โปรดิวเซอร์เพลง)
- ซิงเกิลสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์
- ซิงเกิลในสังกัดรีพับลิกเรเคิดส์
- เพลงป็อปร็อกอเมริกัน
- เพลงซินท์ป็อปอเมริกัน
- เพลงบันทึกเสียงที่ผลิตโดยแมกซ์ มาร์ติน
- เพลงบันทึกเสียงที่ผลิตโดยเชลล์แบ็ก (โปรดิวเซอร์เพลง)