สถานีวิทยุศึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุศึกษา
สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พื้นที่กระจายเสียงประเทศไทย
ความถี่FM 92.0 MHz
สัญลักษณ์ฟังวิทยุศึกษา เสริมสร้างปัญญา พัฒนาชีวิต.
แบบรายการ
ภาษาภาษาไทย
รูปแบบข่าวสาร สาระ และบันเทิง
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
กรมส่งเสริมการเรียนรู้
กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ประกอบธุรกิจนายไพรัชช์ แก้วสังข์ทอง
(หัวหน้าสถานีวิทยุศึกษา)
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียง1 มกราคม พ.ศ. 2497
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่งศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ลิงก์
เว็บไซต์www.moeradiothai.net

สถานีวิทยุศึกษา เป็นสถานีวิทยุของกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ธรรมะ สุขภาพ ข่าวสาร และรายการบันเทิงต่าง ๆ

ประวัติ[แก้]

สถานีวิทยุศึกษา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2496 โดยมติของคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา มีที่ทำการอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิค ทุ่งมหาเมฆ ด้วยเครื่องส่งวิทยุ ที่วิทยาลัยประกอบขึ้นเอง มีกำลังส่ง 500 วัตต์ โดยใช้คลื่นความถี่ยาว 1,160 kHz และความถี่คลื่นสั้น 11.6 MHz โดยเริ่มกระจายเสียงวันแรกเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2497

ในระยะแรกรายการ ที่จัดออกอากาศ ได้แก่ บทความ รายการสำหรับเด็ก ดนตรีไทยและสากล ละคร ทั้งละครไทยและละครภาษาอังกฤษ วิชาชุดครูระดับต่าง ๆ ผู้จัดรายการของสถานีวิทยุศึกษา เช่น ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์, เปลื้อง ณ นคร, เจือ สตะเวทิน, ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, เจริญพัน ชุมสาย ณ อยุธยา, ฉันท์ ขำวิไล, จินตนา ยศสุนทร, หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย, ครูชิ้น ศิลปบรรเลง, ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล[1]

การออกอากาศ[แก้]

สถานีวิทยุศึกษาทำการออกอากาศเป็นประจำตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 24.00 น. โดยสามารถเลือกรับฟังได้ทางคลื่น FM 92.0 MHz และ รับฟังผ่านกล่องสัญญาณดาวเทียม KU Band (Thaicom 6) ที่ช่อง FM 92 หรือเลือกรับฟังรายการสด และย้อนหลังได้ที่ เว็บไซต์ของสถานีวิทยุศึกษาหรือ แอปพลิเคชัน ฟังเพลิน โหลดได้ทั้ง Play Store และ App Store คลิกที่วิทยุศึกษา

อนึ่ง สถานีวิทยุศึกษา เคยทำการกระจายเสียงในระบบ AM 1161 kHz มาก่อน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เวลา 24:00 น. จึงได้ยุติการกระจายเสียงในระบบนี้ แต่ยังคงสามารถรับฟังการกระจายเสียงผ่านระบบ FM 92.0 MHz ได้ตามปกติ เพียงช่องทางเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. สถานีวิทยุศึกษา, ประวัติสถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]